ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Ahcuna/ทดลองเขียน/บทความ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
[แก้]

ชินกฤช

[แก้]

ชินกฤช มะลิซ้อน นักร้องจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่แกรมมี่โกลด์

ชินกฤช มะลิซ้อน ชื่อเกิด ชินกฤช มะลิซ้อน ชื่อเล่น เจมส์ เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2534 (29 ปี) อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย อาชีพ นักร้อง นักแสดง ปีที่แสดง พ.ศ. 2555- 2562 ผลงานเด่น รักแฟนเก่ามากเท่าไร จะรักแฟนใหม่ให้มากกว่า,หน้าอย่างฉันมันโง่ใช่ไหม,คนสำคัญวันเดียว,รู้ทางไปบางรักไหม,โสด ฯลฯ แนวเพลง ลูกทุ่ง,ป๊อป ค่าย แกรมมี่โกลด์ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2561) เจมส์ ชินกฤช นักร้องเพลงลูกทุ่งชายชาวไทย อดีตสังกัดค่าย แกรมมี่โกลด์ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นนักร้องลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบันจากผลงานเพลง รักแฟนเก่ามากเท่าไร จะรักแฟนใหม่ให้มากกว่า,หน้าอย่างฉันมันโง่ใช่ไหม,คนสำคัญวันเดียว,รู้ทางไปบางรักไหม,โสด ฯลฯ


ประวัติ เจมส์ ชินกฤช มีชื่อจริงชื่อว่า ชินกฤช มะลิซ้อน ชื่อเล่น เจมส์ เดิมชื่อเล่นว่า จ่มจ้ม เกิดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 ที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารการตลาด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ในวันที่ 25 ธันวาคม 2562 เจมส์ ชินกฤชได้ประกาศว่าได้หมดสัญญากับแกรมมี่ โกลด์เป็นที่เรียบร้อย หลังเจ้าตัวตัดสินใจไม่ต่อสัญญา และเดินหน้าเป็นนักร้องอิสระเต็มตัว


ผลงานเพลง อัลบั้มเดี่ยว ปี ชื่ออัลบั้ม รายชื่อเพลง หมายเหตุ 2557 ชุดที่ 1 เปิดฉาก ออกจำหน่าย : 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ค่าย : แกรมมี่ โกลด์, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ รูปแบบการวางแผง : CD, VCD, DVD, Digital รักแฟนเก่ามากเท่าไร จะรักแฟนใหม่ให้มากกว่า หน้าอย่างฉันมันโง่ใช่ไหม คนสำคัญวันเดียว รู้ทางไปบางรักไหม ลืมไม่ได้หรือไม่อยากลืม (ต้นฉบับ บิว พงค์พิพัฒน์) มีอารมณ์ รักได้หรือยัง หึงไม่ได้หวงไม่ได้ (ต้นฉบับ บิว พงค์พิพัฒน์) คนไทยด้วยกัน (ได้ทำนองเดิมมาจากเพลง ลูก ตจว ของ ไผ่ พงศธร) โสด ซิงเกิ้ลเดี่ยว ทุกเพลงวางแผงในรูปแบบ Digital Single อ้างอิงจาก iTunes โดยนับเฉพาะเพลงแต่งใหม่ ไม่นับเพลงคัฟเวอร์

ปี ชื่อเพลง ค่าย หมายเหตุ 2555 คนไทยด้วยกัน แกรมมี่ โกลด์ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลงประกอบโฆษณา Nescafe 2556 รักแฟนเก่ามากเท่าไร จะรักแฟนใหม่ให้มากกว่า ซิงเกิ้ลพิเศษ ปี ชื่อเพลง ค่าย หมายเหตุ 2559 เล่าสู่หลานฟัง แกรมมี่ โกลด์ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลงสุดท้ายในสังกัดแกรมมี่ โกลด์ ต้นฉบับ สลา คุณวุฒิ เป็นเพลงไว้สำหรับรำลึกในหลวง รัชกาลที่ 9 ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น 20 ปี แกรมมี่ โกลด์ เพลงของฉัน เพลงของเธอ เพลงของเรา (25 มิถุนายน 2558) อัลบั้มพิเศษ 20 ปี แกรมมี่ โกลด์ เพลงของฉัน เพลงของเธอ เพลงของเรา เป็นโปรเจกต์พิเศษในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของค่าย แกรมมี่โกลด์ เป็นอัลบั้มที่นำบทเพลงที่ได้รับความนิยม ตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ของค่าย แกรมมี่โกลด์ มาขับร้องใหม่โดยศิลปินยอดนิยมที่คุณชื่นชอบ กว่า 27 ชีวิต อัลบั้มนี้มีทั้งหมด 3 ชุด เจมส์ ชินกฤช อยู่ชุดที่ 3

ชุดที่ 3 ร่วมด้วย พี สะเดิด, เสถียร ทำมือ, แช่ม แช่มรัมย์, แสน นากา, เดวิด อินธี, ไม้เมือง, โกไข่กับนายสน, รัชนก ศรีโลพันธุ์ และ กล้วย แสตมป์ คนบ้านเดียวกัน ศิลปิน พี สะเดิด สาวกระโปรงเหี่ยน ศิลปิน แสน นากา ความคิดถึงกำลังเดินทาง ศิลปิน รัชนก ศรีโลพันธุ์ หัวใจมักง่าย ศิลปิน นายสน อยากพับแผ่นฟ้า ศิลปิน เสถียร ทำมือ แทนความคิดถึง ศิลปิน ไม้เมือง คิดถึง...คิดถึง ศิลปิน โกไข่ รักหมดใจ ใจหมดรัก ศิลปิน เจมส์ ชินกฤช (ต้นฉบับ กล้วย แสตมป์) อยากมีเธอเป็นแฟน ศิลปิน เดวิด อินธี ไม่มีอะไรจะคุยกับเธอ ศิลปิน กล้วย แสตมป์ ชีวิตไม่พร้อม แต่หัวใจพร้อม ศิลปิน พี สะเดิด เดี๋ยวโทรกลับ ศิลปิน แช่ม แช่มรัมย์

ผลงานการแสดง ละคร สายฟ้ากับสมหวัง ผี เพลง นักเลง พระ ละครซิทคอม หมัดเด็ดเสียงทอง รับบทเป็น พู่กัน คู่กับ มีนนา ศุภประภัสสร ร่วมด้วย ไผ่ พงศธร,ตั๊กแตน ชลดา,เอิร์น สุรัตน์ติกานต์,หญิงลี ศรีจุมพล,จุมพล ทองตัน,สนธยา ชิตมณี,ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ,อติรุจ กิตติพัฒนะ และนักแสดงอีกมากมาย ช่อง 9 (2557) มิวสิกวีดีโอ ไม่อยากครับผม ศิลปิน ก๊อท จักรพันธ์ ร้องคู่กับ อาภาพร นครสวรรค์ อัลบั้ม ชุดที่ 7 เพชรตัดเพชร (2554) รางวัล ชนะเลิศ Champ of the Year จากการประกวดคว้าไมค์ คว้าแชมป์ ฤดูกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2554

อ้างอิง

บทความที่สร้างไปแล้ว

[แก้]

บทความที่สร้างเสร็จแล้ว ให้นำต้นฉบับมาเก็บไว้ที่นี่

เนื่องจากหน้าทดลองเขียน เริ่มแน่แล้ว เนื้อหาเริ่มเยอะ เริ่มโหลดช้าและข้อมูลเต็มไปหมด กว่าจะหาเจอ วุ่นวายไปหมด และไม่มีมีความเป็นระเบียบเอาเสียเลย รวมทั้ง อยากจัดหมวดหมู่หน้าที่ทดลองเขียนด้วย จะได้หาดูง่ายหน่อย เลยลองเปิดเขียนหน้า อยากรู้ว่าจะเป็นเช่นไร

โอลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]

โอลิมปิกฤดูหนาว

[แก้]

โอลิมปิกเยาวชน

[แก้]

ซูปเปอร์เซนไต

[แก้]

เมคา

[แก้]

Transformers

[แก้]

Jaeger

[แก้]

Gundum

[แก้]

Mecha Amime

[แก้]

G.I. Joe

[แก้]

Marvel

[แก้]

โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2024

[แก้]
กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 4
สัญลักษณ์การแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 4
เมืองเจ้าภาพเกาหลีใต้ คังว็อน ประเทศเกาหลีใต้
คำขวัญLet's Make It Together (เกาหลี: 같이합시다)
พิธีเปิด19 มกราคม พ.ศ. 2567
พิธีปิด2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
สนามกีฬาหลักAlpensia Sports Park

กีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2024 หรือ วินเตอร์ยูธโอลิมปิกเกมส์ 2024 (อังกฤษ: IV Winter Youth Olympic Games, ฝรั่งเศส: Les IVème Jeux Olympiques de la jeunesse d'hiver;[1] เกาหลี: 제4회 동계 청소년 올림픽, อักษรโรมัน: Jesahoe Donggye Cheongsonyeon Ollimpik) หรือ การแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 4 หรือ คังว็อน 2024 เป็นการจัดการแข่งขันครั้งที่ 4 ของโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ การศึกษาและเทศกาลวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่จังหวัดคังว็อน ประเทศเกาหลีใต้

การคัดเลือกเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้ประกาศในการประชุม IOC สมัยที่ 135 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ ศูนย์ประชุมสวิสเทค ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างการแช่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2020 ซึ่งเป็นกระบวนการคัดเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกแบบใหม่ครั้งแรกและยังเป็นครั้งแรกที่โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวถูกจัดขึ้นนอกทวีปยุโรป

การคัดเลือกเจ้าภาพ

[แก้]
ผลการคัดเลือกเจ้าภาพโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว 2024
เมือง ประเทศ คะแนน
คังว็อน ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 79
ไม่ออกเสียง 2
ขาด 1

การพัฒนาและการเตรียมตัว

[แก้]

สนามแข่งขัน

[แก้]

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

[แก้]

ในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

[แก้]

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]

  *  เจ้าภาพ ( เกาหลีใต้)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 อิตาลี113418
2 เยอรมนี95620
3 เกาหลีใต้*76417
4 ฝรั่งเศส75618
5 จีน69318
6 สหรัฐ511521
7 ออสเตรีย56516
8 สวีเดน44311
9 สหราชอาณาจักร4116
10 ญี่ปุ่น34815
11–32Remaining20273683
รวม (32 ประเทศ)818181243
แหล่งที่มา: Gangwon 2024


อ้างอิง

[แก้]
  1. "French and English are the official languages for the Olympic Games.", [1].(..)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


เวอาห์ แสงเงิน

[แก้]
เวอาห์ แสงเงิน
เกิด8 มีนาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี)
เวอาห์ แสงเงิน
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดง2562 – ปัจจุบัน
สังกัดจีเอ็มเอ็ม

เวอาห์ แสงเงิน (ชื่อเล่น : จอส) เป็นนายแบบ พิธีกร นักแสดงชายชาวไทย สังกัดจีเอ็มเอ็มทีวี เกิดวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2539 ที่อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคอินเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] เริ่มเป็นที่รู้จักจากการเป็นพิธีกรรายการ ดูมันดิ (DoMunDi) และติดอันดับ 1 ใน 50 หนุ่มโสดในฝัน Cleo Bachelors 2017[3] จากนั้นก็มีผลงานถ่ายแบบ เดินแบบ อีกมากมาย ซึ่งผลงานที่เริ่มสร้างชื่อเสียง คือ การแสดงซีรี่ส์เรื่อง สามเราต้องรอด (3 Will Be Free) รับบท นีโอ และการรับบท ป้องกุล เป็นหนุ่มไซด์ไลน์ ในซีรี่ส์เรื่อง เกมรักเอาคืน ทางช่องจีเอ็มเอ็ม 25 คู่กับวรนุช ภิรมย์ภักดี

ผลงานการแสดงเรื่อง สามเราต้องรอด (3 Will Be Free) ทางช่องวัน ซึ่งเขารับบทเป็น นีโอ หนุ่มบาร์โฮส ที่เข้าไปพัวพันกับภรรยาของเสี่ย (รับบทโดย ทราย เจริญปุระ) เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์จอมโหด จากนั้นเกิดเรื่องราวการไล่ล่า ทำให้เขาต้องหนีเพื่อเอาชีวิตรอดกับอีก 2 คน คือ หมิว (รับบทโดย ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล) และ ชิน (รับบทโดย ตะวัน วิหครัตน์)[4]

ประวัติ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ผลงาน

[แก้]

พิธีกร

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2559 ดูมันดิ (DoMunDi TV) พิธีกร

ซีรี่ส์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2562 Friend Zone เอาให้ชัด (รับเชิญ)
2562 Wolf เกมล่าเธอ บาร์เทนเดอร์ (รับเชิญ)
2562 3 เราต้องรอด นีโอ
2562 เกมรักเอาคืน ป้องกุล

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


คริส วู้ด (นักแสดง)

[แก้]
คริส วู้ด
Profile picture of Wood at San Diego Comic-Con in 2017
Wood at the 2017 San Diego Comic Con
เกิดคริส ชาร์ลส์ วู้ด [1]
(1988-04-14) 14 เมษายน ค.ศ. 1988 (36 ปี)
ดับลิน โอไฮโอ, สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเอลอน (B.F.A.)
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงานค.ศ.2010–ปัจจุบัน
คู่สมรสเมลิสซ่า บีนอยส์ (สมรส 2019)

คริส ชาร์ลส์ วู้ด (อังกฤษ: Christopher Charles Wood[1] ; (เกิด 14 เมษายน 2531 [2]) เป็นนักแสดงชายชาวอเมริกัน เขาเป็นที่รู้จักจากการรับบท Malachai Parker จากซีรีส์เรื่อง The Vampire Diaries เป็นซีซันที่หกของซีรีส์ทางโทรทัศน์ The CW ในปี ค.ศ.2014 ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ.2013 เขารับบท อดัม วีเวอร์ เป็นนักเขียนในเรื่อง The Carrie Diaries จนมาถึงปี ค.ศ.2016 เขาได้รับบทนักแสดงนำในซีรี่ส์เรื่อง Containment รับบท เจค ไรลีย์ เจ้าหน้าที่่ตำรวจเมืองแอตแลนตา ระหว่างปี พ.ศ.2559 ถึงปี 2561 เขารับบท Mon-El ในซีรี่ส์ซูปเปอร์ฮีโร่ CW เรื่อง Supergirl

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Chris Wood". TV Guide. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017.
  2. "Chris Wood". Hollywood.com. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017.


นาธาน เฉิน

[แก้]
นาธาน เฉิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มนาธาน เวย์ เฉิน
ตัวแทนประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐ
เกิด (1999-05-05) 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 (25 ปี)
ซอลท์เลก, ยูทาห์
ส่วนสูง1.66 เมตร (5 ฟุต 5 12 นิ้ว)[1]
ผู้ฝึกสอนRafael Arutyunyan, Nadia Kanaeva, Vera Arutyunyan
อดีตผู้ฝึกสอนMarina Zueva, Oleg Epstein, Evgenia Chernyshova, Stephanie Grosscup, Karel Kovar, Amanda Kovar
ผู้ออกแบบท่าShae-Lynn Bourne, Samuel Chouinard and Marie-France Dubreuil
อดีตผู้ออกแบบท่าLori Nichol, Nadia Kanaeva, Marina Zueva, Nikolai Morozov, Phillip Mills, Stephanie Grosscup, Evgenia Chernyshova
คลับที่สังกัดSalt Lake Figure Skating
Current training locationsNew Haven/Cromwell, Connecticut
Former training locationsSalt Lake City, Utah
Lake Arrowhead, California
Artesia, California
Canton, Michigan
Lakewood, California
เริ่มสเกตเมื่อ2002
อันดับโลก1 (2018–19)
3 (2017–18)
10 (2016–17)
37 (2015–16)
34 (2014–15)
46 (2013–14)
128 (2012–13)
อันดับดีสุดในแต่ละฤดูกาล1 (2018–19)[2]
1 (2017–18)[3]
3 (2016–17)[4]
25 (2015–16)[5]
33 (2014–15)[6]
29 (2013–14)[7]
24 (2012–13)[8]
คะแนนดีที่สุดในการแข่งขันเดี่ยวของ ISU
คะแนนรวม335.30 (WR)
2019 Grand Prix Final
โปรแกรมสั้น110.38
2019 Grand Prix Final
ฟรีสเกต224.92 (WR)
2019 Grand Prix Final

นาธาน เฉิน (อังกฤษ: Nathan Chen ; เกิดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1999) เป็นนักสเก็ตลีลาชาวอเมริกันที่เข้าแข่งขันในรายการบุคคลชาย เขาเป็นแชมป์โลกสองสมัย (2018, 2019), ได้รับเหรียญทองแดงการแข่งขันประเภททีมในโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ชนะเลิศการแข่งขันชิงแชมป์ระดับสี่ทวีปปี 2017 ชนะเลิศ Grand Prix Final Championship 3 สมัย ในปี 2017, 2018, 2019 แชมป์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา 4 สมัย (2017, 2018, 2019, 2020) เฉินเป็นนักสเก็ตคนแรกที่ใช้ท่าทั้งห้าในการกระโดดสี่รอบ ได้แก่ Toe loop, Salchow, loop, flip และ Lutz

ในระดับเยาวชนเฉินเป็นผู้ชนะในรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันจูเนียร์กรังด์ปรีปี พ.ศ.2558-2559 ชนะเลิศเหรียญทองแดงรอบสุดท้ายจูเนียร์กรังด์ปรีและผู้ชนะเลิศเหรียญทองแดงโลกจูเนียร์ 2014

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Biography". International Skating Union. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
  2. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
  3. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
  4. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  5. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  6. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  7. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.
  8. "Seasons Best Scores". www.isuresults.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2018.

ประชากร ปิยะสกุลแก้ว

[แก้]
ประชากร ปิยะสกุลแก้ว
เกิด13 เมษายน พ.ศ. 2532 (35 ปี)
ประชากร ปิยะสกุลแก้ว
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดง2552 – ปัจจุบัน
สังกัดโพลีพลัส

ประชากร ปิยะสกุลแก้ว (ชื่อเล่น : ซัน) เป็นนายแบบและนักแสดงชายชาวไทย ในสังกัด โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการถ่ายแบบและเป็นนักแสดงรับเชิญรับบท ติงลี่ ในละครเรื่อง มนต์รักข้าวต้มมัด ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2552[1] เริ่มมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักจากการรับบท ไม้ ในละครระบำดวงดาว ทางช่อง 3

ประวัติ

[แก้]

ประชากร ปิยะสกุลแก้ว ชื่อเล่น ซัน เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2532[2] ที่ จังหวัดนครพนม มีส่วนสูง 183 เซนติเมตร เป็นบุตรของศิริกุล ปิยะสกุลแก้ว และ ประเสริฐ ปิยะสกุลแก้ว และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับโฆษวิส ปิยะสกุลแก้ว นักแสดงเช่นเดียวกัน ซันจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา จังหวัดอุดรธานี ศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ขณะศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานแข่งขันกีฬาเฟรชชี่เกมส์ ปี พ.ศ.2551 และได้รับคัดเลือกเป็นทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ประจำงานฟุตบอลประเพณ๊ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 65 ปี พ.ศ.2552[3]

การศึกษา

[แก้]

ชีวิตในวงการบันเทิง

[แก้]

ซันเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายโฆษณา ถ่ายแบบ เดินแฟชั่น จนได้รับความสนใจจากอรพรรณ วัชรพลชักชวนเข้าเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัดโพลีพลัส โดยเริ่มจากการเป็นนักแสดงรับเชิญในเรื่อง คู่กิ๊กพริกกับเกลือ มนต์รักข้าวต้มมัด และที่เริ่มมีชื่อเสียงจากการรับท "ทิวา" จากละครเรื่องพระจันทร์ลายพยัคฆ์ และ "ไม้" ในละครเรื่องระบำดวงดาว หลังจากนั้น ซันก็มีผลงานละครอีกมากมาย

ผลงาน

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2552 มนต์รักข้าวต้มมัด ติงลี่
2552 คู่กิ๊กพริกกะเกลือ ชาลี
2553 พระจันทร์ลายพยัคฆ์ ทิวา
2553 ระบำดวงดาว ไม้
2555 ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม มาวิน ศักดินานนท์ (วิน)
2555 รักออกอากาศ ปลัดจืด
2555 ลับ ลวง หลอน จอมทัพ
2555 คู่กิ๊กพริกกะเกลือ อาเล่ย (รับเชิญ)
2557 ดงดอกงิ้ว ชโยดม
2558 นางชฎา เอกราช
2558 สุภาพบุรุษซาตาน วุฒิกร
2559 แม่นาก มั่น
2560 ปะการังสีดำ ประวิน
2560 เทวดาตกสวรรค์ วาที

ซีรี่ส์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2562 ยุทธการปราบนางมาร ไซม่อน
2562 2Brothers แผนลวงรัก ฉบับพี่ชาย บดินทร์ อิสระถาวรกูล (ดิน)

ภาพยนตร์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2555 ตีสาม 3D บั๊ม
2557 O.T ผี OVERTIME

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


กฤษกร กนกธร

[แก้]
กฤษกร กนกธร
เกิด27 กันยายน พ.ศ. 2538 (29 ปี)
กฤษกร กนกธร
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดง2559 – ปัจจุบัน
ผลงานเด่นบอสLady Boy Friends The Series เพื่อนกัน มันส์ดี
อนาวิลสาวน้อยร้อยล้านวิว
พี / เทพปฐพี4 เทพผู้พิทักษ์
สังกัดเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์
(2559 − ปัจจุบัน)

กฤษกร กนกธร (ชื่อเล่น : ตงตง) เป็นนักแสดงและนักร้องชายชาวไทย ในสังกัด เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเข้าร่วมประกวดรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 12 โดยเข้ารอบเป็น 8 คนสุดท้าย แต่ตกรอบเป็นคนแรกของซีซั่น หลังจากนั้นก็ได้มีผลงานถ่ายแบบ โฆษณษา และเล่นมิวสิวิดีโอ จนมีผลงานละครเรื่องแรกคือ “Lady Boy Friends The Series เพื่อนกัน มันส์ดี” ในบทบาท “บอส” และมีผลงานปัจจุบันเป็นนักแสดงนำในละครเรื่อง 4 เทพผู้พิทักษ์ ออกอากาศทางช่องวัน

ประวัติ กฤษกร กนกธร มีชื่อเล่น เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2538 ที่จังหวัดมหาสารคาม ตงตงจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[1] สำหรับงานอดิเรกของนักแสดคือการเล่นฟุตบอล และมีนักร้อง นักแสดงรุ่นพี่ บี้ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว เป็นต้นแบบ

ผลงาน

ละครโทรทัศน์

ปี เรื่อง บทบาท
2561 สายรัก สายสวาท ภูบดี นภาธร
2562 สาวน้อยร้อยล้านวิว อนาวิล
2562 4 เทพผู้พิทักษ์ พี / เทพปฐพี

ซีรีส์

ปี เรื่อง บทบาท
2559 Lady Boy Friends The Series เพื่อนกัน มันส์ดี บอส
2561 เมืองมายา Live เดอะซีรีส์ ตอน สายเลือดมายา เอิร์ธ
2562 เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ ตอนเด็กแว้น ประชาชนที่มาร่วมจุดเทียนถวายความอาลัย

ซิทคอม

ปี เรื่อง บทบาท
2559 บางรักซอย 9/1 ชัดแจ้ง

เพลง

ปี เพลง หมายเหตุ
2560 จิ้นใจเต้น ซิงเกิ้ลพิเศษจากซิทคอม บางรักซอย 9/1 ตงตง กฤษกร (Feat. แท่ง ศักดิ์สิทธิ์, อ้อม พิยดา, นน ชานน, พลอย ภัชธร)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


จอง ซึงวอน

[แก้]
จอง ซึงวอน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม จอง ซึงวอน
วันเกิด (1997-02-27) 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (27 ปี)
สถานที่เกิด ช็อนจู, จังหวัดช็อลลาเหนือ, ประเทศเกาหลีใต้
ส่วนสูง 1.70 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองหน้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
สโมสรฟุตบอลแทกู
หมายเลข 18
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2016– สโมสรฟุตบอลแทกู 73 (7)
ทีมชาติ
2019– เกาหลีใต้ U23 7 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2019
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 22 มกราคม 2020


Ahcuna/ทดลองเขียน/บทความ
ฮันกึล
정승원
อาร์อาร์Jeong Seung-won
เอ็มอาร์Chŏng Sŭng-wŏn


จอง ซึงวอน (เกาหลี정승원;อังกฤษ: Jeong Seung-won ; เกิด 27 กุมภาพันธ์ 2540) เป็นนักฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ ตำแหน่งกองหน้า โดยอยู่ภายใต้สังกัดสโมสรฟุตบอลแทกูในเคลีก 1 ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลอาชีพสูงสุดของประเทศเกาหลีใต้

ประวัติ

[แก้]

จอง ซึงวอน เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540[1] ที่เมืองช็อนจู จังหวัดช็อลลาเหนือ ประเทศเกาหลีใต้

สโมสรอาชีพ

[แก้]

ซึงวอนเปิดตัวเป็นนักฟุตบอลอาชีพในนามสโมสรฟุตบอลแทกูครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ในนัดที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ในเคลีก 1[2] เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนักเตะเยาวชนยอดเยี่ยมแห่งปีในงานเคลีกอวอร์ด เมื่อปี 2561[3]

สถิติสโมสรอาชีพ

[แก้]
ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2562
ระดับสโมสร ลีก Cup ระดับทวีป รวม
ฤดูกาล สโมสร ลีก Apps ประตู Apps ประตู Apps ประตู Apps ประตู
เกาหลีใต้ ลีก KFA Cup เอเชีย รวม
2016 สโมสรฟุตบอลแทกู เคลีก 2 0 0 0 0 - 0 0
2017 เคลีก 1 9 0 0 0 - 9 0
2018 31 4 4 0 - 35 4
2019 33 3 1 0 6 0 40 2
รวม 73 7 5 0 6 0 84 7

เกียรติประวัติและรางวัล

[แก้]

ผู้เล่น

[แก้]

สโมสรฟุตบอลแทกู

ระดับนานาชาติ

[แก้]

ทีมชาติเกาหลีใต้รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "จอง ซึงวอน". Soccerway.com. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  2. "Daegu vs. Jeonbuk Motors". Soccerway.com. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 12 July 2019.
  3. "Four footballers vie for K league MVP award". The Korea Times. 22 November 2018. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Daegu FC squad


ประเทศในโอลิมปิก

[แก้]
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Country_alias บรรทัดที่ 205: Invalid country alias: nil
ในเยาวชนฤดูหนาว 2020
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Country_alias บรรทัดที่ 205: Invalid country alias: nil
นักกีฬา5 คน ใน 3 ชนิดกีฬา

ประเทศไทย ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว ครั้งที่ 3 ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 9 - 22 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยได้ส่งทีมนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 5 คน แบ่งเป็นเป็นชาย 3 คนและหญิง 2 คน เข้าร่วมการแข่งขันใน 3 ชนิดกีฬา

จำนวนผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]
กีฬา ชาย หญิง รวม
สกีลงเขา 1 1 2
สกีข้ามทุ่ง 1 1 2
สเกตความเร็วระยะสั้น 1 0 1
รวม 3 2 5

ผลการแข่งขัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]


เยาวชนฤดูร้อน

[แก้]
กีฬากระโดดน้ำ
ในโอลิมปิกครั้งที่
สนามToa Payoh Swimming Complex
สิงคโปร์
วันที่21-24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
จำนวนรายการ4
จำนวนนักกีฬา34 คน จาก 20 ประเทศ
2010 →

กีฬากระโดดน้ำในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 เป็นการแข่งขันกีฬากระโดดน้ำที่จัดขึ้นประเทศสิงคโปร์ กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม ค.ศ.2010 โดยได้จัดขึ้นที่ Toa Payoh Swimming Complex[1]

ซึ่งการแข่งขันกีฬากระโดดน้ำครั้งนี้มีการแข่งขันทั้งหมด 4 รายการ คือ ประเภททีมชาย 2 รายการ และประเภททีมหญิง 2 รายการ รายการผสม 0 รายการ โดยจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขัน 34 คน จาก 20 ประเทศ

ตารางการแข่งขัน

[แก้]

ตารางข้างล่างนี้เป็นตารางการแข่งขันทั้งหมด 4 รายการ

รอบคัดเลือก

[แก้]

สรุปผลการคัดเลือก

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]

สรุปเหรียญรางวัล

[แก้]

ตารางเหรียญรางวัล

[แก้]
อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ olympic.org


Mecha

[แก้]

เมคา (ญี่ปุ่น: メカโรมาจิเมก้า; อังกฤษ: Mecha) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นซึ่งอาจหมายถึงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นไปที่หุ่นยนต์ขนาดใหญ่หรือเครื่องจักร (mechs) ที่ควบคุมโดยมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วเมคาเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบมนุษย์ โดยคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกในภาษาญี่ปุ่น (meka) ซึ่งย่อจากคำว่า mekanikaru (อังกฤษ: mechanical)ในภาษาอังกฤษ แต่ความหมายในภาษาญี่ปุ่นนั้นครอบคลุมมากกว่าคำว่า "หุ่นยนต์" (robotto) หรือ "หุ่นยนต์ยักษ์" ซึ่งความหมายแคบกว่า

เครื่องจักรเหล่านี้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมาก แต่ไม่เหมือนยานพาหนะเพราะมีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือลักษณะกายภาพและขนาดใหญ่กว่ามนุษย์มาก มีหมวดหมู่ย่อยที่แตกต่างกันโดยมีนัยยะต่าง ๆ ของสัจนิยม แนวคิดของ Super Robot และ Real Robot เป็นสองตัวอย่างที่พบในอะนิเมะญี่ปุ่น คำนี้ยังอาจอ้างถึงโลกแห่งความจริงในการใช้งานหุ่นยนต์มนุษย์หรือหุ่นยนต์ที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งที่มีจริงในปัจจุบันหรือยังเป็นภาพร่าง (เช่นในขั้นตอนการวางแผนหรือการออกแบบ) หรือในบริบทของคำภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม "mecha" อาจหมายถึงเครื่องจักรหรือยานพาหนะเคลื่อนที่โดยทั่วไป (รวมถึงเครื่องบิน) มีมนุษย์เป็นผู้บังคับหรืออย่างอื่น

ลักษณะเฉพาะ

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

ประเภท

[แก้]

มังงะและอะนิเมะ

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]

วิดีโอเกมส์

[แก้]

หุ่นเมคาจริง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

เต้ย

[แก้]
เต้ย อภิวัฒน์
เกิด23 กันยายน พ.ศ. 2536 (31 ปี)
อภิวัฒน์ บุญเอนก
อาชีพนักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 25ุ61 - ปัจจุบัน
สังกัดคืนถิ่นสตูดิโอ

เต้ย อภิวัฒน์ หรือ อภิวัฒน์ บุญเอนก นักร้องชาวไทย แนวอาร์แอนด์บี สตริงอีสาน สังกัดค่าย คืนถิ่นสตูดิโอ และเป็นครูระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนบ้านกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ประจำวิชาศิลปศึกษา ดนตรี และ นาฏศิลป์ อภิวัฒน์ เกิดวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2536 ที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเขมราฐพิทยาคม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผลงานเพลง

[แก้]

ฝแันยังรักเธอ ร่วมกับ Night Tingle Ft ยุ่งยิ่ง กนกนันทน์ พ.ศ.2561 ไข่เน่า พ.ศ.2561 ฮักฮ่าง พ.ศ.2561 อีหล่าเอ๋ย พ.ศ.2562 ถ้าอ้ายหน้าใหม่ พ.ศ.2562 อยู่บ่ได้ พ.ศ.2562 คืนนี้ป่ะล่ะ ร่วมกับ เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่นและท๊อป มอซอ พ.ศ.2562

อ้างอิง

[แก้]


Ahcuna/ทดลองเขียน/บทความ
เหรียญรางวัล
นักกรีฑา
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซีเกมส์ 2019 วิ่ง 5,000 เมตร ชาย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซีเกมส์ 2019 วิ่ง 10,000 เมตร ชาย

คีริน ตันติเวทย์

[แก้]

ชื่อเล่น คีแรน เป็นนักกรีฑาทีมชาติไทย (วิ่ง) ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน อายุ 22 ปี เกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักกรีฑาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์และซีเกมส์ และได้รับ 2 เหรียญทองจากการแข่งขันวิ่งในซีเกมส์ 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ขณะนี้กำลังศึกษาชั้นปี 4 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของ ดร.วรเวช ตันติเวทย์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสโครงการให้กับธนาคารโลก ที่วอชิงตัน คีรินยังเป็นนักกรีฑาสมัครเล่นของมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งมีเงื่อนไขว่า นักกรีฑาสมัครเล่นของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะไม่สามารถรับเงินรางวัลใด ๆ ทั้งสิ้นจากการแข่งขันที่ตนเองเข้าร่วมในทุกระดับ ทำให้ต้องสละสิทธิ์เงินรางวัลที่ได้รับจากรัฐบาลหลังการคว้า 2 เหรียญทองซีเกมส์ 2019 ตามเงื่อนไขของการเป็นนักกีฬาสมัครเล่นของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่เขาได้มอบเงินรางวัลให้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเพื่อสมทบกองทุน ‘บูรณะตึกยาว’ ที่บิดาของตนได้จบการศึกษามา[1]

ผลงาน

[แก้]
การแข่งขัน รายการ รอบชิงชนะเลิศ
ผล อันดับ
ซีเกมส์ 2019 วิ่ง 5,000 เมตร ชาย 14:31.15 น. 1
ซีเกมส์ 2019 วิ่ง 10,000 เมตร ชาย 30:19.28 น. 1
เอเชียนเกมส์ 2018 วิ่ง 5,000 เมตร ชาย ไม่ได้เริ่มวิ่ง -
เอเชียนเกมส์ 2018 วิ่ง 10,000 เมตร ชาย 30:29.04 น. 4

อ้างอิง

[แก้]


รายาและมังกรตัวสุดท้าย

[แก้]
Ahcuna/ทดลองเขียน/บทความ
กำกับ
เขียนบท
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
ดนตรีประกอบเจมส์ นิวตัน โฮเวิร์ด[1]
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์
วันฉาย
  • 5 มีนาคม ค.ศ. 2021 (2021-03-05)
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ

รายาและมังกรตัวสุดท้าย (อังกฤษ: Raya and the Last Dragon) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นแฟนตาซีผจญภัยสัญชาติอเมริกันเรื่องที่ผลิตโดยวอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์และวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ จัดจำหน่ายโดยวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์ เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 59 ที่สร้างโดยสตูดิโอนี้ กำกับโดย ดอน ฮอลล์ และ คาร์ลอส โลเปซ เอสตราดา โดยมี พอล บริกส์ และ จอห์น ริปา ร่วมกำกับ[2] อำนวยการสร้างโดย ออสแนต ชูเรอร์ และ ปีเตอร์ เดล เวโค เขียนบทโดย ฉุย เหงียน และ อะเดล ลิม และดนตรีประกอบแต่งโดย เจมส์ นิวตัน โฮเวิร์ด [1] ภาพยนตร์เรื่องนี้มีนักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเกือบทั้งหมดรวมถึงเสียงพากย์ของ เคลลี่ มารี ทราน ในบท รายา และ อควาฟินา ในบท ซีซู มังกรตัวสุดท้าย พร้อมด้วย เจมมา ชาน, แดเนียล แด คิม, ฉวนดรา โอห์, เบเนดิกต์ หว่อง, ไอแซค หวัง, ธาเลีย ทราน และ อลัน ทูดิก

รายาและมังกรตัวสุดท้าย มีกำหนดเข้าฉายในสหรัฐในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าฉายพร้อมกันใน ดิสนีย์พลัสด้วยพรีเมียร์แอคเซส เพื่อตอบสนองต่อผลกระทบของการระบาดทั่วของโควิด-19ที่มีต่อโรงภาพยนตร์ทั่วสหรัฐซึ่งหลายแห่งยังคงปิดอยู่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "James Newton Howard Scoring Disney's 'Raya and the Last Dragon'". filmmusicreporter.com. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ entertainmentweekly

โปสเตอร์โอลิมปิก

[แก้]

โปสเตอร์โอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Poster) เป็นส่วนหนึ่งของแผนการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งคิดค้นขึ้นในแต่ละครั้งโดยประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพื่อการสื่อสารที่ดีขึ้นและง่ายขึ้นของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญนี้ โปสเตอร์โอลิมปิกมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสถานที่และเวลาของการแข่งขัน และสะท้อนบริบททางสังคม วัฒนธรรม และบางครั้งในบริบททางการเมืองของประเทศเจ้าภาพในแต่ละครั้ง[1] คณะกรรมการจัดการแข่งขันของประเทศเจ้าภาพ มักจะประกาศเพื่อรับการประกวดออกแบบโปสเตอร์ จากนั้นคณะกรรมการพิเศษจะตัดสินเลือกโปสเตอร์อย่างเป็นทางการของการแข่งขัน กระบวนการออกแบบมักจะได้รับแนวทางที่เข้มงวดสำหรับเนื้อหา เนื่องจากคณะกรรมการได้ตัดสินใจแล้วเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ต้องการรวมไว้ในการออกแบบและข้อความเฉพาะที่ต้องการสื่อ

แม้ว่าปัจจุบันนี้การสร้างโปสเตอร์ถือว่าจำเป็น แต่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ครั้งแรกนั้นไม่มีโปสเตอร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเฉพาะของการแข่งขัน โปสเตอร์อย่างเป็นทางการใบแรกที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หลังจากได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการที่มีอำนาจแล้ว คือโปสเตอร์สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1912 ที่จัดขึ้นในกรุงสตอกโฮล์ม โดยในโปสเตอร์แสดงการเดินพาเหรดของประเทศต่าง ๆ โดยมีนักกีฬาเป็นตัวแทนถือธงชาติของตน และโปสเตอร์ทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล[2]

อ้างอิง

[แก้]