บุนนาค
บุนนาค | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Clusiaceae |
วงศ์ย่อย: | Kielmeyeroideae |
เผ่า: | Calophylleae |
สกุล: | Mesua |
สปีชีส์: | M. ferrea |
ชื่อทวินาม | |
Mesua ferrea L. | |
ชื่อพ้อง | |
บุนนาค หรือ สารภีดอย หรือ นาคบุตร เป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง ดอกหอม อยู่ในวงศ์เดียวกันกับส้มป่องและติ้วแดง พบได้ในอินเดียและศรีลังกา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้น ตามริมห้วย ลำธาร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 6-700 เมตร ต้นสูงประมาณ 25-30 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 2-3 ซ.ม. ยาว 7-12 ซ.ม.ใบอ่อนจะมีสีแดง ดอกสีขาวหอมเย็น ออก เป็นกระจุก 2-1 ดอก กลีบดอกรูปไข่กลับ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย มีเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1.5 ซม.กลีบเลี้ยงกลมโค้งขนาด 1.5 ซ.ม.
เป็นไม้วงศ์เดียวกับ ต้นชะมวงหรือส้มป่อง มะดะหรือมังคุดป่า ต้นติ้วแดงและ ต้นติ้วขน จัดกลุ่มอยู่ในไม้พวก Iron wood คือเนื้อแข็ง ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ต้นบุนนาคสามารถพบได้ในอินเดียและศรีลังกา
ประโยชน์[แก้]
ในตำรายาแผนไทย พบว่าแทบทุกส่วนของบุนนาคนำมาใช้ประโยชน์ทางยาได้หมด
- เนื้อไม้ - เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำหมอนรถไฟ การก่อสร้าง ด้านร่ม เป็นต้น
- ใบ-ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู
- เปลือกต้น -แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ
- แก่น -แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต
- ดอกแห้ง - เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ
- เมล็ด - มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่น ๆ
- ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย
- ราก - ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย
เกร็ดความรู้[แก้]
- บุนนาคเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตร
อ้างอิง[แก้]
- Trees in the Garden by the Botanical Garden Organization office of Prim Minister. Printed by Sanga Sabhasri Research Foundation.