มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
เป็นที่รู้จักกันในชื่อมาสเตอร์เชฟ (MasterChef)
ไทยมาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย
อังกฤษMasterChef Thailand
ประเภทเรียลลิตี้ แข่งขันทำอาหาร
สร้างโดยแฟรงก์ รอดดัม
เค้าโครงจากมาสเตอร์เชฟ (สหราชอาณาจักร)
เสนอโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล13 (7 (ปกติ) + 3 (จูเนียร์) + 3 (เซเลบริตี้))
จำนวนตอน181 (รวมทุกฤดูกาล)
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญโรจน์
สถานที่ถ่ายทำเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
กล้องกล้องหลายตัว
ความยาวตอน90-120 นาที
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ4 มิถุนายน 2560 (2560-06-04) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ประเทศไทย

มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ออกอากาศทางช่อง 7HD ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทยร่วมเข้าแข่งขัน[1][2] (แต่ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นมา ได้เพิ่มเงื่อนไขการรับสมัคร โดยกำหนดให้ผู้สมัครไม่เคยเป็นเชฟ และไม่เคยเรียนหลักสูตรการทำอาหารเกิน 3 เดือน หรือ 180 ชั่วโมง) ดำเนินรายการโดย ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีกรรมการคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)

พิธีกรและกรรมการ[แก้]

ฤดูกาลปกติ[แก้]

กรรมการและพิธีกร ฤดูกาล
1 2 3 ออลสตาร์ส 4 5 6
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม)
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์)
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก)

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์[แก้]

กรรมการและพิธีกร ฤดูกาล
จูเนียร์ 1 จูเนียร์ 2
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม)
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์)
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก)

มาสเตอร์เชฟเซเลบริตี้[แก้]

กรรมการและพิธีกร ฤดูกาล
เซเลบริตี้ 1 เซเลบริตี้ 2 เซเลบริตี้ 3
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม)
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (หม่อมอิงค์)
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก)

กติกาการแข่งขัน[แก้]

รอบคัดเลือก (Auditions)[แก้]

กติกาซีซันที่ 1[แก้]

ในซีซันที่ 1 รอบ 100 คนสุดท้าย ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารที่เตรียมไว้พร้อมนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเป็นเวลา 5 นาที เมื่อหมดเวลาคณะกรรมการจะชิมและตัดสิน โดยใช้เสียงจากกรรมการ 2 ใน 3 เสียง หรือเอกฉันท์เป็นที่สิ้นสุด หาก 2 ใน 3 เสียงให้ไม่ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะตกรอบทันที แต่ในทางกลับกัน หาก 2 ใน 3 เสียงให้ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้รับผ้ากันเปื้อนของรายการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นเข้าสู่รอบต่อไปทันที

รอบที่สอง เป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยในซีซันที่ 1 นั้นจะเป็นการทดสอบการหั่นขิง โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน

กติกาซีซันที่ 2 และ 3[แก้]

ในซีซันที่ 2 ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะต้องแสดงทักษะในการทำอาหารผ่านโจทย์ทดสอบ 2 รอบ ด้วยโจทย์วัตถุดิบหลักที่กำหนด ในแต่ละรอบจะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 5 คน จนเหลือ 20 คนสุดท้าย และจะได้รับผ้ากั้นเปื้อนเพื่อเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริงต่อไป คล้ายกับในซีซันที่ 3 แต่ในรอบแรกจะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบทันที 15 คน และจะเหลือผู้เข้าแข่งขันที่ต้องแข่งต่อในรอบที่สองจำนวน 10 คน เพื่อหาว่าใครเป็นเจ้าของผ้ากันเปื้อน 5 ผืนที่เหลือ

กติกาซีซันที่ 4[แก้]

ในซีซันที่ 4 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งกลุ่มตามความถนัดของตัวเอง กลุ่มละ 3 - 5 คน ในแต่ละรอบจะมีโจทย์วัตถุดิบหลัก 1 อย่าง เพื่อทำอาหาร 1 เมนูในเวลา 45 - 60 นาที โดยแต่ละกลุ่มมีผู้แข่งขันได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบจำนวนเท่าใดก็ได้ หรือไม่มีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบเลยก็ได้ ในรอบนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน และมีผ้ากันเปื้อนทั้งหมด 16 ผืน ดังนั้น หากแข่งขันครบแล้วและยังมีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบไม่ครบทุกคน ผู้ที่ตกรอบบางคนจะได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันรอบแก้ตัวเพื่อหาผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพิ่มเติม

กติกาซีซันที่ 5[แก้]

ในซีซันที่ 5 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 60 คน จะได้รับผ้ากันเปื้อนสีส้มเพื่อทำการแข่งขันในรอบนี้ โดยโจทย์การแข่งขัน คือ การแสดงทักษะขั้นพื้นฐานในการทำอาหารไทย จำนวน 2 รอบ โดยในรอบแรก คือ การทอดไข่ดาว และรอบที่สอง คือ การตำพริกแกงตามสีของสเตชัน ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์จะตกรอบทันที โดยกรรมการจะเข้าไปกระชากผ้ากันเปื้อนของผู้เข้าแข่งขันออก จนเหลือผู้ที่สามารถตำพริกแกงได้ตรงตามโจทย์ จะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริง และรับผ้ากันเปื้อนสีขาว

รอบคัดเลือกรอบนี้ ทางรายการได้มอบโอกาสที่สองแก่ผู้ที่ตกรอบบางคน ให้กลับเข้าแข่งขันอีกครั้ง ผ่านการแข่งขันสองรอบ ได้แก้ ภารกิจแบบทีม และบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ในรอบภารกิจแบบทีม จะต้องเลือกทีมและหัวหน้าทีมกันเอง โจทย์การแข่งขัน คือ การทำอาหารคาวและอาหารหวานจำนวนมากจากวัตถุดิบที่กำหนด ทีมที่ชนะจะได้รับสิทธิ์เลือกผู้เข้าแข่งขันบางคนรับผ้ากันเปื้อนและเข้ารอบทันที ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะต้องแข่งขันต่อกับทีมที่แพ้ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพื่อชิงผ้ากันเปื้อนที่เหลือ

กติกาซีซันที่ 6[แก้]

ในซีซันที่ 6 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะแบ่งออกเป็น 4 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงศักยภาพในการทำอาหารไทยผ่านโจทย์ต่าง ๆ ผู้ที่ทำได้ดีที่สุดจะได้รับผ้ากันเปื้อนเพื่อผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องแข่งขันกันต่อโดยไม่มีการคัดออกระหว่างการแข่งขันจนกว่าจะจบรอบที่ 4

รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)  [แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)[แก้]

ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

รอบกำจัดคนออก (Elimination Test)[แก้]

ในซีซันที่ 4 ตอนที่ 5 และเซเลบริตี้ ซีซัน 2 ตอนที่ 6 เป็นรอบที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารให้ตรงตามต้นฉบับจากเมนูโจทย์ที่ผู้ชนะในรอบกล่องปริศนากำหนดให้ มีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

ในซีซันที่ 5 ตอนที่ 10 ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีม จะต้องเข้ามาแข่งขันในรอบกำจัดคนออกร่วมกับผู้ที่ไม่ได้ถูกเลือกให้เข้าทีม เพื่อหาผู้ที่ออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 1 คน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งกันทำอาหารให้สมบูรณ์ที่สุดและเร็วที่สุด โดยตัดสินจาก การชูวัตถุดิบ รสชาติของอาหาร ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการเวลา ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดทำอาหารเสร็จเป็นคนแรก และวิ่งไปกดปุ่มยุติการแข่งขัน ถือว่า การแข่งขันจะสิ้นสุดลงทันที และมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ จัดจานอาหารให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 2 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน

รอบพิเศษ (Special Round)[แก้]

มักเกิดขึ้นเป็นบางกรณี เช่น การเปลี่ยนรอบกล่องปริศนา เป็นกล่องดำ และจะต้องมีผู้ถูกคัดออกจากการแข่งขันหรือเปลี่ยนกล่องปริศนาเป็นรอบ "โอกาสครั้งที่สอง" ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วได้รับโอกาสแข่งขันและกลับเข้าสู่การแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง

ฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาลปกติ[แก้]

ฤดูกาล ออกอากาศ
ครั้งแรก
ออกอากาศ
ครั้งสุดท้าย
ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน
(เรียงตามลำดับคนออก)
จำนวนผู้แข่งขัน จำนวนตอน
1 4 มิถุนายน 2560 24 กันยายน 2560 ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร ริซ่า อลิษา ดอร์สัน สุรีพร ณ ตะกั่วทุ่ง, พงศกร เจียรสาธิต, อภิพงศ์ เดชสุภา & รุจิกร มั่งมี, มาริษา วิไลโรจน์วรกุล, บุฏกา โรจนัย, ลักษณาวดี ศรีพรสวัสดิ์ & นิกูล พยุงพงษ์, กสิณ เดชเจริญ, สุวิจักขณ์ พฤกษ์ทยานนท์, ธนากร สุวรรณกฏ, สุธากร สุวรรณโชติ, จำลอง ศรีรักษา & ณัฐนิชา บุญเลิศ 16 17
2 4 กุมภาพันธ์ 2561 27 พฤษภาคม 2561 ธนภัทร สุยาว รภัสสรณ์ จิรจุรีย์ชัย (ชื่อเดิม: นลัท จิรวีรกูล) พิชญ์ธาร เลิศอุดมธนา, ชุติกาญจน์ อุปรานุเคราะห์, ภวัต กฤษฤๅนนท์, พันทิวา นิรันดโรภาส, ณิชชา รุ่งโรจน์ธนกุล, นฤพนธ์ กรประเสริฐ, ปุญญเนตร ธนัพประภัศร์, แอนนี่ ปอทเจส, มณีพร พรโชติทวีรัตน์, มินตรา ยลอนันต์ & นลินรัตน์ สมุทรรัตนกุล, สัญญา ธาดาธนวงศ์, อิศรา ดรลีเคน, พงศพล ยังมีสุข, ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข, แบงค์ เจตะสานนท์ & น้ำทิพย์ ภูศรี, คมสันต์ วงค์ษา 20
3 3 กุมภาพันธ์ 2562 9 มิถุนายน 2562 นันทวัฒน์ จรรยาลิขิต พัดชา กัลยาณมิตร
ชานิน จีมะ
กรณ์รวี ฐิติอมรวิทย์ & ปิยากร อวยพร, ณภัทร เหมภัทรสุวรรณ, ศรคม แก้วเสมอตา, ณฐคุณ เหล่านุญชัย, ภาคิน มีจินดา, ชัชชษา อู่พิชิต, สายชล ศรประเสริฐ, ณฐินี เจียมประเสริฐ, เอกรัฐ วชิรทองไพศาล, จิตศักดิ์ หลิมภากรกุล, รภัสสา ศิริเลิศโสภณ, ชานนท์ เรืองศรี, สุชาติ ใจฉ่ำ, สหดล ตันตราพิมพ์, เจสสิก้า หวัง 19
ออล
สตาร์
2 กุมภาพันธ์ 2563 2 สิงหาคม 2563 อี้เหิน หวัง น้ำทิพย์ ภูศรี
ชานิน จีมะ
นิกูล พยุงพงศ์, สุชาติ ใจฉ่ำ, อิศรา ดรลีเคน, มณีพร พรโชติทวีรัตน์, ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข, รภัสสา ศิริเลิศโสภณ, จำลอง ศรีรักษา, ชานนท์ เรืองศรี, สหดล ตันตราพิมพ์, จิตศักดิ์ หลิมภากรกุล, พัดชา กัลยาณมิตร, ณัฐนิชา บุญเลิศ & คมสันต์ วงค์ษา, สัญญา ธาดาธนวงศ์ & อลิษา ดอว์สัน, รภัสสรณ์ จิรจุรีย์ชัย & แบงค์ เจตะสานนท์ 20
4 21 กุมภาพันธ์ 2564 11 กรกฎาคม 2564 พรชนัน พัฒนาปัญญาสัตย์ ณัฐวัฒน์ เกษมวิลาศ
ปณิธี ตั้งศตนันท์
อิสสลา ธนาดำรงศักดิ์, ปฐมาภรณ์ อนุวนาวงศ์, ธัญวลัย เลิศรัฐพงษ์, เวชกร เจริญปัญญาวุฒิ, ณัฐนันท์ ชุติมาจิรัฐติกร, อนันต์ รักดี, ฐณะวัฒน์ ชูประเสริฐโชค, พัชรมณฑ์ เจริญชัย & จิตนเร บุญแสงวัฒน์, ภูรินท์ พัฒนวิริยะวาณิช, ภัคพงศ์ สังข์วิเศษ, ชัชวาร บุญทอง, ธนพร ตีรณะวาณิช 16
5 13 กุมภาพันธ์ 2565 19 มิถุนายน 2565 อังศ์กฤษฏิ์ เชื้ออ่ำ ชนิดาภา พรพินิต แทนพล เลิศฤทธิ์เดชา & ไพลิน แจ้งประจักษ์ & สุเมศ วิโรจน์ชัยยันต์, ทวีโชค ชาญณรงค์, ตฤณพงศ์ จุลพรรค์ , เทพนิมิตร ปรีชาญาณ, อลิสา โถสัมฤทธิ์ & โสภณ ภูมิรัตนวงศ์ & สุรเชษฐ์ ช่วยแทน, ศรัณย์ อัศวานุชิต & ศุภนาถ เต็มรัตน์ & สุรวดี มีแสงพราว, พงษ์สุวรรณ รัตนสุวรรณ, สิทธิพร สุวรรณรัตน์, ทอฝัน แม๊คเคย์ & ธัชศินี เกียรติคุณพันธุ์, อนุวัฒน์ วัดพ่วง & วรท พานิชวิทย์ พิณแพทย์ & มิเชล เจนติลี, จำเริญ สุธรรมโกศล, พิมพ์ทิพย์ เป้าศิลา, ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์ & จิรายุ เจษฎากรชัย, ยุพดี สัตตะรุจาวงษ์, แบรด ชื่นสมทรง 27 18
6 (อาหารไทย) 11 มิถุนายน 2566 8 ตุลาคม 2566 วลาสุระ ณ ลำปาง อารยา ศิริแวว
วสุรัตน์ แก้ววิชิต
ละเอียด กรองทอง, นวรัตน์ สุวรรณสินธุ์, ปริชญาอร จุ่นขจร, อวิรุทธ เมฆสุวรรณ, กอบกฤต เกษตรากสิกรรม, ไวภพ ยอดแสวง, ฮุซนี อาดหมัน, รณกร เฮงสกุลวัฒน์ & ณัชพล ประกอบนา, พรวิภา นาคสกุล, ทิฎฐิพงษ์ ศรีวิไล, ณัฐพล ประทุมศรีสาคร & พินทุ์สุดา สังข์ทอง & ธมนวรรณ เสตะปุระ 17 17

ฤดูกาลพิเศษ[แก้]

ฤดูกาล ออกอากาศ
ครั้งแรก
ออกอากาศ
ครั้งสุดท้าย
ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน
(เรียงตามลำดับคนออก)
จำนวนผู้แข่งขัน จำนวนตอน
จูเนียร์ 1 19 สิงหาคม 2561 9 ธันวาคม 2561 ชนัญชิดา พงษ์เพ็ชร สิริศักดิ์ มาทอง
ภาวริสร์ พานิชประไพ
นาโน & ราฟาแอล, เอ็นดู & แพรว, ซีนาย & เมล, แทน & เคซี, กัปตัน & สตังค์, อลิช & ริต้า, ชาช่า & ภูมิ, บูม & น้ำใส, อชิ & พอใจ, กอหญ้า & พีช, อัยริน, จัสมิน & เชน 26 16
จูเนียร์ 2 22 กันยายน 2562 22 ธันวาคม 2562 พริมา สิงหะผลิน คีตกานท์ พงษ์ศักดิ์
วีรวิน เลิศบรรณพงษ์
เฟิร์น สุประวีณ์ & สตางค์ ธาดา, ภูมิใจ ศศิชา & เอพริล ภูวริศา, โกะ ณัชชา & ริสา มาริสา, แพท ชณิชา & เฟิร์ส ภควัฒน์, ฟิจิ กฤตภาส & มะกร ภุม ผนินทร, อิ่ม จิดาภา & โมสต์ ภูรี, จินจิน อินทร์ริตา & เคนเน็ธ เคนเน็ธ, พรีม ประวีร์รัชย์ & จัสติน ณัฐสกนธ์, รันย่า พิลันยา & ฟุ้ย พศิน, เฌอแตม ญาณิณีศ์, ตั้น ภาคิน & ปาร์แมน ปุญญพัฒน์, ชูบี้ จิรัชญา & เนลล์ กรรัมภา, เฟย์ รรกร & พอดี พอดี, 28 14
เซเลบริตี้ 1 1 พฤศจิกายน 2563 20 ธันวาคม 2563 พิชญ์ กาไชย ปฏิภาณ ปฐวีกานต์
หนึ่งธิดา โสภณ
ปวีณ์นุช แพ่งนคร
ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล, ภัครมัย โปตระนันทน์, ภัณฑิลา ฟูกลิ่น, พิมรา เจริญภักดี, สมพล ปิยะพงศ์สิริ, ชินวุฒิ อินทรคูสิน 10 8
เซเลบริตี้ 2 3 ตุลาคม 2564 26 ธันวาคม 2564 อรรณพ ทองบริสุทธิ์ พัสกร พลบูรณ์
ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล
คาร์โรไลน์ เอมมา สปริงเก็ตต์, สิรีภรณ์ ยุกตะทัต, นลิน โฮเลอร์, ธนทัต ชัยอรรถ, อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์, ภพธร สุนทรญาณกิจ, ณิชาภัทร ฉัตรชัยพลรัตน์, ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ, ธันวา สุริยจักร
12 11
เซเลบริตี้ 3 9 ตุลาคม 2565 25 ธันวาคม 2565 ดรุณี สุทธิพิทักษ์ อรจิรา แหลมวิไล
พงศกร โตสุวรรณ
เขมรัชต์ สุนทรนนท์

วรยศ บุญทองนุ่ม, สุรัตนาวี ภัทรานุกุล, วรินดา ดำรงผล, ธีระชาติ ธีระวิทยากุล, จุติ จำเริญเกตุประทีป, อาทิตย์ สมน้อย, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค, ปิยา พงศ์กุลภา, ปองศักดิ์ รัตนพงษ์, มณีรัตน์ คำอ้วน

14 12

รางวัล[แก้]

ปี พ.ศ. ผู้มอบรางวัล สาขารางวัล ผลการตัดสิน
2561 ดาราเดลี่ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 7 รายการโทรทัศน์ที่สุดแห่งปี ชนะ
ฟีเวอร์ อวอร์ด ครั้งที่ 4 รายการโทรทัศน์ฟีเวอร์ ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 รายการวาไรตี้ยอดเยี่ยม ชนะ
2562 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 รายการเกมส์โชว์ยอดเยี่ยม ชนะ
2563 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 11 รายการเกมส์โชว์ยอดเยี่ยม ชนะ
INTERNATIONAL EMMY AWARDS ครั้งที่ 48 Non-Scripted Entertainment เสนอชื่อเข้าชิง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. news.ch7. "รับสมัครมาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย พร้อมชิงเงินรางวัล 1 ล้านบาท พร้อมเป็นมาสเตอร์เชฟคนแรกของประเทศไทย". สืบค้นเมื่อ 23 Mar 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  2. "กิติกร เพ็ญโรจน์ เสิร์ฟรสดราม่า ในมาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์". Posttoday. สืบค้นเมื่อ 23 Mar 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]