ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอลอง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Long
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ตำบลต้าผามอก เป็นความแปลกประหลาดที่เกิดจากการยุบตัว ของเปลือกโลก และการชะล้างพังทลายของหินที่ใช้เวลาหลายล้านปี ก่อเกิดภูมิทัศน์ลักษณะคล้ายปะการัง
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ตำบลต้าผามอก เป็นความแปลกประหลาดที่เกิดจากการยุบตัว ของเปลือกโลก และการชะล้างพังทลายของหินที่ใช้เวลาหลายล้านปี ก่อเกิดภูมิทัศน์ลักษณะคล้ายปะการัง
คำขวัญ: 
งามพระธาตุล้ำค่า ส้มพุทรารสเลิศ
แหล่งกำเนิดผ้าจก มรดกสวนหิน ถิ่นชาวเมืองลอง
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอลอง
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอลอง
พิกัด: 18°4′30″N 99°49′54″E / 18.07500°N 99.83167°E / 18.07500; 99.83167
ประเทศ ไทย
จังหวัดแพร่
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,447.30 ตร.กม. (558.81 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด53,190 คน
 • ความหนาแน่น36.75 คน/ตร.กม. (95.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 54150
รหัสภูมิศาสตร์5403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอลอง เลขที่ 166
หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลอง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่

สถานีรถไฟผาคัน เป็นสถานีรถไฟระดับ 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 578.46 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 บ้านผาคัน ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่
สถานีรถไฟบ้านปิน ก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 อาคารสถานีมีรูปแบบสถาปัตยกรรมบาวาเรียนผสมกับสถาปัตยกรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นสถานีประจำอำเภอลอง

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอลองมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ที่หยุดรถไฟผาคอ อดีตเคยเป็นสถานีรถไฟผาคอ ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลดระดับสถานีนี้กลายเป็นที่หยุดรถ ตั้งอยู่ที่บ้านผาคอ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ที่หยุดรถไฟห้วยแม่ต้า ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยแม่ต้า หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ประวัติ

[แก้]

อำเภอลองเป็นเมืองเก่ามาแต่ก่อนพุทธกาล ไม่สามารถว่าชนชั้นใดปกครองจับเอาความได้ว่าเริ่มสมัยชนชาติละว้า (ลัวะ) เข้ามามีอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามตำนานพระธาตุแหลมลี่กล่าวว่า เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 65 พรรษาได้เสด็จมาเมื่องนี้พร้อมด้วยพระอรหันต์ และตรัสว่าเมืองนี้ตั้งแต่เดิมชื่อว่า "กุกุฎไก่เอิก" (เมืองไก่ขัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 1078 พระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ผู้ครองเมืองละโว้ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระยารามัญผู้ครองเมืองอยุธยา (เมืองรามบุรี) ได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ได้นำพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาทางชลมารค (ทางน้ำ) แต่แทนที่จะตามลำน้ำปิงขึ้นไปกลับมาทางแยกขึ้นตามลำน้ำยมมาขึ้นบกที่บ้านปากลอง (หมู่ที่ 5 ต.ปากกาง) และเหตุที่หลงทางได้ถกเถียงกันในเรื่องเส้นทางไปเมืองหริภุญชัยจึงขนานนามเมืองนี้ว่า "เมืองเววาภาสิต" และ จากการที่พระนางจามเทวีทรงตรัสว่า "ลองขึ้นไปก่อนเถอะ" คำว่า "ลอง" ที่พระนางจามเทวีทรงตรัสขึ้นมานั้นถูกนำมาเรียกชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองลอง" อีกชื่อหนึ่งอำเภอลองในยุคแรกจึงตั้งอยู่ที่ตำบลปากกาง ในขณะเดียวกันนี้พระนางจามเทวีได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บริเวณห้วยอ้อ ซึ่งเป็นวัดศรีดอนคำ ในปัจจุบัน

ต่อมาในราวประมาณปี พ.ศ. 1824 พระเจ้ามังรายมหาราช ผู้ครองเมืองเชียงรายทำสงคราม รบชนะเมืองต่าง ๆ ในล้านนาจนถึงเมืองลองและได้เมืองลองป็นเมืองขึ้นทรงเปลี่ยนชื่อเมืองลองใหม่เป็น "เมืองเชียงชื่น"(สันนิษฐานว่าเนื่องจากมีแร่เหล็กและแร่ตะกั่ว ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า "จืน" มาก) และได้ตั้งพระยาเชิญเมือง เป็นผู้ครองนครขึ้นของเขลางค์นคร (ลำปาง) มีผู้ครองนครสืบต่อมาคือ พระยาหูหิ้น พระยายุธิฐิระมาหมื่นดังนคร พระยาหัวเมืองแก้ว ราวปี พ.ศ. 2020 สงครามสงบพระยาหัวเมืองแก้วได้พาผู้คนย้ายจากเมืองเชียงชื่นมาตั้งใหม่ที่บ้านนาบ้านก่อน (บริเวณโรงเรียนห้วยอ้อปัจจุบัน) ราวปี พ.ศ. 2030 ก็ได้ย้ายเมืองใหม่อีกครั้งหนึ่ง มาตั้งที่เหล่าเวียง (ปัจจุบันคือบริเวณลำห้วยแม่กางบ้านนาจอมขวัญ) ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลับมาใช้ชื่อ "เมืองลอง" เหมือนเดิมต่อนั้นมามีผู้ครองเมือง คือ พระยาช้างแก้ว พระยาฟ้าป้อม พระยาฟ้าใหม่ ราวจนปี พ.ศ. 2134 พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และเลยมาถึงเมืองลอง พระยาฟ้าป้อมและพระยาฟ้าใหม่ตายในสนามรบ เมืองลองแตกและว่างผู้ครองเมืองอยู่ระยะหนึ่ง

ราวปี พ.ศ. 2140 เจ้าผู้ครองนครลำปางได้ตั้งบุรุษผู้หนึ่งซึ่งอาสาจับช้างลายเสือนำไปถวายเจ้าเมืองลำปาง และตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลองให้ชื่อว่า พระยาช้างปาน ครองเมืองลอง ต่อมาราวปี พ.ศ. 2160 ได้มีเจ้าผู้ครองเมืองสืบต่อมาคือ พระยาครุธราช พระยาจอมหัวค่ำ พระยาขุนท่า พระยาชัย พระยาคำลิ่ม ราวปี พ.ศ. 2318 พระยาคำลิ่มถึงแก่อสัญกรรม ไม่มีผู้ปกครอง ลำปางจึงให้พระยาชื่นสมบัติมาครองเมืองโดยมีผู้ครองเมืองสืบต่อกันมาตลอด เพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรล้านนาจนตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดจนสืบมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2445 พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เจ้าเมืองลองคนสุดท้าย ถูกพวกเงี้ยวฟันจนถึงแก่พิราลัยถือเป็นอันสิ้นสุดการปกครองแบบเจ้าเมือง เดิมอำเภอเมืองลองขึ้นกับนครลำปาง จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2474 โอนอำเภอลองเข้ามาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่[1][2] โดยแยกพื้นบางส่วนจัดตั้งเป็นอำเภอวังชิ้น[3][4] และย้ายบ้านบ่อแก้วไปขึ้นกับอำเภอเด่นชัย[5]จนถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 25 ตุลาคม 2474 โอนพื้นที่อำเภอลอง จังหวัดลำปาง มาขึ้นกับจังหวัดแพร่[1]
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2474 โอนพื้นที่ตำบลบ้านปิน ตำบลห้วยอ้อ ตำบลหัวทุ่ง ตำบลแม่ป้าก ตำบลวังชิ้น ตำบลสรอย ตำบลปากกาง ตำบลนาพูน ตำบลเวียงต้า ตำบลต้าผามอก และตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง จังหวัดลำปาง มาขึ้นกับจังหวัดแพร่ และตั้งเป็น อำเภอลอง จังหวัดแพร่[2]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่ตำบลวังชิ้น ตำบลสรอย ตำบลนาพูน และตำบลแม่ป้าก อำเภอลอง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังชิ้น ขึ้นกับอำเภอลอง[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลปากกาง แยกออกจากตำบลห้วยอ้อ และตำบลหัวทุ่ง[6]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2499 โอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง ไปขึ้นกับตำบลเด่นชัย อำเภอสูงเม่น[5]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยอ้อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยอ้อ[7]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลวังชิ้น ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังชิ้น[8]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังชิ้น อำเภอลอง เป็น อำเภอวังชิ้น[4]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านปิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านปิน[9]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลบ่อเหล็กลอง แยกออกจากตำบลหัวทุ่ง[10]
  • วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลแม่ปาน แยกออกจากตำบลบ้านปิน และตำบลห้วยอ้อ[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลห้วยอ้อ และสุขาภิบาลบ้านปิน เป็นเทศบาลตำบลห้วยอ้อ และเทศบาลตำบลบ้านปิน ตามลำดับ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอลองแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 93 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน จำนวนประชากร[12]
1. ห้วยอ้อ Huai O 14 4,283 12,398
2. บ้านปิน Ban Pin 13 2,599 7,833
3. ต้าผามอก Ta Pha Mok 8 1,456 4,698
4. เวียงต้า Wiang Ta 10 2,172 6,677
5. ปากกาง Pak Kang 9 1,372 4,258
6. หัวทุ่ง Hua Thung 9 1,760 5,925
7. ทุ่งแล้ง Thung Laeng 12 2,460 7,265
8. บ่อเหล็กลอง Bo Lek Long 9 1,378 4,204
9. แม่ปาน Mae Pan 7 1,039 3,082

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอลองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาล
  2. 2.0 2.1 [2]ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ อำเภอลอง จังหวัดลำปาง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้โอนไปขึ้นจังหวัดแพร่
  3. 3.0 3.1 [3] เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอวังขึ้น ขึ้นอำเภอลอง จังหวัดแพร่
  4. 4.0 4.1 [4] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑
  5. 5.0 5.1 [5]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดแพร่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดพัทลุง พ.ศ. ๒๔๙๙
  6. [6] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
  7. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
  8. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวังชิ้น กิ่งอำเภอวังชิ้น อำเภอลอง จังหวัดแพร่
  9. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านปิน จังหวัดแพร่
  10. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่
  11. [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่
  12. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดแพร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]