แดวู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แดวู
TahiLand RailWay001.JPG
รถดีเซลรางปรับอากาศแดวู ขณะจอดที่สถานีรถไฟดอนเมือง
DRC 00005 NEW.jpg
เบาะของรถดีเซลรางปรับอากาศแดวู
ผู้ผลิตบริษัท แดวูอุตสาหกรรมหนัก จำกัด
ผลิตที่ประเทศเกาหลีใต้
สายการผลิตพ.ศ. 2538–2539
ตกแต่งใหม่พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน
จำนวนผลิต40 คัน
จัดขบวนกซข.ป.+กซม.ป.+กซข.ป.
หมายเลขตัวรถ2513–2544 (มีห้องขับ), 2121–2128 (ไม่มีห้องขับ)
ความจุ76, 80 ที่นั่ง
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงซ่อมบำรุงโรงรถดีเซลรางกรุงเทพฯ
สายที่ให้บริการ
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังสแตนเลส
ทางเข้า2
จำนวนประตู2
ความเร็วสูงสุด160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Engine(s)Cummins NTA 855-R1
กำลังขับเคลื่อน350 แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที
ชุดส่งกำลังVoith รุ่น T211RZ
ระบบจ่ายไฟฟ้าไม่มี
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ

รถดีเซลรางแดวู (อังกฤษ: Daewoo Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นรถดีเซลรางที่มีความเร็วสูงสุดในประเทศไทย อยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีจำนวนรถทั้งสิ้น 40 คัน (ไม่นับรวมรถที่ดัดแปลงเป็นรถนอน)

รุ่น[แก้]

รุ่น 20
  • เอพีดี (APD.) กซข.ป. หมายเลข 2513–2524 (มีห้องขับ) จำนวน 12 คัน
  • เอพีเอ็น (APN.) กซม.ป. หมายเลข 2121–2128 (ไม่มีห้องขับ) จำนวน 8 คัน
รุ่น 60
  • เอพีดี (APD.) กซข.ป. หมายเลข 2525–2544 (มีห้องขับ) จำนวน 20 คัน
  • เอเอ็นที (ANT.) พซม.ป. หมายเลข 2101–2140 (เป็นรถพ่วงและไม่มีห้องขับ) จำนวน 40 คัน โดยในปัจจุบันไม่ได้พ่วงกับรถดีเซลรางแดวู กลายเป็น บนท.ป. หมายเลข 1101 - 1140 (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2) มีพ่วงอยู่ในขบวนรถด่วนที่ 83/84 (กรุงเทพฯ-ตรัง-กรุงเทพฯ) และรถด่วนขบวนที่ 85/86 (กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ)

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • ประเภท รถดีเซลรางปรับอากาศ (Air Conditioner Diesel Rail Car)
  • เครื่องยนต์ Cummins NTA 855-R1
  • กำลังขับเคลื่อน 350 แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที
  • ระบบขับเคลื่อน ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค ควบคุมโดยอัตโนมัติ พร้อมวงจรเปลี่ยนทิศทางการขับภายในตัว ของ Voith รุ่น T211RZ
  • การจัดวางล้อ แคร่ 2 - 4 ล้อ ระบบกันสะเทือนแบบแหนบลม (Air Spring)
  • ระบบห้ามล้อ ลมอัด (Air Brake)
  • ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ระบบปรับอากาศ Sigma RPR40LX1
  • ประตูขึ้น-ลงรถ เป็นประตูแบบเลื่อนอัตโนมัติ บานเดียว
  • ประตูกั้นภายในรถ เป็นประตูแบบเลื่อนอัตโนมัติ แยกเป็นสองบาน ซ้าย-ขวา ใช้ปุ่มกดเปิด-ปิด
  • เบาะนั่ง เบาะนวม ชุดละ 2 ที่นั่ง สามารถปรับเอนได้ มีถาดวางอาหารหลังเบาะ สามารถหมุนกลับด้านเบาะได้ ตามทิศทางที่รถวิ่ง
  • จำนวนที่นั่ง 76 ที่นั่ง (มีห้องขับ), 80 ที่นั่ง (ไม่มีห้องขับ)
  • ผู้ผลิต บริษัท แดวูอุตสาหกรรมหนัก จำกัด (Daewoo Haevy Industries ltd.) ประเทศเกาหลีใต้
  • ราคาต่อคัน
    • 28,471,378.83 บาท (หมายเลข 2513–2524 และ 2121–2128)
    • 31,597,970.70 บาท (หมายเลข 2525–2544)
    • 31.5 ล้านบาท (อดีตหมายเลข 2101–2140)
  • วันที่เริ่มใช้งาน
    • 14 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (หมายเลข 2513–2524)
    • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (หมายเลข 2121–2128)
    • 27 มิถุนายน – 27 กันยายน พ.ศ. 2539 (หมายเลข 2525–2544)

ปัญหาและข้อวิจารณ์[แก้]

เรือด[แก้]

ในช่วงปลาย พ.ศ. 2550 – ต้น พ.ศ. 2551 ได้พบเรือดบนเบาะในตู้โดยสารของแดวู[1][2][3] ทำให้ขบวนรถที่ใช้รถดีเซลรางแดวูหลายขบวนต้องงดให้บริการหรือใช้รถดีเซลรางสปรินเทอร์ทำการแทน เพื่อกำจัดเรือดและเปลี่ยนเบาะเป็นแบบใหม่

อุบัติเหตุ[แก้]

แดวูเป็นรถดีเซลรางที่ทำความเร็วได้ถึง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง เนื่องจากมีจุดตัดที่ไม่มีเครื่องกั้นหรือทางลักผ่านหลายจุด และผู้ขับขี่พาหนะทางถนนไม่เคารพกฎจราจร[4] ทำให้แดวูต้องเปลี่ยนเสียงหวีดใหม่ เป็นเสียงหวีดยี่ห้อ Nathan AirChime รุ่น K3LA คล้ายกับที่ใช้ในรถจักรของแอ็มแทร็กในสหรัฐ

ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]

ปัจจุบัน
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพฯ–สวรรคโลกศิลาอาสน์–กรุงเทพฯ (วิ่งแทนสปรินเตอร์เป็นบางครั้ง)**ปัจจุบันยกเลิกชั่วคราว
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 7/8 กรุงเทพฯ–เชียงใหม่–กรุงเทพฯ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21/22 กรุงเทพฯ–อุบลราชธานี–กรุงเทพฯ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/40 กรุงเทพฯ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพฯ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 41/42 กรุงเทพฯ–ยะลา–กรุงเทพฯ (ปัจจุบันยกเลิกชั่วคราว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพฯ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพฯ
อดีต
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 9/10 กรุงเทพฯ–เชียงใหม่–กรุงเทพฯ (ปัจจุบันยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนที่ 70/71กรุงเทพฯ–อุบลราชธานี–กรุงเทพฯ (วิ่งแทนทีเอชเอ็นเป็นบางครั้ง)[5]
  • ขบวนรถด่วนที่ 73/72 กรุงเทพฯ–ศีขรภูมิ–กรุงเทพฯ (วิ่งแทนทีเอชเอ็นเป็นบางครั้ง)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 947/948 และ 949/950 ชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์–ชุมทางหาดใหญ่ (ปัจจุบันใช้รถจักรดีเซลพ่วง บชส.ชั้น3 ทำขบวนแทน)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตัวเรือด บุกดีเซลราง Daewoo". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "กองทัพ'ตัวเรือด'ระบาดในเบาะรถไฟ - รุมกัดผู้โดยสาร". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ขนลุกไต่ยุ่บยั่บ ตัวเรือด ในเบาะนั่งรถไฟ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เรื่องน่ารู้ก่อนโดยสารรถไฟไทย". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เล่าเรื่องรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]