1 ธันวาคม
หน้าตา
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 1 ธันวาคม เป็นวันที่ 335 ของปี (วันที่ 336 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 30 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
[แก้]- พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1420) - พระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษเข้าสู่ปารีสพร้อมกับพระสัสสุระ (พ่อตา) ของพระองค์คือพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส[1]
- พ.ศ. 2183 (ค.ศ. 1640) - พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส ได้รับการประกาศให้เป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ทำให้เกิดสงครามกับสเปน
- พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1878) - ประธานาธิบดีรัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ติดตั้งโทรศัพท์เครื่องแรกในทำเนียบขาว
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - ไอซ์แลนด์ได้รับเอกราชจากเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - แนนซี แอสเตอร์ เข้ารับตำแหน่งเป็น ส.ส. หญิงคนแรกของประเทศอังกฤษ (ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 28 พ.ย.)
- พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - กระทรวงกลาโหม ประกาศเปลี่ยนนามหน่วย กรมอากาศยานทหารบก เป็น กรมอากาศยาน ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นกองทัพอากาศ
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - จักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงเห็นชอบต่อการตัดสินใจของสภาแห่งจักรวรรดิในการเริ่มทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - วันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) - ธนาคารกรุงเทพ เปิดทำการเป็นวันแรก
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - หนังสือพิมพ์ New York Daily News รายงานข่าวการผ่าตัดแปลงเพศที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกที่ประเทศเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา : โรซา พาร์กส์ สตรีผิวดำในเมืองมอนต์กอเมอรี รัฐแอละแบมา ถูกจับกุมฐานละเมิดกฎหมายการแบ่งแยกเชื้อชาติ หลังจากเธอปฏิเสธไม่ยอมยกที่นั่งให้กับชายผิวขาวบนรถโดยสารประจำทาง
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - 12 ชาติร่วมลงนามในสนธิสัญญาแอนตาร์กติก ห้ามทำกิจกรรมทางการทหารบนทวีปแอนตาร์กติกา และสงวนไว้เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก สาขาวิชาที่เปิดสอนคือ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และวิทยาการจัดการ
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - อังกฤษและฝรั่งเศสเชื่อมต่ออุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ บริเวณช่องแคบอังกฤษที่ความลึกจากผิวน้ำ 40 เมตร ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางไปมาหากันระหว่างเกาะบริเตนใหญ่และทวีปยุโรป ได้เป็นครั้งแรกนับจากยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดเมื่อราว 10,000 ปีก่อน
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - ชาวยูเครนส่วนใหญ่เห็นชอบในการลงประชามติ เพื่อแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดหนองบัวลำภู ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นจังหวัดล่าสุดของประเทศไทย โดยแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดอุดรธานี ตามลำดับ
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - พิธีเปิด เอเชียนเกมส์ 2006 ณ โดฮา ประเทศกาตาร์
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในขณะนั้น พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในฐานะประธานรัฐสภา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกาในขณะนั้น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อกราบบังคมทูลเชิญขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย จากนั้นศาสตราจารย์ ดร.พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในฐานะประธานรัฐสภาจึงได้ประกาศให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้ในทางนิตินัยถือว่าได้เสด็จขึ้นทรงราชย์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา[2]
- มีพระราชโองการให้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร[3]
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) - สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดราแห่งสหราชอาณาจักร (สวรรคต 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) (สิ้นพระชนม์ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508)
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - มิโนรุ ยามาซากิ สถาปนิกชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529)
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 23 กันยายน พ.ศ. 2539)
- พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - วูดดี อัลเลน นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - เบ็ตต์ มิดเลอร์ นักร้อง นักแสดง ดาราตลก ชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - นีล วอร์น็อก ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - ปาโบล เอสโกบาร์ เจ้าพ่อค้ายาเสพติดชาวโคลอมเบีย (ถึงแก่กรรม 2 ธันวาคม พ.ศ. 2536)
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - ซาโยโกะ ฮางิวาระ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) -
- เนสเตอร์ คาร์โบเนลล์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- สตีเฟน แบล็กฮาร์ท นักแสดงตัวละคร, นักเขียน และโปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - พจนาถ พจนาพิทักษ์ นักร้อง กวี นักเขียน และนักแต่งเพลงชาวไทย
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - แซราห์ ซิลเวอร์แมน ดาราตลกหญิงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - นิธิ สมุทรโคจร นักแสดง นายแบบ และ พิธีกรชาวไทย
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) -
- พลอย จินดาโชติ นักแสดง พิธีกรชาวไทย
- แอร์ สุชาวดี นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - ธนพล นิ่มทัยสุข นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - เรียวอิจิ ทางูจิ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) -
- ธัญญา รัตนมาลากุล ดาราและนักแสดงตลกชาวไทย
- อิม ซีวาน นักร้องชายชาวเกาหลีใต้สมาชิกวง ชิลเดรนออฟเอมไพร์
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) -
- มัลลิกา จงวัฒนา อดีตพิธีกรชาวไทย
- อิม ซี-วัน นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - ธนฉัตร ตุลยฉัตร นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - มาร์โก ฟัน คิงเกิล นักฟุตบอลชาวดัตช์
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) -
- เจมส์ วิลสัน (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2538) นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- เดอะทอยส์ นักร้องชาวไทย
- ศิริเทพ พัสดุ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายชาวไทย
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - พงศกร แปยอ นักกีฬาวีลแชร์ทีมชาติไทย
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - ธีรชา ไรวา นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - ศุภชัย ใจเด็ด นักฟุตบอลอาชีพชาวไทย
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) - กรมหลวงวรเสรฐสุดา (ประสูติ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371)
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย (ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405)
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - จอห์น ดีแลน นักแสดงชาวไทย (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2521)
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) - สีหนุ่ม เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทย (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2499)
- พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - คินโจ มานะ นักแสดงและนางแบบชาวญี่ปุ่น (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BBC: On This Day (อังกฤษ)
- NY Times: On This Day (อังกฤษ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jesse D. Hurlbut (1990). Ceremonial Entries in Burgundy: Philip the Good and Charles the Bold (1419-1477). Indiana University. p. 315.
- ↑ ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง อัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ (1 ธันวาคม 2559) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/102/1.PDF
- ↑ ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1 ธันวาคม 2559) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/102/2.PDF