ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย (1946–76)
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย (1976–92)

Republika Popullore e Shqipërisë
Republika Popullore Socialiste e Shqipërisë
1944-1992
เพลงชาติHymni i Flamurit
("เพลงสรรเสริญแก่ธง")
ตำแหน่งของสาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย
ตำแหน่งของสาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย
สถานะรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต ถึงปี ค.ศ. 1961
เมืองหลวงติรานา
42°41′N 23°19′E / 42.683°N 23.317°E / 42.683; 23.317
การปกครอง
ประธานาธิบดี 
• 1953-1982
โอเมอร์ นิชานิ
• 1982-1991
รามิซ อาเลีย
นายกรัฐมนตรี 
• 1946-1954
เอ็นเวอร์ ฮอกซา
• 1954-1981
เมห์เมต เซฮู
• 1982-1991
อะดิล คาร์คานี
สภานิติบัญญัติสภาประชาชน
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
29 พฤษจิกายน 1944
• สถาปนา
11 มกราคม 1946
28 ธันวาคม 1976
• สิ้นสุดความสัมพันธ์จีน-แอลเบเนีย
1978
• การล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในแอลเบเนีย
11 ธันวาคม 1990
• การเลือกตั้ง
31 มีนาคม 1991
พื้นที่
198928,748 ตารางกิโลเมตร (11,100 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1945
1122044
• 1989
3182417
สกุลเงินเลค
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลประชาธิปไตยแอลเบเนีย
แอลเบเนีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย (อังกฤษ: People's Socialist Republic of Albania (PSRA); แอลเบเนีย: Republika Popullore Socialiste e Shqipërisë) เป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของ "ประเทศแอลเบเนีย" เป็นประเทศอยู่ภายใต้รัฐคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ. 1992 ปกครองตามแบบ "รัฐบาลพรรคเดียว" แบบชาตินิยมฮอกซา ประเทศแอลเบเนียนี้ เคยเป็นอดีตรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ ค.ศ.1944 ถึงปี ค.ศ.1961

ความสัมพันธ์กับยูโกสลาเวีย

[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แอลเบเนียดำเนินนโบบายใกล้ชิดกับยูโกสลาเวียมาก จนถึงกับมีนโยบายที่จะรวมแอลเบเนียเข้ากับยูโกสลาเวีย จนกระทั่งยูโกสลาเวียถูกขับออกจากองค์กรโคมินฟอร์มเมื่อ ค.ศ. 1948 สหภาพโซเวียตเรียกร้องให้ประเทศบริวารตัดความสัมพันธ์กับยูโกสลาเวีย สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียส่วนใหญ่ที่ไม่พอใจนโยบายใกล้ชิดกับยูโกสลาเวียจึงหันไปสร้างความสัมพันธ์กับโซเวียตโดยตรง ตัดความสัมพันธ์กับยูโกสลาเวีย และพยายามกวาดล้างฝ่ายที่นิยมยูโกสลาเวียออกจากพรรค

ความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

ต่อมาเมื่อนีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นมามีอำนาจใน ค.ศ. 1956 และมีนโยบายผูกมิตรกับยูโกสลาเวียอีกครั้ง และปรับเปลี่ยนนโยบายไปจากยุคของสตาลิน ทำให้ผู้นำแอลเบเนียที่นิยมสตาลินไม่พอใจหันไปสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน สหภาพโซเวียตประณามแอลเบเนียที่ไม่ร่วมล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน แอลเบเนียจึงโต้ตอบด้วยการปิดฐานทัพเรือดำน้ำของโซเวียตที่เมืองวโลเรอร์

เมื่อเหมาเจ๋อตงถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 1976 และจีนเริ่มดำเนินนโยบายผ่อนปรน ผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น ฮฺอกซา ผู้นำพรรคอมมิวนิสต์แอลเบเนียไม่พอใจ ตัดความสัมพันธ์กับประเทศจีนเมื่อ ค.ศ. 1977 จากนั้น แอลเบเนียดำเนินนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว

ในขณะเดียวกัน การเมืองภายในแอลเบเนียมีความขัดแย้งมากขึ้น เมห์เมต เซฮู ไม่พอใจนโยบายตัดความสัมพันธ์กับจีน พยายามก่อรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ เซฮูถูกประหารชีวิต โซซาปกครองประเทศแบบเผด็จการจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2528 รามิซ อาเลีย ผู้สืบทอดอำนาจต่อจากโซซาดำเนินนโยบายที่ผ่อนปรนมากขึ้น ในที่สุดได้มีการปฏิรูปการเมืองจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ผลปรากฏว่าพรรคแรงงานแอลเบเนียได้เสียงส่วนใหญ่ รามิซ อาเลียได้เป็นประธานาธิบดี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐแอลเบเนีย