สโมสรฟุตบอลสตูล ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สโมสรฟุตบอลสตูล)
สตูล ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลสตูล ยูไนเต็ด
ฉายาหมอผีสตูล
ก่อตั้งพ.ศ. 2541
ยุบพ.ศ. 2565
สนามสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
Ground ความจุ5,000 ที่นั่ง
ประธานไทย อัสหาด หลังจิ
ผู้ฝึกสอนไทย วสันต์ สังขพันธ์
2564–65ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับ 8
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลสตูล ยูไนเต็ด เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดสตูล เคยแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคใต้

ประวัติสโมสร[แก้]

สัญลักษณ์สโมสรเก่า พ.ศ. 2546 - 2547

ย้อนอดีตไปสมัยปี 33-34 "หมอผีสตูล" เป็นฉายาที่ผู้สื่อข่าวฟุตบอลยุคนั้นขนานให้ ด้วยนักเตะสตูลมักเล่นไสยศาสตร์ก่อนลงสนาม กระทั่งคว้าแชมป์ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพสองสมัยซ้อน จากรอบชิงชนะเลิศเอาชนะยักษ์ใหญ่อย่างชลบุรีที่เต็มไปด้วยนักเตะทีมชาติด้วยผล 3-1 ขณะสตูลเป็นทีมภูธรที่ร่วมฟาดแข้งแบบไม่มีใครรู้จัก ถึงขนาดไม่ทราบว่าสตูลอยู่ภาคไหนของประเทศ ที่สำคัญบรรดากองเชียร์ยุคนั้นสวม "ฮิญาบ"ผ้าคลุมศีรษะที่สตรีมุสลิมใช้ปกปิดเรือนผมพร้อมหน้ากากผีเข้าเชียร์ทุกนัด ด้วยเหตุนี้หนังสือสยามกีฬารายวันได้พาดหัวพร้อมรูปบนหน้า1และขนานนามให้ว่า "หมอผีสตูล" จากนั้นหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่รายงานข่าวฟุตบอลยามาฮ่าไทยแลนด์คัพก็เรียกทีมสตูลว่า "หมอผีสตูล" ทั่วกันถึงทุกวันนี้ ยุคนั้นไม่มีทีมไหนเลยที่กองเชียร์คลั่งไคล้เกมฟุตบอลถึงขนาดจัดรถบัสนับ10คันขึ้นไปเชียร์ทีมรักเช่นชาวสตูล หนังสือพิมพ์ทุกหัวต่างตีข่าวด้วยความตกตะลึง เนื่องจากไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ขณะที่การลงสนามวอร์มกล้ามเนื้อของนักเตะสตูลก่อนการแข่งขันนักเตะจะไม่เดินลงสนามบริเวณเส้นกลาง แต่จะลงจากหลังประตูหรือมุมธงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แม้ในยุคฟุตบอลลีกก็มีให้เห็นทุกนัดที่สตูลเตะในบ้าน กระทั่งแฟนบอลทีมเยือนส่วนใหญ่มักเอ่ยปากว่าโดน "ของ" หมอผีสตูลเล่นเข้าให้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของทีมฟุตบอลจังหวัดสตูลในยุครุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนั้นได้รับการยืนยันจากผู้ใหญ่ในวงการฟุตบอลสตูลหลายท่านว่า "ไม่ใช่เพราะไสยศาสตร์หรือการเล่นของแต่อย่างใด" หากแต่เป็นความสามารถของบรรดานักเตะและการเตรียมทีมเป็นอย่างดี และผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านั้นคือ อาจารย์ อนันต์ สุริยกานนท์ คุณ ดาเหลน เจ็ะเล็ม อาจารย์ อนิรุทธ์ กอมะ และเหล่าทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอีกหลายท่าน

ต่อมาทางสโมสรได้ถูกตัดสิทธิ์แข่งขันไทยลีก 3 เนื่องจากไม่ผ่านคลับไลเซนซิง ทำให้ไม่สามารถส่งทีมแข่งขันในไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 ได้

ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2564–65[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย สุภชัย วงศ์สุวรรณ
3 DF ไทย ปรเมศก์ ปะดุกา
4 DF ไทย กิตติศักดิ์ สาดีน
5 DF ไทย จารุเดช ยะระ
6 DF แคเมอรูน Ngouafack Samuel
7 MF ไทย ไชยา นัครี
8 MF ไทย อิบรอเหม อาดำ
14 MF ไทย บุคอรี ด่อล๊ะ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 DF ไทย อนันต์ ยาง๊ะ (กัปตันทีม)
22 DF ไทย ตยาชิต ปาละวัน
24 GK ไทย อนันตชัย ยาแลหลา
27 MF ไทย ศุภสันห์ โสสนุย
28 DF ไทย แอลฟิลด์ เสวก
30 GK ไทย ซาฟารีห์ หนันเส็น
38 FW ไทย อัชอารี รูบามา
99 DF ไทย สิชล อุศมา

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

  • 2542/43 - โปรลีก - อันดับ 3
  • 2544 - โปรลีก - อันดับ 6
  • 2545 - โปรลีก - อันดับ 6 ของรอบสุดท้าย
  • 2546 - โปรลีก - อันดับ 12 (ลดชั้นลงเล่น โปรลีก 2)
  • 2547 - โปรลีก 2 - อันดับ 1 (เลื่อนชั้นขึ้นเล่น โปรลีก)
  • 2548 - โปรลีก - อันดับ 10
  • 2549 - โปรลีก - อันดับ 15
  • 2550 - ไทยลีกดิวิชัน 2 - อันดับ 9
  • 2551 - ไทยลีกดิวิชัน 2 - อันดับ 10
    2551- สมานฉันท์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่1 - ชนะเลิศ
  • 2552 - ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ - อันดับ 4
  • 2553 - ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ภาคใต้ - อันดับ 6
  • 2558 - ดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ - อันดับ 1
  • 2559 - ดิวิชั่น 2 โซนภาคใต้ - อันดับ 5
  • 2560 - ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ - อันดับ 1 (ไม่ผ่านรอบแรก แชมเปียนส์ลีก)
  • 2561 - ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ - อันดับ 1 (อันดับ 3 ของรอบสุดท้าย แชมเปียนส์ลีกตอนล่าง)
  • 2562 - ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ - อันดับ 1 (อันดับ 6 ของรอบสุดท้าย แชมเปียนส์ลีกตอนล่าง)
  • 2561 - ไทยลีก 4 โซนภาคใต้ - อันดับ 1 (อันดับ 3 ของรอบสุดท้าย แชมเปียนส์ลีกตอนล่าง)
  • 2563 - ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ - อันดับ 9

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีก คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2564–65 ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ 24 8 4 12 40 42 28 อันดับ 8 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกรอบสอง ไทย ธัญพิสิษฐ์ เหมปันดัน 9
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]