ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว13 กันยายน พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเคนเนท
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด934 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด15 ลูก
พายุดีเปรสชันทั้งหมด15 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด15 ลูก (สถิติสูงที่สุด)
พายุไซโคลนเขตร้อน11 ลูก (สถิติสูงที่สุด)
พายุไซโคลนรุนแรง10 ลูก (สถิติสูงที่สุด)
พายุไซโคลนรุนแรงมากไม่มี
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 1,086 คน
(สถิติสูงสุดอันดับสองในแอ่งฯ)
ความเสียหายทั้งหมด≥ 3.201 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
(สถิติความเสียหายสูงที่สุดในแอ่งฯ)
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก–ใต้
2559–60, 2560–61, 2561–62, 2562–63, 2563–64

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562 เป็นฤดูกาลในอดีตของวัฏจักรรายปีของการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อน ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลสร้างความเสียหายสูงที่สุดและยังเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดในแอ่งฯ นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา รวมถึงยังเป็นฤดูที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากฤดูกาล พ.ศ. 2434–2435 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนในมอริเชียส พ.ศ. 2435 สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อเกาะมอริเชียส[1] โดยฤดูกาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 และไปสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยมีข้อยกเว้นสำหรับมอริเชียสและเซเชลส์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 วันที่เหล่านี้เป็นช่วงเวลาตามธรรมเนียมนิยมซึ่งเป็นช่วงจำกัดของแต่ละปี ซึ่งมีพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนก่อตัวภายในแอ่ง ภายในทางตะวันตกของเส้น 90 °ตะวันออก และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแอ่งนี้จะได้รับการเฝ้าระวังโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในเรอูนียง

พายุหมุนเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลนี้คือพายุโซนร้อนกำลังปานกลางไม่มีชื่อ ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาดากัสการ์เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นเวลาสองเดือนก่อนที่ฤดูกาลอย่างเป็นทางการจะเริ่มต้นขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสองลูก ได้แก่ พายุไซโคลนรุนแรงอัลซีด์ ซึ่งก่อตัวขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน และพายุโซนร้อนกำลังแรงบูชรา เดือนธันวาคมมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสองลูก มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไซโคลนรุนแรงทั้งสองลูก ได้แก่ ซีลีดา และ เกอนางา โดยพายุไซโคลนรุนแรงเกอนางาเคลื่อนตัวข้ามมาจากภูมิภาคออสเตรเลีย ส่วนชื่อ เกอนางา เป็นชื่อที่ตัวพายุได้รับมาจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนจาการ์ตา เดือนมกราคมมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสองลูก มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางทั้งสองลูก ได้แก่ เดสมอนด์ และ เอเกตแซง ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสี่ลูก มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไซโคลนรุนแรงทั้งสี่ลูก ได้แก่ ฟูนานี, เจเลนา, ฮาเลฮ์ และ อิดาอี ต่อมา ซะแวนนาห์ ได้เคลื่อนตัวข้ามมาจากแอ่งภูมิภาคออสเตรเลียอีกหนึ่งลูก และกลายเป็นพายุไซโคลนรุนแรงลูกที่สองของเดือนมีนาคม ในบรรดาพายุเหล่านี้ ยกเว้น ฮาเลฮ์ และ ซะแวนนาห์ ล้วนมีผลกระทบต่อแผ่นดินทั้งสิ้น ซึ่งพายุอิดาอีทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1,007 คนในประเทศโมซัมบิก ประเทศมาลาวี และประเทศมาดากัสการ์[2][3] ฤดูกาลนี้สร้างสถิติใหม่ของจำนวนพายุไซโคลนรุนแรง โดยมีจำนวนของพายุไซโคลนรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่ยุคที่มีดาวเทียมครอบคลุมใน พ.ศ. 2510

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้
  หย่อมความกดอากาศต่ำ/การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (≤50 กม./ชม.)   พายุไซโคลน (118–165 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน/พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน (51–62 กม./ชม.)   พายุไซโคลนรุนแรง (166–212 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (63–88 กม./ชม.)   พายุไซโคลนรุนแรงมาก (≥212 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)

ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และไปสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 เว้นแต่มอริเชียสและเซเชลส์ที่ฤดูกาลจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

พายุ[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง 01[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 17 กันยายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 13 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน (หรือพายุโซนร้อนตามมาตรา SSHWS) ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของดีเอโกการ์ซีอา[4] ระบบมีเส้นทางเดินไปทางตะวันตกเฉียงใต้ค่อนใต้ การจัดระบบในพายุเป็นไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิ 26 ถึง 27 องศาและลมเฉือนกำลังปานกลาง[5]
  • วันที่ 16 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนเริ่มอ่อนกำลังลง หลังจากที่ระบบเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
  • วันที่ 17 กันยายน เมเตโอ-ฟร็องส์ และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมต่างออกประกาศฉบับสุดท้ายกับพายุ และพายุได้สลายตัวไปในที่สุด[6]

ในการวิเคราะห์หลังพายุ (Post-storm analysis) ระบบพายุได้ถูกปรับเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง แต่ไม่มีการตั้งชื่อให้กับพายุลูกนี้[7]

พายุไซโคลนรุนแรงอัลซีด์[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์[8] โดยระบบพายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้เฉตะวันตกก่อนจะเบนทิศทางไปทางใต้
  • วันที่ 7 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อ อัลซีด์ (Alcide)[9] ต่อมาในเวลา 06:00 UTC อัลซีด์ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน[10]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 06:00 UTC อัลซีด์ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนรุนแรง โดยมีความเร็วลมใน 10 นาทีต่อเนื่อง 90 นอต (165 กม./ชม.)[11] และอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนในอีก 6 ชั่วโมงต่อมา เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เย็นขึ้นและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมน้อยลง[12] อัลซีด์จึงอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีวังวนแอนไทไซโคลนขึ้นทางตะวันออกของปลายสุดด้านเหนือของมาดากัสการ์
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน อัลซีด์อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางในเวลา 12:00 UTC[13]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน ระบบพายุทรุดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นพายุจึงกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเวลา 00:00 UTC และสลายตัวไปในที่สุด[14][15]

พายุโซนร้อนกำลังแรงบูชรา[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังแรง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 19 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงเกอนางา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 (เข้ามาในแอ่ง) – 22 ธันวาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
942 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.82 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 14 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ภายในภูมิภาคออสเตรเลีย จากนั้นมันทวีกำลังแรงขึ้น และได้รับชื่อว่า เกอนางา (Kenanga) โดยระบบมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 16 ธันวาคม เกอนางาเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 19 ธันวาคม เกอนางานทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง

พายุไซโคลนรุนแรงซีลีดา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 24 ธันวาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังปานกลางเดสมอนด์[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 22 มกราคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังปานกลางเอเกตแซง[แก้]

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
ระยะเวลา 22 – 24 มกราคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงฟูนานี[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 10 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงเจเลนา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 14 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
942 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.82 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงฮาเลฮ์[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงอิดาอี[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 16 มีนาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศโมซัมบิก หลังจากนั้นพายุดีเปรสชันได้เคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ และขึ้นฝั่งที่ประเทศโมซัมบิกในเวลาต่อมา
  • วันที่ 6 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 11 ได้รับการเตือนการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนระดับสีเหลืองจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  • วันที่ 7 มีนาคม พายุเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกเฉียงใต้เฉตะวันตก และคงลักษณะความเป็นพายุเขตร้อนตลอดเวลาที่อยู่บนแผ่นดิน
  • วันที่ 8 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 11 อ่อนกำลังลง และเคลื่อนตัวเลี้ยวกลับไปทางตะวันออก
  • วันที่ 9 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลบริเวณช่องแคบโมซัมบิก และเริ่มการจัดระบบขึ้น ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ระบุว่าพายุมีแนวโน้มอย่างสูงท่จะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และต่อมาระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อว่า อิดาอี (Idai)
  • วันที่ 10 มีนาคม อิดาอีเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความรุนแรงเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนใกล้กับเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งระบบได้เรื่มเคลื่อนตัวเลี้ยวกลับไปทางตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง และจากนั้นจึงเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 11 มีนาคม อิดาอีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนรุนแรงลูกที่เจ็ดของฤดูกาล และมีกำลังสูงสุดเป็นพายุไซโคลนรุนแรงระดับ 3
  • วันที่ 12 มีนาคม อิดาอีอ่อนกำลังลงเนื่องจากระบบเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา
  • วันที่ 13 มีนาคม อิดาอีเริ่มเร่งเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก

เมื่อครั้งเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน อิดาอีส่งผลกระทบกับประเทศมาลาวีและประเทศโมซัมบิก ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 577 คน จากเหตุอุทกภัยในประเทศมาลาวี มีผู้ได้รับผลกระทบจากพายุประมาณ 83,000 คน ตอนใต้ของจังหวัดจิกวาวาและจังหวัดนซันเจถูกตัดขาดเนื่องจากอุทกภัย[16] ในประเทศโมซัมบิกมีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 66 ราย และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 141,000 คน สภารัฐมนตรีโมซัมบิกได้ร้องขอเงินจำนวน 1.1 พันล้านเมติคัล (17.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย[17]

พายุไซโคลนรุนแรงซะแวนนาห์[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 17 (เข้ามาในแอ่ง) – 19 มีนาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
962 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.41 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงจัวนินฮา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 30 มีนาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
939 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.73 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนรุนแรงเคนเนท[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 29 เมษายน
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
934 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.58 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 เมษายน เมเตโอ-ฟร็องส์ (MFR) เริ่มออกคำแนะนำกับการแปรปรวนของอากาศเขตร้อน 14 ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาดากัสการ์ จากนั้นระบบได้เลี้ยวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 23 เมษายน ตอนต้นวันระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมาในเวลา 12.00 UTC พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อว่า เคนเนท (Kenneth) กลายเป็นพายุโซนร้อนลูกที่สิบสี่ของฤดูกาล
  • วันที่ 24 เมษายน เคนเนททวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน เคนเนทมีการจัดระบบขึ้นอย่างรวดเร็วขณะกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งโมซัมบิก โดยมีกำลังเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนระดับ 3 ได้ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง และคาดว่าเคนเนทจะพัดเข้าประเทศโมซัมบิกภายในวันดังกล่าวนี้ด้วย และจะนำมาซึ่งอุทกภัยและวาตภัยในประเทศโมซัมบิก ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวเพิ่งถูกโจมตีโดยพายุไซโคลนอิดาอีไป ทำให้เกิดความกังวลว่าวิกฤติด้านมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่จะเลวร้ายลงไปอีกเนื่องจากพายุ[18][19]
  • วันที่ 25 เมษายน เคนเนทมีกำลังสูงสุด เทียบเท่ากับพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 ขณะใกล้พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นเคนเนทได้เข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาและเริ่มอ่อนกำลังลงก่อนที่จะพัดขึ้นฝั่ง ต่อมาในเวลา 18.15 UTC เคนเนทพัดขึ้นฝั่งที่ทางเหนือของเมืองเปมบา ประเทศโมซัมบิกในฐานะเทียบเท่าพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุดใน 1 นาทีที่ 220 กม./ชม.[18] การพัดขึ้นฝั่งนี้ทำให้เคนเนทกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงมากที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก[20] การขึ้นฝั่งของเคนเนทยังเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ของประเทศโมซัมบิก ที่มีพายุหมุนเขตร้อนพัดขึ้นฝั่งถึงสองลูกในฤดูการเดียวกัน[21] เคนเนทอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อพัดขึ้นฝั่งแล้ว ถึงแม้ว่าลักษณะพื้นที่ราบทางตอนเหนือของประเทศโมซัมบิกค่อนข้างเอื้ออำนวยกับพายุก็ตาม ความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาทีของพายุลดลงจาก 205 กม./ชม. เหนือ 65 กม./ชม. ภายในสิบชั่วโมงหลังจากขึ้นฝั่งแล้ว และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน[22]
  • วันที่ 26 เมษายน เคนเนทอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะเคลื่อนที่ลงไปทางใต้
  • วันที่ 27 เมษายน เคนเนทเริ่มเคลื่อนที่เลี้ยวไปทางเหนือ และทำให้มีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นนอกชายฝั่งประเทศโมซัมบิก[23]

เคนเนททำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสิบสองคน ในจำนวนนั้นเจ็ดคนอยู่ในเกาะคอโมโรส[24] และอย่างน้อยห้าคนในประเทศโมซัมบิก[25] ในประเทศโมซัมบิก เคนเนททำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขว้างในเมืองเปมบา โดยมีไฟฟ้าดับอย่างกว้างขวางและต้นไม้หักโค่นจำนวนมาก[26]

พายุไซโคลนโลร์นา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อน (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 เมษายน – 1 พฤษภาคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
964 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 15 ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของมัลดีฟส์ ระบบเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงใต้เฉใต้
  • วันที่ 23 เมษายน ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อว่า โลร์นา (Lorna) ทำให้ฤดูกาล 2561–2562 กลายเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดในแอ่งฯ ในยุคดาวเทียม
  • วันที่ 24 เมษายน โลร์นาเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้งในขณะที่พายุกำลังจัดระบบอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 25 เมษายน โลร์นาทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับความกดอากาศต่ำเขตร้อนขนาดเล็กกว่าทางตะวันออกในแอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย ก่อนจะดูดกลืนระบบนั้นเข้าไปในวันรุ่งขึ้น<[27][28]
  • วันที่ 26 เมษายน โลร์นาเลี้ยวไปทางใต้

รายชื่อพายุ[แก้]

ภายในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนและพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนใดที่ถูกประมาณว่ามีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีที่ 65 กม./ชม. โดยการวัดของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในเกาะลาเรอูนียง ประเทศฝรั่งเศส (RSMC ลาเรอูนียง) พายุลูกดังกล่าวจะได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม ศูนย์เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคย่อยในประเทศมอริเชียสและประเทศมาร์ดากัสการ์จะเป็นผู้กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนแทน โดยศูนย์เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อนภูมิภาคย่อยในประเทศมอริเชียสจะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง ในขอบเขตระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 55 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกถึง 90 องศาตะวันออก ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดที่กำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางในขอบเขตระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 30 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกถึง 55 องศาตะวันออก พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากศูนย์ย่อยในประเทศมาร์ดากัสการ์ ตั้งแต่ฤดูกาล 2559–2560 เป็นต้นมา ชุดรายชื่อที่ใช้ภายในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้จะถูกนำมาวนใช้ในทุก ๆ สามปี โดยชื่อพายุจะถูกใช้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นชื่อพายุใดที่ถูกนำมาใช้แล้วในฤดูกาลนี้จะถูกถอนออกจากการวนใช้ซ้ำ และจะมีการตั้งชื่อขึ้นมาทดแทนในฤดูกาล 2564–2565 ส่วนชื่อพายุใดที่ยังไม่ถูกใช้จะถูกนำไปใช้อีกครั้งในฤดูกาล 2564–2565[29] โดยในฤดูกาล 2561–2562 มีชื่อถูกใช้ทั้งสิ้น 12 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ในฤดูกาล 2561–2562
อัลซีด์ (Alcide) ฮาเลฮ์ (Haleh) โอสการ์ (Oscar) (ไม่ถูกใช้) วิเวียน (Viviane) (ไม่ถูกใช้)
บูชรา (Bouchra) อิดาอี (Idai) ปาเมลา (Pamela) (ไม่ถูกใช้) วอลเตอร์ (Walter) (ไม่ถูกใช้)
ซีลีดา (Cilida) จัวนินฮา (Joaninha) คูเอนติน (Quentin) (ไม่ถูกใช้) แซงกี (Xangy) (ไม่ถูกใช้)
เดสมอนด์ (Desmond) เคนเนท (Kenneth) ราจาบ (Rajab) (ไม่ถูกใช้) เยมูราอี (Yemurai) (ไม่ถูกใช้)
เอเกตแซง (Eketsang) โลร์นา (Lorna) ซาวานา (Savana) (ไม่ถูกใช้) ซาเนเล (Zanele) (ไม่ถูกใช้)
ฟูนานี (Funani) มาอีเปโล (Maipelo) (ไม่ถูกใช้) เตมบา (Themba) (ไม่ถูกใช้)
เจเลนา (Gelena) นจาซี (Njazi) (ไม่ถูกใช้) อูยาโป (Uyapo) (ไม่ถูกใช้)

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้จะแสดงพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนทั้งหมดในช่วงฤดู 2561–2562 ของมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ ซึ่งจะระบุข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความรุนแรง, ช่วงเวลา, ชื่อ, พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ, ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาค (RSMC) ลาเรอูนียง, จำนวนผู้เสียชีวิต และผลกระทบ ซึ่งมาจากรายงาน ข่าว หรือหน่วยงานจัดการด้านภัยพิบัติแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบจะเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ค.ศ. 2018 หรือ 2019 (พ.ศ. 2561 หรือ 2562)

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
01 13 – 17 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง 75 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
อัลซีด์ 6 – 11 พฤศจิกายน พายุไซโคลนรุนแรง 165 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) อาเกลีเก, มาดากัสการ์, แทนซาเนีย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
บูชรา 9 – 19 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เกอนางา 16 – 22 ธันวาคม พายุไซโคลนรุนแรง 185 กม./ชม. 942 hPa (27.82 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซีลีดา 16 – 24 ธันวาคม พายุไซโคลนรุนแรง 215 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) มอริเชียส เล็กน้อย &0000000000000000000000 ไม่มี
เดสมอนด์ 17 – 22 มกราคม พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง 65 กม./ชม. 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) โมซัมบิก, มาดากัสการ์ ไม่ทราบ &0000000000000000000000 ไม่มี
เอเกตแซง 22 – 24 มกราคม พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง 75 กม./ชม. 993 hPa (29.32 นิ้วปรอท) มาดากัสการ์ ไม่ทราบ 27
ฟูนานี 3 – 10 กุมภาพันธ์ พายุไซโคลนรุนแรง 195 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) รอดริเกซ เล็กน้อย &0000000000000000000000 ไม่มี
เจเลนา 4 – 14 กุมภาพันธ์ พายุไซโคลนรุนแรง 205 กม./ชม. 942 hPa (27.82 นิ้วปรอท) มาดากัสการ์, มอริเชียส, รอดริเกซ &00000000010200000000001.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี
ฮาเลฮ์ 28 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม พายุไซโคลนรุนแรง 175 กม./ชม. 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
อิดาอี 4 – 16 มีนาคม พายุไซโคลนรุนแรง 195 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) โมซัมบิก, มาลาวี, มาดากัสการ์, ซิมบับเว, แอฟริกาใต้ &00000010000000000000001 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,007
ซะแวนนาห์ 17 – 19 มีนาคม พายุไซโคลนรุนแรง 165 กม./ชม. 962 hPa (28.41 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
จัวนินฮา 18 – 30 มีนาคม พายุไซโคลนรุนแรง 185 กม./ชม. 939 hPa (27.73 นิ้วปรอท) รอดริเกซ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เคนเนท 21 – 29 เมษายน พายุไซโคลนรุนแรง 215 กม./ชม. 934 hPa (27.58 นิ้วปรอท) เซเชลส์, มาดากัสการ์, หมู่เกาะโคโมโร,
โมซัมบิก, แทนซาเนีย, มาลาวี
&0000000000000000000000 ไม่ทราบ 12
โลร์นา 21 เมษายน – 1 พฤษภาคม พายุไซโคลน 130 กม./ชม. 974 hPa (28.76 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
สรุปฤดูกาล
15 ลูก 13 กันยายน – 1 พฤษภาคม   215 กม./ชม. 934 hPa (27.58 นิ้วปรอท)   ≥2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 1,046


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Masters, Jeff. "Africa's Hurricane Katrina: Tropical Cyclone Idai Causes an Extreme Catastrophe". Weather Underground. สืบค้นเมื่อ 23 March 2019.
  2. "Cyclone Idai damages estimated at $2 billion: World Bank". Yahoo Finance. 12 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
  3. Lynsey Chutel (16 April 2019). "One month later: Cyclone Idai's devastation by the numbers". Quartz Africa. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
  4. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201809140600_1_1_20182019.pdf (in French)
  5. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201809150600_3_1_20182019.pdf (in French)
  6. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201809170600_7_1_20182019.pdf (in French)
  7. "Saisons cycloniques archivées: Tempête Tropicale Modérée 01" (ภาษาฝรั่งเศส). Météo-France. 2018. สืบค้นเมื่อ November 8, 2018.
  8. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811060600_1_2_20182019.pdf (in French)
  9. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811061800_ALCIDE.pdf (in French)
  10. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811070600_ALCIDE.pdf (in French)
  11. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811080600_ALCIDE.pdf (in French)
  12. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811081200_ALCIDE.pdf (in French)
  13. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811091200_ALCIDE.pdf (in French)
  14. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811110000_EX-ALCIDE.pdf (in French)
  15. http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmrs9.0/francais/activiteope/bulletins/cmrs/CMRSF_201811111200_EX-ALCIDE.pdf (in French)
  16. Phiri, Frank (March 13, 2019). "Malawi flooding death toll rises to 56, braced for Cyclone Idai". Reuters. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  17. "Floods kill 66 in Mozambique". Gulf Times. March 13, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  18. 18.0 18.1 Jonathan Belles (24 April 2019). "Tropical Cyclone Kenneth to Bring Feet of Rain, Damaging Winds to Mozambique Weeks After Idai Brings Humanitarian Crisis". The Weather Company. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  19. Brandon Miller; Bukola Adebayo (24 April 2019). "Another tropical cyclone is taking aim at storm-wrecked Mozambique". Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  20. Brandon Miller (25 April 2019). "Cyclone Kenneth: Thousands evacuated as Mozambique is hit with the strongest storm in its history". Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  21. "Tens of thousands evacuated as Cyclone Kenneth hits Mozambique". Al-Jazeera News. 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  22. Overland Depression 14 (Ex-Kenneth): Warning 14 (PDF). Meteo France la Reunion (Report). 26 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 April 2019. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  23. Bulletin for Cyclonic Activity and Significant Tropical Weather in the Southwest Indian Ocean (PDF). Meteo France la Reunion (Report). 27 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 27 April 2019.
  24. "Comoros: Humanitarian Situation Report No #2 - Cyclone Kenneth". Relief Web. UN Children's Fund. 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 28 April 2019.
  25. Anna, Cara (26 April 2019). "New cyclone kills 3 in Mozambique; UN warns of flooding". AP News. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  26. "Cyclone Kenneth: Storm-battered Mozambique hit again". BBC News. 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  27. "Indian Ocean Tropical Weather Advisory". Joint Typhoon Warning Center. 25 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2019. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  28. "Western Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 26 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2019. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  29. Regional Association I Tropical Cyclone Committee (2016). "Tropical Cyclone Operational Plan for the South-West Indian Ocean" (PDF). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 2016-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]