ดาวมาคีมาคี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มาคีมาคี)
มาคีมาคี  🝼
การค้นพบ
ค้นพบโดย:ไมเคิล อี. บราวน์,
ชาด ทรูจิลโล,
ดาวิด ราบิโนวิตซ์
ค้นพบเมื่อ:31 มีนาคม พ.ศ. 2548
ชื่ออื่น ๆ:2005 FY9
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย:ดาวเคราะห์แคระ, พลูตอยด์,
วัตถุพ้นดาวเนปจูน (คิวบีวาโน) [1]
ลักษณะของวงโคจร[2][3]
ต้นยุคอ้างอิง JD 2,435,135.5
ระยะจุดใกล้ศูนย์กลางวงโคจรที่สุด:5,760.8 จิกะเมตร
(38.509 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดไกลศูนย์กลางวงโคจรที่สุด:7,939.7 จิกะเมตร
(53.074 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:6,850.3 จิกะเมตร
(45.791 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.159
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
4.419 กิโลเมตร/วินาที
มุมกวาดเฉลี่ย:85.13°
ความเอียง:28.96°
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
79.382°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
298.41°
ดาวบริวารของ:ดวงอาทิตย์
จำนวนดาวบริวาร:ไม่มี
ลักษณะทางกายภาพ
มิติ:1300-1900 กิโลเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
~1,500 กิโลเมตร[4]
พื้นที่ผิว:~7,000,000 ตารางกิโลเมตร
ปริมาตร:~1.8×109 ลูกบาศก์กิโลเมตร
มวล:~4×1021 กิโลกรัม
ความหนาแน่นเฉลี่ย:~2 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (สันนิษฐาน)
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
~0.47 เมตร/วินาที²
ความเร็วหลุดพ้น:~0.84 กิโลเมตร/วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
ยังไม่ทราบ
อัตราส่วนสะท้อน:78.2+10.3
−8.6
(เรขาคณิต) [4]
อุณหภูมิ:30-35 เคลวิน[b]
อุณหภูมิพื้นผิว:
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
ลักษณะของบรรยากาศ

มาคีมาคี (การตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย: 136472 มาคีมาคี; อังกฤษ: Makemake; /ˌmɑːkiːˈmɑːkiː/[5]; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก [ˈmakeˈmake];[6] สัญลักษณ์: 🝼)[7] เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์[a] ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต[8] ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย[9]

จากเริ่มแรกที่มีชื่อว่า 2005 FY9 (และต่อมามีหมายเลขดาวเคราะห์น้อย 136472 กำกับ) ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) พร้อมทีมค้นหา ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้รวมมาคีมาคีไว้ในรายชื่อวัตถุที่มีสภาพเหมาะสมที่จะได้รับสถานะ "พลูตอยด์" (Plutoid) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกประเภทของดาวเคราะห์แคระที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป บริเวณเดียวกับดาวพลูโตและดาวอีริส ในที่สุดมาคีมาคีก็ได้รับการจัดให้เป็นพลูตอยด์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551[5][10][9][11]

การค้นพบ[แก้]

ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 จากพร้อมทีมค้นหาที่มีไมเคิล อี. บราวน์เป็นผู้นำ[3] มีการเผยแพร่ข่าวการค้นพบสู่สาธารณะเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการประกาศค้นพบดาวอีริสและตามหลังการประกาศค้นพบดาวเฮาเมอาเมื่อสองวันก่อน[12]

แม้ว่าดาวมาคีมาคีจะมีความสว่างอยู่บ้าง แต่กลับไม่มีผู้ค้นพบมันจนกระทั่งหลังจากที่วัตถุแถบไคเปอร์อื่น ๆ จางลงมาก การค้นหาดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่จะค้นหาจากท้องฟ้าที่อยู่ใกล้กับแนวสุริยวิถี (บริเวณบนท้องฟ้าที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ปรากฏเมื่อมองจากโลก) เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะพบวัตถุฟากฟ้าใหม่ ๆ ที่บริเวณนั้น แต่เนื่องจากวงโคจรของดาวมาคีมาคีมีระนาบเอียงมาก และยังอยู่ในระยะไกลจากแนวสุริยวิถีมากที่สุดในขณะที่ถูกค้นพบ (ทางด้านเหนือของกลุ่มดาวผมเบเรนิซ[13]) จึงเป็นไปได้ว่ามันอาจจะรอดพ้นจากการถูกตรวจพบในการสำรวจครั้งก่อน ๆ ไปได้

นอกจากดาวพลูโตแล้ว ดาวมาเกมาเกเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวที่สว่างมากพอที่ไคลด์ ทอมบอ (Clyde Tombaugh) อาจค้นพบได้ระหว่างการค้นหาดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูนประมาณคริสต์ทศวรรษ 1930[14] ในช่วงเวลาที่ทอมบอทำการสำรวจอยู่นั้น มาคีมาคีมีตำแหน่งอยู่ห่างจากแนวสุริยวิถีเพียงไม่กี่องศา ใกล้กับเขตแดนของกลุ่มดาววัวและกลุ่มดาวสารถี[c] โดยมีอัตราความสว่างปรากฏอยู่ที่ 16.0[13] อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ก็ยังอยู่ใกล้กับทางช้างเผือก จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะพบดาวดวงนี้ท่ามกลางพื้นหลังที่หนาแน่นไปด้วยดวงดาว ทอมบอยังคงค้นหาต่อไปอีกหลายปีหลังจากที่เขาค้นพบดาวพลูโต[15] แต่เขาก็ประสบความล้มเหลวในการค้นพบดาวมาเกมาเกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูนออกไป

การตั้งชื่อ[แก้]

ดาวมาเกมาเกมีชื่อชั่วคราวว่า 2005 FY9 เมื่อข่าวการค้นพบได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยก่อนหน้านั้นทีมค้นหาได้ใช้ชื่อรหัสว่า อีสเตอร์บันนี (Easter Bunny) เรียกดาวดวงนี้ เพราะได้พบมันไม่นานหลังจากวันอีสเตอร์ได้ผ่านไป[16]

และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับกฎการตั้งชื่อของสหภาพดาราศาสตร์นานาชาติสำหรับวัตถุชั้นเอกในแถบไคเปอร์ ดาว 2005 FY9 ก็ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของเทพผู้สร้างพระองค์หนึ่ง โดยชื่อมาคีมาคี (Makemake) เทพเจ้าผู้ให้กำเนิดมนุษยชาติและเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ในเทวตำนานของชาวราปานุยซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเกาะอีสเตอร์[5] ได้รับการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความเชื่อมโยงระหว่างดาวดวงนี้กับวันอีสเตอร์ไว้[16]

ดาวบริวาร[แก้]

มาคีมาคี มีดวงจันทร์ที่เป็นที่รู้จักเพียงดวงเดียว ซึ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2558-2559 (ภาพการค้นพบในปี 2558 และประกาศเมื่อปี 2559) คาดว่าดวงจันทร์อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 200 กม. [17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brian G. Marsden (2008-07-17). "MPEC 2008-O05 : Distant Minor Planets (2008 Aug. 2.0 TT)". IAU Minor Planet Center. Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 2008-09-27.
  2. Marc W. Buie (2008-04-05). "Orbit Fit and Astrometric record for 136472". SwRI (Space Science Department). สืบค้นเมื่อ 2008-07-13.
  3. 3.0 3.1 "JPL Small-Body Database Browser: 136472 (2005 FY9)". NASA Jet Propulsion Laboratory. 2008-04-05. สืบค้นเมื่อ 2008-06-11.
  4. 4.0 4.1 J. Stansberry; W. Grundy; M. Brown; และคณะ (February 2007). "Physical Properties of Kuiper Belt and Centaur Objects: Constraints from Spitzer Space Telescope" (abstract). The Solar System beyond Neptune. University of Arizona Press. สืบค้นเมื่อ 2008-08-04.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Dwarf Planets and their Systems". Working Group for Planetary System Nomenclature (WGPSN). U.S. Geological Survey. 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-07-13.
  6. Robert D. Craig (2004). Handbook of Polynesian Mythology. ABC-CLIO. p. 63. ISBN 1576078949. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  7. JPL/NASA (2015-04-22). "What is a Dwarf Planet?". Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
  8. Michael E. Brown (2006). "The discovery of 2003 UB313 Eris, the 10th planet largest known dwarf planet". California Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
  9. 9.0 9.1 Michael E. Brown. "The Dwarf Planets". California Institute of Technology, Department of Geological Sciences. สืบค้นเมื่อ 2008-01-26.
  10. Gonzalo Tancredi; Sofia Favre (June 2008). "Which are the dwarfs in the Solar System?" (PDF). Icarus. 195 (2): 851–862. doi:10.1016/j.icarus.2007.12.020. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
  11. International Astronomical Union (2008-07-19). "Fourth dwarf planet named Makemake" (Press release). International Astronomical Union (News Release - IAU0806). สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
  12. Thomas H. Maugh II and John Johnson Jr. (2005). "His Stellar Discovery Is Eclipsed". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
  13. 13.0 13.1 "Asteroid 136472 Makemake (2005 FY9)". HORIZONS Web-Interface. JPL Solar System Dynamics. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  14. M. E. Brown; M. A. van Dam; A. H. Bouchez; และคณะ (2006-03-01). "Satellites of the Largest Kuiper Belt Objects". The Astrophysical Journal. 639: L43–L46. doi:10.1086/501524.
  15. "Clyde W. Tombaugh". New Mexico Museum of Space History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-25. สืบค้นเมื่อ 2008-06-29.
  16. 16.0 16.1 Mike Brown (2008). "Mike Brown's Planets: What's in a name? (part 2)". California Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
  17. Parker, A. H.; Buie, M. W.; Grundy, W. M.; Noll, K. S. (2016-04-25). "Discovery of a Makemakean Moon". The Astrophysical Journal. 825 (1): L9. arXiv:1604.07461. Bibcode:2016ApJ...825L...9P. doi:10.3847/2041-8205/825/1/L9.