ยี่โถ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ยี่โถ | |
---|---|
ยี่โถ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Apocynaceae |
สกุล: | Nerium |
สปีชีส์: | N. oleander |
ชื่อพ้อง | |
|
ยี่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium oleander L.) มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี พ.ศ. 2352-2364 เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง เป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานเมล็ดทำให้เวียนศีรษะ ง่วงนอน ถ่ายเป็นเลือด เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ชัก[1]
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]ยี่โถ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว ๑๕-๑๗ cm. กว้าง ๑.๗-๒.๐ cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม
การปลูกยี่โถ สามารถปลูกได้ทุกที่เนื่องจากขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิดได้ดี โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง
ประโยชน์
[แก้]- ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก ผล ใบ
- ผล ขับปัสสาวะ
- ดอก แก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
- ใบ ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ (มีความเป็นพิษสูงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง)
- นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาฆ่าแมลง และยาเบื่อหนูได้
ชื่อเรียกภาษาอื่น ๆ
[แก้]ภาษา | ชื่อเรียก |
---|---|
ไทย | ยี่โถ ยี่โถไทย ยี่โถจีน ยี่โถดอกขาว ยี่โถดอกแดง (ภาคกลาง)อินโถ (ภาคเหนือ) |
อังกฤษ | Oleander, Sweet Oleander และ Rose Bay |
ยี่โถในวรรณกรรม
[แก้]- ยี่โถปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
"ลำดวนดอกดกเต็มต้น
รสสุคนธ์ปนมะลิผลิดอกโต
ยี่เข่งเข็มสารภี ยี่โถ
ดอกส้มโอกลิ่นกล้าน่าดม
"
- รำพันพิลาปสุนทรภู่
" เห็นทับทิมริมกุฎีดอกยี่โถ สะอื้นโอ้อาลัยจิตใจหาย"
- สรรพสิทธิ์คำฉันท์ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
“…มะลิวัลย์อัญชันช่อ ทุกก้านกอสรล่มสรลอน
ชงโค ยี่โถ ขจร รสรื่นรรวยรมย์…”
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายละเอียด ยี่โถ[ลิงก์เสีย] จากเว็บ [1]
- รายละเอียด ยี่โถ จากเว็บ [2]