กระเชา
ระวังสับสนกับ กระเจา
กระเชา | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Ulmaceae |
สกุล: | Holoptelea |
สปีชีส์: | H. integrifolia |
ชื่อทวินาม | |
Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. |
กระเชา เป็นชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia ในวงศ์ Ulmaceae สูง 15–30 เมตร ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งบนที่ราบหรือตามเชิงเขาที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก พบในอินเดีย พม่า ไทย และภูมิภาคอินโดจีน
กระเชาเป็นไม้ที่โตเร็วและทนไฟป่าได้ดี เนื้อไม้สดมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน เครื่องกลึง แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น[แก้]
- ขจาว, ขะจาว[1], ขจาวแจง, ขเจา, ฮังคาว (ภาคเหนือ)
- ฮ้างคาว (เชียงราย)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พูคาว (นครพนม)
- มหาเหนียว (นครราชสีมา)
- ฮ้างคาว (ชัยภูมิ, อุดรธานี)
- กระเจา, กระเจ้า, กระเชา (ภาคกลาง)
- กระเช้า (กาญจนบุรี)
- กระเชาะ (ราชบุรี)
- กาซาว (เพชรบูรณ์)
- กระเจาะ, ขจาว, ขเจา (ภาคใต้)
ดูเพิ่ม[แก้]
บรรณานุกรม[แก้]
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 28.
- ราชบัณฑิตยสถาน. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2547, หน้า 29.
อ้างอิง[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับพืชนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พรรณพฤกษา |