ข้ามไปเนื้อหา

ท่อปัสสาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Urethra
รายละเอียด
คัพภกรรมUrogenital sinus
หลอดเลือดแดงInferior vesical artery
Middle rectal artery
Internal pudendal artery
หลอดเลือดดำInferior vesical vein
Middle rectal vein
Internal pudendal vein
ประสาทPudendal nerve
Pelvic splanchnic nerves
Inferior hypogastric plexus
น้ำเหลืองInternal iliac lymph nodes
Deep inguinal lymph nodes
ตัวระบุ
ภาษาละตินFemale urethra: urethra vagina; feminina
Male urethra: urethra masculina
MeSHD014521
TA98A08.4.01.001F
A08.5.01.001M
TA23426, 3442
FMA19667
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ท่อปัสสาวะ เป็นท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอก ในชาย ท่อปัสสาวะยาว 20 เซนติเมตร นำน้ำปัสสาวะจาก กระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอกที่ปลายลึงค์ ท่อปัสสาวะในชาย ยังเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิด้วย ท่อปัสสาวะในชายคดเคี้ยว คล้ายตัวเอส (S) และแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ

ส่วนที่หนึ่ง ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร จากมุมล่างสุด ของกระเพาะปัสสาวะทอดลงล่างในแนวดิ่ง ผ่านกลางต่อม ลูกหมาก จึงเรียกว่า ส่วนในต่อมลูกหมาก (prostatic part) เพราะท่อปัสสาวะส่วนนี้มีต่อมลูกหมากล้อมรอบส่วนนี้ และมีท่อจากต่อมลูกหมากจำนวนมาก มาเปิดสู่ท่อปัสสาวะส่วนนี้ และยังมีท่อฉีดอสุจิซึ่งเป็นท่อร่วมของเซมินัลเวสิเคิล และท่ออสุจิมาเปิดสู่ท่อปัสสาวะส่วนนี้ด้วย

ส่วนที่สอง เป็นส่วนสั้นที่สุด มีกล้ามเนื้อลายเป็น หูรูดอยู่ล้อมรอบ เรียกว่า ส่วนบาง (membrarous part) อยู่ต่ำกว่าข้อต่อหัวหน่าว ประมาณ 2.5 เซนติเมตร ไปสู่กระเปาะ ของลึงค์ (bulb of penis)

ส่วนที่สาม ยาวที่สุดและคดเคี้ยว อยู่ในเนื้อเยื่อที่ แข็งตัวได้ ส่วนคอร์ปัสสปอนยิโอซุม (corpus spongiosum) เรียกว่า ส่วนฟองน้ำหรือส่วนในลึงค์ (spongy part) ผ่านส่วน กระเปาะ (bulb) ส่วนลำ (body) และส่วนหัว (glans) ของลึงค์ แล้วเปิดสู่ภายนอกที่ปลายลึงค์

ในหญิง ท่อปัสสาวะยาว 4 มิลลิเมตร จากมุม ล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดโค้งลงล่างไปข้างหน้า เปิดสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หน้ารูเปิดของช่องคลอด ต่ำกว่า คลิตอริสประมาณ 2.5 เซนติเมตร [1]

อ้างอิง

[แก้]