สโมสรฟุตบอลพีที สตูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีที สตูล เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอล สตูล เอฟซี
ฉายาหมอผีแดนใต้
ก่อตั้งพ.ศ. 2565
สนามสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
Ground ความจุ5,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท สตูล เอฟซี จำกัด
ประธานไทย พงศพัศ ทิ้งนุ้ย
ผู้จัดการไทย พีรพัฒน์ รัชกิจประการ
ผู้ฝึกสอนไทย อดุลย์ หมื่นสมาน
ลีกไทยลีก 3
2566–67ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 4
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลพีที สตูล เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดสตูล ปัจจุบันแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนภาคใต้

ประวัติสโมสร[แก้]

สัญลักษณ์สโมสรเก่า พ.ศ. 2546 - 2547

ย้อนอดีตไปสมัยปี 33-34 "หมอผีสตูล" เป็นฉายาที่ผู้สื่อข่าวฟุตบอลยุคนั้นขนานให้ ด้วยนักเตะสตูลมักเล่นไสยศาสตร์ก่อนลงสนาม กระทั่งคว้าแชมป์ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพสองสมัยซ้อน จากรอบชิงชนะเลิศเอาชนะยักษ์ใหญ่อย่างชลบุรีที่เต็มไปด้วยนักเตะทีมชาติด้วยผล 3-1 ขณะสตูลเป็นทีมภูธรที่ร่วมฟาดแข้งแบบไม่มีใครรู้จัก ถึงขนาดไม่ทราบว่าสตูลอยู่ภาคไหนของประเทศ ที่สำคัญบรรดากองเชียร์ยุคนั้นสวม "ฮิญาบ"ผ้าคลุมศีรษะที่สตรีมุสลิมใช้ปกปิดเรือนผมพร้อมหน้ากากผีเข้าเชียร์ทุกนัด ด้วยเหตุนี้หนังสือสยามกีฬารายวันได้พาดหัวพร้อมรูปบนหน้า1และขนานนามให้ว่า "หมอผีสตูล" จากนั้นหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่รายงานข่าวฟุตบอลยามาฮ่าไทยแลนด์คัพก็เรียกทีมสตูลว่า "หมอผีสตูล" ทั่วกันถึงทุกวันนี้ ยุคนั้นไม่มีทีมไหนเลยที่กองเชียร์คลั่งไคล้เกมฟุตบอลถึงขนาดจัดรถบัสนับ10คันขึ้นไปเชียร์ทีมรักเช่นชาวสตูล หนังสือพิมพ์ทุกหัวต่างตีข่าวด้วยความตกตะลึง เนื่องจากไม่เคยมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ขณะที่การลงสนามวอร์มกล้ามเนื้อของนักเตะสตูลก่อนการแข่งขันนักเตะจะไม่เดินลงสนามบริเวณเส้นกลาง แต่จะลงจากหลังประตูหรือมุมธงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แม้ในยุคฟุตบอลลีกก็มีให้เห็นทุกนัดที่สตูลเตะในบ้าน กระทั่งแฟนบอลทีมเยือนส่วนใหญ่มักเอ่ยปากว่าโดน "ของ" หมอผีสตูลเล่นเข้าให้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของทีมฟุตบอลจังหวัดสตูลในยุครุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนั้นได้รับการยืนยันจากผู้ใหญ่ในวงการฟุตบอลสตูลหลายท่านว่า "ไม่ใช่เพราะไสยศาสตร์หรือการเล่นของแต่อย่างใด" หากแต่เป็นความสามารถของบรรดานักเตะและการเตรียมทีมเป็นอย่างดี และผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านั้นคือ อาจารย์ อนันต์ สุริยกานนท์ คุณ ดาเหลน เจ็ะเล็ม อาจารย์ อนิรุทธ์ กอมะ และเหล่าทีมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอีกหลายท่าน

ต่อมาทางสโมสรได้ถูกตัดสิทธิ์แข่งขันไทยลีก 3 เนื่องจากไม่ผ่านคลับไลเซนซิง ทำให้ไม่สามารถส่งทีมแข่งขันในไทยลีก 3 ฤดูกาล 2565–66 ได้

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
3 DF ไทย ปรวรรต เตาวะโต
4 DF ไทย ไชยวัฒน์ ไพโรจน์
6 DF ไทย กิตติศักดิ์ สาดีน
7 MF ไทย ไชยา นัครี (กัปตันทีม)
8 MF ไทย อิบรอเหม อาดำ
9 FW ไทย อานุฮ์ วงแหวน
10 FW ไทย ฉ่ำสุดดีน โส๊ะเต่ง
11 FW รัสเซีย เอริค ซาเอรโค
14 MF ไทย อดิศักดิ์ กานู
15 MF ไทย ตยาชิต ปาละวัน
16 DF ไทย กษิตินาถ ดินงะ
17 DF ไทย หูซัยฟี บิลังโหลด
19 MF ไทย อัคเดช สุขศิริ
20 MF ไทย รอชีดี สัตย์สุข
21 FW ไทย อัศรี จันทวงษ์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 DF ไทย ฟารุก เก็มเส็น
26 GK ไทย ชินวัตร เกษม
27 FW ไนจีเรีย อาจายี โอเปเยมี โคเรเด
33 DF ไทย อาดิษ ตามาต
34 DF ไทย กิตติกร เขตภารา
35 DF ไทย ณัฐพล เหะนะ
36 MF ไทย ซุลกิบลี จิสวัสดิ์
38 GK ไทย วุฒิชัย ปานบุตร
39 DF ไทย วัฒนพร ดอนมงคุณ
43 GK ไทย อภินันต์ ปูหัด
44 FW ไทย กิตติพงศ์ เขตภารา
54 FW ไทย ศิวกร ทวาสิโก
77 MF ไทย วาธิต นัครี
88 MF ไทย ฟิรฮาน หยาหลี
93 FW บราซิล โดกลัส เฟร์ไรรา

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ลีก 3 คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2566 ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
โซนภาคใต้
5 3 2 0 15 5 11 ชนะเลิศ ไม่ได้เข้าร่วม ไม่สามารถเข้าร่วม ไทย อัครอม ม่าหมูด 4
ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
โซนล่าง
2 2 0 0 7 3 6 อันดับที่ 1
2566–67 ไทยลีก 3
โซนภาคใต้
22 10 6 6 27 19 36 อันดับที่ 4 ไม่ได้เข้าร่วม รอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง บราซิล โดกลัส เฟร์ไรรา 7
2567-68
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

รายชื่อผู้ฝึกสอน[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

ชื่อ-สกุล สัญชาติ ช่วงเวลา เกียรติประวัติ
เกียรติศักดิ์ วงเพี้ย ไทย มีนาคม – กรกฎาคม 2566 ชนะเลิศ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2566 – โซนภาคใต้
ชนะเลิศ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2566 – โซนภาคใต้ตอนล่าง
ฟาซัล อุสมา ไทย กรกฎาคม 2566 – มกราคม 2567 ชนะเลิศ ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ฤดูกาล 2566
อดุลย์ หมื่นสมาน ไทย มกราคม 2567 –

เกียรติประวัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]