ข้ามไปเนื้อหา

พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระพรหมสิทธิ)
พระพรหมสิทธิ

(ธงชัย สุขญาโณ)
ชื่ออื่นเจ้าคุณธงชัย
ส่วนบุคคล
เกิด16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (68 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก
พธ.ด.กิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท4 มีนาคม พ.ศ. 2519
พรรษา48
ตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และกรรมการมหาเถรสมาคม

พระพรหมสิทธิ[1] นามเดิม ธงชัย สุขโข ฉายา สุขญาโณ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ[2] [3] เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร[4] กรรมการมหาเถรสมาคม[5]

ประวัติ

[แก้]

พระพรหมสิทธิ นามเดิม ธงชัย สุขโข เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2499 ที่บ้านเลขที่ 19 หมู่ 5 ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โยมบิดาชื่อ นายเสงี่ยม โยมมารดาชื่อ นางตัน สุขโข หลังเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้เข้ารับการบรรพชา ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นสามเณรธงชัยได้คอยปรนนิบัติรับใช้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) จนได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2519 ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "สุขญาโณ"

หลังจากอุปสมบทก็ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ดูแลงานปกครอง ในขณะเดียวกันยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดสระเกศ เป็นกรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง พระพรหมสิทธินั้นได้เป็นที่เคารพนับถือในหมู่กว้างและเป็นที่ไว้วางใจของพระมหาเถระหลายรูป เช่น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) ทั้งนี้พระพรหมสิทธิได้รับความวางใจให้สนองงานของคณะสงฆ์ในหลาย ๆ โอกาส

10 กุมภาพันธ์ 2558 พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม และเข้ารับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช จากสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ณ หอประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14.00 น.

การต้องอธิกรณ์

[แก้]

24 พฤษภาคม 2561 สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาปลดจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม

19 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตการจัดสรรเงินงบประมาณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ถึง 4 กับอดีตพระพรหมสิทธิ จำเลยที่ 5 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ร่วมกันเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่น โดยทุจริตหรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์สินนั้นเสีย, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว ซึ่งศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึง 5 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยในส่วนพระพรหมสิทธิ ให้จำคุก 36 เดือน และปรับ 27,000 บาท แต่ที่ผ่านมาได้ปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง และเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ ไม่เคยกระทำผิดทางวินัย จึงเห็นควรให้รอการลงโทษไว้กำหนด 2 ปี[6] ปัจจุบันพำนักจำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

สมณศักดิ์

[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์ที่ได้รับ

[แก้]

การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์

[แก้]
  • ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9
  • ที่ปรึกษาสำนักกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (มหานิกาย)
  • กรรมการสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
  • ผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง
  • ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ฝ่ายกิจการต่างประเทศ
  • เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
  • เจ้าคณะภาค 10
  • เป็นพระอุปัชฌาย์ วิสามัญ
  • หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6
  • เจ้าอาวาสวัดสระเกศ
  • ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
  • ที่ปรึกษาโครงการหมู่บ้านศีล 5 คณะสงฆ์หนตะวันออก
  • เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง
  • 24 พฤษภาคม 2561 สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาปลดจากตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคม
  • 30 พฤษถาคม 2561 ปลดจากตำแหน่ง เจ้าคณะภาค10 และ ปลดจากตำแหน่งประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ตามมติมหาเถรสมาคม

หน้าที่พิเศษ

[แก้]

ด้านสาธารณสงเคราะห์

[แก้]

ด้านการศึกษา

[แก้]

ได้สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสระเกศ เป็นเลขานุการประจำสำนักเรียน ทั้งแผนกธรรมและบาลี เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมสนามหลวง เพื่อให้พระภิกษุได้บรรยายและแสดงธรรมเป็นประจำ นอกจากนี้ ได้จัดให้พระภิกษุไปสอนศีลธรรมตามโรงเรียนและจัดพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิไปแสดงปาฐกถาธรรม ให้การฝึกอบรมตามสถานศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้มอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรที่สอบนักธรรมและบาลีของสำนักเรียนวัดสระเกศ

ด้านการสาธารณูปการ

[แก้]

ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ให้ดำเนินการก่อสร้างศาลารับรองและกุฏิ รวมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม ตึกสมเด็จญาโณทยมหาเถระ (พ.ศ. 2501) และเป็นประธานดำเนินการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและหอไตรวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

ด้านการสาธารณสงเคราะห์

[แก้]

ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติตามโอกาสอันควรตลอดมา อาทิ ได้มอบเครื่องนุ่งห่ม ให้แก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดารในเขตปกครองหนตะวันออก และมอบปัจจัย อัฐบริขารที่จำเป็นให้แก่พระภิกษุสามเณรที่ประสบอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในนามวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

การต่างประเทศ

[แก้]

เป็นพระสงฆ์ที่สนองงานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในด้านการต่างประเทศได้ไปเยี่ยมพระธรรมทูตไทยที่ปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศจำนวนหลายครั้ง เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐ ประเทศสวีเดน เป็นต้น และยังเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6 ควบคุมพระธรรมทูตแถบสแกนดิเนเวียและสหรัฐอเมริกา และในคราวที่พระธรรมทูตได้ประสบอุบัติเหตุก็ได้ช่วยเหลือแบบเป็นกันเอง จึงเป็นที่เคารพศรัทธาในวงกว้าง

เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตปาปา

[แก้]

พระพรหมสิทธิ และคณะ เช่น พระเทพโพธิวิเทศ พระราชธีราจารย์ พระวิจิตรธรรมมาภรณ์ พระศรีคุณาภรณ์ และคณะสงฆ์จำนวนมากได้เดินทางไปยังสำนักวาติกัน เพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก ได้หารือเกี่ยวกับด้ารการศึกษาของพระสงฆ์ไทยที่ไปต่างประเทศ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ที่คณะสงฆ์ไทยเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตปาปาถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญระหว่างศาสนา[16]

งานสาธารณูปการ

[แก้]
  • พ.ศ. 2553 ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 50 เครื่องให้แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รวมเป็นเงิน 4580000 บาท (สี่ล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
  • พ.ศ. 2554 ถวายหนังสือภาษาบาลี เปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 1000 เล่ม รวมเป็นเงิน 845600 บาท (แปดแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)
  • พ.ศ. 2554 มอบคอมพิวเตอร์ 25 เครื่องแก่โรงเรียนบ้านเขาวง (พระพรหมสิทธิอุปถัมภ์) จังหวัดสระบุรี รวมเป็นเงิน 5984000 บาท (ห้าล้านเก้าแสนแปดหมื่นสี่พันบาทถ้วน)
  • พ.ศ. 2555 มอบเงินเพื่อสร้างอาคาร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อุปเสโณ) ณ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี รวมจำนวนเงิน 12485000 บาท (สิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
  • พ.ศ. 2557 มอบเงินเพื่อสร้างอาคาร สมเด็จพระพุฒาจารย์ ณ.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นจำนวนเงิน 10000000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน)

อ้างอิง

[แก้]
  • สนติ์ แสวงบุญ และ สมบูรณ์ บุญครอบ. ทำเนียบสมณศักดิ์. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556. หน้า 122.
  • พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร)ทำเนียบพระราชาคณะ ฉบับสมบูรณ์ พุทธศักราช 2556. กาญจนบุรี : ธรรมเมธี - สหายพัฒนาการพิมพ์, 2556. หน้า 340. ISBN 978-616-348-356-0
  1. chanhena, Bandit. "อัญเชิญหิรัญบัฏ พัดยศ ถวายแด่ "พระพรหมสิทธิ"". เดลินิวส์.
  2. chanhena, Bandit. "คืนสมณศักดิ์ 'พระพรหมสิทธิ' วัดสระเกศฯ โดยให้ถือว่าไม่เคยถูกถอดถอน". เดลินิวส์.
  3. ราชกิจจานุเบกษา,เรื่องสถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม141,ตอนที่19ข,หน้า1,16 พฤษภาคม 2567
  4. chanhena, Bandit. "โปรดให้แต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง 'วัดสระเกศ'-'วัดนิมมานรดี'". เดลินิวส์.
  5. หนึ่ง (2024-09-06). "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'พระพรหมดิลก-พระพรหมสิทธิ' เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม".
  6. ศาลสั่งจำคุก 'แก๊งเงินทอนวัด' อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ โดน 36 เดือนแต่รอลงอาญา
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร พระครูประสิทธิสรคุณ เป็น พระครูพิทักษ์บรมบรรพต
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เลื่อนสมณศักดิ์ พระครูพิทักษ์สุวรรณบรรพต เป็น พระสุวรรณเจติยาภิบาล
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เลื่อนสมณศักดิ์ พระสุวรรณเจติยาภิบาล เป็น พระราชธรรมสาร เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชธรรมสาร เป็น พระเทพสิริภิมณฑ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระเทพสิริภิมณฑ์ เป็น พระธรรมสิทธินายก
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์ 2554
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถอดถอนสมณศักดิ์
  14. ราชกิจจานุเบกษา,เรื่องสถาปนาสมณศักดิ์ และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม141,ตอนที่19ข,หน้า1,16 พฤษภาคม 2567
  15. "โปรดเกล้าฯ คืนสมณศักดิ์ "พระพรหมสิทธิ-พระศรีคุณาภรณ์"". Thai PBS.
  16. วาติกันให้ทุนพระสงฆ์ไทยเรียนถึงป.เอก เก็บถาวร 2014-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เดลินิวส์, 2 มิถุนายน 2557, 18 มกราคม 2558

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) ถัดไป
พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ)
เจ้าคณะภาค 10
(9 กุมภาพันธ์ 2554 - 2561)
พระเทพวิสุทธิโมลี
(พรหมา สปฺปญฺโญ)

(ผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 10)
พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร)
เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
(15 มกราคม 2558-2561)
พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) (ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส)
พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร)
ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
(14 มกราคม 2558-2561)
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)