กรรณิการ์
หน้าตา
กรรณิการ์ | |
---|---|
ดอกกรรณิการ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Scrophulariales |
วงศ์: | Oleaceae |
สกุล: | Nyctanthes |
สปีชีส์: | N. arbor-tristis |
ชื่อทวินาม | |
Nyctanthes arbor-tristis L.[1] |
กรรณิการ์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้จากตอนเหนือของปากีสถานและเนปาลไปทางใต้ถึงตอนเหนือของอินเดียและตะวันออกเฉียงใต้ของไทย[2][3][4]หลอดกลีบดอกมีสีส้ม ใช้ย้อมผ้าไหมได้ โดยเก็บดอกที่ร่วงแล้ว เด็ดเฉพาะส่วนหลอด ตากให้แห้ง ต้มกับน้ำกรองเอากากทิ้ง ใช้ย้อมผ้าไหมให้สีส้ม เปลือกต้นชั้นในผสมกับปูนขาวได้สีแดง ใช้ย้อมผ้าได้เช่นกัน ดอกใช้แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน เปลือกต้นชั้นในต้มน้ำดื่มแก้ปวดศีรษะ ใบแก้ไข้ รากใช้บำรุงกำลังแก้ท้องผูก[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nyctanthes arbor-tristis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ Germplasm Resources Information Network: Nyctanthes arbor-tristis เก็บถาวร 2012-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Flora of Pakistan: Nyctanthes arbor-tristis
- ↑ AgroForestry Tree Database: Nyctanthes arbor-tristis เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 314
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Nyctanthes arbor-tristis
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nyctanthes arbor-tristis ที่วิกิสปีชีส์