มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6
มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย
เป็นที่รู้จักกันในชื่อมาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซันที่ 6
มาสเตอร์เชฟ อาหารไทย
ประเภทเรียลลิตี้
เสนอโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการภาสันต์ สวัสดิวัตน์
ขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
จำนวนตอน17
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญ​โรจน์
สถานที่ถ่ายทำเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ความยาวตอน110-120 นาที
บริษัทผู้ผลิตบริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ11 มิถุนายน 2566 (2566-06-11) –
8 ตุลาคม 2566 (2566-10-08)

มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 6 หรือ มาสเตอร์เชฟ อาหารไทย เป็นรายการเกมโชว์อาหารของประเทศไทยเป็นฤดูกาลที่ 6 โดยในฤดูกาลนี้มีความพิเศษเนื่องจากเป็นการแข่งขันทำอาหารไทยตลอดทั้งฤดูกาล[1] เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งต้องเป็นประชาชนหรือผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย ไม่ทำงานเป็นเชฟมืออาชีพหรือไม่เคยเป็นเชฟมืออาชีพมาก่อน และไม่เคยเรียนหลักสูตรการทำอาหารเกิน 3 เดือน หรือ 180 ชั่วโมง[2] เริ่มออกอากาศในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ทางช่อง 7HD

กติกา[แก้]

รอบคัดเลือก (Auditions)[แก้]

รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะแบ่งออกเป็น 4 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงศักยภาพในการทำอาหารไทยผ่านโจทย์ต่าง ๆ ผู้ที่ทำได้ดีที่สุดจะได้รับผ้ากันเปื้อนเพื่อผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องแข่งขันกันต่อโดยไม่มีการคัดออกระหว่างการแข่งขัน

รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)  [แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)[แก้]

ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ผู้เข้าแข่งขัน 17 คนสุดท้าย[แก้]

ชื่อ อายุ[^] ภูมิลำเนา อาชีพก่อนเข้ามาแข่งขัน ลำดับการแข่งขัน[^] จำนวนชนะ
วลาสุระ ณ ลำปาง (ซีตรอง) 36 นครปฐม ที่ปรึกษากฎหมาย ชนะเลิศ
วันที่ 8 ตุลาคม
9
อารยา ศิริแวว (กิ๊ก) 34 เชียงใหม่ รับราชการ รองชนะเลิศ
วันที่ 8 ตุลาคม
6
วสุรัตน์ แก้ววิชิต (สตังค์)[*] 18 กรุงเทพมหานคร นักเรียน 4
ณัฐพล ประทุมศรีสาคร (เฮง) 30 สมุทรสาคร วิทยากร ถูกคัดออก
วันที่ 1 ตุลาคม
3
พินทุ์สุดา สังข์ทอง (เบลล์) 29 กรุงเทพมหานคร ธุรกิจส่วนตัว 3
ธมนวรรณ เสตะปุระ (แคปหมู) 27 กรุงเทพมหานคร ธุรกิจส่วนตัว 3
ทิฎฐิพงษ์ ศรีวิไล (เอื้อ) 32 เพชรบูรณ์ Influencer ถูกคัดออก
วันที่ 10 กันยายน
3
พรวิภา นาคสกุล (เมาะ) 33 นนทบุรี คุณครูสอนศิลปะ ถูกคัดออก
วันที่ 3 กันยายน
3
ณัชพล ประกอบนา (ไจแอ้นท์) 29 สกลนคร พ่อค้าผัดไทยตลาดนัด ถูกคัดออก
วันที่ 27 สิงหาคม
1
รณกร เฮงสกุลวัฒน์ (คิว) 27 กรุงเทพมหานคร พนักงานบริษัท 1
ฮุซนี อาดหมัน (ริต้า) 21 ยะลา นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 13 สิงหาคม
1
ไวภพ ยอดแสวง (ภพ) 25 กรุงเทพมหานคร ขายอาหารออนไลน์ ถูกคัดออก
วันที่ 6 สิงหาคม
2
กอบกฤต เกษตรากสิกรรม (ลุงต๋อย) 59 ปราจีนบุรี เกษตรกรชาวสวน ถูกคัดออก
วันที่ 30 กรกฎาคม
0
อวิรุทธ เมฆสุวรรณ (บอม) 34 กรุงเทพมหานคร พ่อบ้าน ถูกคัดออก
วันที่ 23 กรกฎาคม
2
ปริชญาอร จุ่นขจร (ปลาบปลื้ม) 19 สมุทรสาคร นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 16 กรกฎาคม
0
นวรัตน์ สุวรรณสินธุ์ (พลอย) 20 กรุงเทพมหานคร นักศึกษา ถูกคัดออก
วันที่ 9 กรกฎาคม
0
ละเอียด กรองทอง (ป้าอี๊ด) 71 นนทบุรี ธุรกิจส่วนตัว ถูกคัดออก
วันที่ 25 มิถุนายน
0

ข้อมูลการแข่งขัน[แก้]

ตารางการคัดออก[แก้]

อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15-16 16-17
1 ซีตรอง ชนะ สูง ชนะ กดดัน สูง ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ชนะ กดดัน ชนะ ผ่าน ชนะเลิศ
2 กิ๊ก เสี่ยง ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ชนะ ชนะ สูง สูง สูง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ สูง กดดัน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน รองชนะเลิศ
สตังค์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน กดดัน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ชนะ ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน สูง ชนะ
4 เฮง สูง ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง เสี่ยง ผ่าน เสี่ยง ชนะ ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน สูง ต่ำ ผ่าน ผ่าน ออก
เบลล์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน เสี่ยง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน เสี่ยง สูง ผ่าน ออก
แคปหมู ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง สูง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ สูง กดดัน ผ่าน ผ่าน ออก
7 เอื้อ สูง ผ่าน ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน สูง กดดัน ผ่าน เสี่ยง สูง กดดัน สูง ออก
8 เมาะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
9 ไจแอ้นท์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ชนะ ออก
10 คิว ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ออก
11 ริต้า เสี่ยง สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน กดดัน ผ่าน ออก
12 ภพ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
13 ต๋อย ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ออก
14 บอม ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
15 ปลาบปลื้ม ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ออก
16 พลอย ผ่าน ผ่าน ออก
17 อี๊ด ออก
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ / Elimination test / Skill test )
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (การแข่งขันแบบตัวต่อตัว)
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป ในการแข่งขันแบบคู่
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถเข้าแข่งขันในรอบทีมได้ และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่ที่ยืนเป็น 1 ในทีมที่แย่ที่สุด
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
  (ถอนตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
  (กลับ) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว แต่ได้รับโอกาสให้กลับเข้ามาแข่งขันอีกครั้ง
  (ร่วม) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว แต่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน

ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]

ตอนที่ 1 - 3 : รอบคัดเลือก[แก้]

ออกอากาศ 11, 18 และ 25 มิถุนายน 2566[1][3]
ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงทักษะการทำอาหารไทย ผ่านโจทย์การแข่งขัน 4 รอบ แต่ละรอบจะมีจำนวนผ้ากันเปื้อนไม่เท่ากัน
  • การแข่งกล่องปริศนา รอบที่ 1: บททดสอบแรกในรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 30 คน จะต้องพบกับกล่องปริศนาสีดำ ภายในมีครกและสาก โจทย์การแข่งขันในรอบนี้ คือ การตำน้ำพริก 1 ชนิด เสิร์ฟพร้อมผักลวก มีเวลา 45 นาที เกณฑ์การตัดสิน คือ ความถูกต้องของน้ำพริก และ คุณภาพของผักลวก[4] ในรอบนี้ มี 5 คน ที่จะได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบ
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: คุณอี๊ด ซีตรอง ริต้า บอม และกิ๊ก
  • รอบที่ 2: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 25 คน จะต้องแข่งขันกันต่อ ในรอบนี้ ในกล่องปริศนาขนาดยักษ์ มีอุปกรณ์ 2 อย่าง ได้แก่ หม้อดินและเตาอั้งโล่ โจทย์ในการแข่งขัน คือ แกง เสิร์ฟพร้อมข้าวที่หุงโดยหม้อดิน ห้ามใช้เตาแก๊สและหม้อหุงข้าว (ที่สเตชันของแต่ละคนจะถูกตัดไฟและแก๊ส) มีเวลา 60 นาที[4] ในรอบนี้ มี 4 คน ที่จะได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบ
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: ไจแอ้นท์ คิว ปลาบปลื้ม และคุณต๋อย
  • รอบที่ 3: เนื่องจากในรอบนี้ มีผู้เข้าแข่งขัน 1 คน ถอนตัวออกไป คือ หยิ่น หยิ่น ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 20 คน จะต้องแข่งขันกันต่อ โดยใช้อุปกรณ์คือกระทะ ภายใต้โจทย์ อาหารไทยประเภททอด มีเวลา 60 นาที[4] ในรอบนี้ มี 3 คน ที่จะได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบ
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เบลล์ เฮง และสตังค์
  • รอบที่ 4: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือทั้ง 17 คน จะต้องแข่งขันกันต่อในรอบสุดท้าย โจทย์การแข่งขัน คือ การสร้างสรรค์วัตถุดิบไทยให้เป็นเมนูระดับมาสเตอร์เชฟ ด้วยวัตถุดิบซึ่งเป็นปลาจากท้องถิ่น คือ ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล และปลาสวาย แต่ละคนสามารถเลือกปลาได้คนละ 1 ตัว มีเวลา 60 นาที ในรอบนี้ มี 2 คน ที่จะได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบ
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: พลอยและเอื้อ
หลังจากการแข่งขัน ทางรายการได้ประกาศว่ายังเหลือผ้ากันเปื้อนอีก 3 ผืน โดยจะมอบให้แก่ผู้เข้าแข่งขันที่มีความเป็นนักสู้ มีความพยายาม และพร้อมที่จะพัฒนาต่อไป โดยผู้ที่ได้รับผ้ากันเปื้อน คือ แคปหมู เมาะ และภพ

ตอนที่ 3 : การทำอาหารสำรับไทย[แก้]

ออกอากาศ 25 มิถุนายน 2566
  • รอบกำจัดคนออก: ในการแข่งขันรอบแรก จะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 1 คน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเจอโจทย์ สำรับไทย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำข้าวสวย พร้อมแกงพะแนงเนื้อ และกับข้าว 2 อย่าง โดยเกณฑ์การตัดสิน คือ แกงพะแนงแตกมันสวยงาม พริกแกงถูกต้อง เนื้อมีความนุ่ม และองค์ประกอบทั้งหมดไปด้วยกันได้ มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน ก่อนทำการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปลี่ยนผ้ากันเปื้อนสีดำ 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด ได้แก่ ซีตรอง เฮง และเอื้อ ผู้ชนะ คือ ซีตรอง ส่วน 3 คนที่ทำได้แย่ที่สุด คือ ริต้า มีปัญหาที่ลืมหยิบเนื้อ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในโจทย์ กิ๊ก มีปัญหาที่พริกแกงไม่มีกะปิกับถั่ว และแกงพะแนงไม่แตกมัน และคุณอี๊ด เสิร์ฟสำรับไม่ครบ พะแนงไม่แตกมัน พริกแกงไม่ละเอียด และเนื้อเหนียว และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ คุณอี๊ด
  • ผู้ชนะ: ซีตรอง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: ริต้า กิ๊ก และคุณอี๊ด
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: คุณอี๊ด

ตอนที่ 4 : การทำเส้นใหญ่และขนมจีนเส้นสด[แก้]

ออกอากาศ 9 กรกฎาคม 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน จะต้องแข่งขันกันด้วยโจทย์กล่องปริศนา ภายในกล่องประกอบด้วย ไก่เบตง, หอยราก, ปลากุเลาเค็ม, ข้าวสังข์หยด, มันขี้หนู, เห็ดแครง, ใบทำมัง, ลูกเหรียง, จำปาดะ, น้ำส้มจาก และวัตถุดิบท้องถิ่นอื่น ๆ จากทางภาคใต้ ภายใต้โจทย์ อาหารใต้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารใต้ 1 จาน ที่ต้องมีรสชาติเป็นอาหารใต้ที่สุด มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด ได้แก่ ซีตรอง ริต้า และบอม ผู้ชนะ คือ บอม
  • ผู้ชนะ: บอม
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่ บอม ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ และมีสิทธิ์เลือกโจทย์การแข่งขัน ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ เส้นใหญ่แป้งข้าวเจ้าที่ต้องทำเอง และขนมจีนเส้นสดที่ต้องทำเอง ให้ผู้เข้าแข่งขันอื่นทุกคน ซึ่งบอมได้เลือกข้าวหอมมะลิให้ภพ เมาะ กิ๊ก แคปหมู และปลาบปลื้ม เลือกเส้นใหญ่แป้งข้าวเจ้าให้พลอย เบลล์ ซีตรอง ไจแอ้นท์ และคุณต๋อย และเลือกขนมจีนเส้นสดให้เฮง เอื้อ ริต้า คิว และสตังค์ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 45 นาทีในการแข่งขัน เมื่อเหลือเวลา 20 นาที เชฟเอียนได้ประกาศว่าผู้ที่ได้ขนมจีนเส้นสด เป็นผู้ที่ผ่านเข้ารอบ หลังจากที่คณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว 2 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ กิ๊ก และ ซีตรอง ผู้ชนะ คือ ซีตรอง โดยทั้งสองคนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในรอบต่อไป ส่วนจานที่แย่ที่สุด 3 จาน เป็นของ พลอย แคปหมู และปลาบปลื้ม โดยปลาบปลื้ม ทำข้าวแฉะ แคปหมู ทำข้าวแข็งเกินไป และพลอย ทำเส้นราดหน้าดิบ ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ พลอย
  • ผู้ชนะ: ซีตรอง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: พลอย แคปหมู และปลาบปลื้ม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พลอย

ตอนที่ 5 : การทำอาหารสำรับขันโตก[แก้]

ออกอากาศ 16 กรกฎาคม 2566
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม ซึ่งในรอบที่แล้ว ซีตรองและกิ๊ก คือผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด จะต้องเป็นหัวหน้าทีม และได้รับสิทธิ์ในการเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม สมาชิก
ซีตรอง เบลล์, เฮง, คิว, ไจแอ้นท์, คุณต๋อย, แคปหมู, ปลาบปลื้ม
กิ๊ก บอม, ริต้า, เอื้อ, เมาะ, สตังค์, ภพ
ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารไทยภาคเหนือในรูปแบบสำรับขันโตก จำนวน 4 อย่าง เสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียว ให้กับชาวเหนือโดยกำเนิด จำนวน 101 คน โดยแต่ละทีมจะต้องเสิร์ฟสำรับขันโตกจำนวน 25 ชุด มีเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาทีในการทำอาหาร และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหาร 30 นาที อาหารของทีมสีน้ำเงิน คือ “ขันโตกชาติพันธุ์ 4 ลุ่มแม่น้ำ” ประกอบไปด้วยเมนู จิ๊นลุง, เจี๋ยว ผักหวานปลาแห้ง, อุ๊กไก่ และ โต๊ะขุปันและอาหารของทีมสีแดง คือ “ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือน” ประกอบไปด้วยเมนู ลาบหมูคั่ว, คั่วแห้มไก่, แกงบ่าหนุน และ หมูทอดมะแขว่น หลังจากกรรมการชิมอาหารของทั้งสองทีมแล้ว ทีมที่ชนะ คือ ทีมสีแดง โดยชนะไปด้วยคะแนน 87 ต่อ 14 เนื่องจากเมนูของทีมสีน้ำเงิน มีรสชาติที่จืด
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากที่ทีมสีน้ำเงินแพ้ในภารกิจแบบทีม จะต้องแข่งขันกันต่อในบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์การแข่งขันในครั้งนี้ คือ เมนูที่มีกะทิเป็นองค์ประกอบหลัก นั่นคือ ห่อหมกเนื้อพุงปลาช่อนใบยอ โดยห่อหมก จะต้องมีเนื้อสัมผัสที่เนียน นุ่ม ไม่แฉะ และไม่กระด้าง พุงปลาช่อนไม่มีกลิ่นคาว และรสชาติของห่อหมกเป็นไทยแท้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำห่อหมก จำนวน 6 กระทง และต้องทำกระทงเอง ซึ่งแต่ละกระทงต้องมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 8 เซนติเมตร มีเวลา 50 นาทีในการแข่งขัน ผู้ที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด คือ ปลาบปลื้ม เสิร์ฟอาหารไม่ครบ และอาหารดิบ และคิว ทำเครื่องแกงหยาบ พุงปลาช่อนมีกลิ่นคาว และใบยอขม ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ ปลาบปลื้ม
  • ผู้ชนะ: แคปหมู
  • ผู้ที่ตกเป็นอันดับผลงานแย่ที่สุด: ปลาบปลื้มและคิว
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ปลาบปลื้ม

ตอนที่ 6 : การทำอาหารจากวัตถุดิบไทยสุดพรีเมียม[แก้]

ออกอากาศ 23 กรกฎาคม 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 14 คน จะต้องแข่งขันกันด้วยโจทย์กล่องปริศนา ภายในกล่องประกอบด้วย กุ้งก้ามกราม, หอยขม, เผือก, เส้นใหญ่, หยวกกล้วย, ฝักบัว, หน่อกะลา และมันกุ้งเสวย ในโจทย์ อาหารภาคกลาง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารภาคกลาง 1 จาน มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด ได้แก่ เอื้อ ซีตรอง และสตังค์ ผู้ชนะ คือ เอื้อ
  • ผู้ชนะ: เอื้อ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่เอื้อ เป็น ผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา เขาจะได้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน และสามารถเลือกวัตถุดิบในการแข่งขันให้เพื่อนทุกคน ในรอบนี้ โจทย์การแข่งขัน คือ โปรตีนระดับพรีเมียมจากท้องถิ่นไทย ได้แก่ กุ้งมังกร 7 สี, โคราชวากิว และ แมลงกุดจี่ ซึ่งเอื้อ ได้เลือกกุ้งมังกร 7 สี ให้ คุณต๋อย ไจแอ้นท์ เฮง และสตังค์ เลือกโคราชวากิวให้ ซีครอง ภพ คิว และบอม และเลือกแมลงกุดจี่ให้ กิ๊ก ริต้า เบลล์ เมาะ และแคปหมู เมื่อคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ กิ๊ก สำหรับจานที่แย่ที่สุดจากแต่ละวัตถุดิบ คือ คุณต๋อย บอม และเมาะ โดยคุณต๋อย มีปัญหาที่ข้าวสุกไม่ทั่วถึง บอม ทำเนื้อย่างที่มีเนื้อที่สุกเกินไปจนแข็งกระด้าง และรสชาติขององค์ประกอบอื่น ๆ ไม่ได้ ส่วนเมาะ มีวัตถุดิบหลักน้อยเกินไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่น ๆ ที่ได้โคราชวากิว นอกจากซีตรอง ทำผลงานได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน โดยคิวได้เสิร์ฟสเต๊กเนื้อที่มีรสชาติของซอสแจ่วที่เค็ม และเสิร์ฟมันบด ส่วนภพ เสิร์ฟสเต๊กเช่นเดียวกัน โดยทำเนื้อเกือบจะสุกเกินไปและไม่มีรสชาติของอาหารไทย (ซึ่งในจานเป็นแกงอ่อม) ในสัปดาห์นี้ ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ บอม
  • ผู้ชนะ: กิ๊ก
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: คุณต๋อย (กุ้งมังกร 7 สี) บอม (เนื้อวากิว) เมาะ (แมลงกุดจี่)
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: บอม

ตอนที่ 7 : การทำอาหารป่า[แก้]

ออกอากาศ 30 กรกฎาคม 2566
ในสัปดาห์นี้ ภารกิจแบบทีม ได้จัดการแข่งขันที่ อนันตาริเวอร์ฮิลส์รีสอร์ท อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม ซึ่งในรอบที่แล้ว กิ๊ก คือผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด จะต้องเป็นหัวหน้าทีม และจะต้องเลือกหัวหน้าทีมอีกทีม ซึ่งกิ๊กได้เลือก คุณต๋อย เป็นหัวหน้าทีม และทั้งสองคนได้รับสิทธิ์ในการเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม สมาชิก
กิ๊ก เฮง, เบลล์, เอื้อ, เมาะ, คิว, ภพ
คุณต๋อย ไจแอ้นท์, ซีตรอง, สตังค์, แคปหมู, ริต้า
เนื่องจาก ภพ เป็นผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้าย ดังนั้น ภพ จึงได้รับสิทธิ์ในการตัดสินใจในการเลือกทีม ซึ่งภพได้เลือกทีมสีแดง โจทย์ในการแข้งขันครั้งนี้ คือ อาหารป่า ทั้งสองทีมจะต้องเปิดร้านอาหารป่า โดยแต่ละทีมจะต้องทำอาหาร 4 อย่าง เสิร์ฟพร้อมข้าว โดยหนึ่งในสำรับอาหารจะต้องมีแกงป่า 1 อย่าง โดยวัตถุดิบ คือ ปลาคัง หมูป่า กบท่ามะกา และนกกระทา ซึ่งวัตถุดิบแต่ละชนิดจะต้องทำอาหาร 1 อย่าง ผู้ชิมอาหาร คือ คนพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 201 คน มีเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที และเวลาเปิดร้านให้กรรมการชิม 30 นาที เมนูของทีมสีแดง คือ แกงป่าหมูป่า, ผัดนรกนกกระทา, ยำกบท่ามะกา และ ปลาคังทอดน้ำปลา และเมนูของทีมสีน้ำเงิน คือ แกงป่าปลาคัง, หมูป่าผัดเผ็ด, ยำกบท่ามะกา และ นกกระทาทอดกระเทียมพริกไทยดำ หลังจากผู้ชิมได้ชิมอาหารของทั้งสองทีมแล้ว ทีมที่ชนะ คือ ทีมสีแดง ชนะไปด้วยคะแนน 112 ต่อ 89
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากที่ทีมสีน้ำเงินแพ้ในภารกิจแบบทีม จะต้องแข่งขันกันต่อในบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์การแข่งขันในครั้งนี้ คือ ไข่พะโล้แบบไข่ตานี ภายในเวลา 45 นาที เกณฑ์การตัดสิน คือ ไข่ทั้ง 3 ฟอง มีสีน้ำตาลเสมอกัน และเป็นไข่ตานี (ไข่ขาวสุก ไข่แดงเยิ้ม) หมูสามชั้น นุ่ม และไส้ ไม่เหนียวและไม่เหม็น และน้ำพะโล้ จะต้องมีรสชาติที่อร่อย ในการแขงขันรอบนี้ ริต้า ได้รับสิทธิ์ให้ใช้เนื้อวัวและไส้วัวแทนเนื้อหมูและไส้หมู หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว มี 3 คนที่ทำได้แย่ที่สุด คือ ไจแอ้นท์ คุณต๋อย และซีตรอง ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ คุณต๋อย
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: ไจแอ้นท์ คุณต๋อย และซีตรอง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: คุณต๋อย

ตอนที่ 8 : Pressure Test การทำข้าวขวัญ[แก้]

ออกอากาศ 6 สิงหาคม 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 12 คน จะต้องแข่งขันกันด้วยโจทย์กล่องปริศนา ภายในกล่องประกอบด้วย แย้, ไข่มดแดง, ข้าวเหนียว, ผักแขยง, ใบย่านาง, หน่อไม้ดอง, เม็ดกระบก, ผักชีลาว, พริกกะเหรี่ยง, ดีวัว, ข้าวคั่ว และน้ำปลาร้า ในโจทย์ อาหารภาคอีสาน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารภาคอีสาน 1 จาน มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด ได้แก่ เฮง ซีตรอง และกิ๊ก ผู้ชนะ คือ ซีตรอง
  • ผู้ชนะ: ซีตรอง
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากการที่ ซีตรอง เป็นผู้ชนะกล่องปริศนา เขาจะได้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน ในรอบนี้ โจทย์การแข่งขัน คือ อาหารไทยโบราณชาววัง "ข้าวขวัญ" ซึ่งเป็นสำรับอาหารที่ถูกคิดค้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย ข้าวหุงกับน้ำกะทิ คลุกน้ำพริกส้มมะขาม ใส่ในกรวยใบตอง พร้อมเครื่องเคียง ปลาแห้ง ปลากุเลาห่อด้วยแพไข่ฝอย และเนื้อเค็มฉีกฝอย และงานพับใบทองหลางให้เป็นบายศรีนมแมว จำนวน 3 ต้น และแมงดา จำนวน 3 ใบ ประดับด้วยเม็ดไข่เค็มที่ยอดกรวยและบายศรี ซึ่งข้าวขวัญในรายการได้ปรับลดจำนวนเม็ดไข่เค็มลง โดยไม่ต้องประดับเม็ดไข่เค็มที่ด้านข้างของบายศรี เกณฑ์การตัดสินมีทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้
  1. ข้าวหุงด้วยกะทิ ไม่แฉะ และไม่แห้งเกินไป คลุกกับน้ำพริกส้มมะขามหรือน้ำพริกมะขามเปียก ที่คลุกออกมาแล้วมีสีแดงสวยสม่ำเสมอ ส่วนน้ำพริกต้องมีรสเด่นของความเปรี้ยวหวานอย่างกลมกล่อม
  2. ไข่เค็มต้องปั้นออกมาเป็นลูกเล็กไม่มีรอยแตก ส่วนของบายศรีเล็ก 5 เม็ด ใหญ่ข้างบน 3 เม็ด ส่วนที่ยอดกรวยไล่ลำดับ
  3. รูปทรงของกรวยที่เย็บออกมารวมถึงบายศรีนมแมว และแมงดา ทั้งหมดต้องมีขนาดพอดีที่จะจัดลงในปากชามที่กำหนดให้
  4. องค์ประกอบแพไข่ฝอยที่หุ้มปลากุเลาทอดจะต้องเป็นเส้นบาง สวยงามไม่อมน้ำมัน เนื้อฝอยจะต้องฉีกเป็นเส้นเล็ก ๆ ทอดกรอบผัดน้ำตาลให้มีความหวานปะแล่ม ๆ ส่วนปลาเล็กปลาน้อยต้องตัดหัวหรือถ้าตัวใหญ่ต้องตัดหาง ก่อนจะเอาไปทอดกรอบ
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ในการทำข้าวขวัญ ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟป้อมได้สอนวิธีการทำข้าวขวัญอย่างละเอียด หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว มี 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ เอื้อ กิ๊ก และคิว ส่วน 3 จานที่แย่ที่สุด เป็นของ ไจแอ้นท์ เฮง และภพ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ ภพ
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: ไจแอ้นท์ เฮง และภพ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ภพ

ตอนที่ 9 : เชฟไทยไกลบ้าน[แก้]

ออกอากาศ 13 สิงหาคม 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 11 คน จะต้องแข่งขันในรอบกล่องปริศนา ซึ่งภายในกล่องมีวัตถุดิบต่างชาติ โดยไม่มีวัตถุดิบสำหรับอาหารไทย ได้แก่ หน้าแข้งแกะ, หนวดหมึกยักษ์, แป้งพัฟฟ์, เห็ดแชมปิญอง, อิตาเลียนเบซิล, บีทรูท, เฟเนล, แองโชวี่, น้ำมันทรัฟเฟิล, พริกแม็กซิกัน, โรสแมรี่, ไวท์ไวน์เวนิก้า และพิซซ่า เบลนด์ ชีส จากแคลิฟอร์เนีย กับโจทย์ "เชฟไทยไกลบ้าน" ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารไทย 1 จาน มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด ได้แก่ กิ๊ก ซีตรอง และสตังค์ ผู้ชนะ คือ ซีตรอง
  • ผู้ชนะ: ซีตรอง
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่ซีตรอง เป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา เขาจะได้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน และสามารถเลือกวัตถุดิบในการแข่งขันให้เพื่อนทุกคน ในรอบนี้ โจทย์การแข่งขัน คือ ขนมไทย มีวัตถุดิบ 3 อย่าง ได้แก่ กล้วยไข่ เม็ดขนุน และลูกตาลสุก ซึ่งซีตรอง ได้เลือกกล้วยไข่ให้ สตังค์ ริต้า และไจแอ้นท์ เลือกเม็ดขนุนให้ เอื้อ เบลล์ และคิว และเลือกลูกตาลสุกให้ เมาะ กิ๊ก เฮง และแคปหมู มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นจานที่ดี ได้แก่ เมาะ เบลล์ และเอื้อ โดยผู้ชนะ คือ เบลล์ ส่วน 3 คนที่ทำได้ผิดพลาดมากที่สุด คือ เฮง แคปหมู และริต้า โดยเฮงและแคปหมู ทำขนมออกมามีรสขม เนื่องจากจัดการกับลูกตาลไม่ถูกวิธี ส่วนริต้า ทำแป้งที่เป็นองค์ประกอบหลักในจานดิบ ทำให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ ริต้า
  • ผู้ชนะ: เบลล์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: เฮง แคปหมู และริต้า
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ริต้า

ตอนที่ 10 : อาหารไทยร่วมสมัย[แก้]

ออกอากาศ 20 สิงหาคม 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน จะต้องแข่งขันกันในโจทย์กล่องปริศนา ภายในกล่องประกอบด้วย แก้มหมู ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก และวัตถุดิบอื่น ๆ ได้แก่ เส้นจันท์, ดอกกะหล่ำ, หัวไชเท้า, ใบชะพลู, เห็ดถอบ, แรดิช, แบบีแคร์รอต, อิตาเลียนเบซิล และลูกหม่อน ในโจทย์ "อาหารไทยร่วมสมัย" โดยมีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน ในการแข่งขันครั้งนี้ เชฟพลอย ณัฐนิชา บุญเลิศ 4 คนสุดท้ายของรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 และ 4 คนสุดท้ายของรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 ได้รับเชิญให้มาเป็นผู้สอนผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คนในการตกแต่งจานอาหารให้สวยงาม ในการแข่งขันครั้งนี้ 3 คนที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ แคปหมู เฮง และเอื้อ และผู้ชนะ คือ เฮง
  • ผู้ชนะ: เฮง
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม ซึ่งในรอบที่แล้ว เฮง เป็นผู้ชนะ และเอื้อ เป็นผู้ที่ทำผลงานได้เป็นอันดับที่สอง จะต้องเป็นหัวหน้าทีม และได้รับสิทธิ์ในการเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม สมาชิก
เฮง ซีตรอง, แคปหมู, กิ๊ก, สตังค์
เอื้อ เบลล์, คิว, เมาะ, ไจแอ้นท์
ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารไทยสไตล์โมเดิร์น พร้อมตกแต่งจานให้สวยงาม และมีรสชาติเป็นไทยแท้ แก่แขกรับเชิญชาวต่างชาติ จำนวน 31 คน มีเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาทีในการทำอาหารและจัดเสิร์ฟ เมนูของทีมสีแดง คือ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประกอบด้วย ปลากะพงทอดตะไคร้, ซอสต้มยำมันกุ้ง, ยำชื่นใจ และครัมเบิลกุ้งแห้งกับใบมะกรูด เมนูของทีมสีน้ำเงิน คือ “สวัสดี” ประกอบด้วย เมี่ยงใบบัวซอสมะม่วง และผัดไทยเส้นมะละกอ ทีมที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้ คือ ทีมสีแดง
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีแดง

ตอนที่ 11 : เซียนแกะสูตร[แก้]

ออกอากาศ 27 สิงหาคม 2566
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากที่ทีมสีน้ำเงินแพ้ในภารกิจแบบทีม จะต้องแข่งขันกันต่อในบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์การแข่งขันในครั้งนี้ คือ ไส้กรอกปลาแนม อาหารไทยโบราณสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมีเกณฑ์การตัดสินดังต่อไปนี้
  1. ไส้กรอกมีปริมาณไส้ที่พอดี ย่างแล้วออกมาเป็นสีน้ำตาล และไม่ไหม้
  2. ไส้กรอกสุกนุ่ม รสชาติเครื่องแกงไม่เผ็ดเกินไป
  3. ปลาแนมต้องมีสีขาวนวล เนื้อเหมือนทราย เนื้อไม่ร่วนไม่แฉะ
  4. รสชาติของปลาแนมต้องหวานอมเปรี้ยวหอมกลิ่นส้มซ่า รับประทานคู่กับไส้กรอกแล้วสามารถชูรสกันได้ดี
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 75 นาทีในการแข่งขัน เมื่อกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันของทุกคนแล้ว ไจแอ้นท์ คือผู้ที่ทำได้ดีที่สุด และรองลงมา คือ เอื้อ และ เมาะ ส่วนเบลล์และคิว คือผู้ที่ทำได้แย่ที่สุด โดยมีปัญหาที่รสชาติของไส้กรอกและรสสัมผัสของปลาแนม โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ คิว เนื่องจากส่วนผสมของไส้กรอกผิด
  • ผู้ชนะ ไจแอ้นท์
  • ผู้ที่ตกเป็นอันดับผลงานแย่ที่สุด: เบลล์และคิว
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: คิว
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถทำอาหารไทยได้ตามใจตนเอง แต่วัตถุดิบที่สามารถหยิบได้ จะเท่ากับจำนวนวัตถุดิบที่สามารถทายได้ในแกงที่เป็นโจทย์เท่านั้น แต่ละคนมีเวลา 90 วินาทีในการทาย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายวัตถุดิบให้ถูกต้องมากที่สุด หากทายผิดจะจบเกม และเลือกวัตถุดิบได้ตามที่ทายเอาไว้ โดยซีตรอง ทายได้ 8 วัตถุดิบ เฮง ทายได้ 7 วัตถุดิบ เบลล์ ทายได้ 10 วัตถุดิบ ไจแอ้นท์ ทายได้ 4 วัตถุดิบ เอื้อ ทายได้ 9 วัตถุดิบ สตังค์ ทายได้ 6 วัตถุดิบ แคปหมู ทายได้ 6 วัตถุดิบ เมาะ ทายได้ 8 วัตถุดิบ และกิ๊ก ทายได้ 9 วัตถุดิบ ทั้งนี้ แกงที่ผู้เข้าแข่งขันได้ชิม มีวัตถุดิบทั้งหมด 27 วัตถุดิบ ในการแข่งขันครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารไทยที่ตนเองถนัดที่สุด โดยจะมี 1 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน หลังจากกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว มีคนที่ทำได้ดีที่สุด คือ เมาะ ส่วน 3 คนที่ทำได้แย่ที่สุด คือ กิ๊ก ไจแอ้นท์ และเอื้อ ทั้ง 3 คน ไม่มีคาร์โบไฮเดรต แต่กิ๊ก จานอาหารยังมีรสชาติที่ดีกว่าอีกสองคน จึงยังผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนไจแอ้นท์ จานอาหารมีรสชาติที่หวานเกินไป และเอื้อ จานอาหารมีรสชาติที่เค็มเกินไป โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในวันนี้ คือ ไจแอ้นท์ เนื่องจากไก่ของไจแอ้นท์ สุกเกินไป ทำให้แข็ง
  • ผู้ชนะ เมาะ
  • ผู้ที่ตกเป็นอันดับผลงานแย่ที่สุด: กิ๊ก ไจแอ้นท์ และเอื้อ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ไจแอ้นท์

ตอนที่ 12 : การแข่งขันทำอาหารของผู้ชนะรายการมาสเตอร์เชฟประเทศอังกฤษ[แก้]

ออกอากาศ 3 กันยายน 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 คน จะต้องแข่งขันกันในโจทย์กล่องปริศนา ซึ่งในรอบนี้ จะต้องเลือกกล่องกันเอง ก่อนที่จะทำการแข่งขัน ทางรายการได้ให้ผู้เข้าแข่งขันดื่มนมถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มพลัง ภายในกล่อง ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ทำขนมไทยที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนได้รับอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
อุปกรณ์ ผู้เข้าแข่งขัน
เตาขนมครก เอื้อ
ถ้วยตะไลสำหรับทำขนมถ้วย ซีตรอง
พิมพ์กระทงทอง กิ๊ก
กรวยทำฝอยทอง แคปหมู
หม้อข้าวเกรียบปากหม้อ เบลล์
พิมพ์ขนมไข่ สตังค์
เตาขนมถังแตก เมาะ
เตาขนมเบื้อง เฮง
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำอุปกรณ์ที่ตนเองได้รับมาทำเป็นขนมไทยที่รับประทานคู่กับนมถั่วเหลืองได้อย่างลงตัว และมีรสชาติแบบดั้งเดิม ในเวลา 60 นาที 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ กิ๊ก เอื้อ และเบลล์ ผู้ชนะในรอบนี้ คือ เบลล์
  • ผู้ชนะ: เบลล์
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากการที่ เบลล์ เป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา เธอจะได้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ จะต้องแข่งขันในรอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์การแข่งขันในวันนี้ มาจากชาวไทยที่เป็นผู้ชนะรายการมาสเตอร์เชฟประเทศอังกฤษ คุณจริยา ขัตติยศ โจทย์ในการแข่งขัน คือ ชุดขันโตก ซึ่งเป็นเมนูในรอบชิงชนะเลิศของรายการมาสเตอร์เชฟประเทศอังกฤษ มีองค์ประกอบ คือ น้ำพริกอ่องแกะ ตำขนุนหอยเชลล์และแครกเกอร์หอยเชลล์ แกงฮังเลเนื้อวากิว และเครื่องเคียงต่าง ๆ มีเวลา 75 นาทีในการทำชุดขันโตกให้เหมือนต้นฉบับทั้งหน้าตาและรสชาติ ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้รับสูตรและวิธีการทำอาหารใด ๆ และจะได้รับสิทธิ์ในการชิมอาหารต้นฉบับเท่านั้น เกณฑ์การตัดสินมีดังนี้
  1. น้ำพริกอ่องแกะจะต้องทำออกมาให้เข้มข้น และสามารถกลบกลิ่นของเนื้อแกะได้
  2. ตำขนุนรสชาติต้องเข้มข้น เนื้อหอยเชลล์จะต้องสุกพอดี และแครกเกอร์หอยเชลล์จะต้องกรอบ ฟู และไม่อมน้ำมัน
  3. แกงฮังเลเนื้อวากิว ส่วนของเนื้อจะต้องมีสีสวยอยู่ในระดับ Medium Rare และซอสฮังเลจะต้องเข้มข้นมีเนื้อแกงที่มันสวย
  4. ข้าวเหนียวจะต้องไม่แฉะและไม่กระด้างเกินไป ผักเคียงจะต้องจัดออกมาให้สวยงามน่ารับประทาน
ทั้งนี้ คุณจริยา เจ้าของโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ จะอยู่ร่วมเป็นกรรมการตัดสินจานอาหารของผู้เข้าแข่งขันด้วย หลังจากกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำได้ดีที่สุด คือ ซีตรอง ส่วน 3 คนที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด คือ เฮง แคปหมู และเมาะ โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ คือ เมาะ เนื่องจากไม่สามารถจัดจานได้ทันเวลา
  • ผู้ชนะ ซีตรอง
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: เฮง แคปหมู และเมาะ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เมาะ

ตอนที่ 13: การแข่งขันทำของทอด[แก้]

ออกอากาศ 10 กันยายน 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คน จะต้องแข่งขันกันในโจทย์กล่องปริศนา ภายในกล่อง ประกอบด้วยวัตถุดิบไทยและวัตถุดิบต่างชาติ ได้แก่ ปูนา, ปลาทู, เบคอน, หัวปลี, พาสลีย์, ถั่วแระญี่ปุ่น, รวมเบอร์รี่, สวิสชีส และข้าวโอ๊ต กับโจทย์ "อาหารไทยแนวผสมผสาน" มีเวลา 60 นาที 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ สตังค์ เอื้อ และซีตรอง ผู้ชนะในรอบนี้ คือ สตังค์
  • ผู้ชนะ: สตังค์
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์การแข่งขันในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในรอบนี้ คือ ของทอด โดยจะต้องทำอาหารที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความเป็นไทย โดยจะต้องเสิร์ฟให้กรรมการรับเชิญ จำนวน 200 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี และจะต้องทำอาหารคนเดียวโดยไม่มีการช่วยเหลือกัน ในรอบนี้ จะได้ไปแข่งขันในหมู่บ้านย้อนยุคสมัยอยุธยา กันตนา มูฟวี่ทาวน์. ตำบล: คลองโยง. อำเภอ: พุทธมณฑล. จังหวัด: นครปฐม. สำหรับสตังค์ ผู้ชนะในรอบที่แล้ว จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เตาไฟขนาดใหญ่และกระทะใบยักษ์ เพื่อให้ทอดได้เสร็จในเวลาอย่างรวดเร็ว ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ในการเตรียมอาหาร และมีเวลา 30 นาทีในการเสิร์ฟ การตัดสินในรอบนี้ มีคะแนนทั้งหมด 300 คะแนน จากกรรมการรับเชิญ คนละ 1 คะแนน รวม 200 คะแนน และกรรมการประจำรายการทั้ง 3 ท่าน จำนวน 100 คะแนน คนที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน ในรอบนี้ เมนูและผลคะแนนของผู้เข้าแข่งขันมีดังต่อไปนี้
ผู้เข้าแข่งขัน เมนู คะแนน
เฮง ไก่เผ็ดไทย 47
เบลล์ ลูกไก่เงิน ลูกไก่ทอง 25
กิ๊ก ตำข้าวโพดเห็ดเข็มทองกรอบ หมูตกครก 31
สตังค์ หมูทอดซอสหมูฆ้อง 39
เอื้อ หอยทอด 22
ซีตรอง ไก่ทอดสะเต๊ะลือ 60
แคปหมู ขนมกล้วยเหรียญทอง 75
ผู้ทีได้คะแนนมากที่สุด คือ แคปหมู ได้รับคะแนนทั้งหมด 75 คะแนน โดยได้คะแนนจากกรรมการรับเชิญเป็นหลัก เนื่องจากเมนูอาหารมีความเป็นไทยค่อนข้างน้อย ส่วนเอื้อ เบลล์ และกิ๊ก เป็น 3 คนที่มีคะแนนน้อยที่สุด ซึ่งผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ เอื้อ ได้คะแนน 22 คะแนน โดยมาจากกรรมการรับเชิญ 9 คะแนนเท่านั้น เนื่องจากเสิร์ฟอาหารไม่ครบ
  • ผู้ชนะ: แคปหมู
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เอื้อ

ตอนที่ 14: การทำปาท่องโก๋รูปแบบใหม่[แก้]

ออกอากาศ 17 กันยายน 2566
  • การแข่งกล่องปริศนา: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน จะต้องแข่งขันกันในโจทย์กล่องปริศนารอบสุดท้าย ในรอบนี้ ภายในกล่องประกอบด้วย กุ้งแชบ๊วย, ฟักทอง, ถั่วแดง, ข้าวเหนียวดำ, ใบเตย, ต้นหอม, กระท้อน, มะพร้าวอ่อน, แตงไทย, งาดำ, ถั่วลิสง และวุ้นผงตราโทรศัพท์ ในโจทย์ ขนมไทย ในเวลา 60 นาที ในรอบนี้ ทุกคนสามารถทำผลงานออกมาได้ดี แต่ 3 คนที่ทำได้ดีที่สุด คือ แคปหมู เฮง และซีตรอง โดยผู้ชนะ คือ ซีตรอง ซึ่งรางวัลของผู้ชนะในรอบนี้ คือ กระเช้าวุ้นผงตราโทรศัพท์พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท
  • ผู้ชนะ: ซีตรอง
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน จะต้องแข่งขันในรอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์การแข่งขันในรอบนี้ คือ "ปาท่องโก๋ กับนมข้นหวานในรูปแบบใหม่" โดยเชฟเอียน ประกอบไปด้วย แป้งชูว์ ไอศกรีมนมข้นหวาน สโนว์สังขยาใบเตย สตรอว์เบอร์รีคอมโพต และครัมเบิล เกณฑ์ในการตัดสิน มีดังนี้
    1. ปาท่องโก๋เมื่อทอดออกมาแล้วจะต้องมีความกรอบแห้งเป็นโพรง มีสีเหลืองสวยงาม และไม่อมน้ำมัน
    2. ไอศกรีมนมข้นหวานจะต้องมีเนื้อเนียนสวย มีสีขาวนวล และรสชาติไม่หวานจนเกินไป
    3. สโนว์สังขยาใบเตยจะต้องมีความละเอียดเป็นฝอย มีความเบา มีสีเขียว และมีกลิ่นหอมใบเตย
    4. ครัมเบิลจะต้องมีความร่วน กรอบ แห้ง ไม่แฉะ
    5. สตรอว์เบอร์รีคอมโพตจะต้องมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน
ในรอบนี้ เชฟเอียนได้สาธิตการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน และผู้เข้าแข่งขันต้องจดสูตรตาม มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน ในรอบนี้จะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 1 คน ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ หลังจากที่กรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำได้ดีที่สุด คือ กิ๊ก ส่วนซีตรองและแคปหมูทำได้ดีรองลงมา และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน คือ เฮง เนื่องจากไม่สามารถทำอาหารเสร็จทันเวลา และองค์ประกอบอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์ แต่เนื่องจากโจทย์ในครั้งนี้ เป็นอาหารต่างชาติ ถือว่าเป็นการซ้อมใหญ่ และในรอบรองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องทำอาหารไทยผสมต่างชาติ ดังนั้น เฮง จึงได้อยู่ต่อ เพื่อเข้าแข่งขันในรอบรองชนะเลิศต่อไป
  • ผู้ที่เป็นสามอันดับผลงานดีที่สุด: กิ๊ก ซีตรอง และแคปหมู
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับผลงานแย่ที่สุด: เฮง เบลล์ และสตังค์
  • ผู้ที่ตกเป็นอันดับผลงานที่แย่ที่สุด: เฮง (ไม่ได้ถูกคัดออก)

ตอนที่ 15 - 16: การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ[แก้]

ออกอากาศ 24 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2566
การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ จะแบ่งเป็น 3 รอบ โดยผู้ที่ทำได้ดีที่สุดในแต่ละรอบจะได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
  • รอบที่ 1 อาหารไทยดั้งเดิม: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารไทยในรสชาติดั้งเดิมโดยใช้ปลาสลิตและไข่ปลาสลิตตากแห้ง และจะต้องตกแต่งจานโดยการแกะสลัก มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน
  • ผู้ชนะ: ซีตรอง
  • รอบที่ 2 อาหารไทยโมเดิร์น: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารไทยสไตล์โมเดิร์น โดยในรอบนี้ มีกรรมการพิเศษ ได้แก่ เชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร สุดยอดเชฟอาหารไทยที่กวาดรางวัลระดับโลก และกรรมการรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ โจทย์ที่เชฟต้นนำมาทดสอบ คือ รวมเครื่องในหมูและไก่ ได้แก่ ไส้หมู เซี่ยงจี๊ (ไตหมู) ตับหมู หัวใจหมู และกึ๋นไก่ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเครื่องในราคาถูกมาทำเป็นอาหารไทยสไตล์โมเดิร์น ในเวลา 60 นาที
  • ผู้ชนะ: กิ๊ก
  • รอบที่ 3 อาหารไทยผสมผสาน: ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารไทยแนวผสมผสาน หรือ ไทยทวิสต์ โดยในรอบนี้ มีกรรมการพิเศษ ได้แก่ เชฟวิลแมน ลีออง สุดยอดเชฟผู้ตัดสินการแข่งขันระดับโลก ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเชฟทีมชาติไทย และกรรมการรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ โจทย์ที่เชฟวิลแมนนำมาทดสอบ คือ ปูทาราบะ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำปูทาราบะมาทำอาหารไทยแนวผสมผสาน ในเวลา 60 นาที
  • ผู้ชนะ: สตังค์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เฮง เบลล์ และแคปหมู

ตอนที่ 16 - 17: การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ[แก้]

ออกอากาศ 1 และ 8 ตุลาคม 2566
รอบชิงชนะเลิศ: ผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนได้แก่ ซีตรอง, กิ๊ก และสตังค์ จะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสามเมนู ซึ่งในซีซั่นนี้ การแข่งขันในแต่ละรอบ ได้ถูกเรียกแบบไทยๆ เพื่อให้สมกับ มาสเตอร์เชฟอาหารไทย ได้แก่ ของว่าง, ของคาว และของหวาน โดยจะแข่งทีละเมนู แต่ละเมนูมีเวลาทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟอาหารไทย
  • ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 หรือ มาสเตอร์เชฟอาหารไทย: ซีตรอง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "เปิดศึก MasterChef Thailand Season 6 "อาหารไทย" สุดเดือด!". สนุก.คอม. 2023-06-11. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เปิดรับสมัคร MasterChef อาหารไทย MasterChef Thailand Season 6". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-03-08. สืบค้นเมื่อ 2023-04-24.
  3. "โจทย์ทิ้งทวน MasterChef Thailand Season 6 อาหารไทย บีบคั้นกดดันสุดขีด". สนุก.คอม. 2023-06-18. สืบค้นเมื่อ 2023-07-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 "เฟ้นหาตัวจริง MasterChef Thailand Season 6 อาหารไทย ลุ้นกันต่อ 6 โมงเย็นพรุ่งนี้". ข่าวช่อง 7HD. 2023-06-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-07.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]