ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Preeya33 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Preeya33 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 217: บรรทัด 217:
* [[ภาษาไทย]]
* [[ภาษาไทย]]


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น == รูปและการออกเสียงของอักษรไทย]
* [http://www.omniglot.com/writing/thai.htm รูปและการออกเสียงของอักษรไทย]


{{อักษรพราหมี}}
{{อักษรภาษาไทย


[[หมวดหมู่:อักษรไทย| ]]
[[หมวดหมู่:อักษรไทย| ]]
[[หมวดหมู่:อักษรในตระกูลอักษรพราหมี]]
[[หมวดหมู่:อักษรในตระกูลภาษาไทย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:32, 8 ธันวาคม 2561

{{กล่องข้อมูล ระบบการเขียน |th=อักษรสระประกอบ |fam=อักษรไทย |fam1=Proto-Sinaitic alphabet |fam2=อักษรไทย |fam3=ภาษาไทย |ประเทศไทย= มาตรฐาน:
ภาษาไทย, ภาษาไทยใต้
เป็นมาตรฐาน:
ล้านนา, อีสาน,
ภาษาปัตตานี |time=พ.ศ. 2008 (ค.ศ. 2019) – ปัจจุบัน |creator=พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แม่แบบ: ฉบับไทยๆ |smtp=imap


อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ

อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง

ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ห้ามมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

ประวัติและวิวัฒนาการ

ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด

อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็นอักษรที่รับและแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป

ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรเขมรที่มีอยู่เดิม ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

อักษรไทย

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น

วรรค ฐานกรณ์ กักสิถิล กักธนิตหรือเสียดแทรก นาสิก
วรรค กะ เพดานอ่อน ไก่
[k]
ไข่
[kʰ]
ขวด¹
[kʰ]
ควาย
[kʰ]
คน¹
[kʰ]
ระฆัง
[kʰ]
งู
[ŋ]
วรรค จะ เพดานแข็ง จาน
[t͡ɕ]
ฉิ่ง
[t͡ɕʰ]
ช้าง
[t͡ɕʰ]
โซ่
[s]
เฌอ
[t͡ɕʰ]
หญิง
[j]
วรรค ฏะ ปุ่มเหงือก ชฎา
[d]
ปฏัก
[t]
ฐาน
[tʰ]
มณโฑ
[tʰ]/[d]
ผู้เฒ่า
[tʰ]
เณร
[n]
วรรค ตะ เด็ก
[d]
เต่า
[t]
ถุง
[tʰ]
ทหาร
[tʰ]
ธง
[tʰ]
หนู
[n]
วรรค ปะ ริมฝีปาก ใบไม้
[b]
ปลา
[p]
ผึ้ง
[pʰ]
ฝา
[f]
พาน
[pʰ]
ฟัน
[f]
สำเภา
[pʰ]
ม้า
[m]
ไตรยางศ์ กลาง สูง ต่ำ
วรรค เปิดหรือรัว เสียดแทรก เปิดข้างลิ้น
ปุ่มเหงือก
กัก
เส้นเสียง
เสียดแทรก
เส้นเสียง
เศษวรรค ยักษ์
[j]
เรือ
[r]
ลิง
[l]
แหวน
[w]
ศาลา
[s]
ฤๅษี
[s]
เสือ
[s]
หีบ
[h]
จุฬา
[l]
อ่าง²
[ʔ]
นกฮูก
[h]
ไตรยางศ์ ต่ำ สูง ต่ำ กลาง ต่ำ
  1. ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่ในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  2. อ ถือว่าเป็นเสียงว่างให้รูปสระมาเกาะได้

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง (ดูที่ ภาษาไทย)

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้

  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)

รูปวรรณยุกต์

เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้

ไม้เอก (-่) ไม้โท (-้) ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)

อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋)[ต้องการอ้างอิง] เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)

การผันเสียงวรรณยุกต์

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ ๕ เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้

หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น - กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว - กาบ ก้าบ ก๊าบ ก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น - ข่า ข้า - ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น - ขะ ข้ะ - -
อักษรสูง คำตาย สระยาว - ขาบ ข้าบ - -
อักษรต่ำ คำเป็น คา - ค่า ค้า -
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น - - ค่ะ คะ ค๋ะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว - - คาบ ค้าบ ค๋าบ

คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ

อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี

ตัวเลข

ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้

๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙

วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่น ๆ

เครื่องหมายวรรคตอน

รหัสยูนิโคดสำหรับอักษรไทย

ช่วงรหัสยูนิโคด (Unicode) ของอักษรไทย คือ U+0E00 ถึง U+0E7F

ไทย
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+0E0x  
U+0E1x
U+0E2x
U+0E3x         ฿
U+0E4x
U+0E5x        
U+0E6x                                
U+0E7x                                


ดูเพิ่ม

== แหล่งข้อมูลอื่น == รูปและการออกเสียงของอักษรไทย]

{{อักษรภาษาไทย [[หมวดหมู่:อักษรในตระกูลภาษาไทย