ฮิญาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุสลิมหญิงสวมฮิญาบ (ผ้าคลุมหัว)

ฮิญาบ (อาหรับ: حجاب) หรือภาษามลายูปัตตานีว่า กาเฮงกลูบง[1] เป็นผ้าคลุมที่สวมโดยหญิงมุสลิมบางคนตอนไปในบริเวณของผู้ชายที่ไม่ใช่คนในครอบครัวของตน ซึ่งมักคลุมหัวและหน้าอก ฮิญาบ อาจอิงถึงการแยกตัวของผู้หญิงจากผู้ชายในปริมณฑลสาธารณะ หรืออาจแสดงถึงมิติทางอภิปรัชญา เช่น อิงถึง "ผ้าคลุมที่แยกผู้ชายหรือโลกจากพระเจ้า"[2]

ในอัลกุรอาน, ฮะดีษ และข้อความภาษาอาหรับคลาสสิก คำว่า คิมาร (อาหรับ: خِمار) ถูกใช้กับผ้าคลุมศีรษะ และ ฮิญาบ ถูกใช้กับฉาก, ม่าน หรือถูกใช้เป็นกฎความความพอประมาณและการแต่งกายในศาสนาอิสลามสำหรับผู้หญิงโดยทั่วไป[3][4][5]

ตามธรรมเนียม ผู้หญิงมักสวมเพื่อรักษาความถ่อมตัวและความเป็นส่วนตัวจากชายที่ไม่รู้จัก รายงานจาก สารานุกรมอิสลามและโลกมุสลิม ความถ่อมตัวในอัลกุรอานเกี่ยวกับ "สายตา, การเดิน, เสื้อผ้า และอวัยวะสืบพันธุ์" ทั้งชายและหญิง[6] กุรอานได้ใช้ให้หญิงมุสลิมแต่งกายสุภาพเรียบร้อย[7] บางระบบกฎหมายอิสลามกล่าวถึงประเภทของเสื้อสุภาพว่าต้องคลุมทุกอย่างยกเว้นใบหน้าและมือถึงข้อมือ[2][8] ข้อชี้แนะสามารถพบได้ในฮะดีษกับฟิกฮ์ แต่บางส่วนมาจากโองการ (อายะฮ์) ในอัลกุรอาน[6] บางคนเชื่อว่ากุรอานไม่ได้บังคับว่าผู้หญิงต้องสวมฮิญาบ[9][10]

ในอัลกุรอาน คำว่า ฮิญาบ อิงถึงที่กั้นหรือม่านโดยตรงหรือเชิงเปรียบเทียบ โองการที่ถูกใช้มักเข้าใจโดยตรงว่า อิงถึงม่านกั้นระหว่างแขกในบ้านของมุฮัมมัดกับห้องที่พักภรรยาของท่าน นำมาซึ่งข้อโต้แย้งว่า โองการจากอัลกุรอานสั่งให้ภรรยาของมุฮัมมัดสวมฮิญาบ ไม่ใช่ผู้หญิงทั่วไปหรือไม่[11][12]

ทุกวันนี้การสวมฮิญาบเป็นข้อกำหนดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน บางประเทศในยุโรปกับโลกมุสลิม ได้ผ่านกฎหมายห้ามฮิญาบบางส่วนหรือทั้งหมดในที่สาธารณะ

อ้างอิง[แก้]

  1. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2009). ทักษะวัฒนธรรม (PDF). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. p. 56.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Glasse, Cyril, The New Encyclopedia of Islam, Altamira Press, 2001, p.179-180
  3. Lane's Lexicon page 519 and 812
  4. Contemporary Fatwas by Sheik Yusuf Al Qaradawi, vol. 1, pp. 453-455
  5. Ruh Al Ma’ani by Shihaab Adeen Abi Athanaa’, vol. 18, pp. 309, 313
  6. 6.0 6.1 Encyclopedia of Islam and the Muslim World (2003), p. 721, New York: Macmillan Reference USA
  7. Martin et al. (2003), Encyclopedia of Islam & the Muslim World, Macmillan Reference, ISBN 978-0028656038
  8. Fisher, Mary Pat. Living Religions. New Jersey: Pearson Education, 2008.
  9. "Irfi.org". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-12-26.
  10. "Moroccoworldnews.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-27. สืบค้นเมื่อ 2015-12-26.
  11. Aslan, Reza, No God but God, Random House, (2005), p.65–6
  12. Ahmed, Leila (1992). Women and Gender in Islam: Historical Roots of a Modern Debate. ISBN 9780300055832. สืบค้นเมื่อ 2013-04-20.