ไม้หน้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ไม้หน้า (เ) ใช้เป็นสระ เอ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะต้น และใช้ประสมสระ เอะ แอะ แอ เอาะ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เออะ เออ และ เอา สำหรับยูนิโคดของ เ นั้น คือ U+0E40

ในรหัสคอมพิวเตอร์มีรูปแบบ ไม้หน้าสองรูป (แ)[1] สำหรับใช้แทนสระแอะ-แอโดยตรง ซึ่งพัฒนามาจากอักษรบนแป้นพิมพ์ดีด เพราะหากพิมพ์ไม้หน้าสองครั้ง ตัวหนังสือจะห่างกัน สำหรับยูนิโคดของ แ นั้น คือ U+0E41

การประสมรูป[แก้]

การประสมรูป ปรากฏ ใช้เป็นสระ สัทอักษรสากล
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) เ– เอ /eː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + วิสรรชนีย์ เ–ะ เอะ (ไม่มีตัวสะกด) /eʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ไม้ไต่คู้ + (พยัญชนะสะกด) เ–็– เอะ (มีตัวสะกด) /e/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ลากข้าง เ–า เอา /aw/, /aːw/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ลากข้าง + วิสรรชนีย์ เ–าะ เอาะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɔʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ตัวออ เ–อ เออ (ไม่มีตัวสะกด) /ɤː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + ตัวออ + วิสรรชนีย์ เ–อะ เออะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɤʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + พินทุ์อิ + (พยัญชนะสะกด) เ–ิ– เออะ1, เออ (มีตัวสะกด) /ɤ/1, /ɤː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอี + ตัวยอ เ–ีย เอีย /iaː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอี + ตัวยอ + วิสรรชนีย์ เ–ียะ เอียะ /iaʔ/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอือ + ตัวออ เ–ือ เอือ /ɯaː/
ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) + สระอือ + ตัวออ + วิสรรชนีย์ เ–ือะ เอือะ /ɯaʔ/
ไม้หน้า + ไม้หน้า + (พยัญชนะต้น) แ– แอ /ɛː/
สระแอ + (พยัญชนะต้น) + วิสรรชนีย์ แ–ะ แอะ (ไม่มีตัวสะกด) /ɛʔ/
สระแอ + (พยัญชนะต้น) + ไม้ไต่คู้ + (พยัญชนะสะกด) แ–็– แอะ (มีตัวสะกด) /ɛ/
  1. เ–ิ– บางครั้งก็ออกเสียงสั้นเป็น เออะ เช่นคำว่า เงิน เปิ่น เกริ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. "รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 620-2533". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.