ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2561–2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2561–2562
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว26 กันยายน พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อโปลา
 • ลมแรงสูงสุด165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด950 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด12 ลูก, (ไม่เป็นทางการ 1 ลูก)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด9 ลูก, (ไม่เป็นทางการ 1 ลูก)
พายุไซโคลนเขตร้อน5 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง2 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่มี
ความเสียหายทั้งหมด50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้
2559–60, 2560–61, 2561–62, 2562–63, 2563–64

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2561–62 เป็นช่วงฤดูที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้น 160°ตะวันออก ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ไปจนถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และจะถูกนับรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลด้วย ในตลอดฤดูกาลนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะถูกตรวจสอบโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ในนันจี และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในบริสเบน, ออสเตรเลีย และ เวลลิงตัน, นิวซีแลนด์ นอกจากนั้นยังมี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ซึ่งจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อความสนใจของชาวอเมริกัน

RSMC นันจี จะออกการเตือนภัยโดยแนบหมายเลขและตัวอักษร F ต่อท้ายให้กับพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศที่ก่อตัวขึ้นภายในหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง ในขณที่ JTWC จะให้รหัสเรียกขานกับพายุหมุนเขตร้อน และใช้ตัวอักษร P ต่อท้าย โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี สำนักอุตุนิยมวิทยา และ เมทเซอร์วิส จะใช้มาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลียเป็นหลักและวัดความเร็วลมในช่วงสิบนาที ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะวัดความเร็วลมใน 1 นาที และใข้มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) มาเทียบเคียง

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
  การแปรปรวนของลมในเขตร้อน   พายุไซโคลนระดับ 3 (143–159 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน   พายุไซโคลนระดับ 4 (160–204 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 1 (63–88 กม./ชม.)   พายุไซโคลนระดับ 5 (≥205 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 2 (89–142 กม./ชม.)

พายุ[แก้]

พายุไซโคลนลีอูอา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 (เข้ามาในแอ่ง) – 28 กันยายน (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อนก่อตัวขึ้นในภูมิภาคออสเตรเลีย และระบบได้ข้ามเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกใต้ในวันที่ 26 กันยายน พร้อมทั้งทวีกำลังแรงขึ้น และถูกจัดให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 01F โดย RSMC นันจี[1] ต่อมาพายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า ลีอูอา (Liua)

ลีอูอาเป็นพายุไซโคลนที่ก่อตัวเร็วที่สุดและได้รับชื่อในแอ่งแปซิฟิกใต้ นับตั้งแต่พายุไซโคลนลูซี ในฤดูกาล 2540[2]

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 02F[แก้]

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 11 – 16 พฤศจิกายน
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)

วันที่ 11 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีรายงานว่าการแปรปรวนของลมในเขตร้อน 02F ก่อตัวขึ้นห่างจากกรุงโฮนีอารา หมู่เกาะโซโลมอนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือ ประมาณ 340 กม.[3]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 03F[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 28 ธันวาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนโมนา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 31 ธันวาคม (เข้ามาในแอ่ง) – 7 มกราคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 31 ธันวาคม โมนาเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งในฐานะความกดอากาศต่ำเขตร้อน โดยเคลื่อนตัวมาจากแอ่งออสเตรเลีย
  • วันที่ 3 มกราคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 04F และต่อมาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 1 ตามมาตราออสเตรเลีย
  • วันที่ 7 มกราคม โมนาสลายตัวลง

ผู้คนประมาณ 2,000 คนได้รับการอพยพไปยังศูนย์อพยพ 40 ศูนย์ในช่วงสุดสัปดาห์ มีการปิดการจราจรบนถนนกว่าสามสิบสาย เนื่องจากส่วนมากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและดินถล่ม ประชาชนในลาอูกรุ๊ป (Lau group) ได้รับการเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเผชิญกับพายุเกลและฝนตกหนักในขณะที่โมนาเคลื่อนตัวผ่าน[4]

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 05F[แก้]

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 31 ธันวาคม – 2 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 06F[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 3 – 9 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อน 06F ก่อตัวขึ้นทางเหนือของฟีจี ระบบเคลื่อนตัวไปทางใต้ค่อนไปทางตะวันออกและมีการพยากรณ์ว่ามันจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 1 ขณะที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะนีอูอาโฟอู อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลมเฉือนกำลังแรงและกระแสอากาศเย็นจากทางใต้ของระบบ 06F จึงไม่ทวีกำลังแรงขึ้น

ประเทศตองกาได้รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยส่วนมาก บนเกาะ แรงลมระดับพายุเกลพัดจนต้นกล้วยที่เพาะปลูกไว้หักจนโค่นล้มลงกับพื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับต้นมันสำปะหลังด้วย ระบบพายุได้เข้าขัดขวางการดำเนินงานของโรงเรียนและการขนส่ง ทุกโรงเรียนมีการงดการเรียนการสอนในวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ และการขนส่งทางน้ำและอากาศทั้งหมดถูกระงับไว้ ในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ มีการประกาศเตือนพายุไซโคลนและพายุเกลในประเทศตองกาเกี่ยวกับพายุดีเปรสชันเขตร้อน 06F อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนที่ออกมาในช่วงเดียวกันกลับเป็นการเตือนภัยใหม่ที่เกี่ยวกับพายุดีเปรสชันเขตร้อน 07F ที่เพิ่งก่อตัวขึ้นทางเหนือของฟีจี (ซึ่งจะเป็นพายุเนอีลในภายหลัง) แทน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 06F เป็นหนึ่งในพายุหมุนเขตร้อน 4 ลูกของปีนี้ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับประเทศที่เป็นเกาะภายใน 1 สัปดาห์ (ที่เหลือคือพายุไซโคลนเนอีล, พายุดีเปรสชันเขตร้อน 08F และพายุดีเปรสชันเขตร้อน 10F)

พายุไซโคลนเนอีล[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 10 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศต่ำเขตร้อนพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 07F
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนระดับ 1 และได้รับชื่อว่า เนอีล (Neil) โดยเนลมีความรุนแรงสูงสุดด้วยความเร็วลมใน 10 นาทีที่ 65 กม./ชม.
  • วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เนอีลอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ก่อนจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว

ประเทศตองกาได้รับการเตือนภัยสำหรับพายุเนอีล ขณะที่มันกำลังมีกำลังอยู่ แต่ต่อมาได้มีการยกเลิกคำเตือนเหล่านั้นเมื่อพายุอ่อนกำลังลง โดยไม่มีรายงานความเสียหายทางโครงสร้างจากพายุ[5]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 08F[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 10 – 13 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงโอมา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 (เข้ามาในแอ่ง) – 21 กุมภาพันธ์ (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
974 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.76 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในร่องมรสุมที่มีกำลัง ตามแนวชายฝั่งของวานูอาตู[6]
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเข้ามาในแอ่งแปซิฟิกใต้ โดยถูกจัดให้เป็นพายุไซโคลนระดับ 2 และได้รับชื่อว่า โอมา (Oma)
  • วันที่ 15 กุมภาพันธ์ โอมาทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ โอมามีความรุนแรงสูงสุดครั้งแรกในฐานะพายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 ตามมาตราออสเตรเลีย
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ โอมาอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ก่อนจะทวีกำลังแรงขึ้นมาอีกครั้ง
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ โอมามีกำลังแรงสูงสุดอีกครั้ง
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ โอมาเคลื่อนตัวออกนอกแอ่งแปซิฟิกใต้และกลับเข้าสู่แอ่งภูมิภาคออสเตรเลียอีกครั้งในฐานะพายุไซโคลน โดยอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนระดับ 2 ขณะเคลื่อนตัวเข้าประชิดชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย
  • วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พายุไซโคลนโอมาเคลื่อนตัวข้ามกลับเข้ามาในแอ่งแปซิฟิกใต้อีกครั้ง ในช่วงปลายของวัน โอมาได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อน ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ โอมาเคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ โอมาเลี้ยวไปทางตะวันออกเข้าปกคลุมวานูอาตู
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ โอมาสลายตัวลง

ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง ความเสียหายจากคลื่นที่ซัดชายฝั่ง และ ลมแรงได้เข้าทำลายตอนเหนือของจังหวัดมาลัมปา จังหวัดซันมา และ จังหวัดตอร์บา ของประเทศวานูอาตูเป็นเวลาหลายวัน น้ำขึ้นจากพายุพัดเข้าชุมชมชายฝั่งในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ บางแห่งท่วมลึกเข้าไปในแผ่นดินถึง 50 เมตร บ้านเรือนที่ปลูกสร้างแบบดั้งเดิมหลายแห่งถูกทำลายลง ในขณะที่น้ำจากแม่น้ำได้เอ่อขึ้นท่วมบนถนนหลายสาย ลมที่พัดแรงทำให้ต้นไม้หักโค่นไปทั่วทั้งภูมิภาค การสื่อสารกับจังหวัดตอร์บาถูกขัดขวาง รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถเดินทางไปยังหมู่เกาะตอร์เรสได้[7]

ความเสียหายจากลมที่มีความเร็วถึง 140 กม./ชม. และฝนที่ตกหนักจากพายุหมุนเข้าปะทะในนิวแคลิโดเนีย ผู้บ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือนต้องอยู่อย่างไม่มีกระแสไฟฟ้าและบางหมู่บ้านถูกตัดขาด[8] การเกษตรได้รับผลกระทบอย่างหนักจากรายงานความเสียหายในทุกจังหวัด รัฐบาลฝรั่งเศสได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ โดยมุ่งกำกับด้านการเกษตร ทั้งเกาะต้องใช้เงินรวม 150 ล้านซีเอฟพีฟรังก์ (1.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการฟื้นฟู[9]

โอมายังทำให้เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนสินค้าประเภทเทกองและสินค้าที่เป็นของเหลวจมลง ใกล้กับหมู่เกาะโซโลมอน ทำให้น้ำมันรั่วไหล และต้องใช้งบทำความสะอาดประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 10F[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 11 – 13 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงโปลา[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 23 กุมภาพันธ์ การแปรปรวนของอากาศเขตร้อน 11F ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตองงาและได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ระบบมีการจัดระเบียบอย่างทีละน้อยขณะเคลื่อนตัวไปทางใต้อย่างช้า ๆ
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พายุตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีโดยมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ 28-30 องศาเซลเซียส และมีลมเฉือนแนวตั้งน้อย ทำให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนโปลา ต่อมาโปลาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุไซโคลนระดับ 2
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ โปลาทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ โปลามีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 4 ตามมาตราของออสเตรเลีย โดยมีความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาทีที่ 165 กม./ชม. และมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลาง 950 hPa (มิลลิบาร์)
  • วันที่ 1 มีนาคม โปลาเริ่มอ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้น และลมเฉือนจากบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศนิวซีแลนด์[11]
  • วันที่ 2 มีนาคม โปลาอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน ก่อนจะสลายตัวไปในที่สุด

ความกดอากาศต่ำเขตร้อนแอนน์[แก้]

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 8 – 9 พฤษภาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 7 พฤษภาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM) ได้ระบุว่ามีการพัฒนาขึ้นของความกดอากาศต่ำเขตร้อนกำลังอ่อนภายในร่องความกดอากาศต่ำ ทางตะวันของหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพัฒนา
  • วันที่ 8 พฤษภาคม ระบบเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ และอยู่ทางตะวันออกของกรุงโฮนีอาราในเวลา 00.00 UTC.[6]
  • วันที่ 9 พฤษภาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนเคลื่อนตัวออกนอกแอ่ง และเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย[12]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม จากการสรุปโดยสังเขปพบว่า ระบบได้เลี้ยวกลับเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกใต้อีกครั้งในเวลา 06.00 UTC[13] ในขณะนั้นได้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานเตือนภัยในเรื่องแนวโน้มการพัฒนาขึ้นในอนาคตของความกดอากาศต่ำเขตร้อนขึ้น โดยทางสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้ประเมินว่า ระบบไม่น่าจะทวีกำลังแรงเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ[14] ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมคาดว่าระบบจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในสภาพแวดล้อมที่เอื้อ[15] โดยภายหลังจากกลับเข้ามาในแอ่งได้เป็นเวลาสิบสองชั่วโมง ความกดอากาศต่ำเขตร้อนได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก และออกนอกแอ่งไปอีกครั้ง[16]

ภายหลังความกดอากาศต่ำเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน ได้ได้ชื่อจากสำนักอุตุนิยมวิทยาว่า แอนน์ (Ann) และมีกำลังแรงที่สุดในวันที่ 12 พฤษภาคม[17] ต่อมาระบบได้อ่อนกำลังลงเป็นความกดอากาศต่ำเขตร้อนดังเดิม และพัดขึ้นฝั่งที่ชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรเคปยอร์ก ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 12F[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
Clockwise vortex
ระยะเวลา 16 – 21 พฤษภาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 16 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีเริ่มติดตามการแปรปรวนที่มีความเป็นไปได้ที่จะก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนทางเหนือของฟีจี ในสภาพแวดล้อมที่มีลมเฉือนกำลังปานกลางและอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล 30 องศาเซลเซียส
  • วันที่ 18 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีจัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสเรียกว่า 12F และพยากรณ์ว่าระบบจะเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายใน 12–24 ชั่วโมง และอาจมีความเร็วลมใน 10 นาทีได้ถึง 85 กม./ชม. ต่อมา 12F ได้เริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจีรายงานว่าระบบไม่น่าที่จะมีกำลังขึ้นได้ เนื่องจากลมเฉือนกำลังปานกลาง-แรงที่พัดปกคลุมอยู่ในพื้นที่

รายชื่อพายุ[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนจะถูกตัดสินว่ามีกำลังเป็นพายุไซโคลนเมื่อมันมีความเร็วลมที่ 65 กม./ชม. และจะต้องมีการปรากฏชัดของพายุเกลขึ้นที่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของศูนย์กลางพายุ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนภายในขอบเขตระหว่างเส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก ถึง 20 องศาตะวันตก จะได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) ขณะที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนทางใต้ของเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ในขอบเขตเส้นเมริเดียนเดียวกันกับข้างต้น จะได้รับชื่อจากเมทเซอร์วิซแห่งนิวซีแลนด์ (MetService) ซึ่งทำงานร่วมกันกับกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ส่วนพายุไซโคลนใดที่เคลื่อนตัวมาจากแอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย ซึ่งพายุเหล่านั้นจะได้รับชื่อจากสำนักอุตุนิยมวิทยามาก่อนแล้ว จะคงชื่อเดิมของพายุนั้นไว้[18]

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ในฤดูกาล 2561–2562
ลีอูอา
(Liua)
โมนา
(Mona)
เนอีล
(Neil)
โอมา
(Oma)
โปลา
(Pola)

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 160°ตะวันออก ในฤดูกาล 2561–62 ซึ่งจะใช้มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย ซึ่งในตารางจะแสดงช่วงเวลา, ชื่อ, พื้นที่ผลกระทบ, ผู้เสียชีวิต, และความเสียหาย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมาจาก RSMC นันจี และ/หรือ ศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในเวลลิงตัน, และความเสียหายทั้งหมดใช้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2018

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ลีอูอา 26 – 28 กันยายน พายุไซโคลนระดับ 1 75 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน ไม่มี ไม่มี
02F 11 – 16 พฤศจิกายน การแปรปรวนของลมในเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1003 hPa (29.62 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน ไม่มี ไม่มี
03F 28 ธันวาคม – 1 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, ฟีจี ไม่มี ไม่มี
โมนา 31 ธันวาคม – 7 มกราคม พายุไซโคลนระดับ 2 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, ฟีจี ไม่มี ไม่มี
05F 31 ธันวาคม – 2 มกราคม การแปรปรวนของลมในเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
06F 3 – 9 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) วาลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา ไม่มี ไม่มี
เนอีล 8 – 10 กุมภาพันธ์ พายุไซโคลนระดับ 1 65 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) วาลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา ไม่มี ไม่มี
08F 10 – 13 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ตองงา, ฟีจี ไม่มี ไม่มี
โอมา 11 – 22 กุมภาพันธ์ พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 3 120 กม./ชม. 975 hPa (28.79 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, วานูอาตู, นิวแคลิโดเนีย &00000000014300000000001.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี
10F 11 – 13 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) วาลิสและฟูตูนา, ฟีจี ไม่มี ไม่มี
โปลา 23 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม พายุไซโคลนกำลังแรงระดับ 4 165 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) วาลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา ไม่มี ไม่มี
แอนน์ 8 – 9 พฤษภาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1003 hPa (29.62 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, นิวแคลิโดเนีย ไม่มี ไม่มี
12F 16 – 21 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
13 ลูก 26 กันยายน – 21 พฤษภาคม   165 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท)   1.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Tropical Disturbance Advisory Number A1". RSMC Nadi. 2018-09-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
  2. "Liua becomes earliest tropical cyclone on record to form in the South Pacific Ocean". Accuweather.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  3. Tropical Disturbance Summary November 11, 2018 23z (Report). November 11, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2018. สืบค้นเมื่อ November 13, 2018.
  4. https://www.radionz.co.nz/international/pacific-news/379628/fiji-largely-escapes-as-cyclone-mona-heads-off
  5. https://www.radionz.co.nz/international/pacific-news/382127/tropical-cyclone-neil-weakens-tonga-lifts-warning
  6. 6.0 6.1 "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 7 กุมภาพันธ์ 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019.
  7. "Cyclone Oma strengthens to a category 3". Radio New Zealand. February 17, 2019. สืบค้นเมื่อ February 17, 2019.
  8. "Cyclone Oma en Nouvelle-Calédonie : Philippe Gomès fait appel à la solidarité de l'Etat" (ภาษาฝรั่งเศส). France Télévisions. February 19, 2019. สืบค้นเมื่อ February 27, 2019.
  9. Françoise Tromeur (February 27, 2019). "Le cyclone Oma est reconnu calamité agricole sur toute la Calédonie" (ภาษาฝรั่งเศส). France Télévisions. สืบค้นเมื่อ February 27, 2019.
  10. Lisa Martin (March 8, 2019). "Solomon Island oil spill clean-up could cost $50m, experts say". The Guardian. สืบค้นเมื่อ March 28, 2019.
  11. https://www.weatherwatch.co.nz/content/severe-cyclone-pola-a-category-4-storm-nzs-back-doorstep-its-about-be-torn-apart
  12. "North Eastern Area High Seas Forecast (06Z)". Bureau of Meteorology. 9 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
  13. "North Eastern Area High Seas Forecast (06Z)". Bureau of Meteorology. 10 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
  14. "Eastern Region Tropical Cyclone Outlook". Bureau of Meteorology. 10 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
  15. "Tropical Weather Advisory for the Pacific Ocean". Joint Typhoon Warning Center. 10 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2019. สืบค้นเมื่อ 10 May 2019.
  16. "North Eastern Area High Seas Forecast (18Z)". Bureau of Meteorology. 10 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2019. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
  17. "Tropical Cyclone Ann Technical Bulletin #5 (18Z)". Bureau of Meteorology. 12 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
  18. RA V Tropical Cyclone Committee (October 11, 2018). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2018 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. pp. I–4 – II–9 (9–21). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]