ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน15

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร[แก้]

รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย[แก้]

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส.กทม.ในงาน ‘10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10’ ของพรรคเพื่อไทย จะดำเนินการให้รถไฟฟ้าทุกเส้นทาง คิดค่าบริการตลอดเส้นทาง ‘20 บาท’ ภายในปี 2568 ผ่านร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม [1]

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง[แก้]

อัตราค่าโดยสาร
  • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท
  • ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 23 บาท

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน[แก้]

เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งเชื่อมระหว่างสามสนามบิน คือ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีอายุสัมปทาน 50 ปี โดยมีการเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ล่าสุดอาจมีการย้ายตำแหน่งของบางสถานีทำให้ต้องจัดทำรายงาน EIA ฉบับใหม่ อาจมีผลกระทบต่องานก่อสร้าง โดยจะเป้าที่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับผู้รับสัมปทานในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 โดยเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” จะสร้างเสร็จใน 5 ปี เปิดบริการในปี พ.ศ. 2569 ส่วนเฟสที่สองช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะพร้อมเปิดบริการในปี พ.ศ. 2571[2]

สถิติผู้ใช้บริการ[แก้]

ดร.พิเชฐ กล่าวว่าเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 มีผู้โดยสารที่ใช้บริการระบบรางสูงสุด จำนวน 1,900,790 คน-เที่ยว มากกว่าครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จำนวน 126 คน-เที่ยว (27 พ.ย.66 จำนวน 1,900,664 คน-เที่ยว)[3]

1.รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 86,013 คน-เที่ยว ประกอบด้วย

1.1 ขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์ จำนวน 31,797 คน-เที่ยว 1.2 ขบวนรถโดยสารเชิงสังคม จำนวน 54,216 คน-เที่ยว

2. รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง) จำนวน 1,814,777 คน-เที่ยว ประกอบด้วย

2.1 รถไฟฟ้า Airport Rail Link จำนวน 79,935 คน-เที่ยว (นิวไฮ) สูงสุดตั้งแต่มีสถานการณ์ covid-19

2.2 รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จำนวน 34,515 คน-เที่ยว (รวมรถไฟทางไกลเชื่อมต่อสายสีแดงฟรี จำนวน 116 คน-เที่ยว)

2.3 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) จำนวน 512,450 คน-เที่ยว

2.4 รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) จำนวน 81,373 คน-เที่ยว

2.5 รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทและสายสีลม จำนวน 954,047 คน-เที่ยว

2.6 รถไฟฟ้า สายสีทอง จำนวน 7,840 คน-เที่ยว

2.7 รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง จำนวน 49,579 คน-เที่ยว

2.8 รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู จำนวน 95,038 คน-เที่ยว

รถไฟฟ้าสายสีม่วง[แก้]

สายสีม่วงส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทางรวม 23.6 กม. (12.6 กม. สําหรับโครงสร้างใต้ดิน และ 11 กม. สําหรับโครงสร้างยกระดับ) กับ 17 สถานี (10 สถานีใต้ดินและ 7 สถานียกระดับ) จะเปิดให้บริการในปี 2028 เมื่อแล้วเสร็จจะมีระยะทางรวม 46.6 กม. และอุโมงค์ใต้แม่น้ําเจ้าพระยา เชื่อมสถานีสามยอดไปยังสถานีสะพานอนุสรณ์ ต้องลึกลง 41 เมตรในระดับที่ลึกที่สุด อุโมงค์นี้จะเป็นอุโมงค์รถไฟฟ้า MRT ที่ลึกที่สุดในประเทศไทย และเป็นอุโมงค์รถไฟฟ้า MRT แห่งที่ 2 ที่ข้ามใต้แม่น้ำเจ้าพระยา[4] (อุโมงค์แรกเป็นของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)

รถไฟฟ้าสายสีชมพู[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]

รหัส ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง ที่ตั้ง วันที่เปิดให้บริการ
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
เส้นทางสายหลัก
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี แม่แบบ:BTS Lines สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
แม่แบบ:BTS Lines สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
บางกระสอ เมืองนนทบุรี นนทบุรี พ.ศ. 2564
PK02 แคราย
PK03 สนามบินน้ำ ท่าทราย
PK04 สามัคคี
PK05 วัดชลประทาน บางตลาด ปากเกร็ด
PK06 แยกปากเกร็ด ปากเกร็ด
PK07 เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
PK08 แจ้งวัฒนะ 28 คลองเกลือ
PK09 เมืองทองธานี
PK10 ศรีรัช เส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์)
PK11 แจ้งวัฒนะ 14 ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
PK12 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
PK13 ทีโอที
PK14 หลักสี่ แม่แบบ:BTS Lines สถานีหลักสี่ ตลาดบางเขน
PK15 ราชภัฏพระนคร อนุสาวรีย์ บางเขน
PK16 วัดพระศรีมหาธาตุ แม่แบบ:BTS Lines สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
PK17 รามอินทรา 3
PK18 ลาดปลาเค้า
PK19 รามอินทรา 10
PK20 มัยลาภ ท่าแร้ง
PK21 วัชรพล แม่แบบ:BTS Lines สถานีวัชรพล
PK22 รามอินทรา 40 รามอินทรา คันนายาว
PK23 คู้บอน
PK24 รามอินทรา 83
PK25 ปัญญาอินทรา คันนายาว
PK26 นพรัตน์
PK27 บางชัน มีนบุรี มีนบุรี
PK28 เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
PK29 ตลาดมีนบุรี
PK30 มีนบุรี แม่แบบ:BTS Lines สถานีมีนบุรี
อาคารจอดแล้วจร, ศูนย์ซ่อมบำรุง
เส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์)
PK10 ศรีรัช เส้นทางสายหลัก คลองเกลือ ปากเกร็ด นนทบุรี ยังไม่มีข้อสรุป
PKS01 อิมแพคชาเลนเจอร์ บ้านใหม่
PKS02 ทะเลสาบเมืองทองธานี

รถไฟฟ้าบีทีเอส[แก้]

อัตราค่าโดยสาร[แก้]

ในการให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส จะแบ่งช่วงราคาอัตราค่าโดยสารเป็น 5 โซน ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร กรุงเทพธนาคม และบีทีเอส มีนโยบายลดภาระค่าโดยสารร่วมกันโดยการลดค่าแรกเข้าระหว่างโซน เช่นเดินทางจากสถานีคูคต ไปสถานีเคหะฯ จะได้รับส่วนลดค่าแรกเข้าระหว่างโซน 30 บาท ซึ่งเมื่อรวมค่าโดยสารทั้งสามโซนแล้ว สายสุขุมวิท จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 104 บาทตลอดสาย ในส่วนสายสีลม จะลดค่าแรกเข้าระหว่างโซน 15 บาท ซึ่งเมื่อรวมค่าโดยสารทั้งสองโซนแล้ว จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุด 53 บาท

ในปัจจุบัน บีทีเอสมีนโยบายลดค่าโดยสาร 50% จากอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บเมื่อใช้บัตรแรบบิทประเภทผู้สูงอายุ และกรุงเทพมหานครมีนโยบายลดค่าโดยสารในสถานีส่วนต่อขยายสำหรับทั้งบัตรนักเรียน นักศึกษา และบัตรผู้สูงอายุ จาก 15 บาทตลอดสาย เหลือ 7-10 บาท

โครงการรถไฟฟ้าในอนาคต[แก้]

กรุงเทพมหานคร[แก้]

  • สายสีเทา แบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยมีการปรับเปลี่ยนจำนวนสถานีของช่วงที่ 2 และ 3 ใหม่ ดังนี้

ช่วงที่ 1 สายสีเทาส่วนเหนือ (วัชรพล-ทองหล่อ) จำนวน 15 สถานี

ช่วงที่ 2 สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 1 (พระโขนง - พระราม 3) จำนวน 7 สถานี

ช่วงที่ 3 สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 2 (พระราม 3 - ท่าพระ) จำนวน 17 สถานี

  • สายสีเงิน ช่วงบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายจากสีฟ้าอ่อนไปเป็นสีเงิน โดยมีจำนวน 14 สถานี รูปแบบจะเป็นรถไฟฟ้าแบบรางเบา (LRT)
  • สายสีฟ้า ช่วงประชาสงเคราะห์ - ช่องนนทรี จำนวน 9 สถานี (มักจะเกิดความสับสนเรื่องชื่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน)

โดยทั้ง 2 โครงการ รูปแบบจะเป็นรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล

ในเดือนมีนาคม 2566 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยว่ามีแนวคิดที่จะมอบโครงการสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ, สายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการแทน[6]

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าที่จะต้องลงทุนก่อสร้างใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร กลับคืนไปให้กระทรวงคมนาคม จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสายสีเทา สายสีเงิน และสายสีฟ้า[7]

ปทุมธานี[แก้]

เชียงใหม่[แก้]

8 ม.ค. 2567 แผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่[9] ในส่วนของรถไฟฟ้า มีดังนี้

แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ (CM-PMAP)

โดยมีระบบหลัก (Trunk Route, Light Rail Transit: LRT) ประกอบด้วย

  • สายสีแดง ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี
  • สายสีน้ำเงินระยะทาง 10.47 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี
  • สายสีเขียว ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี

และระบบ Feeder (รถประจำทาง) ประกอบด้วย ระบบรอง จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 89 กิโลเมตร ระบบเสริม จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 85 กิโลเมตร

โครงการรถไฟฟ้า สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)

ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการที่เหมาะสม และพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนโครงการฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 67 เช่นเดียวกับแทรมภูเก็ต แต่ต้องใช้เวลานานกว่าเพราะเส้นทางผ่านเขตเมืองเก่า ต้องสำรวจทางโบราณคดี และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย

โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่

ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ระยะที่1 กรุงเทพมหานคร – พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ปัจจุบันฝ่ายญี่ปุ่นศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการแล้วเสร็จ และผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะกลาง (พ.ศ.2571 - 2575) สำหรับระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กิโลเมตร ปัจจุบันผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะยาว (พ.ศ.2576-2585)

ภูเก็ต[แก้]

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต(แทรมภูเก็ต) ว่า อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมโครงการฯ ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ปัจจุบัน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ที่มีช่องจราจรแคบ รวมถึงแนวเส้นทางที่เป็นจุดตัดระหว่างการจราจรบนทางหลวง กับขนส่งมวลชนทางราง ตลอดจนทบทวนรูปแบบการลงทุน ระบบรถไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ และค่าโดยสารเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนเริ่มโครงการในอีก 2 ปีข้างหน้าตามนโยบายที่มอบไว้เมื่อเดือน ก.ย.66หรือเริ่มโครงการภายในเดือน ก.ย.68

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ต้องเร่งก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง(ทล.) ให้แล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นทางเลี่ยงช่วงก่อสร้างแทรมภูเก็ต เบื้องต้นยังเป็นแนวเส้นทางเดิม เริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต สิ้นสุดบริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กม.จุดตัดผ่านแยกต่างๆ ระหว่างถนน และทางวิ่งแทรม บนถนน ทล.402 ได้ปรับรูปแบบให้เป็นอุโมงค์ทางลอด(คลองแห้ง) โดยแทรมจะวิ่งลอดใต้ถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และส่งผลกระทบต่อการจราจรน้อยที่สุด

นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า อุโมงค์ทางลอดทล. 402 รอบนอกตัวเมืองภูเก็ต ออกแบบรวม 5 จุด ได้แก่ 1.บริเวณก่อนถึงโรงเรียนเมืองถลาง ความยาว 1.10 กม., 2.บริเวณแยกมุดดอกขาว ความยาว 1.30 กม., 3.บริเวณผ่านเขตอำเภอถลาง ความยาว 3.25 กม., 4.บริเวณหน้าเทศบาลศรีสุนทรความยาว 1.10 กม. และ 5.บริเวณแยกเกาะแก้ว - แยกบางคู ความยาว 2.60 กม.

ขอนแก่น[แก้]

รถไฟฟ้าในจังหวัดขอนแก่น มี 2 โครงการ คือ

1.LRT ขอนแก่น ระยะทาง 22.6 กิโลเมตร

ประวัติโครงการ

บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนขึ้นด้วยการร่วมกันของเทศบาล 5 เทศบาลในจังหวัดขอนแก่น เพื่อดำเนินงานโครงการขอนแก่น Smart City ได้ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติงานโครงการรถไฟฟ้ารางเบา งานโครงการ KK-1,KK-2 (ระยะที่ 1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบาสายเหนือ-ใต้ มีผู้ผ่านโครงการๆละ 1 ราย[10]

โดยก่อนหน้านี้เมื่อประมาณปี 2560 ทาง KKTS ได้ประกาศจัดซื้อ จัดจ้างเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา 3 โครงการ ได้แก่

  1. KK-1 งานเหมาออกแบบ ก่อสร้าง งานโยธา ผลิต ติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภท Tram
  2. KK-2 งานจ้างเหมาปฏิบัติ บำรุงรักษา บริหารจัดการพื้นที่สถานี
  3. KK-3 งานจ้างที่ปรึกษาอิสระ ควบคุมและรับรอง

โดยขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้เข้าเสนอจะต้องนำเสนอการพิจารณาทั้งหมด 4 ซอง โดยทาง KKTS จะพิจารณาและประกาศทีละซอง ซึ่งแต่ละซองประกอบไปด้วย

  1. ซองที่ 1 เอกสารแสดงคุณสมบัติ
  2. ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค
  3. ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคา
  4. ซองที่ 4 ข้อเสนอด้านการเงิน (ยกเว้น KK-3)

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ทาง KKTS ประกาศผู้ผ่านโครงการที่ 3 (KK-3) ได้ผลสรุปผู้ได้รับเลือกเป็นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา WCE และในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ทาง KKTS ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในโครงการที่ 1 (KK-1) และโครงการที่ 2 (KK-2) ซึ่งเป็นการพิจารณาซองที่ 1 จากทั้งหมด 4 ซอง

โดยผู้ผ่านสำหรับงาน KK-1 (งานเหมาออกแบบ ก่อสร้าง งานโยธา ผลิต ติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภท Tram) ระยะเวลาสัญญา 3 ปี ได้แก่ กิจการร่วมค้า CKKM ซึ่งกิจการร่วมค้านี้ประกอบไปด้วย 4 บริษัท ได้แก่

  1. บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 49
  2. บริษัท ช ทวี (1993) จำกัด ร้อยละ 45
  3. บริษัท เคเทค บิลดิง คอนแทรคเตอร์ส จำกัด ร้อยละ 6
  4. บริษัท MCC OVERSEAS LIMITED -ยังไม่ลงทุน- (มีบริษัท China Metallurgical Group Corporation เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจของจีน เป็นบริษัทจัดซื้อจัดจ้าง งานวิศวกรรม งานก่อสร้าง)[11]

และงาน KK-2 (งานจ้างเหมาปฏิบัติ บำรุงรักษา บริหารจัดการพื้นที่สถานี) ระยะเวลาสัญญา 30 ปี ได้แก่ นิติบุคคลร่วมทำงาน KLRTT ซึ่งประกอบไปด้วย 2 กลุ่มนิติบุคคล ได้แก่

  1. บริษัท เคแอลอาร์ที จำกัด ร้อยละ 60 (CHO ร่วมลงทุนในบริษัท ร้อยละ 49)
  2. บริษัท เทพนคร ขอนแก่นเดินรถ จำกัด ร้อยละ 40 (บริษัท เคเคทีที โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ร้อยละ 96) [12]

สำหรับการประกาศครั้งนี้เป็นเพียงการประกาศ ซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ ยังเหลือการพิจารณาและประกาศในอีก 3 ซองที่เหลือซึ่งต้องติดตามกันต่อไป

ความคืบหน้า

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 KKTS ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในจังหวัดขอนแก่น ในการพิจารณาเพิ่มสถานีและเส้นทางจากเดิม 16 สถานี ระยะทาง 22.6 กม. เป็นทั้งหมด 20 สถานี ระยะทาง 26 กม. โดยให้รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งเข้าไปในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและประชาชนมากยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 พล.ต.ชาติชาย ประดิษฐ์พงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) เปิดเผยว่าได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) กับกิจการร่วมค้า CKKM-CRRC Consortium ซึ่งมีบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำและบริษัท CRRC Nanjing Puzhen จากประเทศจีน โดยในระยะเวลา 1 ปีกิจการร่วมค้า CKKM จะต้องเจรจากับสถาบันการเงินต่างๆเพื่อจัดหาเงินกู้ให้กับโครงการ ในขณะที่ KKTS ต้องประสานกับส่วนราชการ เช่น กรมการข้าว กระทรวงเกษตรฯ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างภายใน 1 ปี หากสำเร็จก็จะสามารถลงนามสัญญาก่อสร้างได้ในปี 2565 และก่อสร้างอีก 3 ปี แล้วเสร็จในปลายปี 2568 และเปิดบริการในต้นปี 2569[13]

  • LRT สายหลักในเส้นทางสำราญ - ท่าพระ ระยะทาง 22.8 กิโลเมตร เริ่มต้นงานก่อสร้างในช่วงปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้างราว 3 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2571 มูลค่าการลงทุน 26,963 ล้านบาท (ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนต่อรองดอกเบี้ยกับสถาบันทางการเงิน รวมทั้งสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการ)[14]

รายชื่อสถานีรถไฟรางเบา (16 สถานี)

  1. ท่าพระ
  2. กุดกว้าง
  3. บขส 3
  4. ประตูน้ำ
  5. แยกเจริญศรี
  6. บิ๊กซี
  7. เซ็นเตอร์พ้อยส์
  8. แยกประตูเมือง
  9. แยกสามเหลี่ยม
  10. ไทยสมุทร
  11. โตโยต้า
  12. รพ.ศรีนครินทร์
  13. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  14. โลตัสเอ็กตร้า
  15. หนองกุง
  16. บ้านสำราญ

2. โครงการรถไฟฟ้ารางเบารอบบึงแก่นนคร (“แทรมน้อย”)

ระยะทางประมาณ 4.4 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 650 ล้านบาท ก่อสร้างในต้นปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้างราว 2 ปี จะเปิดให้บริการในปี 2570

บัตรแรบบิท[แก้]

โครงการที่สามารถใช้บัตรแรบบิทได้ มีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้าอื่นๆ[แก้]

แก้ไขรายละเอียดย่อย[แก้]

ในหมวดหมู่:สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มจากสถานีบางจากเป็นสถานีต้นแบบ ดังนี้

  • ใช้ข้อความว่า เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ
  • สิ่งอำนวยความสะดวก

ลิฟต์ สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งไปยังชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และจากชั้นขายบัตรโดยสารไปยังชั้นชานชาลาทั้ง 2 ฝั่ง

  • ตรงหมวดหมู่ด้านล่าง ใช้ชื่อสถานีนั้นๆแทน หมวดหมู่:สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส|บางจาก จะทำให้แยกเรียงตามตัวหนังสือแทน

อ้างอิง[แก้]

  1. ‘พรรคเพื่อไทย’ ประกาศ รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ภายในปี 2568
  2. รถไฟไทย-จีน VS ไฮสปีด CP สายไหนจะสร้างเสร็จก่อนกัน
  3. ผู้โดยสารระบบรางพุ่งเฉียด 2 ล้านคน ทุบสถิติสูงสุด รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ นิวไฮ 7.9 หมื่นคน (วันที่ 9 ธันวาคม 2566)
  4. อุโมงค์รถไฟฟ้าลึกสุดในไทย สีม่วงใต้สร้างตำนานบทใหม่
  5. "ด่วน ปรับขึ้นราคาค่าโดยสารบีทีเอสเป็น 17-47 บาท". bangkokbiznews. 2022-11-30.
  6. ชัชชาติ โยนรถไฟฟ้า 3 สาย ให้ รฟม. รอรัฐบาลหน้าตัดสินใจ
  7. กทม.ยกเลิกโครงการสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย "เงิน-เทา-ฟ้า"
  8. โครงการศึกษาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดปทุมธานี
  9. "สุรพงษ์"เร่งพัฒนาขนส่งมวลชน"เชียงใหม่"แก้รถติด ขยายถนนวงแหวน -ผุดรถไฟฟ้ารางเบา-ใช้พื้นที่บวท. เช็กอิน"รับเดินทางเพิ่ม
  10. https://m.facebook.com/story/graphql_permalink/?graphql_id=UzpfSTEwMDAwMTg2NTg1ODQ4MDpWSzo2NDI0MDA5OTY1ODI2MzY%3D
  11. https://www.kkts.co.th/home/1123 ประกาศ1
  12. https://www.kkts.co.th/home/1129 ประกาศ2
  13. ลุยต่อ! “แทรมขอนแก่น” เร่งหาเงินกู้-เคลียร์ที่ดินสร้างปี 65 เปิดบริการต้นปี 69
  14. [1]
  15. RTC รุกเดิน “รถบัสไฮโดรเจน” นำร่องเชียงใหม่-ขอนแก่น-สงขลา-ภูเก็ต


­