แอร์บัส เอ220

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์บัส เอ220
บทบาทอากาศยานลำตัวแคบ
ชาติกำเนิดยุโรป
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
ผู้ออกแบบบอมบาร์ดิเอร์ แอโรสเปซ
บินครั้งแรก16 กันยายน ค.ศ. 2013
เริ่มใช้15 กรกฎาคม ค.ศ. 2016
โดย สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักเดลต้าแอร์ไลน์
แอร์บอลติก
แอร์แคนาดา
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
ช่วงการผลิตค.ศ. 2013– ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต242 ลำ (เมื่อ ธ.ค. 2022)
แบบอื่นแอร์บัส เอซีเจ220

แอร์บัส เอ220 (อังกฤษ: Airbus A220) หรือ บอมบาร์ดิเอร์ซีซีรีย์ เป็นเครื่องบินพาณิชย์แบบลำตัวแคบ ซึ่งแต่เดิมได้รับการออกแบบโดยบอมบาร์ดิเอร์ แอโรสเปซ และให้บริการในชื่อบอมบาร์ดิเอร์ ซีซีรีส์ เป็นเวลาสองปี ก่อนแอร์บัสมารับช่วงต่อในโครงการ หลังจากเปิดตัวเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 เครื่องบินรุ่น เอ220-100 (เดิมคือ CS100) ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2013 ได้รับการรับรองประเภทเริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2015 และเริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 กับสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ และ เอ220-300 (เดิมคือ CS300) ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ได้รับการรับรองประเภทเริ่มต้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 และเข้าบริการกับแอร์บอลติก เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016

ภาพจำลองรุ่น -100 และ -300 โดยแสดงภาพด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของอากาศยาน

รุ่น[แก้]

เอ220-100[แก้]

รุ่น-100 เป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดในตระกูล โดยรุ่น-100 นั้นได้เปิดตัวกับ สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 โดยรุ่น-100 มีพิสัยการบิน 6,390 กิโลเมตร จุผู้โดยสารได้ประมาณ 100-125 คน โดยมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 3-2[1]

เอ220-300[แก้]

รุ่น-300 เป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล โดยรุ่น-300 นั้นได้เปิดตัวกับ แอร์บอลติก ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยรุ่น-300 มีพิสัยการบิน 6,667 กิโลเมตร จุผู้โดยสารได้ประมาณ 120-150 คน โดยมีการจัดเรียงที่นั่งแบบ 3-2 เช่นเดียวกับรุ่น -100[2]

เอซีเจ220[แก้]

รุ่น เอซีเจ220 เป็นรุ่นเจ็ตองค์กรของแอร์บัส เอ220 มีพิสัยการบิน 10,460 กม. และพื้นที่ห้องโดยสาร 73 ตร.ม. สำหรับผู้โดยสาร 18 คน[3] คาดว่าจะมีการส่งมอบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2023[4][5]

ผู้ให้บริการ[แก้]

ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 มีเครื่องบินตระกูล เอ220 จำนวน 262 ลำในการให้บริการเชิงพาณิชย์โดยมีผู้ให้บริการ 18 ราย ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด 5 ราย ได้แก่ เดลตาแอร์ไลน์ (60), แอร์บอลติก (41), แอร์แคนาดา (33), สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (30) และแอร์ฟรานซ์ (23)[6]

เอ220-100 ของสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
เอ220-300 ของเจ็ตบลูแอร์เวย์

ผู้ให้บริการปัจจุบัน[แก้]

ผู้ให้บริการ เที่ยวบินแรก เอ220-100 เอ220-300 รวม
รัฐบาลและเครื่องบินส่วนตัว N/A 2 2
แอร์อัสทรัล 18 สิงหาคม 2021[7] 3 3
แอร์บอลติก 14 ธันวาคม 2016[8] 41 41
แอร์แคนาดา 16 มกราคม 2020 33 33
แอร์ฟรานซ์ 31 ตุลาคม 2021[9][10] 23 23
แอร์มานาส 12 พฤษภาคม 2021 1 1
แอร์เซเนกัล 6 กุมภาพันธ์ 2022[11] 1 1
แอร์แทนซาเนีย 7 มกราคม 2019 4 4
บรีซแอร์เวย์ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 12 12
เดลต้าแอร์ไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2019[12][13] 45 15 60
อียิปต์แอร์ 22 สิงหาคม 2019 12 12
ไอบอมแอร์ มิถุนายน 2021 2 2
อิรักขิแอร์เวย์ 6 พฤศจิกายน 2022[14] 4 4
ไอทีเอแอร์เวย์ 11 ตุลาคม 2022[15] 4 4
เจ็ตบลูแอร์เวย์ 31 ธันวาคม 2020 17 17
โคเรียนแอร์ 20 มกราคม 2018[16] 10[a] 10
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ 15 มิถุนายน 2016[18][19] 9[b] 21[c] 30
ไม่ระบุ 5 5
รวม: 56 206 262

ผู้ให้บริการในอดีต[แก้]

  • แอร์ไซไน โดยให้บริการรุ่น -300 สองลำของอียิปต์แอร์ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 - พฤษภาคม ค.ศ. 2021 จากนั้นจึงส่งมอบต่อให้สายการบินสัญชาติไนจีเรีย,ไอบอมแอร์, ในเวลาต่อมา[20][21]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ[แก้]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบตามรุ่น
รุ่น คำสั่งซื้อ การส่งมอบ
เอ220-100 93 56
เอ220-300 692 206
รวม 785 262
คำสั่งซื้อและการส่งมอบตามปี
2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 รวม
คำสั่งซื้อ 50 40 43 15 34 65 117 12 165 63 30 38 126 12 785
การส่งมอบ 7 17 33 48 38 50 54 16 262

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ[แก้]

ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 แอร์บัส เอ220 ไม่เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรง

อุบัติการณ์เครื่องยนต์ล้มเหลว[แก้]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 แอร์บัส เอ220-300 ของสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ที่ใช้เครื่องยนต์แพรต์แอนด์วิตนีย์ พีดับเบิลยู1500จี ได้ประสบเหตุการณ์เครื่องยนต์ล้มเหลวขณะทำการบิน[22] และก็ได้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันอีกสามครั้งในช่วงเวลาใกล้กัน หลังจากอุบัติการณ์ สวิสได้ระงับการบินของฝูงบินเอ220 ชั่วคราวเพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์ ก่อนนำกลับมาให้บริการ[23][24] โดยคาดว่าสาเหตุเกิดจากความผิดผลาดของซอฟท์แวร์การบิน[25] ซึ่งได้รับการปรับปรุงในเวลาต่อมา

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

ข้อมูลจำเพาะ แอร์บัส เอ220[26]
รุ่น เอ220-100 (BD-500-1A10)[27] เอ220-300 (BD-500-1A11)[27]
นักบิน (คน) 2
ความจุผู้โดยสาร (ที่นั่ง) 100–120 (135 max)[28] 120–150 (160 max)[28]
ความยาวของที่นั่ง (มาตราฐาน) 28–36 in (71–91 ซm) 28–38 in (71–97 ซm)
ความกว้างของที่นั่ง 18.5 ถึง 20 in (47 ถึง 51 ซm)
พื้นที่บรรทุกสินค้า 23.7 m³ / 839 cu.ft 31.6 m³ / 1,118 cu.ft
ความยาว 35.00 m / 114' 9" 38.71 m / 127' 0"
ความกว้าง 35.10 m / 115' 1" span / 112.3 m2 (1,209 sq ft) area (10.97 AR)
ความสูง 11.50 m / 37' 8"
เส้นผ่านศูนย์กลางของลำตัวเครื่อง 3.7 m (12 ft 2 in)
ขนาดห้องโดยสาร 3.28 m / 10' 9" width / 2.11 m (6 ft 11 in) height
ความยาวห้องโดยสาร 23.7 m (78 ft)[29] 27.5 m (90 ft)[30]
น้ำหนักขึ้นบินสูงสด[28] 63.10 t / 139,000 lb 70.90 t / 156,000 lb
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 15.1 t (33,300 lb) 18.7 t (41,200 lb)
น้ำหนักเครื่องปล่าว 77,650 lb (35.22 t)[31] 81,750 lb (37.08 t)[32]
ความจุเชื้อเพลิง[28] 21,805 L / 5,760 USgal 21,508 L / 5,681 USgal
พิสัยการบิน[28] 6,390 km / 3,450 nmi 6,667 km (3,600 nmi)
ความเร็วขณะบิน Mach .82 (470 kn; 871 km/h) max, Mach .78 (447 kn; 829 km/h) typical
ระยะทางขึ้นบิน 4,800 ft / 1,463 m[29] 6,200 ft / 1,890 m[30]
ระยะทางลงจอด 4,550 ft / 1,387 m[29] 4,950 ft / 1,509 m[30]
เพดานบิน 41,000 ft / 12,497 m
เครื่องยนต์ 2× Pratt & Whitney PW1500G
แรงผลักดัน 18,900–23,300 lbf / 84.1–103.6 kN 21,000–23,300 lbf / 93.4–103.6 kN
ประเภทการจดทะเบียน (ICAO) BCS1 BCS3

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

แหล่งอ้างอิง[แก้]

  1. "A220-100 | A220 | Aircraft | Airbus Aircraft". aircraft.airbus.com.
  2. "A220-300 | A220 | Aircraft | Airbus Aircraft". aircraft.airbus.com.
  3. "ACJ TwoTwenty | Airbus Corporate Jets". www.acj.airbus.com.
  4. O'Connor, Kate (2021-10-13). "ACJ TwoTwenty On Schedule For 2023 Debut". AVweb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. André Orban (2022-01-05). "First-ever Airbus ACJ TwoTwenty delivered to Comlux". Aviation24.be (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  6. "Orders and deliveries | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-16.
  7. Orban, André (21 August 2021). "Air Austral operates its first Airbus A220-300 commercial flight between Reunion Island and Mayotte". Aviation 24 Belgium. สืบค้นเมื่อ 22 August 2021.
  8. Gregory Polek (14 December 2016). "Bombardier's CS300 Enters Service with Air Baltic". Aviation International News.
  9. "Air France unveils its first Airbus A220-300 | Air France - Corporate".
  10. "Airbus delivers first of 60 A220s to Air France" (Press release). Airbus. 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
  11. Africazine (2022-02-07). "Air Senegal's Airbus A220-300 makes its first commercial flight". Africazine (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-29. สืบค้นเมื่อ 2022-12-29.
  12. "ANALYSIS: Delta seizes opportunities with A220 introduction". FlightGlobal. 7 February 2019. สืบค้นเมื่อ 18 August 2019.
  13. "Delta's A220s take to the skies for first customer flights" (Press release). Delta Air Lines. 7 February 2019. สืบค้นเมื่อ 7 October 2019.
  14. "Iraqi Airways debuts A220 flight operations". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
  15. "ITA Airways firms up order for 28 Airbus aircraft | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-01.
  16. "Bombardier Foresees 2,050 new aircraft for Asia-Pacific by 2036" (Press release). Singapore: Bombardier Aerospace. 6 February 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
  17. 17.0 17.1 17.2 "CSeries/A220 production list and orders". ABCDlist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
  18. "SWISS Launches Revenue Service with State-of-the-Art Bombardier C Series Aircraft" (Press release). Montreal: Bombardier Aerospace. 15 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-01-27.
  19. Kristine Owram (15 July 2016). "Bombardier's CSeries holds its maiden commercial flight from Zurich to Paris". Financial Post.
  20. "Air Sinai moves forward A220 service to Dec 2019". Routes (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  21. "Air Sinai's Airbus A220s Set To Fly For Nigeria's Ibom Air". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-31.
  22. Kaminski-Morrow2021-03-26T11:00:00+00:00, David. "Swiss A220 engine shutdown traced to leak from unmodified oil cooler". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  23. Kaminski-Morrow2019-10-15T18:09:19+01:00, David. "Third Swiss A220 failure spurs urgent engine checks". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  24. "StackPath". www.industryweek.com.
  25. "Exclusive: Software under scrutiny in Airbus A220 engine failures". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-29.
  26. "CSeries brochure" (PDF). Bombardier. June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  27. 27.0 27.1 "Type certificate data sheet" (PDF). EASA. 29 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 July 2018. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4 "Family figures" (PDF). Airbus. June 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 18 December 2018.
  29. 29.0 29.1 29.2 "CS100 Factsheet" (PDF). Bombardier. June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 15, 2017.
  30. 30.0 30.1 30.2 "CS300 Factsheet" (PDF). Bombardier. June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016.
  31. "CS100 Airport planning publication" (PDF). Bombardier. 18 October 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2019. สืบค้นเมื่อ 27 February 2019.
  32. "CS300 Airport planning publication" (PDF). Bombardier. 18 October 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2019. สืบค้นเมื่อ 27 February 2019.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน