ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์

ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ (อังกฤษ: Gas giant) หรือบางครั้งเรียกกันว่า ดาวเคราะห์โจเวียน (อังกฤษ: Jovian planet; เรียกตามชื่อดาวพฤหัสบดี หรือดาวจูปิเตอร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ที่ใหญ่ที่สุด) คือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มิได้มีองค์ประกอบของหินหรือสสารแข็ง ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ 4 ดวงคือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ยังมีดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์อื่น ๆ ที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ อีก
ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ "ดั้งเดิม" คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีส่วนประกอบโดยพื้นฐานเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ส่วนดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนอาจจัดเป็นประเภทย่อยอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์" เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น น้ำ แอมโมเนีย และมีเทน ส่วนไฮโดรเจนกับฮีเลียมจะอยู่ในส่วนรอบนอกสุดของดาว สำหรับกลุ่มดาวเคราะห์นอกระบบ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) คือดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมากและมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เราสามารถตรวจจับมันพบได้ง่าย ลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากที่ค้นพบ จะเป็นแบบ ดาวพฤหัสบดีร้อน นี้เกือบทั้งหมด
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- SPACE.com: Q&A: The IAU's Proposed Planet Definition 16 August 2006 2:00 am ET
- BBC News: Q&A New planets proposal Wednesday, 16 August 2006, 13:36 GMT 14:36 UK
- Gas Giants in Science Fiction: List เก็บถาวร 2008-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน