ดาวหางในแถบหลัก
หน้าตา
ดาวหางในแถบหลัก คือวัตถุที่โคจรอยู่ในระบบสุริยะในบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย แต่มีลักษณะปรากฏและคุณสมบัติคล้ายคลึงกับดาวหางในระหว่างการโคจรบางช่วง ดาวหางกลุ่มนี้จะแตกต่างกับดาวหางทั่วไปที่มักมีวงโคจรไกลกว่าดาวพฤหัสบดี และมีวงโคจรที่ค่อนข้างกลมอยู่ในบริเวณแถบหลักซึ่งแตกต่างจากวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอื่นๆ ดาวหางคาบสั้นจำนวนหนึ่งอาจมีค่ากึ่งแกนเอกต่ำกว่าวงโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่ดาวหางในแถบหลักจะมีความเยื้องศูนย์กลางที่เล็กกว่า และความเอียงวงโคจรก็คล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยในแถบหลัก มีดาวหางในแถบหลักที่รู้จักแล้ว 3 ดวงซึ่งพบว่ามีวงโคจรอยู่ในบริเวณขอบรอบนอกของแถบดาวเคราะห์น้อย[1]
สมาชิก
[แก้]เท่าที่ทราบในปัจจุบันมีดาวหางในแถบหลักอยู่ 4 ดวง[2][3] ดังนี้
- 133P/Elst-Pizarro
- 176P/LINEAR
- P/2005 U1 (Read)
- P/2008 R1 (Garradd)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Diagram เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Henry Hsieh's Main Belt Comets webpage.
- ↑ Carl Hergenrother's message[ลิงก์เสีย] on Comets mailing list
- ↑ Discussion เก็บถาวร 2022-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน between Gonzalo Tancredi and Carl Hergenrother on Comets mailing list