นะฉิ่นเหน่าง์
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นะฉิ่นเหน่าง์ နတ်သျှင်နောင် | |||||
---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์แห่งตองอู | |||||
ครองราชย์ | 11 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 1 สิงหาคม] 1609 – 4 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 23 สิงหาคม] 1610 | ||||
ราชาภิเษก | 21 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 สิงหาคม] 1609 | ||||
ก่อนหน้า | เมงเยสีหตูที่ 2 | ||||
ถัดไป | ยกเลิก | ||||
คู่อภิเษก | ราชธาตุกัลยา | ||||
พระราชบุตร | พระราชโอรส 6 พระองค์และพระราชธิดา 3 พระองค์โดยพระสนม | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ตองอู | ||||
พระราชบิดา | เมงเยสีหตูที่ 2 | ||||
พระราชมารดา | เมงเกงสอ | ||||
ประสูติ | ประมาณมกราคม 1579 ตองอู | ||||
สวรรคต | 9 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 30 มีนาคม] 1613 (34 พรรษา) สิเรียม | ||||
ศาสนา | พุทธเถรวาท โรมันคาทอลิก (ในภายหลัง) |
นะฉิ่นเหน่าง์ (อังกฤษ: Natshinnaung; พม่า: နတ်သျှင်နောင်) หรือ นักสาง นักส้าง ตามพงศาวดารไทย เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าตองอู (สีหตู) อันเป็นพระอนุชาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง นะฉิ่นเหน่าง์นั้นเป็นที่เลื่องลือในพม่าว่าเป็นมีความสามารถด้านการกวีสูงอย่างยิ่งและมีความรอบรู้ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ต่อมานะฉิ่นเหน่าง์ได้ปกครองเมืองตองอูต่อจากบิดา ต่อมาได้เป็นผู้วางยาพิษปลงพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง
ในช่วงนั้นเครือข่ายอำนาจของพม่าแตกออกเป็นสามขั้วคือ อังวะ แปร และตองอู พระเจ้าอังวะคือ พระเจ้าอโนเพตลุน ได้ยึดเมืองแปรได้ นะฉิ่นเหน่าง์เห็นว่าเมืองตองอูคงไม่อาจสามารถต่อสู้กับอังวะได้จึงสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยาซึ่งในสมัยนั้นมี สมเด็จพระเอกาทศรถปกครองอยู่ ต่อมาพระเจ้าอังวะได้บุกเมืองตองอู นะฉิ่นเหน่าง์ได้ขอความช่วยเหลือต่อกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเอกาทศรถทรงให้นายพลฟิลิปป์ เดอ บริโต ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสยกทัพไปช่วย แต่ไปไม่ทันเมืองตองอูก็แตกซะก่อน นะฉิ่นเหน่าง์จึงหนีไปที่เมืองสิเรียมกับนายพลฟิลิป เดอ บริโตและเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าอังวะสั่งให้ฟิลิปป์ เดอบริโตส่งตัวนะฉิ่นเหน่าง์มาให้ตน แต่นายพลเดอบริโตไม่ยอมพระเจ้าอังวะจึงเข้าโจมตีเมืองสิเรียมในปี พ.ศ. 2156 แล้วจับนายพลฟิลิปป์ เดอ บริโตไปตรึงกางเขนและบังคับให้นะฉิ่นเหน่าง์มานับถือพุทธแต่ไม่ยอมจึงถูกประหารชีวิต[1][2]
เรื่องพระสังขทัต[แก้]
ในพงศาวดารไทยในตอนศึกเมืองรุมเมืองคัง ได้กล่าวถึงกองทัพของพระสังขทัตที่ยกมาตีเมืองรุมเมืองคัง ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงว่าเป็นใครมาจากไหน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าคือโอรสพระเจ้านันทบุเรงที่ได้เป็นพระเจ้าแปร ต่อมาทรงเปลี่ยนสันนิษฐานเป็นนะฉิ่นเหน่าง์ในพระนิพนธ์หนังสือไทยรบพม่า และในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้เชื่อกันว่าพระสังขทัตคือนะฉิ่นเหน่าง์ แต่พงศาวดารเกตุมดีตองอูระบุว่านะฉิ่นเหน่าง์มีอายุได้ 13 ปี ในสงครามยุทธหัตถี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในศึกเมืองรุมเมืองคัง นะฉิ่นเหน่าง์จะมีอายุประมาณ 2-3 ปี ทำให้พระสังขทัตไม่น่าจะเป็นคนเดียวกันกับนะฉิ่นเหน่าง์
ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระสังขทัตควรเป็นพระเจ้าเมาะตะมะสิริสุธรรมราชา พระราชโอรสของพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางราชเทวี ซึ่งมีพระนามเดิมว่าสังฆทัตถ (သင်္ဃဒတ္ထ) หรือ สังฆาทัตถ (သင်္ဃာ ဒတ္ထ) อันมีความใกล้เคียงกับชื่อพระสังขทัตในพงศาวดารไทยมาก[3][4][ระบุข้อมูลอ้างอิงไม่ครบ]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Maung Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. pp. 137–140
- ↑ Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 78–79. ISBN 978-0-374-16342-6, 0-374-16342-1.
- ↑ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1238825226180945/
- ↑ https://pantip.com/topic/32774880