พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย)
พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เจ้าคุณสุรชัย |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กันยายน พ.ศ. 2507 (59 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 7 ประโยค พธ.บ.กิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาพุทธศาสตร์) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก |
อุปสมบท | 26 เมษายน พ.ศ. 2529 |
พรรษา | 38 |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร |
พระเทพรัตนมุนี[1] นามเดิม สุรชัย วิชชุกิจมงคล ฉายา สุรชโย (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2507) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 (4 จังหวัด สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, ตาก)[2] และเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร[3] ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติ
[แก้]พระเทพรัตนมุนี มีนามเดิมว่า สุรชัย วิชชุกิจมงคล เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2507[4] ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านวัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อ นายวิเชียร มารดาชื่อ นางสาคร นามสกุล วิชชุกิจมงคล
- บรรพชา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พระราชรัตนรังษี (ทองปลิว โสรโต) นามสกุล พูลพิพัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอุปัชฌาย์
- อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2529 ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมี พระราชรัตนรังษี (ทองปลิว โสรโต) นามสกุล พูลพิพัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอุปัชฌาย์ [5]พระพรหมวชิรเจดีย์ (บำรุง ฐานุตฺตโร) นามสกุล มากก้อน ป.ธ.7 ในขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่พระศรีรัตนมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระครูวิธานเลขกิจ (ตุ๊ พยนฺโต) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับการตั้งฉายานามจากพระอุปัชฌาย์ว่า สุรชโย แปลว่า ผู้มีชัยชนะอันกล้าหาญ
เนื่องด้วยเป็นคนที่มีบุคลิกเรียบร้อยพูดน้อย สุขุมมาตั้งแต่เด็ก และเป็นคนช่างสังเกต มีใจใฝ่ศึกษา มีความจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเป็นทุนเดิมตามวิถี คราวเมื่อมีอายุได้ 17 ปี ได้มีโอกาสเดินทางมีเยี่ยมญาติที่ จังหวัดพิษณุโลก ได้เห็นทางวัดได้ติดใบประกาศรับสมัครผู้สนใจบวชเรียน จึงมีจิตเกิดประสาทะเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนา จึงตัดสินใจในขออนุญาตโยมบิดา โยมมารดา เข้าสมัครเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี เมื่อบรรพชาแล้วมีความอุสาหะจนสามารถนำความสำเร็จมาสู่วงศ์ตระกูลได้สำเร็จเป็นเปรียญธรรม หรือที่นิยมเรียกว่า “คุณมหา” แต่เนื่องด้วยการศึกษาในอดีตยังไม่ครอบคลุมทั้งการเรียนการสอนก็ค่อนข้างจะลำบาก หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค แล้วจึงตัดสินใจเดินทางศึกษาวิชาภาษาบาลีในชั้นสูง ที่กรุงเทพมหานคร โดยได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ภายใต้การดูแลจาก พระเมธีสุทธิพงษ์ (ระวัง วชิรญาโณ/เม็งเกตุ) คณะ 8 ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ เป็นพระเถระที่มีความรู้มีความสามารถ จริยาวัตรเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง อนึ่งเจ้าคุณฯ มีชาติภูมิเป็นคนอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยกำเนิด จึงนับได้ว่าเป็นบุญ ช่วยนำพาวาสนานำส่ง อันการได้ศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จึงสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และ เปรียญธรรม 7 ประโยค ตามลำดับ และเจริญงอกงามในสมณธรรมมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบัน
ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ในหน้าที่ฝ่ายการปกครองวัด เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 12 เจ้าคณะภาค 12 ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 ในขณะเดียวกันยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจบาลีสนามหลวง สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
พระเทพรัตนมุนี เคยพำนักจำพรรษาอยู่ที่คณะ 8 วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร จนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบอนุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ของพระเทพรัตนมุนี เพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร[6] จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2567 พระเทพรัตนมุนี เข้ารับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก[7] โดยมีพระเดชพระคุณ พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้ง เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
วุฒิการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2527 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2534 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- แผนกสามัญศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถานศึกษา โรงเรียนวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถานศึกษา โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2566 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2558 เป็นรองเจ้าคณะภาค 12[8]
- พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 เป็นเจ้าคณะภาค 12[9]
- พ.ศ. 2561 - พ.ศ.2565 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 12 (4 จังหวัด ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว)
- พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2562 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ[10][11]
- พ.ศ. 2562 เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศตามมติมหาเถรสมาคม แต่ยังไม่ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ[12][13] (รายงานสรุปการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่26/2562 วันพุธ ที่30 ตุลาคม พ.ศ. 2562)
- พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ[14][15]
- พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร[16] จังหวัดฉะเชิงเทรา[17]
- พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2566 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 [18](4 จังหวัด ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว)
- พ.ศ. 2566 พำนักปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
- พ.ศ. 2566 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 (4 จังหวัด สุโขทัย, พิษณุโลก,อุตรดิตถ์,ตาก)[19] (8 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
- พ.ศ. 2566 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ในหน้าที่ฝ่ายการปกครอง[20](8 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
- พ.ศ. 2567 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร[21] (การประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 5/2567 ลงวันที่20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)
งานด้านการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2557 เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2562-2565 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2567 เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2534 ได้รับการถวายปริญญาตรีกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ พุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ โดยสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติอนุมัติให้ถวายปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ไว้เพื่อเชิดชูเกียรติคุณ
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค มหาเถรสมาคมได้จัดลำดับชั้นพัดยศสมณศักดิ์ ที่ พระมหาสุรชัย สุรชโย ป.ธ.7
- พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมในสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามปรากฎตามสัญญาบัตรฐานานุศักดิ์ที่ พระครูปลัดสัมพิพัฒนธุตาจารย์
- พ.ศ. 2544 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระปัญญาวชิราภรณ์[22]
- พ.ศ. 2549 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปัญญาโสภณ ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[23]
- พ.ศ. 2557 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพรัตนมุนี ศรีศาสนกิจสุนทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[24]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ในหลวงโปรดเกล้าฯ ถวายภัตตาหารเพลแด่ "พระเทพรัตนมุนี" รก.เจ้าอาวาสวัดสระเกศ". TheBuddh.com. 2021-07-01.
- ↑ chanhena, Bandit. "มส.เห็นชอบ "เจ้าคุณสุรชัย" เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 – ตั้งเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า". เดลินิวส์.
- ↑ chanhena, Bandit. "โปรดแต่งตั้ง 7 รูป 'เจ้าคณะจังหวัด-เจ้าอาวาส' 'เจ้าคุณสุรชัย' นั่งสมภาร". เดลินิวส์.
- ↑ "พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย ป.ธ.๗) | พระสังฆาธิการ". sangkhatikan.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ส่องชีวิต "เจ้าคุณสุรชัย" สุดพลิกผัน จาก วัดสระเกศ ฯ สู่วัด "หลวงพ่อพุทธชินราช"". TheBuddh.com. 2024-06-03.
- ↑ https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4309715
- ↑ chanhena, Bandit. "'เจ้าคุณสุรชัย' ลาวัดสระเกศฯ ไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ". เดลินิวส์.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "มส.ตั้ง'พระเทพรัตนมุนี'แทนเจ้าคุณเสนาะ". bangkokbiznews. 2015-04-30.
- ↑ "มส.แต่งตั้ง "พระเทพรัตนมุนี" รักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ". workpointTODAY.
- ↑ "แต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ -วัดสามพระยา". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-02.
- ↑ https://www.matichon.co.th/education/news_1733798
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". mahathera.onab.go.th.
- ↑ "พระเทพรัตนมุนี รก.วัดสระเกศ ลาออกจาก "รองปธ.พระธรรมทูตต่างประเทศ" สัญญาณชัดการเมืองสงฆ์แรง!!". TheBuddh.com. 2021-05-01.
- ↑ "มส.ลงมติตั้ง "20 เจ้าอาวาส" อารามหลวง เทพรัตนมุนี ดู "วัดสระเกศ"". www.thairath.co.th. 2021-07-26.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". mahathera.onab.go.th.
- ↑ "แต่งตั้ง 'พระเทพรัตนมุนี' รักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ | MATICHON ONLINE". LINE TODAY.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". mahathera.onab.go.th.
- ↑ "มส.เห็นชอบ 'เจ้าคุณสุรชัย' ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 พร้อมตั้งเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า | MATICHON ONLINE". LINE TODAY.
- ↑ https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4322335
- ↑ "เช็ครายชื่อครบ "ทุกตำแหน่ง" มติ มส. แต่งตั้ง..พระสังฆาธิการ". TheBuddh.com. 2024-02-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 118, ตอนที่ 24 ข, 7 ธันวาคม 2544, หน้า 86
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 26 ข, 25 ธันวาคม 2549, หน้า 26
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 131, ตอนที่ 25 ข, 2 ธันวาคม 2557, หน้า 2
ก่อนหน้า | พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) | เจ้าคณะภาค 12 (17 มกราคม 2558 — 16 มิถุนายน 2564) |
พระราชเวที (สุรพล ชิตญาโณ) | ||
พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) | ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร |
พระธรรมโพธิมงคล (สมควร ปิยสีโล) | ||
พระสุธรรมมุนี (สมบูรณ์ ปญฺญาวุโธ) ป.ธ.7 (ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส) | เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |