ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสงฆ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 10302447 สร้างโดย 2001:44C8:481E:AE51:0:0:0:1 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
# '''[[พระอรหันต์]]'''
# '''[[พระอรหันต์]]'''


=== ภิกขุสงฆ์ ===
=== ภิกขุสงฆ์ ===นะจะ
'''ภิกขุสงฆ์''' หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า '''สมมุติสงฆ์''' คือ หมู่[[ภิกษุ]] ที่ได้รับการ[[อุปสมบท]]ตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่า'''ภิกษุสงฆ์''' และหมู่พระ[[ภิกษุณี]]ว่า'''ภิกษุณีสงฆ์''' จัดเป็น 4 วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาตให้ทำสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค 4 รูป ปญฺจวรรค 5 รูป ทสวรรค 10 รูป วิสติวรรค 20 รูป แต่ถ้าพระภิกษุ 2-3 รูป เรียกว่า คณะ (เนื่องจากแบ่งพวกกันฝ่ายละ 2 รูปมิได้) ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล
'''ภิกขุสงฆ์''' หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า '''สมมุติสงฆ์''' คือ หมู่[[ภิกษุ]] ที่ได้รับการ[[อุปสมบท]]ตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่า'''ภิกษุสงฆ์''' และหมู่พระ[[ภิกษุณี]]ว่า'''ภิกษุณีสงฆ์''' จัดเป็น 4 วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาตให้ทำสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค 4 รูป ปญฺจวรรค 5 รูป ทสวรรค 10 รูป วิสติวรรค 20 รูป แต่ถ้าพระภิกษุ 2-3 รูป เรียกว่า คณะ (เนื่องจากแบ่งพวกกันฝ่ายละ 2 รูปมิได้) ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:56, 2 พฤศจิกายน 2565

พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ทรงสั่งสอนและกำหนดไว้

พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์[1] คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญะ

ความหมาย

สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลีแปลว่า หมู่ เช่นในคำว่าภิกษุสงฆ์ แปลว่า หมู่ภิกษุ ใช้ในความหมายว่า ภิกษุทั้งปวงก็ได้ เช่น"จีวรนี้เป็นของสงฆ์ ควรจะจัดเป็นพิธีสงฆ์ถวาย"

เมื่อใช้ควบกับคำว่า พระ เป็น พระสงฆ์ ซึ่งมีความหมายว่าภิกษุ เช่น "นิมนต์ภิกษุสงฆ์มาฉันในงานเมื่อวาน มีพระสงฆ์มาเป็นจำนวนมาก" ตามพระวินัย ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปจึงเรียกว่าสงฆ์ เช่นในคำว่า สังฆกรรม (กรรมที่สงฆ์ คือภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปพึงทำรวมกัน)

ประเภทของพระสงฆ์

พระไตรปิฎกภาษาบาลีได้กล่าวถึงถึง พระสงฆ์ ไว้ 2 ประเภท ได้แก่ สาวกสงฆ์ และ ภิกขุสงฆ์[2]

สาวกสงฆ์

สาวกสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า อริยสงฆ์ คือหมู่พระอริยบุคคล ไม่ว่าเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ไม่ว่าเป็นมนุษย์หรือเทวดา ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า โดยการบรรลุมรรคผล อริยบุคคล 4 ประเภท คือ

  1. พระโสดาบัน
  2. พระสกทาคามี
  3. พระอนาคามี
  4. พระอรหันต์

=== ภิกขุสงฆ์ ===นะจะ ภิกขุสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า สมมุติสงฆ์ คือ หมู่ภิกษุ ที่ได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่าภิกษุสงฆ์ และหมู่พระภิกษุณีว่าภิกษุณีสงฆ์ จัดเป็น 4 วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาตให้ทำสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค 4 รูป ปญฺจวรรค 5 รูป ทสวรรค 10 รูป วิสติวรรค 20 รูป แต่ถ้าพระภิกษุ 2-3 รูป เรียกว่า คณะ (เนื่องจากแบ่งพวกกันฝ่ายละ 2 รูปมิได้) ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล

สังฆคุณ

  • สุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติดีงาม
  • อุชุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติตรง ถูกต้อง
  • ญายปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติชอบ , เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์
  • สามีจิปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติสมควร , เหมาะสม
  • อนุตฺตรํ ปุญฺญเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
  • อาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาตร)
  • ปาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (จัดไว้รอท่าให้ท่านมารับ เช่น การนิมนต์มาฉันที่บ้าน)
  • ทกฺขิเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่การรับทักษิณาทาน (การเอ่ยปากขอเองจากท่าน)
  • อฺญชลีกรณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (การประนมมือ)

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 496
  2. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), สงฆ์, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

แหล่งข้อมูลอื่น