ประเทศกูมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ประเทศกูมี"
ภาพปกซิงเกิล
เพลงโดยแร็พอเกนสท์ดิคเทเตอร์ชิป
วางจำหน่าย14 ตุลาคม 2561 (2561-10-14)
บันทึกเสียง10 ตุลาคม 2561
แนวเพลงแร็ป แก๊งสตาแร็ป ฮิปฮอปการเมือง
ความยาว4:51[1]
ผู้ประพันธ์เพลง
  • RAD
โปรดิวเซอร์
  • RAD
มิวสิกวิดีโอ
"ประเทศกูมี" ที่ยูทูบ

ประเทศกูมี เป็นเพลงของกลุ่มแร็ปเปอร์ชาวไทย แร็พอเกนสท์ดิคเทเตอร์ชิป เพลงออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2561 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองใน เหตุการณ์ 6 ตุลา และ 14 ตุลา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก 2 เหตุการณ์ทางการเมืองไทย เป็นการสะท้อนปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยและรวมไปถึงเหตุการณ์จราจลในปี 2553

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

มิวสิกวิดีโอเผยแพร่ครั้งแรกบนยูทูบเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2561 กำกับโดย ธีระวัฒน์ รุจินธรรม ซึ่งธีระวัฒน์ทำงานให้กับกลุ่มการเมืองหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มพลเมืองโต้กลับ อันเคยจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาก่อน[2] โดยฉากหลังของมิวสิกวิดีโอ เป็นการจำลองภาพการแขวนคอในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ตอนท้ายมีข้อความว่า “การแบ่งแยกประชาชนออกเป็นฝักฝ่ายคือไม้ตายของอำนาจรัฐที่ฝักใฝ่เผด็จการ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น อำนาจทั้งหมดของประชาชนจะถูกพรากจากไป ด้วยความระลึกถึง ทุกชีวิตที่ตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมโดยรัฐ ทุกเหตุการณ์”

จากเนื้อหาของเพลงและมิวสิกวิดีโอที่บอกเล่าเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน ทำให้เพลงได้รับความนิยมจนมียอดเข้าชมมากกว่า 3 แสนครั้งในวันแรกที่เปิดตัว และติดอันดับในไอทูนส์สโตร์ ประเทศไทย[3]

อนึ่ง มีผู้อัปโหลดเพลงและมิวสิกวิดีโอนี้เข้าไปในระบบบล็อกเชน zcoin ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะบล็อกเพลงนี้ ไม่ให้เข้าถึงได้จากประเทศไทย[4]

ผลกระทบทางกฎหมาย และ กระแสวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

หลังจากที่มิวสิกวิดีโอนี้ได้เผยแพร่ออกไป เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เตรียมเชิญกลุ่มแร็ปเปอร์มาให้ปากคำ เนื่องจากอาจมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายและขัดคำสั่ง คสช.[5] ด้านธีระวัฒน์กล่าวว่ารู้สึกเฉยๆ เพราะผลงานพูดความจริง ทีมงานไม่ได้รู้สึกตกใจอะไรมาก คงห้ามคนที่จะฟังและเชื่อไม่ได้[6]

ต่อมาในวันที่ 29 ตุลาคม พลตำรวจเอกศรีวราห์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในชั้นต้นยังไม่พบหลักฐานที่จะเอาผิดเจ้าของเพลงได้ แต่ทั้งนี้ได้สั่งการให้กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมและเทคโนโลยี หรือ ปอท. ตรวจสอบเนื้อหา รวมถึงเบื้องหลังการจัดทำเพลงอย่างละเอียด[7] ส่วนกรณีที่มีสื่อหลักบางสำนัก นำเสนอข่าวบิดเบือน รวมถึงนำภาพเก่าซึ่งมีการดัดแปลงให้ผิดไปจากความเป็นจริง ไปโพสต์แชร์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ว่าตำรวจมีการคุมตัวผู้ต้องหา ทำให้เกิดความเข้าผิด และทำให้ตนเองได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น ได้มอบหมายให้ทนายความร้องทุกข์กับตำรวจ ปอท. เพื่อดำเนินคดีต่อไปแล้ว[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประเทศกูมี". สปอทิฟาย. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "'ประเทศกูมี' แร็ปต้านเผด็จการ สัมภาษณ์กลุ่มแร็ปเปอร์และผู้กำกับมิวสิควิดีโอ". ประชาไท. 25 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. ‘ประเทศกูมี’ ขึ้นอันดับ 1 ‘iTunes Thailand’ ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2561
  4. "ผู้เชี่ยวชาญระบบบล็อกเชน เผย "ประเทศกูมี" ถูกอัปโหลดในรูปแบบ "ลบไม่ได้"". PPTV. 27 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "ศรีวราห์ฮึ่ม! 'แร็พประเทศกูมี' อาจขัดคำสั่ง คสช. จ่อเรียกคนทำคลิปให้ปากคำ!". ข่าวสด. 26 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "เราก็แค่…พูดความจริง! เปิดใจผู้กำกับเอ็มวีเพลงแร็พสุดฮอต #ประเทศกูมี". ข่าวสด. 26 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. "ศรีวราห์ ถอยแล้ว ยอมรับไม่มีหลักฐานเอาผิด แร็พประเทศกูมี เชิญฟัง-ร้อง-แชร์ได้". ข่าวสด. 29 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. ""ศรีวราห์" ไม่พบหลักฐานเอาผิด เพลงแร็ป "ประเทศกูมี" ฟัง-ร้อง และแชร์ได้". sanook.com. 29 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)