ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 180.180.217.173 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Slentee
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 80: บรรทัด 80:
== พายุ ==
== พายุ ==
===พายุโซนร้อนปาบึก===
===พายุโซนร้อนปาบึก===

{{กล่องข้อมูล ฤดูพายุหมุนเขตร้อน (เล็ก)
|Basin=WPac
|Formed=31 ธันวาคม 2561
|Dissipated=4 มกราคม 2562 <small>([[ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562#พายุไซโคลนปาบึก|ออกนอกแอ่ง]])</small>
|Image=Pabuk 2019-01-04 0640Z.jpg
|Track=Pabuk 2019 track.png
|10-min winds=45
|10-min winds(TMD)=45
|1-min winds=50
|Pressure=994
}}
*'''วันที่ 28 ธันวาคม 2561''' หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นใน[[ทะเลจีนใต้]]ตอนล่าง<ref>{{cite web |title=97W INVEST |url=https://www.nrlmry.navy.mil/tcdat/tc18/WPAC/97W.INVEST/trackfile.txt |publisher=[[United States Naval Research Laboratory]] |accessdate=1 January 2019 |archiveurl=https://www.webcitation.org/756BcJxAO |archivedate=28 December 2018 |date=28 December 2018}}</ref>
*'''วันที่ 28 ธันวาคม 2561''' หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นใน[[ทะเลจีนใต้]]ตอนล่าง<ref>{{cite web |title=97W INVEST |url=https://www.nrlmry.navy.mil/tcdat/tc18/WPAC/97W.INVEST/trackfile.txt |publisher=[[United States Naval Research Laboratory]] |accessdate=1 January 2019 |archiveurl=https://www.webcitation.org/756BcJxAO |archivedate=28 December 2018 |date=28 December 2018}}</ref>
*'''วันที่ 30 ธันวาคม 2561''' หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวดูดซึมผสานเข้ากับเศษที่หลงเหลือของ[[ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561#พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W (อุสมัน)|พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W]]<ref>{{cite web |title=Tropical Depression 35W (Thirtyfive) Warning Nr 023 |url=http://tgftp.nws.noaa.gov/data/raw/wt/wtpn31.pgtw..txt |publisher=Joint Typhoon Warning Center |accessdate=1 January 2019 |archiveurl=https://www.webcitation.org/756CTgiv8 |archivedate=1 January 2019 |date=30 December 2018}}</ref>
*'''วันที่ 30 ธันวาคม 2561''' หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวดูดซึมผสานเข้ากับเศษที่หลงเหลือของ[[ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561#พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W (อุสมัน)|พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W]]<ref>{{cite web |title=Tropical Depression 35W (Thirtyfive) Warning Nr 023 |url=http://tgftp.nws.noaa.gov/data/raw/wt/wtpn31.pgtw..txt |publisher=Joint Typhoon Warning Center |accessdate=1 January 2019 |archiveurl=https://www.webcitation.org/756CTgiv8 |archivedate=1 January 2019 |date=30 December 2018}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:50, 14 มกราคม 2562

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัวฤดูกาลยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อปาบึก
 • ลมแรงสูงสุด85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด994 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด1 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด1 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด9 คน
ความเสียหายทั้งหมด101.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2560, 2561, 2562, 2563, 2564

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 เป็นเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนที่กำลังดำเนินอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2562 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พายุลูกแรกจองฤดูกาลนี้ชื่อว่า ปาบึก ก่อตัวเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 1 มกราคม และกลายเป็นพายุโซนร้อนที่ก่อตัวขึ้นเร็วที่สุดในบันทึกของแอ่งแปซิฟิกตะวันตก

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกายังได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย

ภาพรวมฤดูกาล

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

พายุโซนร้อนปาบึก

  • วันที่ 28 ธันวาคม 2561 หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ตอนล่าง[1]
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2561 หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวดูดซึมผสานเข้ากับเศษที่หลงเหลือของพายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W[2]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เนื่องมาจากลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรง หย่อมความกดอากาศต่ำจึงไม่เป็นระบบกระทั่งวันที่ 31 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ตอนล่าง[3] ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับระบบดังกล่าวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน และให้รหัสเรียกว่า 36W[4]
  • วันที่ 1 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า ปาบึก (Pabuk) การปรับดังกล่าวทำให้ปาบึก กลายเป็นพายุลูกแรกของฤดูกาล 2562 และกลายเป็นพายุที่โดดเด่นกว่าพายุอลิซ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวเป็นพายุโซนร้อนได้เร็วที่สุด ในบันทึกของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ[5] ในขณะที่พายุอยู่ห่างจากโฮจิมินห์ ซิตี ประเทศเวียดนามไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 650 กม. โดยมีศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำเปิดออกเป็นบางส่วน[6] ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเกี่ยวกับพายุโซนร้อนปาบึก โดยคาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยในวันที่ 2–3 มกราคม และส่งผลกระทบกับภาคใต้ในวันที่ 3–5 มกราคม[7]
  • วันที่ 3 มกราคม ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีที่มีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่น การไหลออกในแนวขั้วอย่างดีเยี่ยม แต่มีลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรง ทำให้พายุปาบึก ต้องดิ้นรนที่จะทวีกำลังแรงขึ้น จนกระทั่งมันเคลื่อนตัวเร่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเฉตะวันตก และเข้าสู่อ่าวไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีลมเฉือนในแนวตั้งน้อยกว่า และกลายเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกที่พัดเข้าสู่อ่าว นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้าในปี พ.ศ. 2547 ยิ่งไปกว่านั้น มันยังพยายามที่จะสร้างตาพายุขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นโดยภาพถ่ายในช่วงคลื่นไมโครเวฟ[8]
  • วันที่ 4 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า พายุปาบึกขึ้นฝั่งที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเวลา 12:45 น. ตามเวลาในประเทศไทย (05:45 UTC) แม้ว่าหน่วยงานอื่น ๆ จะชี้ว่าพายุปาบึกจะขึ้นฝั่งในระหว่างเวลา 06:00 ถึง 12:00 UTC (13:00 ถึง 19:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ก็ตาม[9] ทำให้ปาบึก เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกที่พัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ นับตั้งแต่พายุโซนร้อนลินดา เมื่อปี พ.ศ. 2540 ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามพายุต่อจนออกการวิเคราะห์ครั้งสุดท้ายในเวลา 12:00 UTC (หรือตรงกับ 19:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)[10][11]

ในประเทศเวียดนาม พายุปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคน[12] และทำให้เกิดความเสียหายประมาณ 2.787 หมื่นล้านด่ง (ประมาณ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 38 ล้านบาท)[13] ส่วนในประเทศไทย ซึ่งพายุปาบึกพัดขึ้นฝั่ง มีผู้เสียชีวิตจำนวนแปดรายในจำนวนนี้เป็นชาวรัสเซียหนึ่งราย[14][15] และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 3.2 พันล้านบาท (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[16] นอกจากนี้ปาบึกยังทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 1 รายในประเทศมาเลเซีย[17]

วันที่ 3 มกราคม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการอพยพประชาชนกว่า 3 หมื่นคนออกจากพื้นที่ริมชายฝั่ง[18] ท่าอากาศยานบางแห่งในภาคใต้ต้องหยุดให้บริการชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชและท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี[19][20] ทั้งยังมีรายงานการอพยพผู้คนในพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร อำเภอระโนดในจังหวัดสงขลา[21][22][23] เมื่อพายุขึ้นฝั่งที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว[24] อิทธิพลจากพายุยังทำให้เกิดไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ มีผู้ได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าดับกว่าห้าหมื่นแปดพันคน[25] ในบางพื้นที่มีรายงานเสาไฟฟ้าและต้นไม้ล้ม[26] และยังทำให้เกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ รวมถึงมีบ้านเรือนเสียหายอย่างน้อย 1,500 หลัง[27]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 4 – 6 มกราคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)

วันที่ 4 มกราคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้พื้นที่การแปรปรวนของลมในเขตร้อน ที่อยู่ทางตอนเหนือของไบรีกีเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสว่า 01W และคาดว่าจะมีการทวีกำลังแรงขึ้นได้บ้าง[28] แต่พายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นล้มเหลวในการก่อตัว ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับมันลงเป็นการแปรปรวนของลมในเขตร้อนดังเดิมในวันที่ 6 มกราคม[29]

รายชื่อพายุ

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างกำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนมีสองชื่อ[30] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีได้ที่ 65 km/h (40 mph)[31] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบ ตั้งอยู่ระหว่าง 135°ดะวันออก และ 115°ตะวันออก และระหว่าง 5°เหนือ และ 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[30] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอดถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[31] หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ถูกใช้จนหมดไป หลังจากนั้นจะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติมซึ่งถูกกำหนดขึ้นในแต่ละฤดูกาล

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[32] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[33] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุถ้ามันถูกใช้ โดยชื่อที่ยังไม่ถูกใช้จะถูกทำเป็น อักษรสีเทา

ชุดที่ 2
  • ปาบึก (1901)
  • หวู่ติ๊บ (ยังไม่ใช้)
  • เซอปัต (ยังไม่ใช้)
  • มูน (ยังไม่ใช้)
  • ดานัส (ยังไม่ใช้)
  • นารี (ยังไม่ใช้)
  • วิภา (ยังไม่ใช้)
  • ฟรานซิสโก (ยังไม่ใช้)
  • เลกีมา (ยังไม่ใช้)
  • กรอซา (ยังไม่ใช้)
  • ไป๋ลู่ (ยังไม่ใช้)
  • โพดุล (ยังไม่ใช้)
  • เหล่งเหลง (ยังไม่ใช้)
  • คาจิกิ (ยังไม่ใช้)
  • ฟ้าใส (ยังไม่ใช้)
  • เผ่ย์ผ่า (ยังไม่ใช้)
  • ตาปะฮ์ (ยังไม่ใช้)
  • มิแทก (ยังไม่ใช้)
  • ฮากีบิส (ยังไม่ใช้)
  • นอกูรี (ยังไม่ใช้)
  • บัวลอย (ยังไม่ใช้)
  • แมตโม (ยังไม่ใช้)
  • หะลอง (ยังไม่ใช้)

ชุดที่ 3

  • นากรี (ยังไม่ใช้)
  • เฟิงเฉิน (ยังไม่ใช้)
  • คัลแมกี (ยังไม่ใช้)
  • ฟงวอง (ยังไม่ใช้)
  • คัมมูริ (ยังไม่ใช้)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[34] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566) ด้วย[34] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น ลีไวไว (Liwayway) และนิมฟา (Nimfa) ที่ถูกนำมาแทน ลันโด (Lando) และโนนา (Nona) ที่ถูกถอนไป[34] โดยชื่อที่ไม่ยังถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

  • อามัง (Amang) (ยังไม่ใช้)
  • เบตตี (Betty) (ยังไม่ใช้)
  • เชเดง (Chedeng) (ยังไม่ใช้)
  • โดโดง (Dodong) (ยังไม่ใช้)
  • เอไก (Egay) (ยังไม่ใช้)
  • ฟัลโกน (Falcon) (ยังไม่ใช้)
  • โกริง (Goring) (ยังไม่ใช้)
  • ฮันนา (Hanna) (ยังไม่ใช้)
  • อีเนง (Ineng) (ยังไม่ใช้)
  • เจนนี (Jenny) (ยังไม่ใช้)
  • กาบายัน (Kabayan) (ยังไม่ใช้)
  • ลีไวไว (Liwayway) (ยังไม่ใช้)
  • แมริลิน (Marilyn) (ยังไม่ใช้)
  • นิมฟา (Nimfa) (ยังไม่ใช้)
  • โอนโยก (Onyok) (ยังไม่ใช้)
  • เปร์ลา (Perla) (ยังไม่ใช้)
  • กีเยล (Quiel) (ยังไม่ใช้)
  • ราโมน (Ramon) (ยังไม่ใช้)
  • ซาราห์ (Sarah) (ยังไม่ใช้)
  • ตีโซย (Tisoy) (ยังไม่ใช้)
  • อูร์ซูลา (Ursula) (ยังไม่ใช้)
  • บีริง (Viring) (ยังไม่ใช้)
  • เวง (Weng) (ยังไม่ใช้)
  • โยโยย (Yoyoy) (ยังไม่ใช้)
  • ซิกซัก (Zigzag) (ยังไม่ใช้)

รายชื่อเพิ่มเติม

  • อาเบ (Abe) (ยังไม่ใช้)
  • เบร์โต (Berto) (ยังไม่ใช้)
  • ชาโร (Charo) (ยังไม่ใช้)
  • ดาโด (Dado) (ยังไม่ใช้)
  • เอสโตย (Estoy) (ยังไม่ใช้)
  • เฟลีโยน (Felion) (ยังไม่ใช้)
  • เฮนิง (Gening) (ยังไม่ใช้)
  • เฮอร์มัน (Herman) (ยังไม่ใช้)
  • อีร์มา (Irma) (ยังไม่ใช้)
  • ไฮเม (Jaime) (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2562 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ปาบึก 31 ธันวาคม 2561 –
4 มกราคม 2562
พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะสแปรตลี
อินโดนีเซีย หมู่เกาะนาตูนา
เวียดนาม เวียดนาม
มาเลเซีย มาเลเซีย
ไทย ไทย
ประเทศพม่า พม่า
&0000000101200000000000101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10 [12][14][15][17]
สรุปฤดูกาล
1 ลูก 31 ธันวาคม 2561–
ฤดูกาลยังดำเนินอยู่
  85 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท)   &0000000101200000000000101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "97W INVEST". United States Naval Research Laboratory. 28 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  2. "Tropical Depression 35W (Thirtyfive) Warning Nr 023". Joint Typhoon Warning Center. 30 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  3. "WTPQ20 RJTD 011500". Japan Meteorological Agency. January 1, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2019.
  4. "WTPQ20 RJTD 011500". Joint Typhoon Warning Center. January 1, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2019.
  5. "WTPQ20 RJTD 010600". Japan Meteorological Agency. January 1, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2019.
  6. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 36W (Thirtysix) Warning Nr 005". Joint Typhoon Warning Center. 1 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  7. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ "ปาบึก" (PABUK) ฉบับที่ 6 (4/2562)" (PDF). Thai Meteorological Department. January 1, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 1, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2019.
  8. "JTWC/36W/#16/01-04 00Z Prognostic Reasoning". Joint Typhoon Warning Center. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  9. "Weather Warning "Tropical Storm "PABUK"" No. 18 Time Issued January 4, 2019". Thai Meteorological Department. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  10. "WTPQ20 RJTD 041200 RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  11. "WTPQ30 RJTD 041200 RSMC Tropical Cyclone Prognostic Reasoning Reasoning No.18 for TS 1901 Pabuk (1901)". Japan Meteorological Agency. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  12. 12.0 12.1 "Bão số 1 áp sát miền Tây: Sập nhà, 1 người chết" (ภาษาVietnamese). VietNamNet. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 4, 2019.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  13. Trương, Huyền (January 6, 2019). "Hậu quả do bão số 1: Còn 2 người mất tích, thiệt hại ước tính 30 tỷ đồng" (ภาษาVietnamese). Báo Kinh Tế Đô Thị. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  14. 14.0 14.1 Panpetch, Sumeth (January 3, 2019). "Thailand braces for powerful storm at southern beach towns". Associated Press. สืบค้นเมื่อ January 4, 2019.
  15. 15.0 15.1 "Thai preparedness limits Pabuk damage". The Thaiger. January 11, 2019. สืบค้นเมื่อ January 11, 2019.
  16. Saksornchai, Jintamas (January 7, 2019). "Pabuk leaves 4 dead, billions of Baht in damage". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ January 7, 2019.
  17. 17.0 17.1 "罔顧「帕布」風暴來襲警報2男子冒險出海遇巨浪釀1死" (ภาษาChinese). Oriental Daily News. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 4, 2019.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  18. "แหลมตะลุมพุกร้าง อพยพ 3 หมื่นชีวิตหนีตาย จ่อรับ พายุปาบึก ถล่มที่แรก". khaosod.co.th. January 3, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  19. "ประกาศปิดสนามบินนครศรีธรรมราช หนีพายุ ปาบึก 4 ม.ค. นี้ ยกเลิกทุกเที่ยวบิน!". khaosod.co.th. January 3, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  20. "ผวาภัย "พายุปาบึก" ปิดสนามบินสุราษฎร์ธานีตั้งแต่ 4 โมงเย็นวันนี้". sanook.com. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  21. "'สุราษฎร์ฯ'สั่งอพยพด่วน ฤทธิ์'ปาบึก'อ่าวไทยฝนถล่ม". dailynews.co.th. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  22. "พายุปาบึกใกล้ขึ้นฝั่ง! "ชุมพร"สั่งอพยพ ชาวบ้าน 4 อำเภอริมทะเล". pptvhd36.com. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  23. "สงขลา อพยพชาวบ้านในพื้นเสี่ยงภัย อ.ระโนด หนีพายุปาบึกแล้ว". workpointnews.com. January 3, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  24. "Breaking news : ขึ้นฝั่งแล้ว! "พายุปาบึก" เข้าที่ ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช". springnews.co.th. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  25. "พิษ"ปาบึก"ทำไฟดับหลายจุด"กฟภ."ระดม30ทีมทยอยกู้คืนระบบเร่งด่วน". mgronline.com. January 5, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  26. "ผ่าน 4 ชั่วโมง "พายุปาบึก" ถล่มนครศรีฯ ไฟดับ โซเชียลเริ่มสะดุด". thairath.co.th. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  27. "ฤทธิ์ปาบึก! นราธิวาส 5 อำเภอ บ้านพัง 1,500 หลัง ผู้ว่าฯชี้สถานการณ์ยังไม่นิ่ง". khaosod.co.th. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 10, 2019.
  28. "Tropical Depression 01W (One) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
  29. "Tropical Depression 01W (One) Warning Nr 008". Joint Typhoon Warning Center. 6 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
  30. 30.0 30.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  31. 31.0 31.1 The Typhoon Committee (21 กุมภาพันธ์ 2556). "Typhoon Committee Operational Manual 2013". World Meteorological Organization. pp. 37–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  33. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. 34.0 34.1 34.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น