อัลกุรอาน
อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน หรือ โก้หร่าน[1] (อาหรับ: القرآن, แปลตรงตัว 'สิ่งที่ถูกอ่าน') เป็นคัมภีร์ของศาสนาอิสลามที่มุสลิมเชื่อว่าถูกประทานมาจากพระเป็นเจ้า (อัลลอฮ์ ซ.บ.)[2] ซึ่งถือกันโดยทั่วไปกว่าเป็นผลงานวรรณกรรมภาษาอาหรับคลาสสิกที่ดีที่สุด[3][4][i][ii] อัลกุรอานแบ่งออกเป็น 114 บท (ซูเราะฮ์ (อาหรับ: سور; เอกพจน์: อาหรับ: سورة)) ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายโองการ (อายะฮ์ (อาหรับ: آيات; เอกพจน์: อาหรับ: آية))
มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอานถูกประทานแบบปากเปล่าจากพระเจ้าแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ศาสดาคนสุดท้ายผ่านเทวทูตญิบรีล[7][8] ทีละเล็กทีละน้อยเป็นระยะเวลากว่า 23 ปี ตั้งแต่เดือนเราะมะฎอน[9] ในตอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) อายุ 40 ปี และจบลงหลังท่านเสียชีวิตใน ค.ศ. 632[2][10][11] มุสลิมถือว่าอัลกุรอานเป็นปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) โดยเป็นหลักฐานในการเป็นศาสดาของท่าน[12]และเป็นคัมภีร์ชุดสุดท้ายที่ถูกประทานมาตั้งแต่สมัยนบีอาดัม (อ.) ได้แก่ เตารอต (โทราห์), ซะบูร ("เพลงสดุดี") และอินญีล ("พระวรสาร; ไบเบิล") ในอัลกุรอานมีคำว่า กุรอาน ปรากฏอยู่ 70 ที่ และมีชื่อกับคำอื่นที่สามารถอิงถึงอัลกุรอานได้[13]
มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอานไม่ได้เพียงแค่ถูกประทานลงมาเท่านั้น แต่ยังเป็นพระดำรัสจากพระเจ้าด้วย[14] ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ไม่ได้เขียนมันเพราะท่านเขียนไม่เป็น โดยมีเหล่าเศาะฮาบะฮ์บางส่วนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ทำหน้าที่คัดลอก บันทึกโองการแทน[15] หลังท่านศาสดาเสียชีวิตไม่นาน เหล่าเศาะฮาบะฮ์จึงทำหน้าที่รวบรวมอัลกุรอาน ผ่านการเขียนหรือจำบางส่วน[16] เคาะลีฟะฮ์อุษมานเป็นผู้จัดตั้งฉบับมาตรฐานที่มีชื่อว่าอุษมานิกโคเด็กซ์ ซึ่งทั่วไปถือว่าเป็นต้นแบบของอัลกุรอานในปัจจุบัน แต่มีวิธีการอ่านหลายแบบ[15]
มีการกล่าวถึงอัลกุรอานว่า เป็นคัมภีร์ที่ชี้นำมวลมนุษยชาติ (กุรอาน 2:185) บางครั้งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์จำเพาะ และมักเน้นความสำคัญทางศีลธรรมของเหตุการณ์มากกว่าลำดับการเล่าเรื่อง[17] สิ่งที่เสริมอัลกุรอานด้วยคำอธิบายโองการอัลกุรอานที่คลุมเครือ และการพิจารณาคดีที่มีส่วนในหลักการชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) ในนิกายส่วนใหญ่ของอิสลาม[18][iii] คือฮะดีษ—ธรรมเนียมทั้งทางวาจาและลายลักษณ์อักษรที่เชื่อว่าเป็นเป็นคำพูดและการกระทำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) [iv][18] ในช่วงเวลาละหมาด จะอ่านอัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับเท่านั้น[19]
ผู้ที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มจะถูกเรียกเป็นฮาฟิซ ('ผู้ท่องจำ') ในช่วงเดือนเราะมะฎอน มุสลิมมักจะอ่านอัลกุรอานทั้งเล่มในช่วงละหมาดตะรอเวียะห์ ถ้ามุสลิมคนไหนต้องการอนุมานความหมายของโองการ มุสลิมจะพึ่งอรรถกถาหรือคำบรรยาย (ตัฟซีร) มากกว่าการแปลตรงตัว[20]
ศัพทมูลวิทยาและความหมาย
[แก้]คำว่าอัลกุรอานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานประมาณ 70 ครั้ง โดยมีหลายความหมาย คำนี้เป็นคำนามที่มาจากคำกริยา (มัศดัร) ว่า เกาะเราะอะ (قرأ) แปลว่า 'เขาอ่าน' หรือ 'เขาถูกอ่าน' ซึ่งตรงกับภาษาซีรีแอกว่า qeryānā (ܩܪܝܢܐ) ซึ่งสื่อถึง 'การอ่านคัมภีร์' หรือ 'บทเรียน'[21] ในขณะที่นักวิชาการตะวันตกบางส่วนถือว่าคำนี้มาจากภาษาซีรีแอก ส่วนมุสลิมที่มีอำนาจส่วนใหญ่ถือต้นกำเนิดของคำนี้มาจากคำว่า เกาะเราะอะ[2] ถึงกระนั้น คำนี้กลายเป็นภาษาอาหรับในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล)[2]
ประวัติ
[แก้]สมัยศาสดา
[แก้]ในบันทึกทางประวัติศาตร์อิสลามได้บันทึกไว้ว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล)ได้รับโองการแรกในถ้ำฮิรออ์ในคืนหนึ่งที่ท่านแยกตัวอยู่คนเดียวบนภูเขา หลังจากนั้น ท่านได้รับโองการใหม่ตลอด 23 ปี ตามรายงานจากฮะดีษและประวัติศาสตร์มุสลิม หลังจากมุฮัมมัดอพยพไปยังมะดีนะฮ์และก่อตั้งสังคมมุสลิมขึ้น ท่านสั่งให้เศาะฮาบะฮ์หลายคนอ่านอัลกุรอาน เรียนรู้ และใช้งานในด้านกฎหมาย กล่าวกันว่าชาวกุเรชบางส่วนที่ถูกจับเป็นเชลยในยุทธการที่บะดัรได้รับอิสรภาพหลังสอนมุสลิมให้อ่านภาษาแบบพื้นฐานออกในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้น กลุ่มมุสลิมจึงอ่านหนังสือออก เพราะในตอนแรก กุรอานถูกบันทึกในแผ่นดินเหนียว กระดูก และส่วนปลายที่กว้างของใบต้นอินทผลัม อย่างไรก็ตาม อัลกุรอานยังไม่ได้รวมเป็นเล่มในตอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เสียชีวิตใน ค.ศ. 632[22][23][24] มีข้อตกลงระหว่างนักวิชาการว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ไม่ได้เขียนคัมภีร์นี้[25]
มีฮะดีษในเศาะฮีฮ์ อัลบุคอรีที่บันทึกว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) กล่าวถึงการประทานโองการว่า "บางครั้ง (ถูกประทาน) เหมือนเสียงสั่นของกระดิ่ง" และพระนางอาอิชะฮ์ (รอฎิยัลลอฮุอันฮา) รายงานว่า "ฉันเห็นท่านศาสดาได้รับโองการในวันที่เย็นมาก และสังเกตเห็นเหงื่อไหลออกจากหน้าผากของท่าน (หลังประทานเสร็จแล้ว)"[v] รายงานจากอัลกุรอาน โองการแรกของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ถูกประทานมาจาก "ผู้ทรงพลังอำนาจอันมากมาย"[27] ซึ่งเป็น "ผู้ทรงพลังอันแข็งแรง ดังนั้นเขาจึงปรากฏในสภาพที่แท้จริง ขณะที่เขาอยู่บนขอบฟ้าอันสูงส่ง แล้วเขาได้เข้ามาใกล้ และเข้ามาใกล้จนชิด เขาเข้ามาใกล้ (จนอยู่) ในระยะของปลายคันธนูทั้งสอง หรือใกล้กว่านั้นอีก"[23][28] Welch กล่าวว่า ยังไม่เป็นที่กระจ่างว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) อ้างตนเองเป็นศาสดา[29]
อัลกุรอานกล่าวถึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เป็น "อุมมี"[30] ซึ่งมักแปลว่า 'ไม่รู้หนังสือ' แต่ความหมายที่แท้จริงซับซ้อนกว่านี้ อัฏเฏาะบะรีกล่าวว่า คำนี้มีสองความหมาย ความหมายแรกคือการที่ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้ในแบบทั่วไป ความหมายที่สองคือการขาดประสบการณ์หรือไม่รู้ถึงหนังสือหรือพระคัมภีร์ก่อนหน้า (แต่ส่วนใหญ่มักให้แก่ความหมายแรก) การไม่รู้หนังสือของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ถูกยกเป็นสัญญาณหนึ่งของการเป็นศาสดา โดยฟัครุดดีน อัรรอซีรายงานว่า ถ้าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) มีความเชี่ยวชาญในด้านการเขียนหรือการอ่าน เขาอาจจะถูกสงสัยว่าได้ศึกษาหนังสือของบรรพบุรุษมาก่อนแล้ว นักวิชาการบางส่วนเช่น Watt ยอมรับในความหมายที่สองของคำว่า อุมมี—โดยบ่งบอกว่าพวกเขาไม่คุ้นเคยกับคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สมัยก่อน[23][31]
โองการสุดท้ายของอัลกุรอานถูกประทานในวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 10 ซึ่งน่าจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 632 ที่ท่านศาสดาเสร็จจากการให้โอวาทที่เฆาะดีรคุมม์
การรวบรวมและรักษา
[แก้]หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เสียชีวิตใน ค.ศ. 632 เศาะฮาบะฮ์จำนวนมากที่รู้กุรอานจากใจถูกฆ่าในยุทธการที่อัลยะมามะฮ์โดยมุซัยลิมะฮ์ อะบูบักร์ (เสียชีวิตใน ค.ศ. 634) เคาะลีฟะฮ์องค์แรกตัดสินใจรวบรวมหนังสือให้เป็นฉบับเดียว โดยให้ซัยด์ อิบน์ ษาบิต (เสียชีวิตใน ค.ศ. 655) เป็นคนรวบรวมอัลกุรอาน เพราะ "เขาเคยเขียนพระดำรัสจากศาสนทูตของอัลลอฮ์" ดังนั้น กลุ่มผู้บันทึก โดยเฉพาะซัยด์ จึงรวบรวมโองการและผลิตเป็นเอกสารตัวเขียนฉบับเต็ม โดยต้องเก็บจากแผ่นหนัง ก้านใบตาล หินบาง และจากคนที่จำขึ้นใจ เอกสารเหล่านี้ยังคงอยู่กับเขาจนกระทั่งอะบูบักร์เสียชีวิต[32] ใน ค.ศ. 644 หน้าที่นี้จึงตกไปเป็นของฮัฟเศาะฮ์ บินต์ อุมัร ภรรยาหม้ายของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) แล้วท้ายที่สุด อุสมาน อิบน์ อัฟฟาน เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 3 จึงสั่งให้ทำฉบับมาตรฐานจากของฮัฟเศาะฮ์ในช่วงประมาณ ค.ศ. 650[33]
ในประมาณ ค.ศ. 650 เคาะลีฟะฮ์องค์ที่สาม อุษมาน อิบน์ อัฟฟาน (เสียชีวิตใน ค.ศ. 656) เริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างในการออกเสียงกุรอาน เพราะศาสนาอิสลามเริ่มขยายออกนอกคาบสมุทรอาหรับไปยังเปอร์เซีย ลิแวนต์ และแอฟริกาเหนือ เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของอัลกุรอาน พระองค์จึงสั่งให้คณะกรรมการที่มีซัยด์เป็นหัวหน้า นำเอกสารของอะบูบักร์มาใช้และเตรียมทำอัลกุรอานฉบับมาตรฐาน[22][34] จากนั้นจึงส่งฉบับนั้นไปทั่วโลกมุสลิมและเชื่อว่าฉบับอื่น ๆ อาจถูกเผาทำลาย[22][35][36][37] นักวิชาการมุสลิมยอมรับว่าอัลกุรอานฉบับปัจจุบันเป็นฉบับดั้งเดิมที่รวบรวมโดยอะบูบักร์[23][24][vi]
ชีอะฮ์รายงานว่า อะลี (เสียชีวิต ค.ศ. 661) รวมฉบับกุรอานไม่นานหลังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เสียชีวิต ถึงกระนั้น ท่านไม่ได้โต้แย้งในการทำกุรอานฉบับมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีกุรอานฉบับอื่น เช่นฉบับของอิบน์ มัสอูดกับอุบัย อิบน์ กะอับ ไม่มีเล่มใดเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน[2][22][39]
ความสำคัญในศาสนาอิสลาม
[แก้]ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอานคือพระดำรัสสุดท้ายที่พระเจ้าประทานแก่มวลมนุษย์ ซึ่งเป็นคำแนะนำจากพระเจ้าที่เปิดเผยแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ผ่านเทวทูตญิบรีล[10][40]
เพราะเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้
ไม่ควรตั้งมันใต้หนังสืออื่น ๆ แต่ตั้งข้างบนหนังสืออื่น ๆ เสมอ...และจะต้องฟังอย่างตั้งใจ มันเป็นวัตถุมงคลที่สามารถปัดเป่าโรคและภัยพิบัติได้[41][42]
ตามธรรมเนียม มีการให้ความสำคัญอย่างมากในการให้เด็ก ๆ จำโองการอัลกุรอานมากกว่า 6,200 โองการ ใครก็ตามที่ทำได้จะได้ยศนำหน้าว่าฮาฟิซ และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนถือว่ามันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์[43][44]
บางโองการในอัลกุรอานกล่าวโดยนัยว่าถ้ามีคนอ่านอัลกุรอาน แม้แต่คนที่ไม่พูดภาษาอาหรับก็สามารถเข้าใจได้[45] อัลกุรอานกล่าวถึงคัมภีร์ฉบับก่อนถูกเขียนว่า "อยู่ในแผ่นจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้" ซึ่งเป็นพระดำรัสจากพระเจ้าก่อนที่จะถูกประทานลงมา[46][47]
มุสลิมเชื่อว่าโองการในอัลกุรอานสอดคล้องกับโองการที่ประทานแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) และตามการตีความในโองการ 15:9 ระบุว่าถูกป้องกันจากการบิดเบือน ("แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน")[48]
ในการสักการะ
[แก้]ผู้คนจะอ่านอัลฟาติฮะฮ์หลายครั้งในเวลาละหมาดและในโอกาสอื่น ๆ ซูเราะฮ์นี้มี 7 อายะฮ์ ซึ่งเป็นซูเราะฮ์ที่ถูกอ่านมากที่สุดในอัลกุรอาน:[2]
بِسْمِ ٱللَّهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ |
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ |
—กรอาน 1:1–7 | —แปลไทย |
การเคารพข้อความอัลกุรอานเป็นสิ่งสำคัญในความเชื่อของมุสลิมหลายคน โดยบางส่วนเชื่อว่าตนต้องทำน้ำละหมาดก่อนจับอัลกุรอาน แม้ว่ามุมมองนี้จะไม่เป็นสากลก็ตาม[2] อัลกุรอานที่ขาดชำรุดจะเก็บในผ้าและตั้งในที่ที่ปลอดภัย ฝังในมัสยิดหรือสุสานมุสลิม หรือเผาและนำขี้เถ้าไปฝังหรือโปรยลงน้ำ[49]
การแปล
[แก้]การแปลอัลกุรอานมักมีปัญหาและความยุ่งยากเสมอ ส่วนใหญ่โต้แย้งว่าโองการในอัลกุรอานไม่สามารถแปลเป็นภาษาหรือรูปแบบอื่นได้[50] มากไปกว่านั้น คำศัพท์ภาษาอาหรับอาจมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับรายละเอียด ทำให้การแปลอย่างสมบูรณ์ยิ่งยากขึ้นไปอีก[51]
ถึงกระนั้น อัลกุรอานก็ถูกแปลเป็นภาษาในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และยุโรปส่วนใหญ่[39] ผู้แปลอัลกุรอานคนแรกคือซัลมาน อัลฟาริซี ผู้แปลซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ไปเป็นภาษาเปอร์เซียในคริสต์ศตวรรษที่ 7[52] ต่อมามีการแปลอัลกุรอานเสร็จใน ค.ศ. 884 ที่อัลวาร์ (แคว้นสินธ์ ประเทศอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) ตามพระราชกระแสรับสั่งของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ ตามคำขอของฮินดูราชเมฮ์รุก (Hindu Raja Mehruk)[53]
ใน ค.ศ. 1936 มีการแปลอัลกุรอานไปแล้ว 102 ภาษา[51] ใน ค.ศ. 2010 ทาง Hürriyet Daily News and Economic Review รายงานว่า ในนิทรรศการกุรอานนานาชาติครั้งที่ 18 ที่เตหะราน มีอัลกุรอานที่ถูกแปลเป็นภาษาอื่นถึง 112 ภาษา[54]
Lex Mahumet pseudoprophete อัลกุรอานฉบับแปลของรอเบิร์ตแห่งเคตตันใน ค.ศ. 1143 เป็นหนังสือแรกที่แปลเป็นภาษาตะวันตก (ภาษาลาติน)[55]
-
อัลกุรอานฉบับภาษาอาหรับที่มีคำแปลภาษาเปอร์เซียในสมัยจักรวรรดิข่านอิล
-
อัลกุรอานฉบับตีพิมพ์แรกในภาษาพื้นถิ่นในยุโรป: L'Alcoran de Mahomet, André du Ryer, 1647.
-
หน้าปกอัลกุรอานฉบับภาษาเยอรมันเล่มแรก (ค.ศ. 1772)
-
โองการที่ 33 และ 34 ของซูเราะฮ์ยาซีนในอัลกุรอานฉบับแปลภาษาจีน
ความสัมพันธ์กับวรรณกรรมอื่น
[แก้]คัมภีร์ไบเบิล
[แก้]พระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์นั้น ลงมาแก่เจ้าเป็นครั้งคราว พร้อมด้วยความจริง เพื่อยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้าคัมภีร์นั้น และได้ทรงประทานอัตเตารอต และอัล-อินญีล (ให้มี) มาก่อน ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์...[57]
อัลกุรอานได้ระบุความสัมพันธ์ของคัมภีร์ก่อนหน้า (โทราห์และพระวรสาร) ว่ามาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน[58]
Christoph Luxenberg กล่าวว่าภาษาในอัลกุรอานมีความคล้ายกับภาษาซีรีแอก[59] อัลกุรอานมีเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนและเหตุการณ์ในคัมภีร์ของชาวยิวและคริสต์ (ทานัค, ไบเบิล) แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน ท่านนบีมูซา (อ.) ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าคนอื่น ๆ[60] และพระเยซูถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) (เฉพาะชื่อ — มุฮัมมัดมักพาดพิงในฐานะ "ท่านศาสดา" หรือ "ศาสนทูต") ส่วนมารีย์ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าพันธสัญญาใหม่[61]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ opening page.
"Its outstanding literary merit should also be noted: it is by far, the finest work of Arabic prose in existence."[5]
- ↑
"It may be affirmed that within the literature of the Arabs, wide and fecund as it is both in poetry and in elevated prose, there is nothing to compare with it."[6]
- ↑ แต่ในลัทธิเล็ก ๆ อย่างเช่น คอรานิซึม จะใช้อัลกุรอานเป็นหลักฐานเท่านั้น
- ↑ ฮะดีษมาจากมุฮัมมัดเป็นหลัก แต่บางส่วนมาจากคนใกล้ชิดของท่าน นักวิชาการมุสลิมได้ทำงานอย่างระมัดระวังในการตรวจสอบมัน
- ↑ "God's Apostle replied, 'Sometimes it is (revealed) like the ringing of a bell, this form of Inspiration is the hardest of all and then this state passes off after I have grasped what is inspired. Sometimes the Angel comes in the form of a man and talks to me and I grasp whatever he says.' ʻAisha added: Verily I saw the Prophet being inspired Divinely on a very cold day and noticed the Sweat dropping from his forehead (as the Inspiration was over)."[26]
- ↑ "Few have failed to be convinced that … the Quran is … the words of Muhammad, perhaps even dictated by him after their recitation."[38]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ส.พลายน้อย. เกร็ดภาษา หนังสือไทย ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2560, หน้า 150
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Nasr, Seyyed Hossein (2007). "Qurʼān". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ Patterson, Margot. 2008. Islam Considered: A Christian View. Liturgical Press. p. 10.
- ↑ Ali, Mir Sajjad, and Zainab Rahman. 2010. Islam and Indian Muslims. Guan Publishing House. p. 24 (citing N. J. Dawood's judgement).
- ↑ Alan Jones, The Koran, London 1994, ISBN 1842126091
- ↑ Arthur Arberry, The Koran Interpreted, London 1956, ISBN 0684825074, p. 191.
- ↑ Lambert, Gray (2013). The Leaders Are Coming!. WestBow Press. p. 287. ISBN 9781449760137.
- ↑ Roy H. Williams; Michael R. Drew (2012). Pendulum: How Past Generations Shape Our Present and Predict Our Future. Vanguard Press. p. 143. ISBN 9781593157067.[ลิงก์เสีย]
- ↑ * Shaikh, Fazlur Rehman. 2001. Chronology of Prophetic Events. Ta-Ha Publishers Ltd. p. 50.
- ↑ 10.0 10.1 Fisher, Mary Pat. 1997. Living Religions: An Encyclopaedia of the World's Faiths. I. B. Tauris Publishers. p. 338.
- ↑ อัลกุรอาน 17:106
- ↑ Peters, F.E. (2003). The Words and Will of God. Princeton University Press. pp. 12–13. ISBN 978-0-691-11461-3.
- ↑ Brannon M. Wheeler (2002). Prophets in the Quran: An Introduction to the Quran and Muslim Exegesis. A&C Black. p. 2. ISBN 978-0-8264-4957-3.
- ↑ Carroll, Jill. "The Quran & Hadith". World Religions. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
- ↑ 15.0 15.1 Donner, Fred. 2006. "The historical context." Pp. 31–33 in The Cambridge Companion to the Qur'ān, edited by J. D. McAuliffe. Cambridge University Press.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อjecampo
- ↑ Nasr, Seyyed Hossein (2003). Islam: Religion, History and Civilization. HarperSanFrancisco. p. 42. ISBN 978-0-06-050714-5.
- ↑ 18.0 18.1 Rice, G. 2011. Handbook of Islamic Marketing. p. 38.
- ↑ Street, Brian V. 2001. Literacy and Development: Ethnographic Perspectives. p. 193.
- ↑ Brown, Norman Oliver. 1991. Apocalypse And/or Metamorphosis. p. 81.
- ↑ "The Comprehensive Aramaic Lexicon". cal.huc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Tabatabai, Sayyid M. H. (1987). The Qur'an in Islam : its impact and influence on the life of muslims. Zahra Publ. ISBN 978-0710302663.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 Richard Bell (Revised and Enlarged by W. Montgomery Watt) (1970). Bell's introduction to the Qur'an. Univ. Press. pp. 31–51. ISBN 978-0852241714.
- ↑ 24.0 24.1 P.M. Holt, Ann K.S. Lambton and Bernard Lewis (1970). The Cambridge history of Islam (Reprint. ed.). Cambridge Univ. Press. p. 32. ISBN 9780521291354.
- ↑ Denffer, Ahmad von (1985). Ulum al-Qur'an : an introduction to the sciences of the Qur an (Repr. ed.). Islamic Foundation. p. 37. ISBN 978-0860371328.
- ↑ Translation of Sahih Bukhari, Book 1 เก็บถาวร 10 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Center for Muslim-Jewish Engagement.
- ↑ กุรอาน 53:5
- ↑ กุรอาน 53:6-9
- ↑ Buhl, Fr. [1913-1936] 2012. “Muhammad.” In Encyclopedia of Islam (1st ed.), edited by M. Th. Houtsma, T.W. Arnold, R. Basset, R. Hartmann. doi:10.1163/2214-871X_ei1_SIM_4746.
- ↑ กุรอาน 7:157
- ↑ Günther, Sebastian (2002). "Muhammad, the Illiterate Prophet: An Islamic Creed in the Quran and Quranic Exegesis". Journal of Quranic Studies. 4 (1): 1–26. doi:10.3366/jqs.2002.4.1.1. ISSN 1465-3591.
- ↑ Roslan Abdul-Rahim (December 2017). "Demythologizing the Qur'an Rethinking Revelation Through Naskh al-Qur'an". Global Journal Al-Thaqafah. 7 (2): 62. doi:10.7187/GJAT122017-2. ISSN 2232-0474.
- ↑ "Wat is de Koran?". Koran.nl (ภาษาดัตช์). 18 February 2016.
- ↑ al-Bukhari, Muhammad (810–870). "Sahih Bukhari, volume 6, book 61, narrations number 509 and 510". sahih-bukhari.com. สืบค้นเมื่อ 16 February 2018.
- ↑ Rippin, Andrew; และคณะ (2006). The Blackwell companion to the Qur'an ([2a reimpr.] ed.). Blackwell. ISBN 978140511752-4.
- "Poetry and Language," by Navid Kermani, pp. 107–20.
- For the history of compilation see "Introduction," by Tamara Sonn, pp. 5–6
- For eschatology, see "Discovering (final destination)," by Christopher Buck, p. 30.
- For literary structure, see "Language," by Mustansir Mir, p. 93.
- For writing and printing, see "Written Transmission," by François Déroche, pp. 172–87.
- For recitation, see "Recitation," by Anna M. Gade pp. 481–93
- ↑ Mohamad K. Yusuff, Zayd ibn Thabit and the Glorious Qur'an
- ↑ Cook, The Koran, 2000: pp. 117–24
- ↑ F.E. Peters (1991), pp. 3–5:
- ↑ 39.0 39.1 Leaman, Oliver (2006). The Qur'an: an Encyclopedia. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-32639-1.
- For God in the Quran (Allah), see "Allah," by Zeki Saritoprak, pp. 33–40.
- For eschatology, see "Eschatology," by Zeki Saritoprak, pp. 194–99.
- For searching the Arabic text on the internet and writing, see "Cyberspace and the Qur'an," by Andrew Rippin, pp. 159–63.
- For calligraphy, see by "Calligraphy and the Qur'an" by Oliver Leaman, pp. 130–35.
- For translation, see "Translation and the Qur'an," by Afnan Fatani, pp. 657–69.
- For recitation, see "Art and the Qur'an" by Tamara Sonn, pp. 71–81; and "Reading," by Stefan Wild, pp. 532–35.
- ↑ Watton, Victor (1993), A student's approach to world religions: Islam, Hodder & Stoughton, p. 1. ISBN 978-0-340-58795-9
- ↑ Guillaume, Islam, 1954: p.74
- ↑ Ibn Warraq, Why I'm Not a Muslim, 1995: p.105
- ↑ Guessoum, Nidhal (June 2008). "ThE QUR'AN, SCIENCE, AND THE (RELATED)CONTEMPORARY MUSLIM DISCOURSE". Zygon. 43 (2): 411+. doi:10.1111/j.1467-9744.2008.00925.x. ISSN 0591-2385. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ SARDAR, ZIAUDDIN (21 August 2008). "Weird science". New Statesman. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
- ↑ Jenssen, H. 2001. "Arabic Language." Pp. 127–35 in Encyclopaedia of the Qur'ān 1, edited by McAuliffe, et al. Leiden: Brill.
- ↑ Sonn, Tamara (2010). Islam : a brief history (Second ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-8093-1.
- ↑ กุรอาน 85:22
- ↑ Mir Sajjad Ali; Zainab Rahman (2010). Islam and Indian Muslims. Kalpaz Publications. p. 21. ISBN 978-8178358055.
- ↑ "Afghan Quran-burning protests: What's the right way to dispose of a Quran?". Slate Magazine. 2012-02-22.
- ↑ Aslan, Reza (20 November 2008). "How To Read the Quran". Slate. สืบค้นเมื่อ 21 November 2008.
- ↑ 51.0 51.1 Fatani, Afnan. 2006. "Translation and the Qur'an." Pp. 657–69 in The Qur'an: an Encyclopedia, edited by O. Leaman. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-32639-1.
- ↑ An-Nawawi, Al-Majmu', (Cairo, Matba‘at at-Tadamun n.d.), 380.
- ↑ "English Translations of the Quran". Monthlycrescent.com. July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2014.
- ↑ "More than 300 publishers visit Quran exhibition in Iran". Hürriyet Daily News and Economic Review. 12 August 2010.
- ↑ Bloom, Jonathan; Blair, Sheila (2002). Islam: A Thousand Years of Faith and Power. New Haven: Yale University Press. p. 42.
- ↑ "1 Krallar Bölüm 11 (1 Kings)". kutsalkitap.info. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021.
- ↑ 3:3 نزل عليك الكتاب بالحق مصدقا لما بين يديه وانزل التوراة والانجيل
- ↑ อัลกุรอาน 2:285
- ↑ Luxenberg, Christoph (2007). The Syro-Aramaic reading of the Koran : a contribution to the decoding of the language of the Koran. Berlin: H.Schiler. ISBN 978-3899300888.
- ↑ Annabel Keeler, "Moses from a Muslim Perspective", in: Solomon, Norman; Harries, Richard; Winter, Tim (eds.), Abraham's children: Jews, Christians and Muslims in conversation, T&T Clark Publ. (2005), pp. 55–66.
- ↑ Esposito, John L. 2010. The Future of Islam. US: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516521-0. p. 40. [[iarchive:futureofislam0000espo/page/40|]]
บรรณานุกรม
[แก้]- Guessoum, Nidhal (2011). Islam's Quantum Question: Reconciling Muslim Tradition and Modern Science. I.B. Tauris. p. 174. ISBN 978-1848855175.
- Cook, Michael (2000). The Koran; A Very Short Introduction. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
The Koran; A Very Short Introduction.
อ่านเพิ่ม
[แก้]ตำราเบื้องต้น
[แก้]- Allen, Roger (2000). An Introduction to Arabic literature. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-77657-8.
- Bell, Richard; William Montgomery Watt (1970). Bell's introduction to the Qurʼān. Edinburgh University Press. ISBN 978-0-7486-0597-2.
- Corbin, Henry (1993) [1964 (in French)]. History of Islamic Philosophy, Translated by Liadain Sherrard, Philip Sherrard. London; Kegan Paul International in association with Islamic Publications for The Institute of Ismaili Studies. ISBN 978-0-7103-0416-2.
- Esposito, John; Yvonne Yazbeck Haddad (2000). Muslims on the Americanization Path?. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-513526-8.
- Hawting, G.R. (1993). Approaches to the Qur'ān (1 ed.). Routledge. ISBN 978-0-415-05755-4.
- Hixon, Lex (2003). The heart of the Qurʼan : an introduction to Islamic spirituality (2. ed.). Quest. ISBN 978-0835608220.
- Nasr, Seyyed Hossein (2003). Islam: Religion, History and Civilization. HarperSanFrancisco. ISBN 978-0-06-050714-5.
- —— (2007). "Qurʾān". Encyclopædia Britannica Online.
- Kugle, Scott Alan (2006). Rebel Between Spirit And Law: Ahmad Zarruq, Sainthood, And Authority in Islam. Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34711-4.
- Peters, Francis E. (1991). "The Quest of the Historical Muhammad". International Journal of Middle East Studies. 23 (3): 291–315. doi:10.1017/S0020743800056312.
- —— (2003). The Monotheists: Jews, Christians and Muslims in Conflict and Competition. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-12373-8.
- Rahman, Fazlur (2009) [1989]. Major Themes of the Qur'an (Second ed.). University Of Chicago Press. ISBN 978-0-226-70286-5.
- Rippin, Andrew (2006). The Blackwell companion to the Qur'an. Blackwell. ISBN 978-1-4051-1752-4.
- Robinson, Neal (2002). Discovering the Qur'an, Georgetown University Press. ISBN 978-1-58901-024-6
- Sells, Michael (15 November 1999), Approaching the Qur'ān: The Early Revelations (Book & CD ed.), White Cloud Press. ISBN 978-1-883991-26-5
- Tabatabae, Sayyid Mohammad Hosayn (1988). The Qur'an in Islam: Its Impact and Influence on the Life of Muslims. Routledge. ISBN 978-0-7103-0266-3.
- Wild, Stefan (1996). The Quʼran as Text. Brill. ISBN 978-90-04-09300-3.
ตัฟซีร
[แก้]- Al-Tabari, Jāmiʻ al-bayān ʻan taʼwīl al-qurʼān, Cairo 1955–69, transl. J. Cooper (ed.), The Commentary on the Qurʼān, Oxford University Press, 1987. ISBN 978-0-19-920142-6
- Tabatabae, Sayyid Mohammad Hosayn. Tafsir al-Mizan.
การศึกษาเฉพาะที่
[แก้]- McAuliffe, Jane Dammen (1991). Qurʼānic Christians: an analysis of classical and modern exegesis. New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36470-6.
- Siljander, Mark D.; Mann, John David (2008). A Deadly Misunderstanding: a Congressman's Quest to Bridge the Muslim-Christian Divide. New York: Harper One. ISBN 9780061438288.
- Stowasser, Barbara Freyer. Women in the Qur'an, Traditions and Interpretation, Oxford University Press; Reprint edition (1 June 1996), ISBN 978-0-19-511148-4
การวิจารณ์วรรณกรรม
[แก้]- M.M. Al-Azami (2003). The History of The Qur'anic Text: From Revelation to Compilation: A Comparative Study with the Old and New Testaments (First ed.). UK Islamic Academy. ISBN 978-1-872531-65-6.
- Boullata, Issa J. (Ed.) (2000). Literary Structures of Religious Meaning in the Qur'ān. Curzon Press. ISBN 0700712569.
- Luling, Gunter (2003). A challenge to Islam for reformation: the rediscovery and reliable reconstruction of a comprehensive pre-Islamic Christian hymnal hidden in the Koran under earliest Islamic reinterpretations. New Delhi: Motilal Banarsidass Publishers. (580 Seiten, lieferbar per Seepost). ISBN 978-81-208-1952-8.
- Luxenberg, Christoph (2004). The Syro-Aramaic Reading of the Koran: a contribution to the decoding of the language of the Koran, Berlin, Verlag Hans Schiler, 2007. ISBN 978-3-89930-088-8.
- Puin, Gerd R.. "Observations on Early Quran Manuscripts in Sana'a", in The Qurʾan as Text, ed. Stefan Wild, E.J. Brill 1996, pp. 107–111.
- Wansbrough, John. Quranic Studies, Oxford University Press, 1977
- Ibn Warraq (editor) (2013). Koranic Allusions: The Biblical, Qumranian, and Pre-Islamic Background to the Koran. Prometheus Books. p. 463. ISBN 978-1616147594. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015.
{{cite book}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
สารานุกรม
[แก้]- Encyclopaedia of the Qur'an. Jane Dammen McAuliffe et al. (eds.) (First ed.). Brill Academic Publishers. 2001–2006. ISBN 978-90-04-11465-4.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - The Qur'an: An Encyclopedia. Oliver Leaman et al. (eds.) (First ed.). Routledge. 2005. ISBN 978-0-415-77529-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - The Integrated Encyclopedia of the Qur'an. Muzaffar Iqbal et al. (eds.) (First ed.). Center for Islamic Sciences. 2013. ISBN 978-1-926620-00-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์)
วารสารวิชาการ
[แก้]- "Journal of Qur'anic Studies / Majallat al-dirāsāt al-Qurʹānīyah". Journal of Qur'anic Studies = Majallat Al-Dirāsāt Al-Qurʹānīyah. School of Oriental and African Studies. ISSN 1465-3591.
- "Journal of Qur'anic Research and Studies". Medina, Saudi Arabia: King Fahd Qur'an Printing Complex.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- อัลกุรอาน คัมภีร์ที่ไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลง
- อัลกุรอาน (สำนวนแปลอะบูอิสรอฟีล)
- อัลกุรอาน (สำนวนแปลสมาคมศิษย์เก่าอาหรับ)
เว็บไซต์และคำแปลอัลกุรอาน
[แก้]- Quran Archive - Texts and Studies on the Quran[ลิงก์เสีย]
- Quran text and translation at Tufts University
- Tanzil – Online Quran Navigator
- Quran.com
- Al-Quran.info เก็บถาวร 2009-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Holy Quran in Easy English, Urdu, Arabic and 70 other languages
- Read and Compare Koran Translations เก็บถาวร 2018-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Quran translation
- Multilingual Quran (Arabic, English, French, German, Dutch, Spanish, Italian)
- Koran Translations in many languages
การวิเคราะห์คำต่อคำ
[แก้]- Quranic Arabic Corpus, shows syntax and morphology for each word.
- Word for Word English Translation – emuslim.com
- Quran Word by Word QuranAcademy.org
เอกสารตัวเขียน
[แก้]- Several digitised Qurans in the Cambridge University Digital Library
- Corpus Coranicum research project at Berlin-Brandenburg Academy
- 2017-232-1 al-Qurʼān. / القرآن at OPenn
แหล่งที่มาอื่น
[แก้]- อัลกุรอาน ที่เว็บไซต์ Curlie
- The British Library: Discovering Sacred Texts - Islam เก็บถาวร 2022-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน