ผู้ใช้:Ahcuna/ทดลองเขียน/บทความ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนแสงทองวิทยา[แก้]

โรงเรียนแสงทองวิทยา
Saengthong Vitthaya School
ที่ตั้ง
145 ถนนธรรมนูญวิถี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ท. หรือ ST
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญ"ขยัน ศรัทธา ร่าเริง"
สถาปนาพ.ศ. 2493 โรงเรียนแสงทองวิทยา</ref> (74 ปี 43 วัน)
ผู้อำนวยการภราดา ดร.ถนัด อนันต์
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สี   น้ำเงิน และขาว
เพลงมาร์ชแสงทองวิทยา
เว็บไซต์http://www.saengthong.ac.th/

โรงเรียนแสงทองวิทยา (อังกฤษ: Saengthong Vitthaya School) เป็นโรงเรียนเอกชนโรมันคาทอลิกชายล้วนขนาดกลาง ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ และเป็นโรงเรียนลำดับที่ 4 ในสังกัดคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกแห่งประเทศไทย เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อตั้งในปี ค.ศ.1947 (พ.ศ.2490) ตั้งอยู่ที่ถนนธรรมนูญวิถี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา[1]

โรงเรียนแสงทองวิทยา เดิมชื่อ โรงเรียนเซนต์โทมัส (Saint Tomas) หรือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา ต่อได้รับการเปลี่ยนเป็นชื่อโรงเรียนแสงทองวิทยา โดยคุณพ่อประชุม มิ่นประพาฬ เป็นผู้ดำเนินเรื่อง ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2497 ปัจจุบันท่านอธิการคือ บาทหลวงบัญชา กิจประเสริฐ และผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ ภราดา ดร.ถนัด อนันต์ สีประจำสถาบันคือ น้ำเงิน - ขาว ปัจจุบันโรงเรียนแสงทองวิทยามีอายุได้ 73 ปี เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เก่าแก่ของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประวัติของโรงเรียน[แก้]

เมื่อปี ค.ศ.1938 พระคุณเจ้าปาชอตตีแห่งคณะซาเลเซียน ได้เดินทางมาเยี่ยมภาคใต้ ได้มีผู้ขอให้ท่านเปิดกิจการโรงเรียนตามแบบของโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่กรุงเทพฯ ต่อมาในปี ค.ศ.1941 เถ้าแก่ชีกิมหยงได้ถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ ให้แก่มิสซังเพื่อกิจการโรงเรียน[2]

ปี ค.ศ.1947-1950 คุณพ่อยอแซฟ วิตาลี ได้รับคำสั่งจากคุณพ่อเปโตร คาเร็ตโต เจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย ให้ย้ายไปอยู่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1950 และได้ยื่นเรื่องขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนและเตรียมการเปิดโรงเรียนในชื่อ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา โดยมี คุณพ่อยอบ การ์นินี เป็นอธิการและคุณพ่อนาตัล มาเน เป็นผู้จัดการและครูใหญ่คนแรก

ในวันที่ 17 พฤษภาคม 1950 มีการเปิดโรงเรียน (ไม่เป็นทางการ) มีจำนวนนักเรียน 22 คน และในวันที่ 6 มิถุนายน ปีเดียวกัน ได้รับใบอนุญาตเปิดโรงเรียนจากทางราชการ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 และมีพิธีเปิดโรงเรียนในวันที่ 15 มิถุนายน และในวันที่ 26 ธันวาคม ได้รับอนุญาตให้ขยายระดับชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบัน) และรับนักเรียนได้จำนวน 212 คน

ในวันที่ 6 กันยายน มีการขยายที่ดินที่คอหงส์ 14 ไร่ ที่คุณพ่อมารีโอเคยซื้อไว้ และวันที่ 30 พฤศจิกายน บุตรของเถ้าแก่ชีกิมหยงได้ถวายที่ดินอีก 3 ไร่ เพราะเห็นแก่ความช่วยเหลือที่คุณพ่อเจ้าคณะ เปโตร คาเร็ตโต ได้ให้แก่ครอบครัวนี้เพื่อช่วยให้ฟื้นตัวหลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในวันที่ 18 มีนาคม 1950 ต่อมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ.1953 ลูกๆของเถ้าแก่ได้ถวายที่ดินอีก 4 ไร่ เพื่อให้ครบแปลง แต่จะมีการโอนที่ดินในปี ค.ศ.1958 ตั้งแต่ปี 1951 มีการขยายอาคารเรียนและระดับชั้นมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของนักเรียนในโรงเรียนด้วย และในเดือนพฤษภาคม 1953 มีคุณพ่อการ์โร กาเซตตา ซึ่งเดินทางมาจากโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ย้ายมาเป็นคุณพ่ออธิการโรงเรียนต่อจากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกันคุณพ่อการ์โร กาเซตตา ก็ได้ย้ายไปประจำอยู่ที่โรงเรียนโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย บ้านโป่ง ราชบุรี และมีคุณพ่อยอแซฟ วิตาลี กลับมาเป็นคุณพ่ออธิการอีกครั้งหนึ่ง

ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1954 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาได้รับการเปลี่ยนเป็นชื่อโรงเรียนแสงทองวิทยา โดยคุณพ่อประชุม มิ่นประพาฬ เป็นผู้ดำเนินเรื่อง

ห้าปีแรกของโรงเรียนเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างลำบากและไม่แน่นอน อาคารยังเป็นไม้ ที่ดินยังแคบและมีผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินหลายครอบครัว แต่ความตั้งใจของคณะซาเลเซียนที่จะรับใช้ชาวหาดใหญ่ตามที่เขาคาดหวัง ทำให้ คุณพ่อยอแซฟ วิตาลี อธิการและคุณพ่อเจมส์ ได้ทุ่มเทสอนภาษาอังกฤษและสร้างความครึกครื้นสนุกสนานด้วยการร้องเพลงและเริ่มวงดุริยางค์ ใน 4 ปีแรกมีการเก็บค่าเล่าเรียนเพียง 30 บาท ต่อมาเมื่อเปลี่ยนชื่อโรงเรียนแล้วมีการเก็บค่าเล่าเรียน 100 บาท จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 450 คน

และในปี 1955 คุณพ่อยอร์ช ไบบอตตี มารับหน้าที่คุณพ่ออธิการแทนคุณพ่อยอแซฟ วิตาลี, คุณพ่อวีระ เจนผาสุกเป็นคุณพ่อศึกษา และต่อมาบราเดอร์สนั่น เป็นผู้จัดการ ส่วนคุณพ่อยอแซฟ ฟอร์ลัสซีนี เป็นรองอธิการและคุณพ่อเจ้าวัด ในขณะนั้นโรงเรียนได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นและมีนักเรียนจำนวน 764 คน

ในวันที่ 16 กรกฎาคม 1958 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะของโรงเรียน ตั้งแต่ ค.ศ.1955-1960 เป็นระยะเวลาที่โรงเรียนมีระเบียบวินัยเคร่งครัดและมีการขยายตัวอย่างมั่นคง มีการก่อสร้างตึก 3 ชั้นซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนแสงทอง เริ่มก่อสร้างและวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1959 และทำพิธีเปิดในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 โดยมีสมณฑูตท่านกอร์ดอล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และคุณพ่อเจ้าคณะมารีโอ รูเซ็ดดิ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ระยะนี้โรงเรียนแสงทองมีชื่อเสียงดังทั่วภาคใต้เป็นโรงเรียนมั่นคงและดีเด่น มีนักเรียนจำนวน 1,522 คน

ในปี 1962 มีคุณพ่อปีเตอร์ เปนซา มารับหน้าที่คุณพ่ออธิการแทนคุณพ่อยอร์ช ไบบอตตี (ซึ่งย้ายไปรับตำแหน่งเหรัญญิกแขวงที่กรุงเทพฯ) คุณพ่อปีเตอร์ รับตำแหน่งได้ 2 ปี ก็มีคุณพ่อเฟาส์โต มอตตา มารับหน้าที่อธิการแทน จนถึงปี ค.ศ.1967 ต่อมาคุณพ่อยวงโกลมบินี เป็นอธิการและมีคุณพ่อสนมเป็นผู้จัดการ

ในปี ค.ศ. 1968 มีคุณพ่อนาตัล มาเน มารับหน้าที่เป็นคุณพ่ออธิการของโรงเรียน (ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการ/ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน) ในวาระที่ท่านกำลังดำรงตำแหน่งในระหว่างปี 1968–1973 มีการพัฒนาอาคารสถานที่ของวัดและโรงเรียนแสงทองวิทยาครั้งใหญ่ โดยที่คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ เป็นรองอธิการฯในปี ค.ศ.1969-1970 มีการก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน โดยคุณพ่อไมเคิ้ล เดลมอตต์ คุณพ่อเจ้าวัดในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1970 มีการเตรียมก่อสร้างตึก 4 ชั้นใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปีครึ่ง ทำพิธีเปิดในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ชื่อ ทองเปลว มีสมณฑูตท่านมอเร็ตตี พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโตมาเป็นเกียรติ ท่านราชฑูตประเทศฮอนแลนด์มามอบตึก เพราะท่านเป็นผู้สนับสนุนเงินการก่อสร้างในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1972 เริ่มการก่อสร้างอาคารซาวีโอปัจจุบัน เปิดใช้ในปีถัดไป มีการสร้างห้องอาหารสำหรับนักเรียน ไป – กลับ และโรงครัวนักเรียนประจำปัจจุบัน ตอนที่คุณพ่อไรมุนโด การ์เซียเป็นคุณพ่ออธิการแล้ว

ในขณะนั้นโรงเรียนแสงทองวิทยาได้พัฒนาวงดุริยางค์ และได้รับเชิญให้ไปบรรเลงเพื่อรับเสด็จในหลวง ซึ่งเสด็จทรงกระทำพิธีเปิดรูปพระราชบิดาและโรงพยาบาลประสาทสงขลา ต่อจากนั้นวงดนตรีของโรงเรียนได้ไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ และในปี 1969 นักเรียนดนตรีได้แปรขบวนพาเหรดในโอกาสเปิดการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทยครั้งที่ 3 ณ สนามกลางเทศบาลเมืองหาดใหญ่ และการแสดงครั้งนี้ได้นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนเป็นอย่างมาก ในปีถัดไปวงดนตรีของโรงเรียนได้รับเชิญให้ไปรับและส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร ณ ท่าอากาศยานสงขลา

ต่อจากนั้นในปี 1973 มีคุณพ่อไรมุนโต การ์เซีย มาเป็นอธิการโรงเรียน ท่านได้เอาใจใส่ปรับปรุงสภาพของห้องเรียนที่ยังเป็นไม้ และเทถนนคอนกรีตตั้งแต่ประตูมาถึงหน้าอาคารสำนักงาน และปรับปรุงสนามฟุตบอลสนามบาสเกตบอลเสียใหม่

ในวันที่ 4 กันยายน 1974 คุณพ่อเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์นักบุญดอมินิก ซาวีโอทั้งหมดเพื่อการฉลอง 25 ปีของโรงเรียน ในปี ค.ศ.1975 นับว่าตอนนี้บริเวณโรงเรียนแสงทองวิทยา มีสภาพสมบูรณ์แบบซึ่งจะคงอยู่นานอีกหลายปี

ในปี ค.ศ.1974 มีการริเริ่มรวมตัวของศิษย์เก่ารุ่นต่างๆเพื่อจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่า ซึ่งในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1979 มีการตั้งสมาคมศิษย์เก่าเป็นครั้งแรกและเปิดป้ายของสมาคมในวันที่ 24 ธันวาคม ในปีเดียวกัน

ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1977 มีการวางศิลาฤกษ์เพื่อต่ออาคารสำนักงานไปทางตะวันตก (อาคาร 2 ปัจจุบัน) เพื่อเตรียมอาคารสถานที่เพื่อเปิดชั้น ม.ปลาย ซึ่งจะเปิดทำการสอนในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1978 ตามความเรียกร้องของประชาชน และให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติ เพื่อทำห้องสมุดและห้องอุปกรณ์โรงเรียนด้วย และในปี ค.ศ.1978 ได้เปิดการสอนในระดับมัธยมปลายและได้เปิดการฝึกวิชาทหารในปีถัดไป

ในปี ค.ศ. 1979 คุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล เป็นอธิการโรงเรียนแสงทองวิทยาเพียง 1 ปี

ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ.1980 คุณพ่อวีระ เจนผาสุก มาเป็นคุณพ่ออธิการโรงเรียนแสงทองวิทยา ท่านได้เอาใจใส่การสอนภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ และการสอนจริยธรรม

ในปี ค.ศ.1986 คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์มาเป็นอธิการฯท่านได้ลงมือสร้างอาคาร 36 และปรับปรุงสนามทั้งหมดเสียใหม่ เพื่อฉลอง 36 ปีของโรงเรียน ในวันที่ 2 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน ท่านได้ก่อตั้งชมรมครูและผู้ปกครองโรงเรียนแสงทองวิทยา ในปีต่อไปคุณพ่อยังได้เปิดห้องคอมพิวเตอร์ครั้งแรกในโรงเรียนแสงทองวิทยา

ในปีค.ศ. 1995 คุรพ่อการ์เซียมาเป็นอธิการอีกครั้ง ท่านได้ปรับปรุงวิธีการสอนภาษาอังกฤษเสียใหม่ โดยเปิดห้องปฏิบัติการทางภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา (ปี ค.ศ.1989) และประถมศึกษา (ปี ค.ศ. 1992) ท่านได้เป็นห่วงการเป็นอยู่ของคณะครูและพนักงานของโรงเรียนจึงลงมือสร้งบ้านพักครู และในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1994 ท่านได้ทำพิธีเปิดบ้านพักครูแสงทอง

ในปี ค.ศ.1995 คุณพ่อสมชาย กิจนิชี มาเป็นคุณพ่ออธิการ ระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไปเป็นเวลาที่มีการปรับปรุงโรงเรียนให้ทันสมัย ให้มีคุณภาพทางด้านการจัดการทางด้านการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษา ในปีนี้คุณพ่อได้ส่งเสริมให้วงดุริยางค์ให้สมบูรณ์ ได้ปรับปรุงห้องโสตฯ หอประชุมอาคารซาวีโอ และได้ปรับปรุงระบบไฟของโรงเรียนให้ทันสมัย ได้ปรับปรุงร้านอาหาร

ในปี ค.ศ.1996 คุณพ่อไมเกิ้ล อดุลย์เกษม มาเป็นคุณพ่อรองอธิการที่อำเภอหาดใหญ่ เป็นเวลา 4 ปี และทำสวนนก มีการฉลองซาเลเซียนเกมส์ (Salesian Games) ที่หาดใหญ่อย่างสง่างาม

ในปี ค.ศ. 1997 คุณพ่อสุเทพ ช้อนทอง เข้ารับตำแหน่งครูใหญ่ มีการปรับปรุงห้องสมุดระดับต่างๆให้เป็นไฮเทค การลงทะเบียน การทำบัตร และการยืมด้วยระบบบาร์โค๊ดและคอมพิวเตอร์

ในปี ค.ศ.1998 คุณพ่อแอนโทนีได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการฯที่โรงเรียนแสงทองวิทยา และคุณพ่อสุเทพ ช้อนทอง เป็นครูใหญ่ มีการปรับปรุงที่ทำงานในสำนักงาน มีการย้ายห้องเรียนและห้องกิจกรรมนักเรียนและห้องดุริยางค์เพื่อความเหมาะสม และมีการเพิ่มห้องคอมพิวเตอร์และริเริ่มโครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ให้เชื่อมต่อถึงกันหมดทั้งโรงเรียน

ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.1998 มีการก่อสร้างค่ายลูกเสือ ในพื้นที่ 36 ไร่ เขาเทียมดาว ตำบลเขารูปช้าง เพื่อการเตรียมชุมนุมลูกเสือซาเลเซียนในเดือนมีนาคม ค.ศ.1999

ในเดือนมกราคม ค.ศ.2000 โรงเรียนได้รับการตรวจผ่านมาตรฐาน ISO 9002 :1994 โดยบริษัท Quality Science Universal ( QSU ) CN : 309069

ในปีนี้มีการทำโครงการปรับปรุงอาคารและบริเวณสนามให้เหมาะสมเพื่อการฉลอง 50 ปี โรงเรียนแสงทองวิทยา เปลี่ยนหลังคาอาคารหลังแรก ทำสนามฟุตบอล ติดเครื่องปรับอากาศหลายห้องเรียน และทำป้ายและประตูโรงเรียนใหม่โดยที่สมาคมศิษย์เก่าให้การสนับสนุน

ในปี ค.ศ. 2000 นี้เองโรงเรียนแสงทองวิทยาร่วมกับโรงเรียนธิดานุเคราะห์จัดกิจกรรมร่วมกันตลอดปี อาทิ เช่น การเดินเฉลิมพระเกียรติ 50 ปีธิดา – แสงทอง จัดกีฬาสี 50 ปี ธิดา – แสงทอง ในวันที่ 22 ธันวาคม จะมีการจัดแสดงอันยิ่งใหญ่เพื่อเฉลิมฉลอง 50 ปีแสงทออย่างเป็นทางการ แต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ 21 – 26 พฤศจิกายน อุปกรณ์และเอกสารสำคัญเสียหายมาก ทำให้ต้องเลื่อนงานฉลองไปเป็นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2001

ในปี ค.ศ. 2002 คุณพ่อยะรัตน์ ไชยรา เข้ามารับตำแหน่งครูใหญ่และได้ประสานต่อในด้านการบริหารจัดการ เกี่ยวกับหัวหน้าช่วงชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระต่างๆ ตลอดจนมีการปรับปรุง – เปลี่ยนแปลงอาคารสำนักงาน

ในปี ค.ศ. 2003 มีคุณพ่อแอนโทนี เรสเต็ลลี่ เป็นอธิการ , คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ เป็นรองอธิการ , ภราดาเกรียงศักดิ์ ฮอรีกุจิ , คุณพ่อปิยะ พืชจันทร์ เป็นคุณพ่อศึกษานักเรียนประจำ และคุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งเข้ามาเป็นครูใหญ่ / ผู้จัดการ หมู่คณะโรงเรียนแสงทองวิทยาได้จัดทำธรรมนูญ 2004 – 2008 มีการพัฒนาบุคลากรครูในด้านการประกันคุณภาพภายนอก ภายใน ด้านวิชาการและด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เปิดทางเลือกให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป. – ป.6 ทางด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ ทัศนศิลป์ สรรหาอุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น เปลี่ยนคอมพิวเตอร์ช่วงชั้นที่ 1 ทำห้องสมุดคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับบุคลากรครู อุปกรณ์ห้องวิทยาศาสตร์ เครื่องฉายภาพ อุปกรณ์วงโยธวาฑิต ดนตรีไทย ดนตรีสากล อุปกรณ์กีฬา โต๊ะปิงปอง ยานพาหนะรถตู้ ด้านอาคารสถานที่ ได้มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์แม่พระ ศาลาไทย น้ำพุ มีการเปิดประตูด้านหลังเพื่อสะดวกต่อการรับ – ส่ง นักเรียน อีกทั้งได้มีการริเริ่มทำโครงการสร้างอาคารหลังใหม่

ในปี ค.ศ. 2004 คุณพ่อสมชาย กิจนิชี ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการ และมีคุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ เป็นรองอธิการ , ภราดาเกรียงศักดิ์ ฮอรีกุจิ เป็นเหรัญญิก , คุณพ่อปิยะ พืชจันทร์ เป็นคุณพ่อศึกษานักเรียนประจำ และคุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่ / ผู้จัดการ ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ด้านหลังโรงเรียนบริเวณอาคาร 2

ในปี ค.ศ. 2005 คุณพ่อสมชาย กิจนิชี เป็นอธิการ ,คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ เป็นรองอธิการ / เจ้าอาวาส , ภราดาเกรียงศักดิ์ ฮอรีกุจี เป็นเหรัญญิก , คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่ / ผู้จัดการ และ บราเดอร์ สุธรรม ฉายาบรรณ ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยเหรัญญิก และได้โยกย้ายคุณพ่อปิยะ พืชจันทร์ ไปรับตำแหน่งเหรัญญิก ณ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จ. ราชบุรี ส่วนในปีนี้ได้มีการเปิด ห้องเรียน Mini EnglishProgramในระดับชั้น ป.4 – ม.1 ให้กับนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ ได้พัฒนาเนื้อหาการเรียนการสอนและการประเมินผล เพิ่มหนังสือและตู้หนังสือในห้องสมุดเพื่อให้นักเรียนเกิดการรักการอ่าน ส่งเสริมความรักด้าน-ดนตรี จัดซื้อเครื่องดนตรีเพิ่มเติมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทยหรือดนตรีสากล เพิ่มห้องคอมพิวเตอร์อีก 1 ห้องเรียน เป็นจอ LCD เพิ่มห้องเรียนศิลปะ เพิ่มห้องเรียนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ เพิ่มห้องวิทยาศาสตร์ และจัดซื้ออุปกรณ์ (ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ) มีสวนพฤกษชาติ สวนแห่งการเรียนรู้ธรรมชาติ และอาคารดนตรีไทยหลังใหม่ นอกจากนี้ได้มีการจัดทัศนศึกษาทัวร์บูรณาการ และทัศนศึกษาประเทศออสเตรเลีย

ในปี ค.ศ. 2006 คุณพ่อสมชาย กิจนิชี เป็นอธิการ , คุณพ่อนิพนธ์ สาราจิตต์ เป็นรองอธิการ/เจ้าอาวาส , ภราดาเกรียงศักดิ์ ฮอรีกุจี เป็นเหรัญญิก, บราเดอร์สุธรรม ฉายาบรรณ เป็นผู้ช่วยเหรัญญิก, คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่ / ผู้จัดการ และคุณพ่อพรจิต พูลวิทยกิจ ได้เข้ามารับตำแหน่ง รองเจ้าอาวาส นอกจากจะมีการเปิดห้องเรียน Mini English Programในระดับชั้นป.1 - ม.2 แล้ว ในปีนี้ได้มีการเปิดห้องเรียน วิทย์ – คณิต ชั้น ม.1 ขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนอีกทางหนึ่ง มีการปรับปรุงและ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ จำนวน 60 เครื่อง สำหรับห้องคอมพิวเตอร์ช่วงชั้น 2 เพิ่มห้องน้ำให้กับนักเรียน อีก 3 ห้อง มีการจัดทำกันสาดหน้าโรงเรียน และเปิดร้านหนังสือ S.T. BOOK เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้อ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น

ในปี ค.ศ.2007คุณพ่อสมชาย กิจนิชี เป็นอธิการ, คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน เป็นรองอธิการ/เจ้าอาวาส, ภราดาเกรียงศักดิ์ ฮอรีกุจี เป็นเหรัญญิก , บราเดอร์สุธรรม ฉายาบรรณ เป็นผู้ช่วยเหรัญญิก , คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่ /ผู้จัดการ และคุณพ่อพรจิต พูลวิทยกิจ เป็นรองเจ้าอาวาส มีการดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ (ตึก 7 ชั้น) มีการจัดซื้อโปรเจคเตอร์ให้ในห้องเรียนระดับชั้นเรียนละ 1-2 ตัว รวมทั้งสิ้น 20 ตัว/ ปรับปรุงและจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ จำนวน 60 เครื่อง สำหรับห้องคอมพิวเตอร์ช่วงชั้น 3/จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา(Notebook) จำนวน 4 เครื่อง/ จัดทำบอร์ดบริเวณด้านหน้าโรงเรียน และบอร์ดประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในโรงเรียน /ปรับเปลี่ยนห้องเรียนศิลปะ อาคาร 36/ปรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ และหนังสือเรียน

ในปี ค.ศ. 2008 คุณพ่อสมชาย กิจนิชี เป็นอธิการ/ผู้รับใบอนุญาต/เหรัญญิก คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน/ผู้จัดการ ในภาคเรียนที่ 2 ได้ย้ายนักเรียนประจำไปอยู่ชั้น 6-7 ของอาคารใหม่ 7 ชั้น ปรับปรุงถนนหน้าอาคาร 36 หน้าอาคาร 1 สนามบาส สนามตะกร้อ สนามฟุตบอล

ในปี ค.ศ. 2009 คุณพ่อสมชาย กิจนิชี เป็นอธิการ/ผู้รับใบอนุญาต คุณพ่อแอนโทนี เรสเตอรี่ ย้ายมาเป็นเหรัญญิก ภราดาพิทยา เต็งล่อไล้ย้ายมาเป็นผู้ดูแลนักเรียนประจำ คุณพ่อยอห์น ลิสซันดริน เป็นรองอธิการ/พ่อเจ้าวัด ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณ เป็นที่ปรึกษา ในปีนี้ได้ทำการเคลื่อนย้ายห้องพักครูช่วงชั้นที่ 3 จากอาคาร 1 ไปอยู่อาคารใหม่ชั้น 3 ย้ายห้องพักครูช่วงชั้นที่ 4 จากอาคาร 2 ไปอยู่อาคารใหม่ชั้น 5 และยังได้

  • ปรับปรุงอาคาร 2 ชั้นที่ 2 จากห้องเรียนชั้นประถม 3 เป็นห้องพักครูช่วงชั้นที่ 1 และ 2
  • ปรับปรุงอาคาร 2 ชั้นที่ 3 จากห้องเรียนชั้นประถม 4 เป็นห้องเรียนชั้นประถม 6
  • ปรับปรุงอาคาร 3 ชั้นที่ 2 จากห้องเรียนชั้นประถม 2 และ 3 ห้องพักผู้ใหญ่ ห้องโสต เป็นห้องทำงานของคณะผู้ใหญ่ วัดน้อย และห้องทำงานของฝ่ายต่างๆ
  • ปรับปรุงอาคาร 3 ชั้นที่ 3 จากที่พักนักเรียนประจำ เป็นเกียรติยศ ห้องเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 ห้องซักรีด ห้องพักรับรอง และห้องพักคนงานซักรีด
  • ปรับปรุงอาคาร 3 ชั้นที่ 1 จากห้องพยาบาล ห้องทำงานคณะผู้ใหญ่ ห้องทำงานของฝ่ายต่างๆ เป็นโถงโล่งใช้เข้าแถวนักเรียนมัธยมปลาย
  • ปรับปรุงห้องพักครูช่วงชั้นที่ 1-2 และห้องเรียนชั้นประถม 1 เป็นห้องครัว และห้องอาหารนักเรียนประจำ
  • ปรับปรุงใต้อาคาร 2 เป็นห้องพยาบาล และห้องประชาสัมพันธ์ใหม่
  • สร้างสะพานเหล็ก เชื่อมระหว่างอาคาร 1 กับอาคาร 2 บริเวณชั้น 2 และชั้น 3
  • สร้างและปรับปรุงหลังคาห้องน้ำอาคาร 2 ใหม่
  • เปิดใช้ประตูที่ 3 อาคารใหม่ ด้านถนนชลธารา
  • จัดทำสวนหย่อมระหว่างอาคารใหม่ 7 ชั้น กับอาคาร 3

ในปี ค.ศ. 2010 คุณพ่อแอนโทนี เรสเตอรี่ เป็นอธิการและเหรัญญิก คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการ / ผู้จัดการ และผู้แทนผู้รับใบอนุญาต คุณพ่อยอห์น ลิสซีดริน เป็นรองอธิการและพ่อเจ้าวัด ภราดาพิทยา เต็งล่อไล้ เป็นผู้ดูแลนักเรียนประจำ ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณ เป็นที่ปรึกษาและได้มีการ

ปรับปรุงอาคาร 1 ชั้น 4 จากห้อง Lab วิทยาศาสตร์ 2 ห้อง ยุบเหลือ 1 ห้อง เพื่อทำเป็นห้องเรียน ชั้น ป. 5/3 และห้องเรียนเสริมกลุ่มอ่อน ห้องพักครูวิทยาศาสตร์ อาคาร 1 ชั้น 4 เป็นห้องเรียนชั้นประถม 5/4

ติดตั้งจอและเครื่อง Projector ในห้องเรียนชั้นประถม 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และห้องกิจกรรมทุกห้อง

เพิ่มจำนวนห้องเรียนเป็น 62 ห้องเรียน

ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมเอกชน ให้ใช้อาคารใหม่ 7 ชั้น และเพิ่มความจุนักเรียนทั้งหมด 4,242 คน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553

ในปี ค.ศ. 2011 คุณพ่อแอนโทนี่ เรสเตอรี่ เป็นอธิการและเหรัญญิก คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการ / ผู้จัดการ ภราดาพิทยา เต็งล่อไล้ เป็นผู้ดูแลนักเรียนประจำ ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณ เป็นที่ปรึกษา

เดือนเมษายน 2554 ได้ทำการรื้อถอนโรงอาหารเก่าเพื่อจัดสร้างอาคารโรงอาหารใหม่ 6 ชั้น โดยใช้อาคารซาวีโอ และใต้อาคารใหม่เป็นโรงอาหารชั่วคราว

มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3,032 คน เพิ่มเป็น 66 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนเฉพาะนักเรียนแสงทอง 2,956 คน

ในปี ค.ศ. 2012 คุณพ่อแอนโทนี่ เรสเตอรี่ เป็นอธิการและเหรัญญิก คุณพ่อภูวนัส กิจสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการ / ผู้จัดการ ภราดาพิทยา เต็งล่อไล้ เป็นผู้ดูแลนักเรียนประจำ ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณ เป็นที่ปรึกษา

ดำเนินการสร้างอาคารเรียนและโรงอาหาร 6 ชั้น, มีการติดตั้งโทรทัศน์กล้องวงจรปิดในห้องเรียน และกำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องเสียงภายในห้องเรียน

สถานที่ตั้ง[แก้]

ปรัชญา[แก้]

มนุษย์ทุกคนเป็นลูกของพระ มีกาย และวิญญาณ นักเรียนจึงมีการพัฒนาด้านปัญญา อารมณ์ สังคม ร่างกาย และจิตใจ ที่จะต้องเติบโตสู่ความจริงแห่งชีวิต พบทางแห่งความสุขแท้ในการรู้จักรัก และ รับใช้พระ และมนุษย์

ตราประจำโรงเรียน[แก้]

ตราประจำโรงเรียนเรียกว่า แสงทอง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง นักเรียนของโรงเรียนแสงทองวิทยาทุกๆ คน จะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าในแนวทางที่ถูกต้อง ควบคู่ไปพร้อมกับคุณธรรมในจิตใจ เปรียบเสมือนแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ ที่สาดส่องให้แสงสว่างไปทั่วโลกและแสงสว่างแห่งธรรมที่ค้ำจุนโลก

สถานที่สำคัญ[แก้]

เจษฏาธิการและผู้บริหาร[แก้]

สโมสรนักเรียนแสงทองวิทยา[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศิษย์เก่าที่เป็นพระสงฆ์และนักบวช[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. {{citation}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  2. {{citation}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  • ธรรมนูญโรงเรียนแสงทองวิทยา ปี พ.ศ. 2542 - 2544

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:โรงเรียนในเครือคณะซาเลเซียน