ฮิปฮอปไทย
ฮิปฮอปในประเทศไทย เป็นเพลงฮิปฮอปที่ผลิตในประเทศไทย ฮิปฮอปของไทยแตกต่างจากอเมริกันฮิปฮอป ไม่เพียงแต่เสียงและภาษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัฒนธรรมที่ใช้ทำดนตรีด้วย
ฮิปฮอปเริ่มแร็ปในประเทศไทย
[แก้]ดนตรีแร็ปได้เข้าสู่วงการเพลงของไทยในช่วงราวปี 2520 - 2530 ซึ่งเป็นช่วงสีสันทางดนตรีไทย และก่อกำเนิดค่ายเล็กค่ายย่อยมากมาย อาทิ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น คีตา เรคคอร์ดส โดยเพลงแร็พไทยช่วงแรกจะใช้คำกลอนมาเรียบเรียงให้สมานสัมพันธ์สำบัดสำนวนให้ดูคล้องจอง อาทิเช่น เบื่อคนบ่น ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ (พ.ศ. 2528), มันแปลกดีนะ เรวัต พุทธินันทน์ (พ.ศ. 2528)[1], หมูแข้งทอง ของแตงโม (พ.ศ. 2530) และ ปาก โดมิแนนท์ (พ.ศ. 2534)
แต่ฮิปฮอปในไทยเริ่มเป็นกระแสหลักเมื่อราวๆปี 2534-2538 โดยมี เจตริน วรรธนะสิน (จากค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) ชุด จ เ-ะ-บ ในปี 2534 [2] ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (จากค่าย อาร์เอส), ในชุดทัช ธันเดอร์เมื่อปี 2534 [3] , วง TKO (จากค่าย คีตา เรคคอร์ดส) ในชุด ORIGINAL THAI RAP เมื่อปี 2536 [4] รวมไปถึง โจอี้ บอย จากศิลปินฮิปฮอป จากค่าย เบเกอรี่มิวสิค ที่แยกตัวจาก aa crew (ในเวลาต่อมาสมาชิกบางส่วนคือ ไทยเทเนี่ยม[5]) มาเป็นศิลปินฮิปฮอป เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในชุด Joey boy จนเกิดมีศิลปินฮิปฮอปเป็นดอกเห็ดในเวลานั้นอาทิ วง newschool ที่มีเพลงฮิตอย่างฟ้าจ๋าฟ้า , อะลาดิน ฯลฯ
ดนตรีแร็ป-ฮิปฮอปเริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นในปี 2538 เมื่อโจอี้ บอย หรือ อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย ซึ่งเป็นเพลงแร็ปทั้งอัลบั้มเป็นชุดแรกให้กับค่ายเบเกอรี่มิวสิค ประจวบเหมาะกับที่กระแสดนตรีในเมืองไทยได้เริ่มออกจากกระแสหลักไปสู่แนวอิสระ ทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ต่อมาโจอี้ บอย ยังได้ก่อตั้งค่ายเพลงก้านคอคลับ ที่มีศิลปินฮิปฮอปชื่อดังอย่าง บุดด้า เบลส สิงห์เหนือเสือใต้ ฯลฯ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้เกิดวงแร็ปเปอร์หน้าใหม่ ชื่อ ไทยเทเนี่ยม (ประกอบด้วยสมาชิก ขันเงิน เนื้อนวล จำรัส ทัศนละวาด และปริญญา อินทชัย) เป็นกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกันที่นิวยอร์ก และมีเอกลักษณ์จากทรงผมและการแต่งตัวที่เต็มไปด้วยเครื่องประดับ ต่อมาวงไทเทเนี่ยมได้เข้าไปอยู่ในค่ายสนามหลวงการดนตรีในเครือของจี เอ็ม เอ็ม แกรมมี่ ที่มีเพลงฮิตอย่างเพลง “ทะลึ่ง” (พ.ศ. 2548) “Love for my city” (พ.ศ. 2557) “บ่องตง” (พ.ศ. 2559) ฯลฯ จนกลายเป็นขวัญใจแฟนเพลงวัยรุ่นไทยที่ชื่นชอบเพลงแร็ปจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีศิลปินแร็ปสไตล์ไทยอย่าง ปู่จ๋าน ลองไมค์ หรือพิษณุ บุญยืน ศิลปินแร็ปเปอร์ชื่อดังที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน ก็ได้ออกเพลงแร็ปที่โด่งดังอย่าง “นางฟ้าจำแลง” “ตราบธุลีดิน” “แลรักนิรันดร์กาล” “สะพานไม้ไผ่” “มณีในกล่องแก้ว” รวมถึงวงดนตรีและศิลปินแร็ปที่เกิดขึ้นอีกมากมาย เช่น Southside, Snoopking, Illslick, J$R, Chitswift ฯลฯ สิ่งที่น่าสนใจคือ ศิลปินหรือวงแร็ปเหล่านี้หลายคนทำงานเพลงทั้งใต้ดินและบนดิน
ศิลปินแร็ปไทยกลุ่มใต้ดินจัดว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาดนตรีแร็ปในประเทศไทย เนื่องจากเป็นการรวมตัวกันของศิลปินแร็ปที่มีความสามารถ มีแนวคิดทางดนตรีที่ต้องการบรรยายความรู้สึกถึงปัญหาต่างๆ ของสังคมไทย ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง การทุจริต ความเหลื่อมล้ำ ความรุนแรง เรื่องชู้สาวและประเด็นทางเพศ ความอยุติธรรมในสังคม ที่ไม่สามารถบอกด้วยเสียงเพลงบนดินได้ ด้วยเนื้อหาคำพูดที่รุนแรง ใช้คำหยาบและเกี่ยวข้องกับสังคม การเมืองการปกครองของไทย ดังนั้นกลอนเพลงแร็ปและแนวดนตรีจึงค่อนข้างมีความแปลกใหม่และสร้างสรรค์ทั้งด้านเนื้อเพลงและจังหวะดนตรีที่หลากหลาย เพื่อสะท้อนปัญหาหรือความจริงของสังคมไทยขณะนั้น
วงการแร็ปใต้ดินยังเป็นวงการที่มีการแข่งขันสูง เพราะรวมเหล่านักแร็ปไทยระดับแนวหน้าไว้จำนวนมากหนึ่งในนั้นคือ ดาจิม หรือ สุวิชชา สุภาวีระ ศิลปินแร็ปใต้ดินยุคแรกที่เป็นที่รู้จักของคนไทย ดาจิมสร้างชื่อจากอัลบั้มสองชุด คือ Hip Hop Underworld ปีพ.ศ. 2543 ในค่าย N.Y.U. ที่เขาดูแลเอง และอัลบั้ม Hip Hop Above the Law ที่มียอดขายในวงการใต้ดินถึง 8,000 ชุด แต่สุดท้ายดาจิมถูกตำรวจจับเนื่องจากเนื้อหาของเพลงอัลบั้มชุดที่สองมีเนื้อหาหยาบคายและไปในทางลากมกอนาจาร ก่อนที่เขาจะย้ายไปอยู่ในค่ายจีนี่ เรคคอร์ด และออกอัลบั้มชุดแร็ปไทย พ.ศ. 2545 และ Twilight Zone และย้ายไปอยู่ค่าย Masscotte Entertainment ตามลำดับ
นอกจากดาจิมแล้ว ยังมีศิลปินแร็ปใต้ดินที่มีชื่อเสียงอีกมากมายเช่น ณัฐวุฒิ ศรีหมอก หรือ ฟักกลิ้งฮีโร่ ศิลปินเครายาวร่างยักษ์ผู้มีฝีมือในการแต่งเพลงและร้องแร็ปอย่างช่ำชอง ผลงานของฟักกลิ้งฮีโร่ปรากฏทั้งบนดินและใต้ดิน เพลงแร็ปใต้ดินหรือ Lost Tapes ของเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Rapway สยามประเทศ ชู้รัก แร็ปตุ๊ด (รักนวลสงวนตัว) ฯลฯ ฑิฆัมพร เวชไทยสงค์ หรือ อิลสลิก (Illislick) แร็ปเปอร์ใต้ดินชื่อดังอีกคนที่สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองในสไตล์ Slow Jam และได้ออกอัลบั้มชื่อ No Apologies (พ.ศ. 2557) ศิลปินวง CP สมิง แร็ปเปอร์ใต้ดินจากยะลาที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ด้วยเอกลักษณ์การแร็ปที่เป็นมืออาชีพ รวดเร็วกระฉับ เพลง “เพื่อนตาย” (พ.ศ. 2547) ของ CP สมิงมียอดวิวในยูทูบถึงสิบล้านวิว ส่วนศิลปินแร็ปใต้ดินกลุ่ม RAD หรือ Rap Against Dictatorship กับผลงาน เพลง“ประเทศกูมี” (พ.ศ. 2561) ก็นับเป็นกลุ่มศิลปินที่ได้รับความนิยมสูงสุดตอนนี้ โดยมียอดวิวในยูทูบมากถึงเกือบสี่สิบล้านวิว
แร็ป-ฮิปฮอปต่อสังคมไทย
[แก้]สิ่งที่ทำให้ดนตรีแร็ปในประเทศไทยเป็นเริ่มที่นิยมนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกระแสหรือค่านิยมจากการรับวัฒนธรรมดนตรีแร็ป-ฮิปฮอป จากสหรัฐอเมริกามาในยุค 90s แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า ความเป็นดนตรีแร็ปและเอกลักษณ์ในตัวดนตรีมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คนเป็นอย่างมาก ด้วยรูปแบบเพลง จังหวะสไตล์ต่างๆ เนื้อหาและภาษาที่ให้อิสระศิลปินในการจินตนาการ และใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างกลอนด้นเป็นบทกวีและบทเพลง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนอย่างมากที่ทำให้คนไทยให้ความสนใจแนวดนตรีชนิดนี้มากขึ้น
เสน่ห์ของดนตรีแร็ปที่สำคัญคือการมีรากฐานมาจากการเล่าเรื่องชีวิต ปัญหาของสังคม ความรุนแรง ยาเสพติด และความไม่ยุติธรรม การเสพดนตรีแร็ปจึงเปรียบเสมือนการที่ได้พูดได้ฟังสิ่งที่เป็นจริง โดยใช้เสียงเพลงปลดปล่อยตัวเองออกจากสังคมที่เราถูกปิดกั้น และนี่จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนไทยส่วนมากถูกกดดันด้วยกรอบทางวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม ที่ถูกสอนให้เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ การที่ประชาชนและสื่อถูกควบคุมการแสดงความเห็น ความเชื่อ ด้วยตัวบทกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์รัฐและบุคคลบางกลุ่มเพื่อความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่อสังคม หรือแม้แต่แลกเปลี่ยนความเห็นในที่สาธารณะได้อย่างอิสระ ดนตรีแร็ปจึงเข้ามาทำหน้าที่เป็นช่องทางให้ผู้คนได้ปลดปล่อยสะท้อนปัญหาในใจของคนด้วยกลอนเพลง เสียงเพลง และจังหวะดนตรี การจัดการประชันแร็ป หรือ Rap Battle ในประเทศไทย เช่น รายการ SEA Hiphop Audio Battle, Rap Is Now, Rythm Fight, The Rapper ฯลฯ แสดงให้เห็นชัดถึงการเปิดกว้างของสังคมต่อแนวเพลงแร็ป ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเหตุผลทางธุรกิจที่ตอบรับต่อกระแสดนตรีแร็ปที่มาแรง แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของแนวดนตรีแร็ปที่สำคัญ ที่ให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องกลัวเรื่องกรอบของสังคม แต่เป็นการโชว์ความดิบและความฉลาดของผู้สร้างกลอนแร็ป ทำให้คนรุ่นใหม่ได้กล้าคิด กล้าแสดงออก ในการเรียบเรียงคำพูดสดเพื่อโต้ตอบกันให้ตรงกับจังหวะดนตรี การจัดการแข่งขันดนตรีแร็ปรายการต่างๆ ดังที่เห็นในปัจจุบัน คือ การให้คนรุ่นใหม่ได้มีเวทีแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์พัฒนากลอนและภาษาแร็ป ที่ต้องเรียบเรียงคำพูดสดในขณะนั้นเพื่อโต้ตอบกัน การประชันแร็ปนั้นยาก เพราะเป็นการปะทะคารมที่ต้องใช้สมาธิอย่างมากในการคิดกลอนเพลงและภาษาออกมาเป็นท่อนแร็ป และต้องคิดเนื้อร้องให้ตรงกับจังหวะดนตรี
เพลงแร็ปที่น่าจะเป็นที่รู้จักและสร้างข้อถกเถียงในสังคมไทยยุคปัจจุบันที่เด่นชัดที่สุด คงไม่พ้นปรากฏการณ์เพลงแร็ป ประเทศกูมี ที่มียอดวิวในยูทูบถึงเกือบ 80 ล้านวิว (มิถุนายน 2563) ซึ่งน่าจะมียอดวิวสูงที่สุดของเพลงแร๊ปไทย โดยมีจุดเด่น คือ เนื้อหา ภาษา และมิวสิควีดีโอที่เป็นการจำลองเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 จากภาพที่ได้รางวัลพูลิตเซอร์ปี 2520 ซึ่งสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อสังคมไทยจากศิลปินแร็ปที่มีจุดร่วมคือต่อต้านเผด็จการ เนื้อหาของเพลง ประเทศกูมี สะท้อนปัญหาที่เป็นจริงทั้งจากในอดีตและดำเนินมาถึงปัจจุบัน ทั้งปัญหาเรื่องโครงสร้างทางการเมือง การคอรัปชั่น ความไม่ยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรม โดยมีการใช้คำหยาบคาย แต่กลุ่มศิลปินเชื่อมั่นในแนวคิดเรื่องคนเท่ากันและระบอบประชาธิปไตย จึงกล้าต่อสู้และยืนยันในการแสดงออกโดยเปิดเผยชื่อและหน้าตาของศิลปินกลุ่มนี้ ซึ่งได้แก่ Liberate p, Jacoboi, Dif kid, Nil lhohitz, Hockhacker, ET, K.aglet และ G-bear
วิวัฒนาการของฮิปฮอปไทย
[แก้]การแบทเทิล และการแข่งขัน ในปี พ.ศ. 2543 เริ่มมีการแบทเทิล แต่ยังไม่กว้างเหมือนในปัจจุบัน และได้ก่อศิลปินฮิปฮอปมากมายอย่าง[6] เช่น Twopee Southside เคยเป็นแชมป์ Singha Battle of The Year 2007 และ ILLSLICK ก็เคยได้แชมป์ SEA Audio Battle Vol.1 2008 ; เห็นได้ว่าศิลปินก่อนๆส่วนใหญ่โตมาและดังมากับแรปแบทเทิลจริงๆก็ว่าได้
ในปี พ.ศ. 2555 Rap Is Now ก็เป็นเวทีที่แข่งขันแรปแบทเทิลที่มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่เมืองไทย
ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงฮิปฮอป เริ่มนิยมในวงกว้างขึ้น จึงการประกวดบนดินขึ้นมา คือ รายการ เดอะแร็ปเปอร์ และ รายการ Show Me The Money Thailand ซึ่งทั้งสองรายการเริ่มมีเสียงทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งเรื่องการตัดสินของโปรดิวเซอร์ และผู้เข้าแข่งขัน ที่เน้นการร้องมากกว่า
ในปี พ.ศ. 2560 กระแสเพลงฮิปฮอป กลับมาโด่งดังอีกครั้ง หลังจากสมาชิกวง ไทยเทเนี่ยม แต่ละคนอยู่ในช่วงกำลังสร้างครอบครัว ในยุคที่อินเตอร์เน็ท โดยเฉพาะยูทูบ ที่กำลังแข่งขันสูง กลับกลายเป็น PMC (ปู่จ๋านลองไมค์) ในซิงเกิ้ล "แลรักนิรันดร์กาล" มียอดวิวเกิน 204 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) ต่อมา ILLSLICK เจ้าพ่อเพลงรัก ดังไม่มีตกจริงๆ ได้ปล่อยซิ้งเกิ้ล "ถ้าเธอต้องเลือก" ในช่วงที่ฮิปฮอปมีระบบสตีมมิ่งมีบทบาทในไทย มียอดวิวเกิน 300 ล้านวิว
YOUNGOHM ศิลปินไฟแรงจากกลุ่ม Rap Is Now ปล่อยซิงเกิ้ล "เฉยเมย" มียอดวิวเกิน 110 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) กลับกลายเป็นศิลปินหน้าใหม่อย่างเป็นทางการหลังจากปล่อยเพลงฟรีสไตร์ในเพลง "ไม่ต้องมารักกู" ในปี พ.ศ. 2558 (ใช้แซมเปิ้ลเพลง oui ของ Jeremih) มียอดวิวเกิน 20 ล้านวิว และได้ผลักดันศิลปิน อย่าง Fiixd, Doper Doper, NICECNX, P-Hot, Wonderframe รวมถึงวงร๊อกอย่าง เก็ตสึโนวา รวมถึงยอดร้อยล้านวิวเร็วที่สุด ในซิ้งเกิ้ล "ดูไว้" และ "ธารารัตน์", D Gerrard ในซิงเกิ้ล "GALAXY" มียอดวิวเกิน 106 ล้านวิว และซิ้งเกิ้ล "เกาะสวาทหาดสวรรค์" ร่วมกับ Gavin D และได้ร่วมงานกับศิลปินฮิปฮอประดับตำนานอย่าง P9d ในเพลง "มายา", UrboyTJ ในซิงเกิ้ล "วายร้าย" มียอดวิวเกิน 100 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561), เก่ง ธชย ร่วมกับ Tossakan ในซิงเกิ้ล "หัวใจทศกัณฐ์" มียอดวิวเกิน 133 ล้านวิว (รวม 2 เวอร์ชัน เนื้อร้อง และ มิวสิควีดีโอ) , Og-Anic ซิ้งเกิ้ล "รู้ทั้งรู้" (ในเวอร์ชันแรกใช้แซมเปิ้ลเพลง Honey ของ Nu J) และได้ทำปล่อยเวอร์ชันเป็นทางการ โดย NINO ได้โปรดิวเซอร์ ใหม่ทั้งหมด ซิ้งเกิ้ล "อยากนอนกับเธอ" ของ เด็กเลี้ยงควาย และ "เป็นไรไหม" ร่วมกับ Lazyloxy มียอดวิวเกิน 200 ล้านวิว และ ได้ร่วมงานกับ F. Hero โปรดิวเซอร์รายการเดอะแร๊พเปอร์ ซิ้งเกิ้ล "มีแค่เรา"
รวมถึงโปรดิวเซอร์ NINO เป็นโปรดิวเซอร์กระแสหลัก เริ่มทำงานให้ F. Hero, J$R, TM303, Fiixd ฯลฯ[7] และเป็นผู้บริหารค่าย Yupp ร่วมกับ Rap Is Now และ Freshment[8]
ที่มียอดรวมวิวเกิน 30 ล้านวิว อย่าง Bossa On the Beat (ผลงานสร้างชื่อ "พอจะรู้" ของ Meyou.) และได้มีโอกาสแสดงฝืมือในซิงเกิ้ล "แอบบอกรัก" ของ เจ้านาย ลูกชายของ เจตริน วรรธนะสิน ร่วมโปรดิวกับ Stickyrice Killah, T-BIGGEST โปรดิวเซอร์จากทีม 8garad ได้โปรดิวเซอร์ซิงเกิ้ล "ยอม...ปล่อย" (Let you go) ที่ออกในทางป๊อปแร๊ปของ Cyanide ร่วมกับ Lazyloxy ยอดรวมวิวเกิน 150 ล้านวิว
การใช้ออโต้จูนในเพลงฮิปฮอป เริ่มนำมาใช้มาขึ้นโดนศิลปินคนแรกคือ Thaiboy Digital แล้วส่งต่อให้กับศิลปินอย่าง Younggu, YOUNGOHM, Fiixd และหลายๆ คน เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น เริ่มมีเสียงวิจารณ์ทั้งทางบวกและทางลบ เนื่องจากคำที่ร้องไปบางทีไม่ชัด บางเพลงก็สูญเสียความเป็นตัวเอง
ปี 2562 แกรมมี่ และ Rap Is Now ร่วมกันเปิดโปรเจ๊คพิเศษเพื่อความหลายแก่คนฟัง Rapisode (เป็นการ Cover ในสไตร์ Hip-Hop) และ FUSE เป็นการผสมผสานความหลากหลายของทุกแนวเพลง
ดนตรีแทร๊ป ในประเทศไทย
[แก้]ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงแทร๊ปจากอเมริกาเริ่มเข้ามาในประเทศไทย ศิลปินรุ่นแรกที่ทำเพลงแนวแทร๊ป ได้แก่ Ben Bizzy, TM303 รวมถึง Younggu ณ เวลานั้น, VKL รวมถึง Khun OC, TARVETHZ และ 2GBOY ซึ่งเวลานั้นฮิปฮอปในไทยกลับสู่กระแสหลักอีกครั้ง แทร๊ป ณ เวลานั้นยังไม่เปิดเผยมากนัก จนกระทั่ง Young Bong & Bongton ได้ทำเพลงแทร๊ปอย่างจริงจัง หลายเพลงอย่าง "อีกา", "ควัน" ร่วมกับ Daboyway, "เยติแก๊ง" จนมีโชว์หลาย ๆ ที่ จนเป็นที่รู้จัก
ปี พ.ศ. 2562 1Mill ได้เปิดช่องยูทิวปี พ.ศ. 2559 หลายเพลงและเริ่มพัฒนาตัวเอง จนเข้าตา Fiixd จนมีเพลง "NRN" อยู่ในอัลบั้ม "More Nights In Thonglor" และได้เปิดตัวต่อสาธารณะชน หลังจากเริ่มเรียนมัธยมปลาย (ม.4) กลับค้นพบตัวเองว่าการทำเพลง น่าจะประสบความสำเร็จกว่า จึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน มาอยู่กรุงเทพอย่างจริงจัง, ซิงเกิ้ล "เงินหมื่น" เป็นซิงเกิ้ลอย่างทางการ จนได้รับความนิยมในสตีมมิ่ง itunes รวมถึงการร่วมงานกับ MAYA (Warpgvng) ยูทิปเปอร์ข่าวฮิปฮอปต่างประเทศ, Bongpton, PeterSmoke จาก MQT, 18 Crowns และ YungTwekie และได้เปิดตัวEP "งู" ในวันที่ 25 พฤษภาคม กลายเป็นแร๊ฟเปอร์ที่น่าจับจากมองอีกคน[9] และทำให้วงการแทร๊ปในไทยเป็นที่เปิดเผย และได้เปิดตัวโปรดิวเซอร์แทร๊ปอย่าง BIGYA$EN, SixkyoungO, MAYA (Warpgvng), Spatchies และ NINO กลับโปรดิวในเพลงแนวแทร๊ปอีกครั้งอย่าง "มนต์รักนักแร๊ฟ" และ "ไม่เอา" รวมถึง Diamond Rap Battle ชื่อดังที่อายุน้อยที่สุด และอีกหลาย ๆ คนได้เริ่มทำเพลงแนวนี้ตาม ๆ มา
ปี พ.ศ. 2563 หลังจาก Pop Smoke เสียชีวิต เพลงแนว Drill เริ่มเปิดเผยอีกครั้ง 1Mill ได้ปล่อยซิงเกิ้ล Yehe ในอัลบั้ม PAIN KILLER แต่กลับเสียวิจารณ์ในทางลบทั้งในและต่างประเทศ จน Fivio Foreign เพื่อนสนิท Pop Smoke เจ้าของเพลง Big Drip เปิดใจความสามารถของ 1Mill จน Yoz Beat โปรดิวเซอร์ผู้เปิดทางแนว Drill เข้าสู่กระแสหลัก ร่วมกับ AXL, 808 Melo ได้ร่วมกันโปรดิวในโอกาสอันใกล้
ประมาณกลางปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มีค่ายเพลงน้องใหม่เกิดขึ้นมากมายและแนวเพลงที่มาแรงผสมดนตรีไทยตอนนี้ ค่ายเพลงน้องใหม่ #Studio ที่ทำแนวเพลงฮิปฮอป Melodic trap | RAP Drill | RAP LATIN | RAP JERSEY มาแปลกแบบไม่เกรงใจวงการกับแนวคิดเอาคนอายุ 60 มาร้องเพลงดิว ศิลปินยุค 90 เลิศ คันไถ ยายแล่ม เลิศ คันไถ [OFFICIAL. MV] “น้าเลิศ-จิรายุ ทองนุ่ม หรือ KANTAIBOY ศิลปินที่ผมเพิ่งทำเพลงให้ โดยมีโปรดิวเซอร์ทำบีทดนตรี esanambian มีดนตรีไทย ป้าย-ชัยเขตต์ อมรสิน หรือ Esan Ambian โปรดิวเซอร์เพลงชาวอุบลราชธานี วัย 26 ปี ฝึกทำเพลงมานานกว่า 8 ปี จนกระทั่งในวันนี้เขาสามารถทำเพลงได้ภายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ป้าย-ชัยเขตต์ อมรสิน หรือ Esan Ambian เขาใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำเพลง 1 เพลง
อ่านไม่ผิด เพราะป้ายใช้เวลาตั้งแต่เริ่มทำบีทและมิกซ์มาสเตอร์ รวมทั้งหมดเสร็จสรรพภายในเวลา ‘1 ชั่วโมง’ และเขาก็ส่งงานถึงมือลูกค้าได้ทันที
“การทำเพลงก็เหมือนกับการฝึกทาสีบ้านครับ ผมพยายามฝึกทาทุกวัน ยิ่งทาบ่อยๆ เราก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยลง แต่ทาได้สวยมากขึ้น” ป้ายเล่าถึงวิธีที่ใช้ฝึกฝนฝีมือ
ALL-IN-ONE ป้ายแนะนำตัวกับเราว่าเขาคือ โปรดิวเซอร์ ผู้ทำโปรดักชันในทุกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่คัดเลือกศิลปินที่อยากร่วมงาน แต่งเพลง ทำบีท อัดเสียง ถ่าย MV จนกระทั่งตัดวิดีโอ ป้ายสามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และผลงานทุกชิ้นในช่อง YouTube: MBB GANG และ #Studio [10] ก็เป็นผลงานที่เขาลงทุนลงแรงทำเองทั้งหมด [11]
ป้ายได้ร่วมงานกับศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น NINO, 1ST, VKL, RIFLE, TURBO และศิลปินอีกหลายๆ คนในวงการเพลงก็ยังคงไว้วางใจให้เขาทำเพลงให้ เพราะสนใจในความสามารถที่มี ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำในวันนี้ เริ่มต้นจากความชอบในเสียงดนตรีที่มีมาตั้งแต่ 4 ขวบ
รายชื่อศิลปินในค่าย #Studio
KANTAIIBOI
MANDARIN
ITANz
พระใหม่ใจสะอาด
หมูสะเต๊ะบอย
jt
พนักงานดูดเป็ด เป็นต้น
“ผมอยากทำโปรดักชันดีๆ โปรดักชันที่ยิ่งใหญ่ แต่คิดราคาบ้านเรา”
“ผมภูมิใจในความเป็นอีสาน ความเป็นอีสานและดนตรีอีสานคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวผมได้มีวันนี้ ที่ทุกคนรู้จักผมก็เพราะดนตรีอีสานที่นำมาผสมกับศาสตร์ของเมืองนอก ผมใช้ชีวิตอยู่กับวิถีอีสานมาแบบล้านเปอร์เซ็นต์ กล้าพูดได้เลยว่าถ้าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอีสาน ไม่มีอะไรที่ผมยังไม่เคยทำ มันคือบรรยากาศอีสาน สิ่งนี้แหละครับที่หล่อหลอมให้ผมกลายเป็น Esan Ambian”
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "เพลงแร็พไทยในยุคแรกๆ - Hip-Hop". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
- ↑ ย้อนประวัติสุดเจ๋งของ "เจ เจตริน" คุณพ่อลูกหล่อขวัญใจวัยรุ่น!!
- ↑ Star Retro : เปิดใจ "ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง" บทเรียนชีวิตที่ผิดพลาด
- ↑ ย้อนวันวาน TKO ต้นฉบับวงแรป วงแรกของไทย
- ↑ The Golden Era : ย้อนเวลาตามหาแร็พเปอร์ไทยยุค 90s
- ↑ ประวัติสไปรท์แร็พไทยเกม หอย ทาก วิ่ง แข่ง V1.9.1
- ↑ NINO interview at Cutzradio
- ↑ 2018 แร็ปเปอร์ครองเมือง! เปิดตัว "YUPP!" ค่ายฮิปฮอปสายเลือดใหม่เตรียมสั่นสะเทือนวงการ
- ↑ 1MILL interview at Cutzradio
- ↑ #Studio
- ↑ BEHIND CYPHER : ESAN AMBIAN บีทเมกเกอร์ส่งตรงบรรยากาศจากอีสาน | RAP IS NOW
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- “Hip Hop” ในไทยเริ่มจากไหน ทำไมถึงดังมาจนทุกวันนี้! ข้อมูลจาก TheHippoThai.com LINE TODAY.