แม่น้ำบีคี่ใหญ่
แม่น้ำบีคี่ใหญ่ | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | เขาไม่มีชื่อ |
• ตำแหน่ง | ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ |
ปากน้ำ | สามสบ |
• ตำแหน่ง | ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี |
• พิกัด | 15°07′18.0″N 98°27′20.0″E / 15.121667°N 98.455556°E |
ความยาว | 43 กิโลเมตร (27 ไมล์)[1] |
ลุ่มน้ำ | |
ระบบแม่น้ำ | ลุ่มน้ำแม่กลอง |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | ห้วยป่าหมาก, ห้วยบีคี่, ห้วยทิบูจือ, แม่น้ำบีคี่น้อย, ห้วยบ้านปาง, ห้วยองค์พระ, ห้วยมาลัย |
• ขวา | ห้วยทิพุยะคุ, ห้วยมอล็อก, ห้วยโต่ง |
แม่น้ำบีคี่ใหญ่ เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับลำน้ำอีกสองสายคือแม่น้ำซองกาเลียและแม่น้ำรันตีกลายเป็นแม่น้ำแควน้อย ณ จุดที่เรียกว่า "สามสบ" หรือ "สามประสบ" ใกล้กับสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) และวัดวังก์วิเวการาม
แม่น้ำบีคี่ใหญ่เป็นแม่น้ำที่ท่วมไหลลึกเข้าไปถึงต้นน้ำ เป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์น้ำอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญจำนวนมาก เป็นแหล่งอาศัยและแพร่กระจายพันธุ์ของพันธุ์ปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาค้าวดำ ปลายี่สก ปลากา ปลาตะเพียน และปลาเวียน เป็นต้น ปลาเหล่านี้มีพฤติกรรมวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมอันเป็นช่วงฤดูฝนในบริเวณที่เป็นต้นน้ำจำนวนมาก อีกทั้งยังไหลผ่านชุมชนและหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงอีกหลายแห่ง
ในปัจจุบัน แม่น้ำบีคี่ใหญ่เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีร่วมกับแม่น้ำซองกาเลียและแม่น้ำรันตี[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (อักษร น-ม) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2560.
- ↑ สมศักดิ์ ล่ำพงศ์พันธุ์. "รันตี บีคลี่ ซองกาเลีย สามประสบ อัญมณีแห่งป่าสูง. แม่น้ำสามสายสู่อารยธรรมมอญที่สังขละบุรี." อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ 57, ฉบับที่ 9, เมษายน 2560, หน้า 36.