โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี

พิกัด: 13°44′09″N 100°25′50″E / 13.735770°N 100.430609°E / 13.735770; 100.430609
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนตรีมิตรวิทยา)
โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี
Saint Peter Thonburi School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นซ.ป.ธ. / S.P.T.
ประเภทโรงเรียนเอกชน/เอกชน
สังกัด สำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
คำขวัญเรียนดี มีวินัย ใฝ่สะอาด มารยาทงาม
สถาปนาพ.ศ. 2461
ผู้บริหารไทย บาทหลวงพจนารถ นิรมลทินวงศ์
ไทย ซิสเตอร์ประสานศรี วงศ์สวัสดิ์
ระดับชั้นชั้นเตรียมอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 6
จำนวนนักเรียนประมาณ 2,000 คน
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย ไทย
สหราชอาณาจักร อังกฤษ
จีน จีน
ห้องเรียน66 ห้องเรียน
สี   ฟ้า-ขาว
เพลงมาร์ชเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี
ต้นไม้ต้นเหลืองปรีดียาธร
เว็บไซต์http://www.spts.ac.th

โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี (อังกฤษ: Saint Peter Thonburi) เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญศึกษาของฝ่ายการศึกษา ในเขตมิสซังกรุงเทพฯ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เปิดทำการสอนในระดับเตรียมอนุบาล อนุบาล 1-3 ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ปัจจุบัน โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 148 ถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10160 มีนักเรียนทั้งหมด 1,882 คน บุคลากรทั้งหมด 180 คน

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี เป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญศึกษาของฝ่ายการศึกษา ในเขตมิสซังกรุงเทพฯ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เดิมตั้งอยู่บริเวณ เลขที่ 8 หมู่ 5 ตำบลบางเชือกหนัง อำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยการจัดตั้งมีความเป็นมาดังนี้

  • พ.ศ. 2461 - 2471 บาทหลวงฮุย ได้เป็นอธิการโบสถ์ธรรมมาสน์นักบุญเปโตร (โบสถ์พระตรีเอกภาพ ) ได้จัดสร้างโรงเรียนของโบสถ์ขึ้นตั้งชื่อว่า "โรงเรียนพระตรีเอกานุภาพ"
  • พ.ศ. 2478 - 2494 บาทหลวงเฟดริก อุ่น จิตติ์ชอบค้า ได้มาเป็นอธิการโบสถ์ และได้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น " โรงเรียนตรีจิตวิทยา " เปิดสอนทั้งภาษาไทย และภาษาจีน โดยมี นายจอก จิตต์ชอบค้า เป็นผู้จัดการ และ นายสง่า เอกบุสย์ เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2495 - 2496 บาทหลวงวิลเลี่ยม ตัน ได้สร้างอาคารเพิ่มอีก 1 หลัง และในปี 2495 เจ้าของโรงเรียนได้มอบโรงเรียนให้บาทหลวงดาเนียล วงศ์พินิจ เป็นผู้ลงนามแทน เจ้าของโรงเรียน นายเจริญ กอหะสุวรรณ เป็นผู้จัดการ และนางสาวละมุด นามวงศ์ เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2496 - 2502 คุณพ่อเปรดาญ เป็นอธิการโบสถ์และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก"ตรีจิตวิทยา" เป็น "ตรีมิตวิทยา"
  • พ.ศ. 2502 - 2509 บาทหลวงลออ สังขรัตน์ เป็นอธิการโบสถ์ได้สร้างอาคารไม้ ยาว 4 เมตร ใช้เป็นห้องเรียน ห้องอาหาร เวทีแสดงในงานโบสถ์และโรงเรียน โดยตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า " หอประชุม บาทหลวงลออ สังขรัตน์ " ซิสเตอร์สาลี่ ดำริห์ เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2509 บาทหลวงถาวร กิจสกุล ได้รับตำแหน่งให้เป็นเจ้าของ และผู้จัดการ
  • พ.ศ. 2510 ซิสเตอร์พวงน้อย ตรีมรรคา รับหน้าที่ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2512 ขยายชั้นเรียนถึง ม.ศ. 3 ต่ออาคารเรียนหลังที่ 1 อีก 2 ห้องเรียน และต่อมาเป็นห้องพิเศษอีก 3 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2517 ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จากเดิม "ตรีมิตวิทยา" เป็น "ตรีมิตรวิทยา"
  • พ.ศ. 2518 บาทหลวงสานิจ สถะวีระวงส์ เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์สุภาภรณ์ แตงอ่อน เป็นผู้จัดการและครูใหญ่
  • พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้ขออนุญาตยุบชั้น ม.ศ. 1 - ม.ศ. 3 จึงมีนักเรียนระดับชั้น ป.1 - ป.6 ตั้งแต่ ปี 2521 เป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2522 บาทหลวงสุเทพ พงษ์วิรัชไชย เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์ทองหล่อ ตระกูลเง็ก เป็นผู้จัดการและครูใหญ่
  • พ.ศ. 2523 ซิสเตอร์มารีอัน ฉายาเจริญ รับหน้าที่เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่
  • พ.ศ. 2525 สร้างหอประชุม และห้องเรียนถาวร อีก 2 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2526 บาทหลวงบัณฑิต ปรีชาวุฒิ เป็นผู้รับใบอนุญาต ได้จัดห้องเรียนถาวร 2 ห้อง เป็น ห้องอำนวยการ และห้องพักครู
  • พ.ศ. 2529 บาทหลวงสุทศ ประมวลพร้อม เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ซิสเตอร์อารี มั่นศิลป์ เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2531 ซิสเตอร์วีณา สุทธินาวิน เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2532 บาทหลวงชัชวาล ศุภลักษณ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต และขอเปลี่ยนแปลงการเปิดทำการสอนระดับก่อนประถมศึกษาจากเดิม อนุบาล 1 - 2 เป็นอนุบาล 1 - 3
  • พ.ศ. 2533 บาทหลวงสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต ได้มีการปรับปรุงสนามเด็กเล่น ด้านหลังบ้านพักภคินี ด้านอาคารสถานที่ได้เทปูนสนามเด็กเล่น หน้าโรงอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นที่เล่นกีฬา
  • พ.ศ. 2536 บาทหลวงอดิศักดิ์ สมแสงสรวง เป็นผู้รับใบอนุญาต
  • พ.ศ. 2537 ซิสเตอร์สุนีย์พร กตัญญู เป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2539 เขตมิสซังกรุงเทพ ฯ ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ในพื้นที่ที่เตรียมไว้ห่างจากสถานที่เดิมประมาณ 200 เมตร และในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ วัดและโรงเรียนหลังใหม่ ทำการก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 1 หลัง 17 เมษายน 2541ย้ายโรงเรียนจากสถานที่ตั้งเดิมไปยังสถานที่ตั้งใหม่ตั้งอยู่เลขที่ 83 หมู่ที่ 3 แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เปิดทำการสอนในระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษาพ.ศ. 2542 บาทหลวงธีรวัฒน์ เสนางค์นารถ เป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการ
  • พ.ศ. 2543 ซิสเตอร์จารุณี กิจบำรุง เป็นครูใหญ่ ได้จัดวางแผนงานเพื่อรองรับ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา และรับรองมาตรฐานการศึกษา พัฒนาบุคลากร และอาคารสถานที่ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2544 โรงเรียนตรีมิตรวิทยาเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ( ม.1 - ม.2 ) วันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2544 โรงเรียนได้รับการตรวจประกันคุณภาพการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2546 บาทหลวงสำรวย กิจสำเร็จ เป็นผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์วีรวรรณ กิจเจริญ เป็นผู้จัดการ /ครูใหญ่
  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระหว่างวันที่ 22 , 24 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 และจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาจีนและภาษาอังกฤษแบบ Intensive Course ขึ้น
  • พ.ศ. 2549 ขยายชั้นเรียน ม. 1 จาก 2 ห้องเป็น 3 ห้อง พร้อมส่งเสริมสนับสนุนผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมเด็กก่อนวัยเรียนร่วมกับทางโรงเรียนและจัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์บริการคุณครูในการทำงาน ( Service Room ) แสดงถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในด้านการจัดทำผลการสอบและเอกสารผลการเรียนอีกระดับหนึ่ง
  • พ.ศ. 2550 ขยายชั้นเรียน ม. 2 จาก 2 ห้องเป็น 3 ห้อง จัดให้มีศูนย์การเรียนเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Education Center) ขึ้นที่อาคารศิลา 1 ห้องเรียนและอาคารนาวา 1 ห้องเรียน และได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนเตรียมอนุบาล ตามใบอนุญาตเลขที่ กส 1243/2550 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
  • พ.ศ. 2551 ซิสเตอร์มยุรา วาปีโส เป็นครูใหญ่ โรงเรียนเข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รอบที่ 2 และได้รับรองคุณภาพในการศึกษาในปี พ.ศ. 2551-2555 ทำการขยายห้องเรียน Intensive จำนวน 2 ห้องและปรับภูมิทัศน์ต่างภายในโรงเรียน
  • พ.ศ. 2552 บาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ เป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ ได้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ พร้อมทั้งปรับปรุงหก้องเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่จำนวน 1 ห้องเรียน เพื่อการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำการปรับปรุงอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ต่างๆภายในและบริเวณโดยรอบ ติดตั้งระบบวงจรปิด ภายในบริเวณทั้งหมดของโรงเรียน และบริเวณโบสถ์และบ้านพักผู้บริหาร
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้จัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษในระดับมัธยมต้นอีกด้วย ในปีการศึกษานี้ทางโรงเรียนยังได้ทำการปรับปรุงห้องเรียน อาคารเรียน เช่น ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา (Sound Lab) ปรับปรุงเวทีหลักในอาคารมานนา และสร้างเวทีย่อในอาคารนาวา (ตึกเรียนอนุบาล ,ป.1) พร้อมทั้งติดตั้งระบบไฟ แสง สี เสียง อีกด้วย
  • พ.ศ. 2554 ในปีการศึกษานี้ทางโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "ตรีมิตรวิทยา" เป็น "เซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี" เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเรียน และเปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4) เป็นปีแรก ในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน และสายคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน อีกทั้งได้ทำการปรับปรุงอาคารสถานที่มากมาย เช่น จัดทำห้องบูรณาการของระดับชั้นปฐมวัย ปรับปรุงห้องฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ติดตั้งระบบ Wi-fi ทั่วบริเวณโรงเรียน สร้างหลังคาบังแดดระหว่างอาคารศิลา (ตึกอาคารเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 - มัธยมศึกษาปีที่ 4) กับ อาคารมานนา (ตึกอาคารโรงอาหารและหอประชุม)โโดยจะเริ่มทำการก่อสร้างในเดือนเมษายน 2554
  • พ.ศ. 2555 เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นปีแรก ในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน และสายคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2556 เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นปีแรก ในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน และสายคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้องเรียน

ปัจจุบัน โรงเรียนเซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 148 ถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160

ผู้บริหาร[แก้]

อาคารเรียน[แก้]

  • อาคารตรีเอกภาพ
    • ชั้นที่ 1 ที่ทำการของผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ห้องธุรการ-การเงิน ห้องถ่ายเอกสาร-โรเนียว ห้องพยาบาล(ใหญ่) ห้องน้ำผู้ปกครอง
    • ชั้นที่ 2 ห้องวิชาการ ห้องวัดผล ห้องแนะแนว ห้องจิตตาภิบาล ห้องฝ่ายบริหารจัดการทั่วไปและสัมพันธชุมชน ห้องประชุมเล็ก
    • ชั้นที่ 3 ห้องสารสนเทศ ห้องประชุมใหญ่ ห้องเก็บของ
  • อาคารนาวา
    • ชั้นที่ 1 ห้องอนุบาล ห้องฝ่ายอาคารสถานที่ ห้องพยาบาล ห้องเรียนระดับชั้นเตรียมอนุบาล อนุบาล 1 โรงอาหาร สระว่ายน้ำ แผนกเบอเกอรี่ ลานโถงใหญ่ ซึ่งมีเวทีพร้อมระบบแสง สี เสียง
    • ชั้นที่ 2 ห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 ห้องศิลปะ ห้องดนตรี-นาฏศิลป์ ห้องศูนย์สื่อการเรียนรู้ ห้องพักครูประถม 1 และ Intensive Course ห้องพักครูต่างชาติ จากสถาบัน NAVA และ OKLS
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ Intensive Course ห้องคอมพิวเตอร์ ห้อง I-tec 1 ห้อง I-tec 2
  • อาคารศิลา
    • ชั้นที่ 1 ห้อง Sevice room ห้องสตูดิโอ ห้องฝ่ายกิจการนักเรียน(ปกครอง) ห้องสหการณ์ ห้องพักครูจำนวน 2 ห้อง และห้องสมุด
    • ชั้นที่ 2 ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4
    • ชั้นที่ 3 ห้องเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
    • ชั้นที่ 4 ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    • ชั้นที่ 5 ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ห้องพักคณะครูระดับชั้นมัธยมปลาย ห้องฟิสิกส์ ห้องชีววิทยาและเคมี ห้องคอมพิวเตอร์
  • อาคารมานนา ใช้เป็นโรงอาคารและหอประชุมโดยยังมีเวทีหลัก พร้อมระบบเสียง โรงครัว และที่ทำการแผนกโภชนาการ
  • ธนาคารโรงเรียน ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารนาวา ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการธนาคารของโรงเรียน เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์

โครงการในอนาคต[แก้]

  • อาคารเรียนมัธยมตอนปลาย

นักเรียนที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′09″N 100°25′50″E / 13.735770°N 100.430609°E / 13.735770; 100.430609