วัดพุน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพุน้อย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพุน้อย
ที่ตั้งหมู่ที่ 1 ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15110
ประเภทวัดราษฏร์
นิกายมหานิกาย
ความพิเศษเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน
จุดสนใจพิพิธภัณฑ์เรือไทย วัดพุน้อย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพุน้อย เป็นวัดใน ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษ์ณี 15110

ประวัติ[แก้]

ทางขึ้นพระอุโบสถ

วัดพุน้อย 3 หมุ่ที่ 1 ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี แต่เดิม พุน้อยเป็นชื่อของ น้ำที่ผุดขึ้นมาคล้ายน้ำพุตลอดทั้งปี ไม่มีวันแห้ง จึงเป็นชื่อเรียกขานหมู่บ้านแห่งนี้ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2515 หมอเคลือบ และนางบุญมา เหมือนเอี่ยม ได้มอบถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา เพื่อสร้างวัดพุน้อย หลวงพ่อชื้น บุญยกาโม นำชาวบ้านพุน้อยร่วมก่อสร้าง ได้ 4 พรรษาท่านจึงมรณภาพ ต่อมา พ.ศ. 2519 หลวงปู่แบน จนฺทสโร มาอยู่จำพรรษา และได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก 15 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2543 หลวงปู่แบน จนังทสโร ท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านพุน้อยพัฒนาวัดจนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้วัดที่ไม่มีคนรู้จัก กลายเป็นวัดที่มีคนเชื่อถือเลือมใสศรัทธาเดินทางมากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย

ปัจจุบัน พระโสภณพัฒนคุณ (ทิน สุทินฺโน) เจ้าอาวาสวัดพุน้อย ท่านยังคงสืบสานวิชาอาคม ที่รับจากหลวงปู่แบน จนฺงทสโร ในเรื่องเมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการค้าขาย ที่หลวงปู่แบนได้สร้างเรือพุทธคุณขึ้นมา ซึ่งใครได้ไปบูชาจะประสบผลสำเร็จกันแทบทุกคน จึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาที่วัดพุน้อยกันอย่างเนืองแน่นในแต่ละวัน

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับวัด[แก้]

วัดพุน้อยนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคาราพนับถือของชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศก็คือการยกเรือ การสร้างเรือ เพื่อถวายแด่แม่ตะเคียนทองสำหรับคนที่ชอบการเสี่ยงทายมักจะได้เดินทางมาที่วัดพุน้อยได้ขอโชคลาภด้วยการบนบานขอให้ถูกหวย พร้อมกันนี้ก็จะนำผ้าไหมซึ่งตัดเป็นชุดไทยกับตัวหุ่น นำมาถวายแม่ตะเคียนทองเพื่อเป็นการแก้บน ทำให้ปัจจุบันวัดพุน้อยชุดผ้าไหมไทย มากมายหลายหลากสีและมีความสวยงามมีจำนวนนับเป็น หมื่นชุด จนทางวัดต้องสร้างห้อง ไว้เก็บโดยเฉพาะ สำหรับชุดผ้าไหมไทย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]