เวอร์จิน แอตแลนติก
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
![]() | ||||
| ||||
ก่อตั้ง | 1984 | |||
---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 22 มิถุนายน 1984 | |||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิค | |||
สะสมไมล์ | Flying Club | |||
ห้องรับรอง | Virgin Atlantic Clubhouse | |||
ขนาดฝูงบิน | 37 | |||
จุดหมาย | 30 | |||
บุคลากรหลัก | ริชาร์ด แบรนสัน | |||
เว็บไซต์ | www |
เวอร์จิน แอตแลนติก (อังกฤษ: Virgin Atlantic) เป็นสายการบินที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร สายการบินนี้ เป็นเจ้าของโดย 2 บริษัท ได้แก่ เวอร์จิน กรุ๊ป และ เดลต้า แอร์ไลน์[1] เวอร์จินแอตแลนติกมีเส้นทางบินจากท่าหลักที่ ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์และท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิค ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคริบเบียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และออสเตรเลีย โดยเที่ยวบินมากกว่า 75% ของทั้งหมด ปฏิบัติการ ณ ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่บินจากสนามบินลอนดอนแกตวิค สนามบินแมนเชสเตอร์ หรือสนามบินกลาสโกว์ เวอร์จิน แอตแลนติก บินไปยัง 31 เมือง ทั้งหมดอยู่ในแอฟริกา เอเชีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือแคริบเบียน
สายการบินนี้ก่อตั้งโดยเซอร์ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชาวอังกฤษในทศวรรษ 1980
พันธมิตร[แก้]
เวอร์จิน แอตแลนติก มีพันธมิตรทางธุรกิจ ดังนี้
จุดหมายปลายทาง[แก้]
เวอร์จิน แอตแลนติกมีจุดหมายปลายทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคริบเบียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และออสเตรเลีย
ฝูงบิน[แก้]
เวอร์จิน แอตแลนติก มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินอยู่ 37 ลำ ดังนี้
เครื่องบิน | ประจำการ | สั่งซื้อ | ที่นั่ง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
F | C | Y | ทั้งหมด | ||||
แอร์บัส เอ 330-200 | 2 | — | 19 | 35 | 212 | 266 | [2] |
แอร์บัส เอ 330-300 | 10 | — | 31 | 48 | 185 | 264 | [3] |
แอร์บัส เอ 330 นีโอ | — | 14 | — | — | — | รอการประกาศต่อไป | สั่งซื้อแบบ 6 ตัวเลือก[4]
กำหนดส่งมอบในปี 2565[5] |
แอร์บัส เอ 350-1000 | 7 | 4 | 44 | 56 | 235 | 335 | [6] |
16 | 56 | 325 | 397 | [7] | |||
โบอิง 787-9 | 17 | — | 31 | 35 | 198 | 264 | [8] |
ทั้งหมด | 37 | 18 |
เครื่องบิน แอร์บัส เอ-320
เครื่องบิน แอร์บัส เอ-330
เครื่องบิน แอร์บัส เอ-340
เครื่องบิน แอร์บัส เอ-350
เครื่องบิน โบอิ้ง 747
เครื่องบิน โบอิ้ง 767-300 อีอาร์
เครื่องบิน โบอิ้ง 787-9
การบริการ[แก้]

ห้องโดยสาร[แก้]
เวอร์จิน แอคแลนติก ให้บริการระดับชั้นของที่นั่งภายในห้องโดยสารอยู่ 3 ชั้น คือ ชั้นประหยัด, ชั้นประหยัดพรีเมียม, และชั้นอัปเปอร์คลาส
ชั้นประหยัด[แก้]
ชั้นประหยัดเป็นชั้นมาตรฐานของเครื่องบินในฝูงบินของเวอร์จิน แอตแลนติก การโดยสารชั้นนี้จะมีราคาที่ถูกที่สุด ผู้โดยสารมักจะได้รับอาหารฟรี เครื่องดื่ม และชุดอำนวยความสะดวกขนาดเล็ก ที่นั่งในชั้นนี้มีระยะห่างสูงสุด 31 นิ้ว แต่ขึ้นอยู่กับเครื่องบินแต่ละลำ
ชั้นประหยัดพรีเมียม[แก้]
ผู้โดยสารที่ใช้ชั้นประหยัดพรีเมียมจะมีพื้นที่เช็คอินเป็นของตัวเอง ผู้โดยสารจะมีอภิสิทธิ์ในการขึ้นเครื่องบินก่อนผู้โดยสารชั้นประหยัดและมีเครื่องดื่มบริการก่อนเที่ยวบิน พวกเขาได้ที่นั่งที่ดีขึ้นและมีลูกเรือสำหรับผู้โดยสารชั้นนี้เป็นพิเศษ ที่นั่งนั้นมีความกว้างและมีระยะห่างจากเบาะนั่งด้านหน้ามากขึ้น
ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เวอร์จินสร้างที่นั่งใหม่ กว้างกว่ารุ่นเก่าและมีปลั๊กสำหรับแล็ปท็อป มันถูกวางไว้บนเครื่องบินทุกลำ และตอนนี้ แอร์บัส เอ 340 ทั้งหมดและโบอิ้ง 747 ทั้งหมดที่บินจากสนามบิน ลอนดอนฮีทโธรว์ จะมีที่นั่งใหม่ที่สะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิม
ชั้นอัปเปอร์คลาส[แก้]

ชั้นอัปเปอร์คลาส (Upper Class) เป็นชื่อชั้นธุรกิจของ เวอร์จิน แอตแลนติก พวกเขาไม่มีบริการชั้นหนึ่ง เวอร์จินกล่าวว่า ที่นั่งที่สามารถพับเป็นเตียงนอนราบได้นี้ เป็นที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในชั้นธุรกิจ (ยาว 202 ซม. และกว้าง 84 ซม.) แต่ แอร์ แคนาดา และ สิงค์โปร์ แอร์ไลน์ ได้กล่าวไว้เช่นกัน[9] ที่นั่งทั้งหมดมีปลั๊กสำหรับแล็ปท็อปและไอพอด
ผู้โดยสารชั้นบนสามารถมีคนขับรถของตัวเอง เช็คอินแบบไดรฟ์ทรู มีจุดรักษาความปลอดภัยของตัวเองที่สนามบินบางแห่ง เข้าถึงเวอร์จินคลับเฮาส์ (พื้นที่วีไอพีพิเศษพร้อมบาร์และที่นั่ง) เมนูสำหรับเที่ยวบิน อาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงบาร์ที่ผู้โดยสารสามารถยืนหรือนั่งบนเครื่องบินได้
ห้องรับรอง[แก้]
เวอร์จิน แอตแลนติกให้บริการห้องรับรอง "เวอร์จินคลับเฮาส์" สำหรับผู้โดยสารชั้นอัปเปอร์คลาส ห้องรับรองนี้ตั้งอยู่ในจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั่วโลก ห้องรับรองเป็นพื้นที่เงียบสงบที่มีสไตล์ ออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารได้พักผ่อนก่อนขึ้นเครื่อง [10]
สายการบินอื่น ๆ ในเวอร์จินกรุ๊ป[แก้]
- เวอร์จินออสเตรเลีย
- เวอร์จิน อเมริกา
- เวอร์จิน บลู
- เวอร์จิน เอกซ์เพรส
- เวอร์จิน ซามัว
- เวอร์จิน ซัน แอร์ไลน์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "49 percent stake in Virgin Atlantic acquired". Delta News Hub (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Virgin Airbus A330-200 | A330-200 Configuration | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
- ↑ "Virgin Airbus A330-300 | A330-300 Configuration | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
- ↑ Kaminski-Morrow2019-06-17T09:46:24+01:00, David. "PARIS: Virgin Atlantic signs for up to 20 A330-900s". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Virgin Atlantic's New A330neo Fleet To Enter Service From 2022". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-12.
- ↑ "Meet our Airbus A350-1000". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ "All about The Booth. Our unique social space for leisure customers". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
- ↑ "Virgin Atlantic Boeing 787 Dreamliner | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
- ↑ "Singapore Airlines New Business Class Seat". web.archive.org. 2010-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-12-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Full List of U.S. Virgin Clubhouse Lounges & Locations". UpgradedPoints.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-09-27.