คิกออฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิกออฟ
ทันใจ ทันเกม เพื่อคนรักกีฬา
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
รูปแบบกีฬา (Sport)
(ฟุตบอลยุโรปเป็นหลัก)
เจ้าของบริษัท ฐานเศรษฐกิจ จำกัด
ผู้เผยแพร่ฐานการพิมพ์
บรรณาธิการบริหารอภิสิทธิ์ อภิสุขสิริ
ก่อตั้งเมื่อ22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ภาษาภาษาไทย
ฉบับสุดท้าย31 มกราคม พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่เลขที่ 222 อาคารฐานเศรษฐกิจ
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ยอดจำหน่าย80,000 ฉบับ
(ข้อมูลปี พ.ศ. 2549)

คิกออฟ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันในประเทศไทย นำเสนอข่าวกีฬาต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดจนข้อมูลอัตราต่อรองการแข่งขันกีฬาทั่วโลก จากบริษัทรับพนันระดับโลกหลายแห่งด้วย

ประวัติ[แก้]

หนังสือพิมพ์กีฬารายวันคิกออฟ ออกวางแผงเป็นฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดของสมศักดิ์ ศรีวุฒิชาญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฐานเศรษฐกิจ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของคิกออฟ ในยุคเริ่มต้นมีจำนวน 24 หน้า จำหน่ายราคา 10 บาท โดยก่อนหน้านั้น 3 วัน ระหว่างวันจันทร์ที่ 19 - วันพุธที่ 21 กรกฎาคม ออกเป็นฉบับทดลองซึ่งมีเนื้อหาเท่ากัน แต่จำหน่ายในราคาเพียง 5 บาทเท่านั้น ซึ่งกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์กีฬา โดยเฉพาะข่าวการแข่งขันฟุตบอลสโมสรในยุโรป ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากคิกออฟสร้างจุดเด่นให้แก่ตัวเอง ด้วยการใช้กระดาษปอนด์ในการพิมพ์หนังสือ ทำให้มีสีสันสวยงาม หมึกพิมพ์ไม่ติดมือ ต่างจากสตาร์ซอคเก้อร์รายวัน ที่มือของผู้อ่านมักติดหมึกพิมพ์ที่ใช้กับกระดาษนิวส์ปรินท์ โดยมี นอสตราดามุส อภิสิทธิ์ อภิสุขสิริ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายข่าว และ ธิ ไร่ส้ม ศุทธิเดช ลางคุลเสน(ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว) เป็นบรรณาธิการบริหาร

 ต่อมาในช่วงปีที่ 3-4 คือราวปี พ.ศ. 2545-2546 คิกออฟวิวัฒนาการตัวเองถึงขีดสุด โดยมีเนื้อที่หน้ากระดาษเพิ่มขึ้น แบ่งเป็นหน้าบรอดชีต ซึ่งเริ่มจากใช้กระดาษโปสเตอร์จำนวน 4 หน้า พิมพ์ภาพนักฟุตบอลเป็นโปสเตอร์ขนาดใหญ่ เต็มสองหน้ากระดาษ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่หนังสือพิมพ์กีฬามีโปสเตอร์แถมฟรีทุกฉบับแก่ผู้อ่าน หลังจากนั้นหลายเดือน ก็เปลี่ยนไปใช้กระดาษปอนด์ แต่เพิ่มจำนวนเป็น 8 หน้า โดยปรับให้ปกหน้าเป็นพาดหัวข่าวใหญ่ และปกหลังเป็นหน้าต่อข่าวจากปกหน้า ส่วนภายในยังคงตีพิมพ์ภาพนักฟุตบอล เป็นโปสเตอร์ขนาดใหญ่เต็มหน้าเช่นเดิม อีกส่วนหนึ่งเป็นขนาดแท็บลอยด์ จำนวน 48 หน้า เสนอข่าวสารฟุตบอล กีฬา และคอลัมน์ต่างๆ ทั้งหมดจำหน่ายในราคา 12 บาท และได้มีการตั้งแผนกวิทยุขึ้นทางFM97 โดยใช้ชื่อรายการว่า Sports on line โดยมีรายการที่พลิกวงการวิทยุกีฬาแนวใหม่นั่นก็คือรายการคู่หูผีบ้าบอลโดยมี ดีเจป๋อง กพล ทองพลับ และมลมัมมี เป็นผู้ดำเนินรายการ และปั้นนักพากย์ระดับประเทศมาประดับวงการในปัจจุบันไว้อย่างมากมายจนกระทั่งในช่วงปีที่ 7-8 หลังการเสียชีวิตของท่านผ.อ.สมศักดิ์ไม่นาน คิกออฟกลับเพิ่มราคาเป็น 15 บาท และเมื่อราวปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 คิกออฟยังเปลี่ยนกระดาษที่พิมพ์ เป็นกระดาษนิวส์ปรินท์ เช่นเดียวกับสตาร์ซอคเก้อร์รายวัน ซึ่งเท่ากับเป็นการทิ้งจุดขายอันโดดเด่นที่สุดของตัวเองลงไปด้วย และอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ยอดจำหน่ายลดลงอย่างชัดเจน จนกระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 คิกออฟออกหนังสือมาเป็นฉบับสุดท้าย และปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่สามารถแบกรับรายจ่าย ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้อีกต่อไป รวมระยะเวลาที่ออกจำหน่ายทั้งหมดประมาณ 9 ปี 6 เดือน จนวันนี้เกือบ10ปี ที่คิกออฟได้ห่างหายไปจากวงการสื่อกีฬา และในวันนี้ คิกออฟโดยคุณ วุฒิชัย ศรีวุฒิชาญ ทายาทของ ท่านผ.อ.สมศักดิ์ ได้นำคิกออฟกลับสู่วงการสื่อกีฬาอีกครั้ง แต่ด้วยกาลเวลาและวิวัฒนาการของสื่อที่เปลี่ยนไปจึงทำให้ คิกออฟนั้นได้กลับมาในรูปแบบขอสื่อโซเซียลมีเดีย  และเป็นการกลับมาสู่โลกของสื่อกีฬาอย่างเต็มตัวอีกครั้ง

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]