ข้ามไปเนื้อหา

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 3)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์
ฤดูกาลที่ 3
พิธีกรปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการ
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน25
สถานที่แข่งขันเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ประเทศประเทศไทย
จำนวนตอน5 (ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 (2567-07-07))
การออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ2 มิถุนายน 2567 (2567-06-02) –
ปัจจุบัน
ลำดับฤดูกาล
← ก่อนหน้า
ฤดูกาลที่ 2

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 3 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารสำหรับเด็กในฤดูกาลที่ 3 และเป็นการกลับมาออกอากาศอีกครั้งในรอบ 5 ปี ของมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) ออกอากาศทางช่อง 7HD เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รูปแบบรายการ

[แก้]

งานสร้าง

[แก้]

เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 มีการประกาศผลิตรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ เป็นฤดูกาลที่ 3 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันสำหรับฤดูกาลนี้ ซึ่งได้ปรับลดอายุผู้เข้าแข่งขันลงมาเล็กน้อย จากเดิม 8-13 ปี เป็น 8-12 ปี[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ได้ประกาศว่ารายการจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน โดยยังคงใช้พิธีกรและกรรมการชุดเดิมจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ทุกเวอร์ชั่นทั้งหมด[2] แต่มีการปรับเปลี่ยนพื้นหลังของห้องสัมภาษณ์ใหม่

ผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]
ชื่อ อายุ[^] ภูมิลำเนา ลำดับการแข่งขัน จำนวนชนะ
ณัฐพิสิษฐ์ เลิศมุกดา (คานี่) 9 กรุงเทพมหานคร อยู่ในระหว่างการแข่งขัน 2
กร อมาตยกุล (ดราโก้) 11 กรุงเทพมหานคร 2
ภควุฒิ ศิริบรรจงโชค (วิน) 8 กรุงเทพมหานคร 2
ณธกร บุญกาญจนรัตน์ (ฟรอยด์) 9 กรุงเทพมหานคร 1
เอกตระการ เชี่ยวพัทธยากร (เอตะ) 11 จังหวัดร้อยเอ็ด 3
แอรี่เม แซ่เจ๋า (แอรี่) 11 จังหวัดเชียงราย 3
ธัญชนก รัตตะมณี (น้ำใจ) 9 จังหวัดเชียงใหม่ 2
กรรณปกร อภิบุญอำไพ (ซันจิ) 11 กรุงเทพมหานคร 4
สุคนธา วัชรพินธุ์ (บัวหอม) 11 จังหวัดภูเก็ต 5
อนัญญา วราเศรษฐ์ (เอญ่า) 10 กรุงเทพมหานคร 4
วิกตอเรีย ยูจิน จู (ยูจิน) 9 กรุงเทพมหานคร 3
ภีมพศ แก้วสีหาบุตร (รถถัง) 11 จังหวัดสมุทรปราการ 1
เอดิสันต์ เชน (ซัญ) 8 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
วันที่ 21 กรกฎาคม
2
นรโชติ ศิริบรรจงโชค (ชิน) 11 กรุงเทพมหานคร 2
ชัยกฤต เลาหะวัฒนะ (แซค) 11 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
วันที่ 14 กรกฎาคม
1
ณัฐวรรธน์ ศรีวานิชภูมิ (คอปเตอร์) 8 กรุงเทพมหานคร 2
แพนเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล (แพนเตอร์) 9 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
วันที่ 7 กรกฎาคม
1
อลีนา มารี จาง (อลีน่า) 8 กรุงเทพมหานคร 1
พูมา คอร์ป ไดเรนดัล (พูม่า) 8 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
วันที่ 30 มิถุนายน
1
พิทย์รดา วศินพงศ์วณิช (เกรซ) 8 จังหวัดนนทบุรี 1
ซันนี่ ซู บริบูรณ์ (ซันนี่) 9 กรุงเทพมหานคร 0
ปาณพุฒิ ศักตายาวนิช (ปาณพุฒิ) 8 จังหวัดชลบุรี ถูกคัดออก
วันที่ 9 มิถุนายน
0
เฌอนิตา ศรีจันทร์งาม (ผิงอัน) 8 จังหวัดเชียงใหม่ 0
นภัทร พงษ์จรัสพันธ์ (พร้อม) 10 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
วันที่ 2 มิถุนายน
0
นัทธ์ชวัล พงศ์ภัทรวิจิตร (เพลงเพราะ) 11 จังหวัดขอนแก่น 0

ข้อมูลการแข่งขัน

[แก้]

ตารางการคัดออก

[แก้]
อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
1 2 3/4 4 5 6 7
รอประกาศ เอตะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ กดดัน ผ่าน ผ่าน
เอญ่า ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน
บัวหอม ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ชนะ
คานี่ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน
แอรี่ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน
ยูจิน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน
ดราโก้ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน
วิน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง
ซันจิ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง
รถถัง สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน
ฟรอยด์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน
น้ำใจ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน
13 ซัญ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ สูง ออก
ชิน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
15 แซค ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
คอปเตอร์ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ชนะ สูง ผ่าน เสี่ยง ออก
17 แพนเตอร์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ออก
อลีน่า ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ออก
19 พูม่า ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ออก
เกรซ สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ออก
21 ซันนี่ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
22 ปานพุฒิ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
ผิงอัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
24 พร้อม ผ่าน ออก
เพลงเพราะ ผ่าน ออก
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์)
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ต้องเข้าแข่งขันในรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ถอนตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์

ข้อมูลการออกอากาศ

[แก้]

ตอนที่ 1 : การทดสอบทักษะการทำอาหารขั้นพื้นฐาน

[แก้]

ออกอากาศ 2 มิถุนายน 2567

ก่อนเริ่มการแข่งขัน คณะกรรมการได้มอบผ้ากันเปื้อนให้น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 25 คน โดยผ้ากันเปื้อนซ่อนอยู่ในลูกโป่งใบใหญ่ (ลักษณะเดียวกับในฤดูกาลที่ 2) น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำลายลูกโป่งให้แตกจึงจะได้ผ้ากันเปื้อนไป แต่ทว่าเชฟเอียนได้อำน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน โดยบอกว่ามีผ้ากันเปื้อนไม่ครบ ซึ่งสุดท้ายมี 2 คนที่ไม่ได้ผ้ากันเปื้อน เชฟเอียนจึงประกาศให้ทั้งคู่กลับบ้าน แต่หลังจากนั้นเชฟเอียนก็หยิบผ้ากันเปื้อนออกมามอบให้น้อง ๆ อีก 2 คนที่เหลือกลับเข้าแข่งขันตามเดิม

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ภายในกล่องปริศนามี อกไก่ ข้าวหอมมะลิ เส้นสปาเกตตี เบบี้แครอท บรอกโคลี โหระพา มันฝรั่ง ชีส มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ไข่ไก่ และลิ้นวัว น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำวัตถุดิบเหล่านี้มาทำอาหารที่ดีที่สุด 1 เมนู เพื่อทดสอบทักษะการทำอาหารขั้นพื้นฐาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ รถถัง, คานี่ และ เกรซ และผู้ชนะ ได้แก่ คานี่ โดยได้ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแข่งขันในรอบถัดไป และยังได้สิทธิ์นำ "แอปเปิลแดงแทนหัวใจ" จำนวน 11 ลูก ไปมอบให้เพื่อนอีก 11 คน ให้ผ่านเข้ารอบไปด้วยโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน โดยคานี่ได้มอบแอปเปิลให้แก่ ดราโก้, เกรซ, ซัญ, แพนเตอร์, วิน, ฟรอยด์, เอตะ, ซันนี่, แอรี่, แซค และ น้ำใจ
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: รถถัง, คานี่ และ เกรซ
  • ผู้ชนะ: คานี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ หมู โดยเชฟเอียนได้ให้น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันซึ่งเหลืออยู่ 13 คน ไปจับหมูมาคนละ 1 ตัว แต่หลังจากนั้นเชฟเอียนได้เรียกคืนหมูตัวเป็น ๆ ทั้งหมด และเปลี่ยนมานำหมูสามชั้นมามอบให้แทน น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้หมูสามชั้นมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ ซันจิ, อลีน่า และ บัวหอม ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ คอปเตอร์, พร้อม, เพลงเพราะ และ เอญ่า โดยคณะกรรมการเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ของทั้ง 4 คนไม่เพียงพอ แต่คอปเตอร์ชูวัตถุดิบหลักได้ดีที่สุดใน 4 คน และเอญ่าชูวัตถุดิบหลักได้พอใช้ ทั้ง 2 คนจึงได้กลับเข้าแข่งขันต่อ ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ พร้อม และ เพลงเพราะ
  • ผู้ที่เป็นสามจานที่ดีที่สุด: ซันจิ, อลีน่า และ บัวหอม
  • ผู้ที่ตกเป็นสี่อันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: คอปเตอร์, พร้อม, เพลงเพราะ และ เอญ่า
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พร้อม และ เพลงเพราะ

ตอนที่ 2 : กรรมการรับเชิญที่เด็ก ๆ ต้องหวาดกลัว

[แก้]

ออกอากาศ 9 มิถุนายน 2567

ในตอนนี้ เนื่องจากเชฟเอียนไม่อยู่เพื่อเตรียมสถานที่สำหรับการแข่งขันในรอบต่อไป จึงมีแขกรับเชิญคือ เชฟวิลแมน ลีออง เชฟผู้ก่อตั้งสถาบัน Thailand Culinary Academy สถาบันฝึกสอนเชฟทีมชาติไทย และกรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์และเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ซึ่งเชฟวิลแมนเคยมาเป็นแขกรับเชิญในรายการจูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ และ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 ตอนที่ 15 - ตอนที่ 16

  • บททดสอบทักษะการทำอาหาร: ในรอบนี้จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ โดยในแต่ละรอบจะคัดน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบทันที จำนวนรอบละ 4 คน รวม 12 คน
    • รอบที่ 1: ภายในตะกร้ามีไข่ น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน จะต้องแยกไข่แดง-ไข่ดาว จำนวน 15 ฟอง โดยไข่แดงจะต้องไม่แตก และไม่มีไข่ขาวปน โดยเชฟวิลแมนจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่ง 4 คนแรกที่ทำได้ถูกต้องและเร็วที่สุด จะผ่านเข้ารอบต่อไป
    • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เอตะ แซค เอญ่า และบัวหอม
    • รอบที่ 2: น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน จะต้องขอดเกล็ดและให้ควักไส้ปลากะพง เพื่อวัดทักษะขั้นพื้นฐานในการจัดการวัตถุดิบ โดยเชฟป้อมจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่ง 4 คนแรกที่ทำได้เร็วที่สุด จะผ่านเข้ารอบต่อไป
    • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: คานี่ แอรี่ ยูจิน และซัญ
    • รอบที่ 3: น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน จะต้องทำข้าวผัดกุ้งคนละ 1 จาน เพื่อวัดทักษะด้านรสชาติ โดยหม่อมหลวงภาสันต์จะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่ง 4 คนที่ทำได้รสชาติอร่อยและเร็วที่สุด จะผ่านเข้ารอบต่อไป
    • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: ดราโก้ วิน ซันจิ และรถถัง
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 3 รอบ: เอตะ แซค เอญ่า บัวหอม คานี่ แอรี่ ยูจิน ซัญ ดราโก้ วิน ซันจิ และรถถัง
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ ขนมปังแผ่นฟาร์มเฮาส์ อิงลิช เบรด น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่ 11 คน จะต้องนำขนมปังแผ่นมาทำเป็นนิวแซนด์วิชสุดสร้างสรรค์คนละ 1 เมนู โดยสามารถใส่ไส้ได้ตามใจชอบ มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ คอปเตอร์ และ ฟรอยด์ ซึ่งทั้ง 2 คนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในสัปดาห์ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ เกรซ, ปาณพุฒิ และ ผิงอัน โดยคณะกรรมการเห็นว่า เกรซจัดการวัตถุดิบได้ดีกว่า 2 คนที่เหลือจึงได้กลับเข้าแข่งขันต่อ ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ ปาณพุฒิ และ ผิงอัน
  • ผู้ที่เป็นสองจานที่ดีที่สุด: คอปเตอร์ และ ฟรอยด์
  • ผู้ชนะ: คอปเตอร์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เกรซ, ปาณพุฒิ และ ผิงอัน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ปาณพุฒิ และ ผิงอัน

ตอนที่ 3 : ภารกิจแบบทีมครั้งแรกของฤดูกาล

[แก้]

ออกอากาศ 16 มิถุนายน 2567

  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: สัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ คอปเตอร์ และฟรอยด์ที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีม โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ผลออกมาดังนี้
หัวหน้าทีม สมาชิก
คอปเตอร์ บัวหอม, น้ำใจ, พูม่า, เกรซ, วิน, ชิน, แพนเตอร์, เอตะ, แอรี่ และเอญ่า
ฟรอยด์ คานี่, แซค, ดราโก้, ซัญ, รถถัง, ซันจิ, ซันนี่, ยูจิน และอลีน่า

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งแรกในฤดูกาลที่ 3 นี้ ทางรายการได้นำน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 21 คน มาแข่งขันในบททดสอบภารกิจแบบทีมที่ สระว่ายน้ำในร่ม ABAC บางนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ ต้องทำของคาว 1 เมนู และของหวาน 1 เมนู โดยเมนูของหวานจะต้องมีนมรสช็อกโกแลตเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อเสิร์ฟให้กับพี่ ๆ นักกีฬาทางน้ำจำนวนทั้งหมด 51 คน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งต้องทำของคาว 51 จาน และ ของหวาน 51 จาน รวมเป็น 102 จาน ซึ่งทีมสีแดงได้ทำเป็นเมนู "ข้าวผัดไก่บิน" เป็นของคาว และ "ขนมปังอบนรกกับไอศกรีมสวรรค์" (ขนมปังอบเนย โยเกิร์ตสตรอว์เบอร์รี ไอศกรีมนมช็อกโกแลต) เป็นของหวาน ส่วนทีมสีน้ำเงินได้ทำเป็นเมนู "ตะวันตกพบสยาม เปนเนซอสต้มข่าฟิวชัน" เป็นของคาว และ "ซิมโฟนีแห่งช็อกโกแลต เบอร์รีและมะม่วง" (ไอศกรีมนมช็อกโกแลต ซอสเบอร์รี และมะม่วงครัมเบิ้ล) เป็นของหวาน ทั้งนี้ รายการได้ประกาศผลทีมที่ชนะในตอนถัดไป

  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีน้ำเงิน (ด้วยคะแนน 33 ต่อ 18 คะแนน)

ตอนที่ 4 : เมื่อน้อง ๆ ไม่ต้องสู้ เพียงลำพัง

[แก้]

ออกอากาศ 30 มิถุนายน 2567

  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ รอบที่ 1: หลังจากที่ทีมสีแดงพ่ายแพ้ให้กับทีมสีน้ำเงินในภารกิจแบบทีม เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ของเมนูยังไม่ดีพอ ทำให้ต้องพบกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในครั้งนี้ คือ ผัดไทย ซึ่งเคยเป็นโจทย์ในการแข่งขัน มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 ในตอนที่ 8 น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำผัดไทย 1 จานเสิร์ฟให้คณะกรรมการ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่ขั้นตอนการทำซอสผัดไทย จนไปถึงการผัดเส้น ซึ่งเส้นของผัดไทยจะด้องไม่แห้งแข็ง และไม่แฉะจนเกาะกันเป็นก้อน ซอสของผัดไทย จะต้องไม่มีกลิ่นน้ำมะขามเปียกแรงเกินไป และผัดไทยจะต้องอร่อย มีรสชาติ เค็ม หวาน เปรี้ยว ครบทุกรส แบบที่ผัดไทยควรจะเป็น ซึ่งก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟป้อม ได้สาธิตวิธีการทำผัดไทยทุกขั้นตอนอย่างละเอียด โดยมีเวลาในการแข่งขัน 45 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมผัดไทยของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็นจานที่ดีที่สุดก็คือ ฟรอยด์ และ 3 จานที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด มี ยูจิน, ซันนี่ และ ซัญ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ ก็คือ ซันนี่ เพราะขาดองค์ประกอบหลายอย่างในจาน เส้นเละ และรสชาติไม่สมบูรณ์
  • ผู้ชนะ: ฟรอยด์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารที่ผิดพลาดที่สุด: ยูจิน, ซันนี่ และ ซัญ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ซันนี่
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ รอบที่ 2: โจทย์ในรอบที่ 2 นี้ คือ เฟตตุชชีเนเส้นสด สเต๊กปลาแซลมอน ครีมซอสผัดกะเพรา และกรีนออยล์กะเพรา โดยน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำเฟตตูชินีเส้นสดด้วยตนเองให้บาง ไม่หนาเกินไป นุ่ม หนึบ แต่ไม่เละ หนังปลาในสเต๊กปลาแซมอนจะต้องกรอบ และเนื้อปลาชุ่มฉ่ำ สีสวยเสมอกัน รสชาติของครีมซอสผัดกะเพราจะต้องเข้มข้น และกรีนออยล์กะเพราจะต้องมีสีเขียวเข้มสวยงาม โดยเชฟเอียนได้สอนการทำองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนให้น้อง ๆ ได้ดูด้วย และหลังจากนั้นเชฟเอียนได้ประกาศว่าจะร่วมทำเมนูไปพร้อม ๆ กับน้อง ๆ โดยได้ให้น้อง ๆ หยิบกล่องวัตถุดิบขึ้นมา ซึ่งภายในกล่องนอกจากจะมีวัตถุดิบแล้ว ยังมีแท็บเล็ตที่น้อง ๆ ได้รับอีกคนละ 1 เครื่อง เพื่อให้น้อง ๆ มองเห็นกระบวนการทำเมนูของเชฟเอียนตลอดเวลา โดยมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที แต่ระหว่างการแข่งขัน ไฟใน MasterChef Kitchen ก็ดับลง และเชฟเอียนก็หายตัวไป ทำให้น้อง ๆ ต้องกลับมาทำเมนูทั้งหมดด้วยตัวเอง ก่อนจะกลับมาปรากฏตัวในช่วง 10 นาทีสุดท้าย และประกาศว่าสอนไม่ทัน น้อง ๆ จึงต้องทำด้วยตัวเองต่อจนหมดเวลา หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 4 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ บัวหอม, คอปเตอร์, ซันจิ และ อลีน่า และผู้ชนะ ได้แก่ ซันจิ ส่วนผู้ที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุดและต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เกรซ และ พูม่า เนื่องจากจัดอาหารลงบนจานไม่ทัน
  • ผู้ที่เป็นจานที่ดีที่สุด: บัวหอม, คอปเตอร์, ซันจิ และ อลีน่า
  • ผู้ชนะ: ซันจิ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เกรซ และ พูม่า

ตอนที่ 5 : กล่องปริศนาสุดระทึก

[แก้]

ออกอากาศ 7 กรกฎาคม 2567

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ภายในกล่องปริศนามี แครกเกอร์ แป้งสาคู แป้งพายชั้น มะม่วงสุก สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี กล้วยหอม ผงชาเขียว และนมข้นหวาน (สูตรดั้งเดิมและสูตรช็อกโกแลตโอวัลติน) น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำวัตถุดิบเหล่านี้มาทำเป็นของหวาน โดยมีนมข้นหวานเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ ฟรอยด์, เอญ่า และ ซัญ และผู้ชนะ ได้แก่ เอญ่า โดยได้ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแข่งขันในรอบถัดไป
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: ฟรอยด์, เอญ่า และ ซัญ
  • ผู้ชนะ: เอญ่า
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่เอญ่าเป็นผู้ชนะในการแข่งขันรอบกล่องปริศนา นอกจากที่จะไม่ต้องแข่งขันแล้ว ยังมีสิทธิ์เลือกวัตถุดิบ คือ ชิ้นส่วนของไก่ ได้แก่ สันในไก่ ตีนไก่ และ โครงไก่ ให้กับน้อง ๆ ที่เหลือ โดยผลการเลือกออกมาดังนี้
วัตถุดิบ ผู้เข้าแข่งขันที่ได้
สันในไก่ คอปเตอร์, วิน, น้ำใจ, ดราโก้ และยูจิน
ตีนไก่ แอรี่, ฟรอยด์, บัวหอม, ซัญ, อลีน่า และเอตะ
โครงไก่ ชิน, แพนเตอร์, แซค, รถถัง, ซันจิ และคานี่

น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ชิ้นส่วนของไก่ที่ถูกเลือกมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที แต่ระหว่างการแข่งขัน เชฟเอียนได้ประกาศให้หยุดการแข่งขันชั่วคราว และประกาศต่อว่า เอญ่า ผู้ชนะจากรอบที่แล้วยังมีสิทธิพิเศษอีก 1 ข้อ คือ สามารถเลือกเพื่อนผู้หญิง 3 คน และผู้ชาย 3 คน ให้ผ่านเข้ารอบทันที โดยเอญ่าได้เลือก แอรี่, ยูจิน, น้ำใจ, แซค, ชิน และซัญ หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ บัวหอม และ เอตะ ซึ่งทั้ง 2 คนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในสัปดาห์ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ คอปเตอร์, อลีน่า และ แพนเตอร์ และคณะกรรมการเห็นว่าจานของคอปเตอร์มึความคิดสร้างสรรค์ที่ดี แม้จะจัดการวัตถุดิบได้ไม่สมบูรณ์ แต่มีข้อผิดพลาดน้อยกว่าอีก 2 จานที่เหลือ จึงได้กลับเข้าแข่งขันต่อ ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ อลีน่า และ แพนเตอร์

  • ผู้ที่เป็นสองจานที่ดีที่สุด: บัวหอม และ เอตะ
  • ผู้ชนะ: เอตะ
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: คอปเตอร์, อลีน่า และ แพนเตอร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: อลีน่า และ แพนเตอร์

ตอนที่ 6 : เมื่อพี่ ๆ BNK48 มาเยือน MasterChef Kitchen

[แก้]

ออกอากาศ 14 กรกฎาคม 2567

  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: สัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ เอตะ และบัวหอมที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีม โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ผลออกมาดังนี้
หัวหน้าทีม สมาชิก
เอตะ ฟรอยด์, ดราโก้, คานี่, แซค, รถถัง, คอปเตอร์, วิน
บัวหอม ชิน, แอรี่, ซันจิ, ยูจิน, เอญ่า, น้ำใจ, ซัญ

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งนี้ มีศิลปินกลุ่มหญิงวง BNK48 (บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต) มาเป็นแขกรับเชิญร้องเพลง "คุกกี้เสี่ยงทาย" ในช่วงต้นของรายการ และ "365 วันกับเครื่องบินกระดาษ" ในช่วงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งโจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ ขนมไทย โดยมีกะทิเป็นวัตถุดิบหลัก น้อง ๆ ต้องทำจำนวน 2 เมนู เพื่อเสิร์ฟให้กับพี่ ๆ วง BNK48 จำนวนทั้งหมด 37 คน รวมเป็น 74 จาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 2 ชั่วโมง ซึ่งทีมสีแดงได้ทำเป็นเมนู "พุดดิงกะทิซอสมะม่วง" และ "บัวลอยน้ำกะทิ เสิร์ฟพร้อมกล้วยและโฟมมะม่วง" ส่วนทีมสีน้ำเงินได้ทำเป็นเมนู "ไอศกรีมรสขนมถ้วย" (กะทิใบเตยราดด้วยซอสคาราเมลกะทิ สาคู และครัมเบิ้ล) และ "กล้วยบวชชีสาคู และคาเวียร์ใบเตย" ผลจากการตัดสิน ทีมสีแดงชนะไปด้วยคะแนน 21 ต่อ 16 คะแนน

  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: หลังจากที่ทีมสีน้ำเงินพ่ายแพ้ให้กับทีมสีแดงในภารกิจแบบทีม เนื่องจากทีมสีน้ำเงินจัดเสิร์ฟเมนูไอศกรีมไม่ทันเวลาจนต้องเสียคะแนน ทำให้ต้องพบกับบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในครั้งนี้ คือ ไข่ดาว ซึ่งไข่ขาวต้องสุกกรอบ ขณะที่ไข่แดงยังไหลเป็นลาวา โดยน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทอดไข่ดาวให้สมบูรณ์มากที่สุดจากทั้งหมด 15 ฟอง ภายในเวลา 20 นาที หลังจากกรรมการได้ตรวจผลงานของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว คนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ ดราโก้ โดยทำได้ทั้งหมด 14 ฟอง ส่วนคนที่ทำผิดพลาดมากที่สุด คือ แซค และ คอปเตอร์ โดยทำได้เพียงคนละ 3 ฟอง ส่งผลให้ต้องออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ชนะ: ดราโก้
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แซค และ คอปเตอร์

ตอนที่ 7 : กล่องปริศนารูปแบบเก้าอี้ดนตรี

[แก้]

ออกอากาศ 21 กรกฎาคม 2567

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: การแข่งขันในรอบนี้จะใช้เพลง "จ๊าบของแท้" ประกอบภารกิจ ซึ่งเป็นรูปแบบการแข่งขันเดียวกับท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 ตอนที่ 2 รอบ Quickfire Challenge นั่นคือ น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเดินวนรอบครัวตลอดเวลาที่ได้ยินเสียงเพลง เมื่อเพลงหยุดจะต้องทำอาหารที่สเตชันที่ตนเองหยุด ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอด 30 นาที โดยมีสเตชันกล่องปริศนาทั้งหมด 14 จุด ภายในกล่องปริศนามีวัตถุดิบที่ใช้ทำเมนูที่กำหนดให้ จำนวน 4 เมนู คือ ผัดซีอิ๊วไก่นุ่ม, เส้นใหญ่ราดหน้าหมูนุ่ม, มะกะโรนีกุ้งซอสมะเขือเทศ และ ข้าวผัดอเมริกัน ที่มีไส้กรอก น่องไก่ทอด และไข่ดาว โดยหากน้อง ๆ ทุกคนทำอาหารได้เสร็จสมบูรณ์ครบทั้ง 14 สเตชัน กรรมการและพิธีกรจะถูกลงโทษด้วยพายุฝนโหมกระหน่ำ แต่หากมีน้อง ๆ คนใดที่ทำอาหารไม่เสร็จแม้แต่จานเดียว น้อง ๆ ทุกคนจะต้องถูกลงโทษเอง ซึ่งหลังจากคณะกรรมการตรวจผลงานของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันในเบื้องต้นแล้ว ผลปรากฏว่าน้อง ๆ ทุกคนทำอาหารได้สมบูรณ์ ส่งผลให้กรรมการและพิธีกรจะต้องถูกลงโทษ อย่างไรก็ตาม ยังมีจานที่ดีที่สุดอีก 3 จาน ซึ่งจะตัดสินจากน้อง ๆ คนสุดท้ายที่อยู่ประจำแต่ละสเตชันในช่วง 10 นาทีสุดท้าย โดยหลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ คานี่, ยูจิน และ ซัญ และผู้ชนะ ได้แก่ ยูจิน โดยได้ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแข่งขันในรอบถัดไป
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: คานี่, ยูจิน และ ซัญ
  • ผู้ชนะ: ยูจิน
  • บทลงโทษ: จากการที่น้อง ๆ ทำอาหารได้เสร็จสมบูรณ์ครบทั้ง 14 สเตชัน จึงส่งผลให้กรรมการและพิธีกรต้องถูกลงโทษ โดยให้ร้องและเต้นประกอบเพลง "ติดฝน" ของวงพิกซี่ กลางพายุข้าวโพดคั่วและน้ำฝนโหมกระหน่ำ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่ยูจินเป็นผู้ชนะในการแข่งขันรอบกล่องปริศนา นอกจากที่จะไม่ต้องแข่งขันแล้ว ยังมีสิทธิ์เลือกวัตถุดิบซึ่งในรอบนี้จะต้องใช้ทั้งหมด 2 อย่าง คือ น้ำพริกเผา คู่กับ กุ้งขาว หอยลาย และ ปูม้า ให้กับน้อง ๆ ที่เหลือ โดยผลการเลือกออกมาดังนี้
วัตถุดิบ ผู้เข้าแข่งขันที่ได้
น้ำพริกเผา กุ้งขาว แอรี่, น้ำใจ, ชิน และเอญ่า
หอยลาย ฟรอยด์, รถถัง, บัวหอม และคานี่
ปูม้า วิน, เอตะ, ดราโก้, ซันจิ และซัญ

น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ 2 อย่างที่ถูกเลือกมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ ซันจิ และ บัวหอม ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ ชิน, วิน และ ซัญ โดยคณะกรรมการเห็นว่าทั้ง 3 คนมีข้อผิดพลาดเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการชูวัตถุดิบหลักทั้งหมด จึงตัดสินที่รสชาติ และผู้ที่ทำอาหารออกมารสชาติใช้ได้มากที่สุดใน 3 จานนี้และได้กลับเข้าแข่งขันต่อ คือ วิน ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ ชิน และ ซัญ

  • ผู้ที่เป็นสองจานที่ดีที่สุด: ซันจิ และ บัวหอม
  • ผู้ชนะ: บัวหอม
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ชิน วิน และ ซัญ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ชิน และ ซัญ

ตอนที่ 8 :

[แก้]

ข้อวิจารณ์

[แก้]

ในช่วงต้นของการออกอากาศตอนแรกในฤดูกาลนี้ มีผู้เข้าแข่งขันของรายการคนหนึ่งพูดพาดพิงถึงเชฟป้อม (คณะกรรมการ) ในเชิงลบในรายการ จึงถูกแฟนคลับรายการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับมารยาททางสังคมของเขา แต่หลังจากรายการออกอากาศตอนแรกเสร็จสิ้น เชฟบิ๊ก - อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล ผู้ชนะเลิศของท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 ซึ่งเป็นญาติของผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าว ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นได้ขอโทษเชฟป้อมหลังไมค์แล้ว และครอบครัวจะอบรมผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าวเพิ่มเติม[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. @masterchef_thailand (22 มกราคม 2024). "MasterChef Junior Thailand Season 3 เปิดรับสมัครแล้ว". สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2024 – โดยทาง อินสตาแกรม.
  2. @masterchef_thailand (23 พฤษภาคม 2024). "2 มิ.ย. นี้ ! กลับมาอีกครั้งในรอบ 5 ปี ของรายการเรียลลิตี้แข่งขันทำอาหารรุ่นเด็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก". สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2024 – โดยทาง อินสตาแกรม.
  3. "Facebook". www.facebook.com.