มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 | |
---|---|
มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย | |
พิธีกร | ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ |
กรรมการ | ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ขวัญทิพย์ เทวกุล พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
จำนวนตอน | 17 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์, บริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด |
ความยาวตอน | 90 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 HD |
ออกอากาศ | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 |
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 3 เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด[ลิงก์เสีย] (ในเครือเอช กรุ๊ป เก็บถาวร 2020-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทยเป็นฤดูกาลที่ 3 ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทางช่อง 7 HD โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทย ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีกรรมการ คือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (อิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)[1][2][3]
กติกา
[แก้]รอบคัดเลือกรอบแรก (Auditions Part 1)
[แก้]ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารที่เตรียมไว้พร้อมนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเป็นเวลา 5 นาที เมื่อหมดเวลาคณะกรรมการจะชิมและตัดสิน โดยใช้เสียงจากกรรมการ 2 ใน 3 เสียง หรือเอกฉันท์เป็นที่สิ้นสุด หาก 2 ใน 3 เสียงให้ไม่ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะตกรอบทันที แต่ในทางกลับกัน หาก 2 ใน 3 เสียงให้ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้รับผ้ากันเปื้อนของรายการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นเข้าสู่รอบต่อไปทันที
รอบคัดเลือกรอบสอง (Auditions Part 2)
[แก้]ในรอบนี้จะเป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยในฤดูกาลที่ 1 นั้นจะเป็นการทดสอบการหั่นขิง โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน
รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนา และวัตถุดิบพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ
รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบทีมชาเลนจ์ ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน
รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมา โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ อีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)
[แก้]ทีมที่แพ้ในรอบทีมชาเลนจ์ จะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อคัดหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบทีมชาเลนจ์ สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]ผู้เข้าแข่งขัน 19 คนสุดท้าย
[แก้]อันดับ | ชื่อ | อายุ[^] | ภูมิลำเนา | อาชีพก่อนเข้ามาแข่งขัน | ลำดับการแข่งขัน | จำนวนชนะ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | นันทวัฒน์ จรรยาลิขิต (แมกซ์) | 36 | กรุงเทพมหานคร | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | ชนะเลิศ วันที่ 9 มิถุนายน |
5 |
2 | พัดชา กัลยาณมิตร (เตย) | 26 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว | รองชนะเลิศ วันที่ 9 มิถุนายน |
8 |
ชานิน จีมะ (เควส) | 26 | กรุงเทพมหานคร | นักวาดรูปอิสระ | 3 | ||
4 | เจสสิก้า หวัง (เป่าเป้) | 24 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว | ถูกคัดออก วันที่ 26 พฤษภาคม |
4 |
5 | สหดล ตันตราพิมพ์ (ปอนด์) | 27 | เชียงใหม่ | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | 3 | |
6 | สุชาติ ใจฉ่ำ (บอล) | 30 | นครนายก | เจ้าของบ่อตกกุ้ง | ถูกคัดออก วันที่ 19 พฤษภาคม |
6 |
7 | ชานนท์ เรืองศรี (ชานนท์) | 23 | อุทัยธานี | ค้าขาย | ถูกคัดออก วันที่ 12 พฤษภาคม |
4 |
8 | รภัสสา ศิริเลิศโสภณ (ลูกเกด) | 35 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว, ครูสอนทำขนม | ถูกคัดออก วันที่ 28 เมษายน |
3 |
9 | จิตศักดิ์ หลิมภากรกุล (จีโน่) | 42 | ภูเก็ต | ผู้อำนวยการด้านแบรนด์และการตลาด | 2 | |
10 | เอกรัฐ วชิรทองไพศาล (เอก) | 30 | อุดรธานี | ฟรีแลนซ์ | ถูกคัดออก วันที่ 14 เมษายน |
1 |
11 | ณฐินี เจียมประเสริฐ (นิว) | 38 | สมุทรปราการ | พนักงานบริษัท | ถูกคัดออก วันที่ 7 เมษายน |
2 |
12 | สายชล ศรประเสริฐ (โรเบิร์ต) | 40 | กรุงเทพมหานคร | ค้าขาย | ถูกคัดออก วันที่ 31 มีนาคม |
0 |
13 | ชัชชษา อู่พิชิต (นุ้ย) | 34 | นนทบุรี | ฟรีแลนซ์การตลาด | ถูกคัดออก วันที่ 17 มีนาคม |
1 |
14 | ภาคิน มีจินดา (มาร์ค) | 20 | อุดรธานี | นักศึกษา | ถูกคัดออก วันที่ 10 มีนาคม |
1 |
15 | ณฐคุณ เหล่านุญชัย (เพิร์ท) | 21 | กรุงเทพมหานคร | นักศึกษา | ถูกคัดออก วันที่ 3 มีนาคม |
1 |
16 | ศรคม แก้วเสมอตา (ราม) | 39 | เชียงใหม่ | นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | ถูกคัดออก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ |
0 |
17 | ณภัทร เหมภัทรสุวรรณ (จริงจัง) | 25 | น่าน | นักศึกษา | ถูกคัดออก วันที่ 17 กุมภาพันธ์ |
0 |
18 | ปิยากร อวยพร (หมอมาย) | 24 | ขอนแก่น | แพทย์ | ถูกคัดออก วันที่ 10 กุมภาพันธ์ |
0 |
กรณ์รวี ฐิติอมรวิทย์ (กร) | 44 | สุพรรณบุรี | ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์ | 0 |
ข้อมูลการแข่งขัน
[แก้]ตารางการคัดออก
[แก้]อันดับ | ผู้เข้าแข่งขัน | ตอนที่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16/17 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | แมกซ์ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ชนะเลิศ | |||||||||||||||||||||||
2 | เตย | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | รองชนะเลิศ | |||||||||||||||||||||||
เควส | สูง | ผ่าน | ชนะ | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | สูง | สูง | ชนะ | สูง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | สูง | กดดัน | สูง | เสี่ยง | เสี่ยง | ผ่าน | |||||||||||||||||||||||||
4 | เป่าเป้ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||
5 | ปอนด์ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | เสี่ยง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | สูง | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||
6 | บอล | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||
7 | ชานนท์ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ต่ำ | กดดัน | กดดัน | เสี่ยง | เสี่ยง | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||
8 | ลูกเกด | ต่ำ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | สูง | เสี่ยง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | กดดัน | กดดัน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||
9 | จีโน่ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | สูง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | กดดัน | ผ่าน | เสี่ยง | ต่ำ | เสี่ยง | กดดัน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||
10 | เอก | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ต่ำ | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | นิว | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | โรเบิร์ต | สูง | ผ่าน | ต่ำ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | นุ้ย | ต่ำ | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | มาร์ค | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ชนะ | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | เพิร์ท | ต่ำ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ราม | ต่ำ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | จริงจัง | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | หมอมาย | ต่ำ | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กร | ต่ำ | ออก |
- (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
- (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์)
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
- (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป ในการแข่งขันแบบคู่
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถเข้าแข่งขันในรอบทีมได้ และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่ที่ยืนเป็น 1 ในทีมที่แย่ที่สุด
- (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
- (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
ข้อมูลการออกอากาศ
[แก้]ตอนที่ 1 : รอบคัดเลือก
[แก้]- ออกอากาศ 3 กุมภาพันธ์ 2562
- ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 30 คนต้องแสดงทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน วัตถุดิบหลักในการแข่งขันรอบนี้ โดยก่อนหน้านี้ ทางรายการได้ซ่อนรูปผู้เข้าแข่งขัน มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 ใต้ลิ้นชัก และกรรมการสั่งเปิด เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้กับผู้เข้าแข่งขัน เนื่องจากว่าผู้เข้าแข่งขันทุกคนเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมดแล้ว หากผู้เข้าแข่งขันมีความสามารถที่ด้อยกว่าเด็ก ๆ เหล่านี้ สมควรจะละอายใจ และไม่สมควรที่จะยืนอยู่ในมาสเตอร์เชฟคิตเชน โจทย์ในรอบทดสอบความสามารถในฤดูกาลนี้ เป็นโจทย์เดียวกันกับรอบทดสอบความสามารถของมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 คือ ปลาแซลมอน ซึ่งเป็นโจทย์เดียวกันกับการทดสอบความสามารถเด็กผู้หญิง โดยผู้เข้าแข่งขันต้องนำปลาแซลมอนมารังสรรค์เป็นอาหาร ที่ไม่ใช่สเต๊กปลาแซลมอนธรรมดา ๆ โดยทั่วไป และอาหารจานนั้นจะต้องมีความคิดที่สร้างสรรค์ มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 40 นาที และมีเวลาอีก 5 นาที ในการเข้าไปเลือกวัตถุดิบอื่น ๆ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในมาสเตอร์เชฟคิตเชน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน มีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบในรอบแรกจำนวน 15 คน คือ เควส, แมกซ์, ชานนท์, เอก, เตย, ปอนด์, ราม, มาร์ค, จริงจัง, เพิร์ท, นุ้ย, นิว, หมอมาย, กร และลูกเกด โดยผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ คณะกรรมการยังไม่แน่ใจในฝีมือการทำอาหารจึงต้องมาแข่งขันกันอีกครั้งในรอบต่อไป
- ผู้ที่ถูกคัดออก: บูม, ต้น, กอล์ฟ, ฟาง และโฬม
- ทักษะการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 10 คน ต้องมาแข่งขันกันในรอบที่ 2 โดยวัตถุดิบหลักในรอบนี้คือ หอยเชลล์โฮตาเตะ ซึ่งเป็นโจทย์เดียวกันกับการทดสอบความสามารถเด็กผู้ชาย และต้องใช้หอยเชลล์โฮตาเตะเพียงคนละ 3 ตัว โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 40 นาที โดยอาหารที่ทำออกมานั้นต้องไม่ใช่แค่สเต๊กธรรมดา ต้องรังสรรค์อาหารออกมาให้ดีกว่าเมนูของเด็ก ๆ ผู้เข้าแข่งขันมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขัน โดยคิวและกรถูกคัดออกในขณะที่อยู่ในช่วงนำอาหารไปให้คณะกรรมการชิม เนื่องจากว่าหอยเชลล์โฮตาเตะไม่สมบูรณ์แบบและยังไม่เหมาะสมกับการเป็นมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ทั้งคู่ และคณะกรรมการก็ได้ตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบอีก 4 คน คือ โรเบิร์ต, เป่าเป้, บอล และจีโน่ และทำให้ได้ผู้เข้าแข่งขัน 19 คนสุดท้ายอย่างเป็นทางการ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: คิว†, กร†, มะปราง, องุ่น, ปันปัน และอาร์ม
หมายเหตุ † หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเชฟเอียน (พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย) ทิ้งอาหารโดยไม่มีการชิมในการแข่งขันนั้น
ตอนที่ 2 : การทำอาหารจากทุเรียน
[แก้]- ออกอากาศ 10 กุมภาพันธ์ 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ ทุเรียน ทุเรียนคือราชาผลไม้ไทย ด้วยเนื้อที่มีความนุ่มละมุน รสชาติหวานมัน และมีกลิ่นเฉพาะตัว ยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องปอกทุเรียนด้วยตัวเอง ผู้เข้าแข่งขันต้องนำทุเรียนพันธ์หมอนทองมาสร้างสรรค์เป็นจานอาหารที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรือของหวาน และยังมีวัตถุดิบเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันอย่างจำกัดเท่ากัน ประกอบไปด้วยกุ้งลายเสือ, เบคอน, ข้าวรีซอตโต, แป้งเค้ก, แป้งอเนกประสงค์, มิกซ์เบอร์รี, ดอกไม้กินได้, ครีมชีส, มอซซาเรลลา, ช็อกโกแลต, อบเชย และพริกแห้ง โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, โรเบิร์ต และเตย โดยเตยก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และทั้งสามคนยังได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขัน นอกจากนี้ผู้เข้าแข่งที่เหลือก็ได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปทันที ยกเว้นคนที่ตกเป็นหกอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์ คือ เพิร์ท, นุ้ย, หมอมาย, ลูกเกด, ราม และกร ต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เตย
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่เพิร์ท, นุ้ย, หมอมาย, ลูกเกด, ราม และกร ตกเป็นหกอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์ จึงต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยโจทย์ในรอบนี้คือ ขาหมู (คากิ) โดยจะมีผู้เข้าแข่งขันเพียงสามคนเท่านั้นที่ได้ผ่านเข้ารอบ และในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที โดยหลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทั้งหกคน ผู้เข้าแข่งขันที่ได้ผ่านเข้ารอบต่อไปคือ เพิร์ท, ราม และลูกเกด ส่วนอาหารที่แย่ที่ สุดคือ นุ้ย อาหารจานนี้ค่อนข้างจืดหมด หมอมาย ทำหนังขาหมูเหนียวมากและทำอาหารไม่เพียงพอต่อการเสริฟ์ และกร ไม่มีความคิดสร้างสรรค์นอกจากข้าวขาหมู จากการที่เตยเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ช่วยเพื่อนผู้เข้าแข่งขันให้ผ่านเข้ารอบไปด้วยอีกหนึ่งคน โดยเตยได้เลือกให้นุ้ยได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไป และคนที่ต้องถอดผ้ากันเปื้อนและออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ หมอมายและกร
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: นุ้ย, หมอมาย และกร
- ผู้ที่ถูกคัดออก: หมอมายและกร
ตอนที่ 3 : การทำอาหารไทยพื้นบ้าน
[แก้]- ออกอากาศ 17 กุมภาพันธ์ 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ เตย ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เตย | เพิร์ท, ชานนท์, นุ้ย, บอล, เควส, ลูกเกด, จีโน่ และเป่าเป้ |
โรเบิร์ต | ราม, มาร์ค, เอก, ปอนด์, นิว, แมกซ์ และจริงจัง |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งแรกของผู้เข้าแข่งขันในซีซั่นที่ 3 ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่หน้าศาลากลางหลังเก่าจังหวัดนนทบุรี ซึ่งสร้างติดอยู่กับริมแม่น้ำเจ้าพระยา และบททดสอบในรอบนี้คือ การทำอาหารให้พี่ ๆ คนขับเรือหางยาวจำนวน 201 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับอาหารไทยพื้นบ้าน ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารคาว 4 อย่าง และอาหารหวานอีก 1 อย่าง นำเสนอในรูปแบบเบนโตะสไตล์ที่ทันสมัยรวมทั้งสิ้นจำนวน 5 เมนู มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 90 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “ต้มยำไก่บ้าน, น้ำพริกอ่อง, เนื้อทอด, ยำหัวปลี และมูสข้าวเหนียวกับซอสมะม่วง” เมนูของทีมสีแดงคือ “ไก่บ้านทอดสมุนไพร, เขียวหวานเนื้อ, น้ำพริกผักชี, ข้าวมันเผือก และผลไม้ลอยแก้วโมจิโต” โดยผลจากการตัดสิน ทีมสีน้ำเงินได้คะแนนไป 78 คะแนน ส่วนสีแดงได้ไป 123 คะแนน
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ ปลาดุกฟู ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านโบราณที่มีมามากกว่า 100 ปี เป็นอาหารที่นิยมกันมากทั้งในวังและนอกวัง สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ เนื้อปลาดุกฟูต้องเป็นเนื้อปลาล้วน ๆ โดยไม่มีแป้ง และปลาดุกฟูต้องเกาะกันเป็นแพ มีสีเหลืองทองสวยงาม จะต้องทอดปลาดุกฟูให้กรอบและไม่อมน้ำมัน และต้องเสิร์ฟคู่กับยำมะม่วงที่มีรสชาติเปรี้ยว เค็ม หวาน ไม่โดดไปทางใดทางหนึ่ง มีเวลา 50 นาที ในการทำอาหาร หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน สามอันดับอาหารที่แย่ที่สุดคือ โรเบิรต์ ปลาดุกฟูเกือบจะไหม้ไปและมีรสชาติขม จริงจัง ทำปลาดุกฟูไม่ตรงตามโจทย์ที่ต้องการทำสัดส่วนไม่ได้และรสชาติเค็มและขม ส่วน เอกทำปลาดุกฟูออกมาดีแต่ไม่ได้จัดลงจานและไม่ทำยำมะม่วงเลย และคนที่ถูกคัดออกจากการแข่งขัน คือ จริงจัง
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: โรเบิร์ต, เอก และจริงจัง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: จริงจัง
ตอนที่ 4 : การทำอาหารจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัว
[แก้]- ออกอากาศ 24 กุมภาพันธ์ 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัว ซึ่งเนื้อวัวเป็นวัตถุดิบที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของวัว สามารถนำไปรังสรรค์อาหารได้หลากหลาย โดยครั้งนี้ได้มีการเตรียมชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัวไว้ 18 กล่อง โดยในแต่ละกล่องจะมีชิ้นส่วนของวัวที่แตกต่างกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาสุ่มเลือกไปคนละหนึ่งกล่อง โดยที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าข้างในเป็นชิ้นส่วนใดของวัว ครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องเข้าไปเลือกวัตถุดิบเสริมมาก่อน โดยที่ยังไม่รู้ว่าวัตถุดิบหลักในกล่องคืออะไร ชิ้นส่วนของวัวในแต่ละกล่องประกอบไปด้วย เนื้อสันใน, เนื้อสันนอก, ทีโบน, เนื้อน่อง, ผ้าขี้ริ้ว, หาง, เลือด และอัณฑะ มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, บอล และจีโน่ โดยบอลก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: บอล
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ บอล ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์และมีสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันจากชิ้นส่วนของวัวที่เหลืออยู่อีกสองกล่องคือ ไส้และลิ้นของวัว โดยบอลได้เลือกไส้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร และสิทธิพิเศษอีกหนึ่งอย่างคือ สามารถกำหนดเวลาในการทำอาหารให้เพื่อน ๆ ได้ โดยมี 60, 45 และ 30 นาที โดยในรอบแรกมีเวลา 60 นาที บอลได้เลือกเตย, นิว, นุ้ย, เพิร์ท และจีโน่ ในรอบที่สองมีเวลา 45 นาที ได้เลือกเควส, แมกซ์, ชานนท์, ราม และมาร์ค ในรอบที่สามมีเวลา 30 นาที ได้เลือกเอก, โรเบิร์ต, ปอนด์, ลูกเกด และเป่าเป้ แต่ในท้ายที่สุด 5 คนที่ได้เวลา 30 นาที ก็ได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบไปเลยโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ จีโน่ และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ นิว ล้างไส้ไม่สะอาดและมีกลิ่นของกากอาหารในจาน มาร์ค ทำไส้มีรสชาติขม และราม นำอาหารลงจานไม่ทัน ทำให้ไม่มีอาหารเสิร์ฟ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ราม
- ผู้ชนะ: จีโน่
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: นิว, มาร์ค และราม
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ราม
ตอนที่ 5 : การทำอาหารจากปลากระเบน
[แก้]- ออกอากาศ 3 มีนาคม 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ อาหารกระป๋อง ซึ่งอาหารกระป๋องเป็นวัตถุดิบที่ทุกบ้านต้องมีไว้ใช้ในการปรุงอาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้อาหารกระป๋องเป็นที่นิยม โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำอาหารกระป๋องทั้ง 24 กระป๋อง มายกระดับทำเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับเสิร์ฟในภัตตาคารชั้นหรู จากที่จีโน่เป็นผู้ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ในครั้งก่อน จึงได้รับสิทธิ์ในการยึดอาหารกระป๋องจากผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งจำนวน 10 กระป๋อง โดยจีโน่ได้เลือกยึดอาหารกระป๋องของบอลไป ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ แมกซ์, เควส และเป่าเป้ โดยเควสก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เควส
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ เควส ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ และมีสิทธิพิเศษอีกหนึ่งอย่างคือสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขัน 7 คน ที่เควสต้องการกำจัดมาแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยเควสได้เลือกบอล, เอก, โรเบิร์ต, ปอนด์, ชานนท์, มาร์ค และเพิร์ท ทำให้ทั้งเจ็ดคนต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ส่วนเตย, เป่าเป้, นิว, นุ้ย, จีโน่, ลูกเกด และแมกซ์ ได้ผ่านเข้ารอบไปเลยโดยไม่ต้องแข่งขัน โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ ปลากระเบน วัตถุดิบชนิดนี้เป็นวัตถุที่มีเนื้อสัมผัสเฉพาะตัว เนื้อจะติดกับกระดูกอ่อน และเนื้อส่วนลำตัวค่อนข้างเหนียว ผู้เข้าแข่งขันต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการรังสรรค์ปลากระเบนออกมาให้เป็นเมนูที่ดีที่สุด โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ มาร์ค และบอลเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ โรเบิร์ต ทำเครื่องแกงหยาบและหวานเกินมาตราฐานแกงไทย และเพิร์ท ทำอาหารที่ไม่ชูวัตถุดิบ ซอสมีรสชาติจืดและส่วนผสมไม่สมดุล โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เพิร์ท
- ผู้ชนะ: มาร์ค
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: โรเบิร์ตและเพิร์ท
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เพิร์ท
ตอนที่ 6 : การปรุงอาหารจากน้ำมันเมล็ดชา
[แก้]- ออกอากาศ 10 มีนาคม 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ มาร์ค และบอลที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ในครั้งนี้หลังจากหัวหน้าทีมได้เลือกลูกทีมครบแล้ว คณะกรรมการก็ได้สับเปลี่ยนหัวหน้าทีมกัน
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
มาร์ค | เควส, โรเบิร์ต, ปอนด์, จีโน่, แมกซ์ และนุ้ย |
บอล | นิว, เป่าเป้, เตย, เอก, ลูกเกด และชานนท์ |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่สอง ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นอีกโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา และโจทย์ในการทำอาหารวันนี้คือ ปรุงอาหารมื้อกลางวันจากน้ำมันเมล็ดชา อาหารคาว 1 อย่าง และอาหารหวานอีก 1 อย่าง ให้แก่เด็กอายุ 7-10 ปี จำนวน 302 คน ใช้วัตถุดิบเป็นผักทั้งหมด นอกจากนี้ยังมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมด้วยคณะ 11 ท่าน มาเป็นคณะกรรมการในการตัดสิน รวมทั้งหมด 313 คน มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 120 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “พาสต้าแคร์รอตซอสโบโลเนสเห็ดกับกัวกาโมเลและฟักทองทอด” ส่วนของหวานคือ “โมจิช็อกโกแลตแห้วซุปถั่วแดง” เมนูของทีมสีแดงคือ “ญ็อคคี ซอสเปรี้ยวหวานกับเฟรนซ์ฟรายมะเขือม่วง” ส่วนของหวานคือ “บัวลอยแอโวคาโดนมสด” โดยผลจากคณะกรรมการและน้อง ๆ นักเรียนได้ลงคะแนน เป็นฝ่ายทีมสีแดงที่ชนะไปด้วย 163 คะแนน ส่วนสีน้ำเงินได้ไป 150 คะแนน
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยบอลซึ่งเป็นหัวหน้าทีมสีแดงที่เป็นผู้ชนะในรอบบดทดสอบภารกิจแบบทีม สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันในทีมสีน้ำเงิน ให้ผ่านเข้ารอบไปเลย 3 คน โดยบอลได้เลือกนุ้ย โรเบิร์ต และจีโน่ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ ซูเฟลราสป์เบอร์รี โดยซูเฟลที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เมื่ออบเสร็จเรียบร้อยซูเฟลต้องตั้งตรงสวยงาม เนื้อสัมผัสของซูเฟลด้านนอกต้องนุ่มและกรอบ ส่วนเนื้อด้านในเมื่อตักลงไปต้องนุ่มไม่แข็ง และเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วเนื้อซูเฟลต้องละลายในปาก โดยขนมชนิดนี้เมื่ออบเสร็จแล้วต้องเสิร์ฟภายใน 5 นาที มิฉะนั้นซูเฟลจะยุบตัว มีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ มาร์คและแมกซ์ ซึ่งทำซูเฟลไม่สุกทั้งสองคน โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ มาร์ค
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: มาร์คและแมกซ์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: มาร์ค
ตอนที่ 7 : การแข่งขันทำอาหารหวาน
[แก้]- ออกอากาศ 17 มีนาคม 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ วัตถุดิบจากญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยหัววาซาบิสด, มิโซะ, ปลาโอแห้ง, สาหร่าย, ถั่วแระญี่ปุ่น, ต้นหอมญี่ปุ่น, น้ำส้มยูซึ, ไข่ปลาแซลมอน, มันม่วง, เส้นโซบะ, สตอเบอรีอะมะโอะ, เห็ดซิเมจิ, กระเจี๊ยบ, ปลาไข่สิซะมาโอะ และล็อบเตอร์ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 13 คน จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการรังสรรค์อาหารอาหารออกมา โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 4 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, ลูกเกด, ปอนด์ และชานนท์ โดยปอนด์ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: ปอนด์
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ ปอนด์ ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ ของหวาน วัตถุดิบในการทำของหวานมีสามอย่างประกอบไปด้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, มะพร้าว และมะระ โดยปอนด์มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบในการทำของหวานให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยปอนด์ได้เลือกผลไม้ตระกูลเบอร์รีให้เป่าเป้, บอล, แมกซ์ และโรเบิร์ต เลือกมะพร้าวให้ลูกเกด, นิว, นุ้ย และชานนท์ และเลือกมะระให้เตย, เอก, เควส และจีโน่ โดยมีเวลาในการทำของหวานจำนวน 90 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมของหวานของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ เตย และเควสเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ ลูกเกด คิดองค์ประกอบขึ้นมาหลายอย่างใส่ความคิดสร้างสรรค์ในจานนี้แต่ไม่มีรสชาติ และรสสัมผัสไม่ได้ จีโน่ ทำพนาคอตต้ามะระไม่เซตตัว โดยการทำซอสและประกอบอื่นๆและไม่แก้ปัญหาขึ้นมาเฉพาะหน้า และนุ้ย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่สามารถไม่ชูวัตถุดิบมะพร้าว โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ นุ้ย
- ผู้ชนะ: เตย
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ลูกเกด, จีโน่ และนุ้ย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: นุ้ย
ตอนที่ 8 : การทำไส้กรอกนานาชนิด
[แก้]- ออกอากาศ 31 มีนาคม 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ เตย และเควสที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม โดยครั้งนี้เป็นการเลือกลูกทีมให้อีกทีมทีละคน
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เตย | ปอนด์, โรเบิร์ต, เอก, บอล และจีโน่ |
เควส | เป่าเป้, แมกซ์, ชานนท์, ลูกเกด และนิว |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่สาม ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารให้นักกีฬาพารามอเตอร์ ทั้งหมดจำนวน 101 คน เนื่องจากนักกีฬาต้องใช้พละกำลังในการฝึกซ้อม อาหารที่จะต้องเสิร์ฟต้องเป็นอาหารที่พลังงานเพียงพอ และโจทย์ในการทำอาหารวันนี้คือ ”การทำไส้กรอกนานาชนิด” จะต้องทำไส้กรอกไม่ต่ำกว่าสามรสชาติ และน้ำหนักเสิร์ฟของแต่ละจานต้องไม่ต่ำกว่า 300 กรัม และต้องทำเครื่องเคียงอีกสองอย่าง มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 120 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “ไส้กรอกสามเกลอ ไส้กรอกเนื้อน้ำผึ้ง แอปเปิล และไส้กรอกไส้อั่ว เสิร์ฟพร้อมกับมันบด และซีซาร์สลัด” เมนูของทีมสีแดงคือ “ไส้กรอกลาบไก่ ไส้กรอกเนื้อพริกเคจัน และไส้กรอกหมูผัดน้ำพริกเผาโหระพา เสิร์ฟพร้อมกับโคลสลอว์ศรีราชาซอสมาโย และมันบดสองสี” โดยผลจากคณะกรรมการได้ลงคะแนน เป็นฝ่ายทีมสีแดงที่ชนะไปด้วย 71 คะแนน ส่วนสีน้ำเงินได้ไป 30 คะแนน
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้เป็นอาหารอิตาเลียนที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันทั่วโลก โจทย์ในครั้งนี้คือ ราวิโอลีไข่แดง ราวิโอลีคือพาสตาชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายเกี๊ยว โดยราวิโอลีไข่แดงต้องเยิ้มเป็นลาวา ส่วนแป้งต้องไม่ดิบและไม่แข็ง ซอสและไส้ต้องเข้ากันและมีรสชาติอร่อย แป้งราวิโอลีต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 4 นิ้ว มีเวลาในการทำอาหาร 40 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เอกและโรเบิร์ต ส่วนทั้ง 2 คนทำได้แต่ทำแป้งสุกไม่ทั่วถึง โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ โรเบิร์ต
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: เอกและโรเบิร์ต
- ผู้ที่ถูกคัดออก: โรเบิร์ต
ตอนที่ 9 : การยกระดับเมนูอาหารป่าสู่ความเป็นอินเตอร์
[แก้]- ออกอากาศ 7 เมษายน 2562
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น โจทย์ในวันนี้คือ การทำของหวาน วัตถุดิบในกล่องประกอบไปด้วยช็อกโกแลต, อัลมอนด์สไลด์, ถั่วแดงกวน, กล้วยหอม, ครีมชีส, เบอร์รี, มะม่วง, กีวี, ผงกาแฟ, ผงชาเขียว และนมข้นหวาน ความท้าทายของโจทย์ในครั้งนี้คือการทำของหวานโดยไม่มีครีมและนมสด โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำของหวานจานที่ดีที่สุด โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำของหวาน 90 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, แมกซ์ และเป่าเป้ โดยแมกซ์ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: แมกซ์
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่แมกซ์เป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ การยกระดับเมนูอาหารป่าสู่ความเป็นอินเตอร์ วัตถุดิบในการแข่งขันประกอบไปด้วยนกกระทา, กบ และปลาไหล โดยแมกซ์มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยแมกซ์ได้เลือกกบเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร ทำให้ผู้เข้าแข่งขันหลาย ๆ คนรู้สึกกังวลกับการทำอาหารครั้งนี้ โดยเฉพาะ จีโน่, เป่าเป้ และลูกเกด ที่กลัวกบเป็นอย่างมาก และสิทธิพิเศษอีกหนึ่งอย่างคือ แมกซ์สามารถสลับตะกร้าผู้เข้าแข่งขัน 4 คน โดยแมกซ์ได้เลือกสลับตะกร้าของเควสกับเอก และสลับตะกร้าของบอลกับเตย โดยมีเวลาในการทำของหวานจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ ชานนท์ และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ บอล ทำข้าวแข็งมากและทำเนื้อกบสุกเกินไป จีโน่ ทำข้าวบางส่วนไม่สุก เนื้อกบสุกเกินไป และเสริฟ์มันฝรั่งดิบ และนิว ทำเนื้อกบสุกเกินไป แต่มีความร้ายแรงมากที่สุด คือ ไม่รักษาในเรื่องของความสะอาดหรือสุขลักษณะ การที่มีดินติดมาในผักไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เเละสามารถทำให้ผู้รับประทานเจ็บป่วยได้ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ นิว
- ผู้ชนะ: ชานนท์
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: จีโน่, บอล และนิว
- ผู้ที่ถูกคัดออก: นิว
ตอนที่ 10 : การทำเซ็ตอาหารเกาหลี
[แก้]- ออกอากาศ 14 เมษายน 2562
- บททดสอบภารกิจแบบคู่: โดยสัปดาห์นี้ในการแข่งขันเป็นการแข่งขันประเภทคู่ ซึ่งเป็นการแข่งขันประเภทคู่ครั้งแรกของการแข่งขัน โดยโจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการทำอาหารสไตล์เอเชียนทวิช คือ การทำเซ็ตอาหารเกาหลี โดยประกอบไปด้วยจำนวน 4 อย่าง คือ ไก่ทอดเกาหลี, ซุปกิมจิ, ต๊อกโบกี และบีบิมบับ โดยมีเชฟอาร์ตซึ่งผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารเกาหลี มาเป็นคนสาธิตการทำอาหารเกาหลีให้ผู้เข้าแข่งขัน ในการทำอาหารมีเวลาสำหรับผู้เข้าแข่งขันจำนวน 90 นาที โดยผลัดกันทำอาหารคนละ 15 นาที เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือน ผู้เข้าแข่งขันต้องแตะมือกันเพื่อสับเปลี่ยนกันทำอาหาร โดยการทำเซ็ตอาหารเกาหลีที่ทำออกมาต้องเหมือนกับต้นตำรับที่เชฟอาร์ตได้ทำไว้ ซึ่งจากการที่ชานนท์เป็นผู้ชนะในสัปดาห์ก่อนหน้า ทำให้มีสิทธิ์พิเศษในการจับคู่ให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ และตัวเอง ซึ่งชานนท์ได้เลือกจับคู่ให้ผู้เข้าแข่งขันดังนี้ จีโน่กับลูกเกด, เควสกับแมกซ์, เป่าเป้กับบอล, เตยกับปอนด์, และเอกกับชานนท์ หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารทั้งหมดของผู้เข้าแข่งขัน ทีมที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้คือ เป่าเป้และบอล และทีมที่เป็นรองชนะเลิศคือ เควสและแมกซ์ โดยสามทีมที่เหลือต้องไปแข่งขันกันต่อในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ
- ผู้ชนะ: เป่าเป้และบอล
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้สามทีมที่เหลือ ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบนี้เป็นการทำของหวานคือ มาการอง โดยมาการองที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1) รูปลักษณ์ต้องสวยงาม ผิวของของมาการองต้องเนียนเรียบ ไม่แตก และหลังอบแล้วขาของมาการองต้องขึ้นฟู ตั้งตรง ไม่บิดเบี้ยว 2) แป้งด้านในจะต้องไม่กรวง และมีไส้ในปริมาณที่พอดี 3) รสชาติต้องหวานละมุนและลงตัว มีเวลาในการทำมาการองจำนวน 60 นาที ในการทำมาการอง 12 ชิ้น และต้องมีรสชาติอย่างน้อยสองรสชาติ หลังจากกรรมการได้ชิมมาการองของทั้งหกคน สามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ จีโน่, ปอนด์ และเอก โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เอก
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: จีโน่, ปอนด์ และเอก
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เอก
ตอนที่ 11 : การทำอาหารจานเอกลักษณ์ของห้องอาหาร
[แก้]- ออกอากาศ 21 เมษายน 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบการแข่งขันประเภทคู่ครั้งที่แล้ว คือ บอลและเป่าเป้ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคน
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
บอล | แมกซ์, เตย และปอนด์ |
เป่าเป้ | เควส, ลูกเกด และจีโน่ |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่สี่ ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่เมืองนิวไทเป ประเทศไต้หวัน เป็นครั้งแรกของการแข่งขันมาสเตอร์เชฟประเทศไทย ที่นำผู้เข้าแข่งขันมาทำแข่งขันทำอาหารนอกประเทศ เนื่องจากชานนท์ไม่สบาย ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาร่วมแข่งขันได้ ทำให้ชานนท์ต้องไปแข่งในรอบบททดสอบความละเอียดและแม่นยำกับทีมที่แพ้ในการแข่งขันครั้งนี้ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารจานเอกลักษณ์ของห้องอาหาร Chef A-ji (CHEF A-CHI DIMSUM) ในโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว Fullon Hotel Tamsui Fisherman’s Wharf ทั้งหมด 4 เมนู ให้เหมือนกับต้นฉบับทั้งรสชาติ และการตกแต่งอย่างสมบูรณ์แบบ ที่ประกอบไปด้วยอาหารเรียกน้ำย่อย 2 เมนู คือ แป้งข้าวเหนียวห่อไส้หมูกับหัวไชโป๊กลิ่นทรัฟเฟิล (咸水角) และเมนูชริมป์โรล ปอเปี๊ยะกุ้งสาคูกรอบ และอาหารจานหลักอีก 2 เมนู คือ ล็อบสเตอร์นิ่มคั่วกระเทียมกรอบ (Typhoon shelter Style Soft-shell Lobster) และปลาเก๋ามังกรผัดซอสเอ็กซ์โอ เพื่อเสิร์ฟให้แขกวีไอพีจำนวน 50 คน ประกอบไปด้วย นักชิมอาหารชื่อดังของไต้หวัน รัฐบาลท้องถิ่นเมืองนิวไทเปและการท่องเที่ยวไต้หวัน นอกจากนั้นยังมีบุคคลสำคัญนั่นคือ ผู้อำนวยการใหญ่ และคณะผู้บริหารจากสำนักงานการค้า และเศรษฐกิจไทย ณ ไทเป
- ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
ตอนที่ 12 : การทำอาหารจากปูนานาชนิด
[แก้]- ออกอากาศ 28 เมษายน 2562
- บททดสอบความละเอียดและแม่นยำ จากที่ทีมสีแดงแพ้ในการแข่งขันภารกิจแบบทีม โดยชานนท์ ที่ไม่สามารถแข่งขันในภารกิจแบบทีมได้ ต้องมาแข่งขันในรอบนี้ด้วย โดยการแข่งขันรอบนี้คือ เมนูจากตำราอาหารของ เฟิร์ส ผู้ชนะเลิศจาก มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 นั่นคือ เป็ดร่อน ข้าวซอยเจล ที่ประกอบไปด้วย พาสต้าเปลือกหอย น่องเป็ด และเจลลี่อาจาด หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน สองจานที่แย่ที่สุด คือ จีโน่ ทำพาสต้าออกมาสวย ทำเนื้อเป็ดเละออกมาเป็นชิ้นเล็กและสุกกระด้าง และ ชานนท์ ทำเจลลี่อาจาด ได้ดีและเป็ดร่อนจากกระดูก โดยผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันครั้งนี้คือ จีโน่
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: จีโน่และชานนท์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: จีโน่
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยโจทย์ของการแข่งขันรอบนี้คือ ปูนานาชนิด โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนต้องเลือกปูแต่ละชนิดให้กับผู้เข้าแข่งขันอีกคน โดยเตยเป็นผู้ชนะ และเควสเป็นที่สอง ทั้งคู่จะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป โดยบอล ทำอาหารมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ถูกต้อง ส่วนชานนท์และลูกเกด ทำอาหารโดยไม่มีความคิดสร้างสรรค์ จากวัตถุดิบ ปู โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันครั้งนี้คือ ลูกเกด
- ผู้ชนะ: เตย
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสามจานที่แย่ที่สุด: บอล, ชานนท์ และลูกเกด
- ผู้ที่ถูกคัดออก : ลูกเกด
ตอนที่ 13 : การทำอาหารในรูปแบบ fine dining
[แก้]- ออกอากาศ 12 พฤษภาคม 2562
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารในรูปแบบ fine dining ให้กับเอกอัครราชทูต ทูต และตัวแทนหอการค้า โดยได้ลูกทีมดังนี้
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เตย | แมกซ์, บอล และปอนด์ |
เควส | เป่าเป้ และชานนท์ |
โดยทีมสีแดงจะมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที ซึ่งมากกว่าทีมสีน้ำเงิน 15 นาที เนื่องจากทีมสีแดงมีสมาชิกน้อยกว่า
- ทีมที่ชนะ: ทีมสีน้ำเงิน
- บททดสอบความละเอียดและแม่นยำ: เนื่องจากทีมสีแดงเป็นทีมที่แพ้ ทำให้ต้องมาเจอกับบททดสอบความละเอียดและแม่นยำ โดยโจทย์การแข่งขันในวันนี้คือ เมนูซิกเนเจอร์จากเชฟ กอร์ดอน แรมซีย์ นั่นคือ beef wellington โดยสเต็กเนื้อสันในต้องมีความสุกแบบ มีเดียมแรร์ เห็ดและแป้งพายต้องเห็นเป็นชั้น โดยผู้เข้าแข่งขันต้องรังสรรค์เครื่องเคียงและซอสเอง โดยเป่าเป้ทำออกมาได้ดี ส่วนเควสและชานนท์มีข้อผิดพลาดทั้งคู่ โดยชานนท์ทำเนื้อออกมาเป็นแบบแรร์ แป้งไม่เป็นลายสวย เห็ดที่ผัดยังแฉะอยู่ และซอสกับเครื่องเคียงไม่เข้ากัน ส่วนเควสทำเนื้อออกมาสุกเกินไปออกมาเป็นแบบมีเดียม แป้งไม่เป็นลายสวย และเห็ดมีกลิ่นที่แปลก
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ชานนท์
ตอนที่ 14 : การพัฒนาอาหารจานแรกของตนเองในมาสเตอร์เชฟ
[แก้]- ออกอากาศ 19 พฤษภาคม 2562
- บททดสอบรอบกล่องปริศนาครั้งสุดท้าย: การแข่งขันกล่องปริศนาในรอบนี้ มีวัตถุดิบเพียงแค่ 5 อย่าง ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ, ปลาทู, ไข่ไก่, กุหลาบ และมะเขือ โดยผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดย เตย, ปอนด์ และเควส เป็นสามจานที่ดีที่สุด และเตยเป็นผู้ชนะในการแข่งขันนี้ ทำให้เธอได้ผ่านเข้าสู่รอบ semi-final ได้เลย
- ผู้ชนะ: เตย
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โดยการแข่งขันครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ 5 คนต้องมาแข่งขันกันต่อในรอบนี้ โดยโจทย์ของการแข่งขันรอบนี้คือ การพัฒนาอาหารจานแรกของตนเองในมาสเตอร์เชฟ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแก้ไขข้อผิดพลาดของอาหารจานแรกและพัฒนาให้ออกมาดีที่สุด ปอนด์ และแมกซ์ ทำอาหารได้ดีจนได้รับคำชมจากคณะกรรมการ และสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือ บอล และเควส โดยเควสทำอาหารออกมาไม่ต่างไปจากอาหารจานเดิม และแซลมอนสุกเกินไป ส่วนบอล ทำอาหารออกมาไม่ต่างจากอาหารจานเดิม แซลมอนสุกเกินไป และรสชาติไม่ดี โดยผู้ที่ถูกคัดออกในสัปดาห์นี้คือ บอล
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: บอล, เควส
- ผู้ที่ถูกคัดออก: บอล
ตอนที่ 15 : การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ
[แก้]- ออกอากาศ 26 พฤษภาคม 2562
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Back to Basic): โดยวัตถุดิบหลักในรอบนี้คือ กล้วย โดยมีส่วนประกอบหลายส่วนได้แก่ กล้วย, หัวปลี เป็นต้น โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยแมกซ์ และเตย ทำอาหารได้ดีจนได้รับคำชมจากคณะกรรมการ โดยรอบนี้จะมีผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขัน1คน โดยสองจานที่แย่ที่สุดในรอบนี้คือ เควส และปอนด์ โดยผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันในรอบนี้คือ ปอนด์
- ผู้ที่ตกเป็นอาหารสองจานที่แย่ที่สุด: เควสและปอนด์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ปอนด์
- บททดสอบความละเอียดและแม่นยำ: โดยเมนูอาหารที่นำมาใช้เป็นโจทย์ในรอบนี้คือ ชุดเครื่องว่างไทย ซึ่งประกอบด้วย หมูโสร่ง, ช่อม่วง, ล่าเตียง และกระทงทอง โดยผู้แข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที เควสและเตยทำอาหารได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด ส่วนแมกซ์และเป๋าเป้ มีข้อผิดพลาดทั้งคู่ โดยเป่าเป้ คือผู้ทีถูกคัดออกในการแข่งขันรอบนี้
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับจานอาหารที่ผิดพลาดมากที่สุด: แมกซ์และเป๋าเป้
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เป่าเป้
ตอนที่ 16-17 : รอบไฟนอล (Final)
[แก้]- ออกอากาศ 2-9 มิถุนายน 2562
- รอบไฟนอล : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสาม ได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย(Appetizers), อาหารจานหลัก(Main Course) และของหวาน(Dessert) โดยผู้ชนะจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟคนที่สามของประเทศไทย
- ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซั่น 3: แมกซ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ dailynews. "เปิดฉาก "มาสเตอร์เชฟฯ ซีซั่น 3" ผนึกกำลังความเข้ม". สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ mgronline. "เปิดฉาก "มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย ซีซั่น 3" สุดมันส์ "ป๊อก-เชฟเอียน-เชฟป้อม-พี่อิงค์" ผลึกกำลังความเข้ม". สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 9poto. "MasterChef Thailand Season3 ออกอากาศวันแรก 3 ก.พ. 62 เวลา 18.20 น. ช่อง 7HD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)