ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเขาคิชฌกูฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khao Khitchakut
ยอดเขาคิชฌกูฏมีรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า พระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลพลวง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
ยอดเขาคิชฌกูฏมีรอยพระพุทธบาทซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า พระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลพลวง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
คำขวัญ: 
คิชฌกูฎเมืองแมน แคว้นรอยพระพุทธบาท
ดารดาษไม้ผล เมืองคนคุณธรรม สวยล้ำน้ำตกกระทิง
มิ่งเมืองเหลืองจันทบูร ศูนย์วัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอเขาคิชฌกูฏ
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอเขาคิชฌกูฏ
พิกัด: 12°48′16″N 102°6′53″E / 12.80444°N 102.11472°E / 12.80444; 102.11472
ประเทศ ไทย
จังหวัดจันทบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด830.2 ตร.กม. (320.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด29,282 คน
 • ความหนาแน่น35.27 คน/ตร.กม. (91.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 22210
รหัสภูมิศาสตร์2210
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขาคิชฌกูฏ หมู่ที่ 10 ถนนบำราศนราดูร ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 22210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขาคิชฌกูฏ [เขา-คิด-ชะ-กูด][1] เป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดจันทบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ อำเภอมะขาม เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และพระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือ พระบาทพลวง เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท” ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กิโลเมตร

หินลูกบาตรถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติสรรค์สร้างอันน่าทึ่งแห่งยอดเขาคิชฌกูฏ ที่หินก้อนใหญ่ยักษ์เช่นนี้สามารถตั้งอยู่บนชะง่อนผาที่ลาดเอียงอย่างมั่นคง ดูโดดเด่นจนบางครั้งคล้ายกับลอยอยู่เหนือลานหิน จึงเป็นเรื่องเล่าขานกันว่าหินลูกบาตรนี้ลอยอยู่เหนือพื้นดิน โดยเล่าต่อกันมาว่าเคยมีคนทดลองเอาเส้นด้ายลอดผ่านก้อนหินนี้ได้

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเขาคิชฌกูฏมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

เขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏหรือเขาพระบาท ท้องที่อำเภอมะขาม และอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขา ทิวทัศน์ที่งดงาม มียอดเขาสูงสุดอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอเขาคิชฌกูฏเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมะขาม ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[2] ชื่อของ "เขาคิชฌกูฏ" ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะมีชื่อเขาในกรุงราชคฤห์ในประเทศอินเดียลูกหนึ่งชื่อว่าเขาคิชฌกูฏ ฟังแล้วคล้ายกับว่าได้ไปยังนครราชคฤห์อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ครั้งปฐมโพธิกาล ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยก่อนนั้น (อินเดีย) แปลว่าภูเขาแร้งกระพือปีก มีคันธกุฎีอยู่บนยอดเขา และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อพระบาทเขาคิชฌกูฏ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[3] เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และกลายเป็นอำเภอลำดับที่ 10 ของจังหวัดจันทบุรี

  • พ.ศ. 2530 ตั้งตำบลคลองพลู แยกออกจากตำบลตะเคียนทอง[4]
  • พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลชากไทย แยกออกจากตำบลพลวง[5]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 แยกพื้นที่ตำบลชากไทย ตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง และตำบลคลองพลูจากอำเภอมะขาม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอมะขาม
  • พ.ศ. 2536 ตั้งตำบลจันทเขลม แยกออกจากตำบลคลองพลู[6]
  • พ.ศ. 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลพลวงและสภาตำบลคลองพลู เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงและองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพลู[7]
  • พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลชากไทยและสภาตำบลตะเคียนทอง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชากไทยและองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง[8]
  • พ.ศ. 2540 ยกฐานะจากสภาตำบลจันทเขลมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจันทเขลม[9]
  • พ.ศ. 2548 กำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยกำหนดให้ตำบลพลวงมีเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน และตำบลชากไทยมีเขตการปกครองทั้งหมด 8 หมู่บ้าน[10]
  • วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงเป็นเทศบาลตำบลพลวง[11]
  • วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม เป็น อำเภอเขาคิชฌกูฏ[3]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชากไทยเป็นเทศบาลตำบลชากไทย[12] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทองเป็นเทศบาลตำบลตะเคียนทอง[13]
  • วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลจันทเขลมเป็นเทศบาลตำบลจันเขลม[14]
  • วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพลูเป็นเทศบาลตำบลคลองพลู[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเขาคิชฌกูฏแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[16]
1. ชากไทย Chak Thai
8
4,352
2. พลวง Phluang
10
7,382
3. ตะเคียนทอง Takhian Thong
9
4,646
4. คลองพลู Khlong Phlu
10
6,645
5. จันทเขลม Chanthakhlem
8
6,153

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเขาคิชฌกูฏประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลชากไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชากไทยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลตะเคียนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนทองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลจันทเขลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทเขลมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคลองพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพลูทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (86 ง): 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
  3. 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้งอำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อาเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (190 ง): 6533–6538. วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2530
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 109-114. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2536
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบล ในท้องที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (101 ง): 3–11. วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  12. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ชากไทย เป็น เทศบาลตำบล". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
  13. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าหลวง เป็น เทศบาลตำบลท่าหลวง". October 26, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล จันทเขลม เป็น เทศบาลตำบลจันทเขลม". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
  15. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพลู เป็น เทศบาลตำบลคลองพลู". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  17. http://www.kroobannok.com/blog/13597