นาฏศิลป์ในประเทศลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวโขนสำหรับแสดงเรื่องพระลักพระลาม

นาฏศิลป์ในประเทศลาว (ลาว: ນາດຕະກັມລາວ; "นาฏกรรมลาว") เป็นนาฏศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวซึ่งพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย และการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ มีทั้งนาฏศิลป์ในราชสำนัก และนาฏศิลป์พื้นบ้าน เช่น หมอลำ หนังตะลุง หลวงพระบางและเวียงจันทน์เป็นแหล่งของนาฏศิลป์แบบดั้งเดิมในราชสำนัก และนาฏศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลจากราชสำนักสยาม[1]

นาฏศิลป์ดั้งเดิม[แก้]

เป็นนาฏศิลป์ที่พัฒนาขึ้นในราชสำนักล้านช้างซึ่งคล้ายกับที่พบในราชสำนักสยาม ส่วนใหญ่แสดงเรื่องพระลักษมณ์พระราม (รามเกียรติ์หรือรามายณะฉบับลาว) หรือจากนิทานชาดก รวมทั้งวรรณคดีท้องถิ่นเช่นสินไซ (สังข์ศิลป์ชัย) การแสดงแบบนี้มีสองประเภทคือโขนและละคร โขนเป็นการแสดงเรื่องพระลักษมณ์พระราม ใช้ตัวแสดงชายหญิง[2] ละครเป็นการแสดงที่ส่วนใหญ่ใช้ผู้หญิง ส่วนหนังตะลุงเป็นการแสดงที่คล้ายวายังของชาวมลายู และเล่นเรื่องราวที่หลากหลายกว่าโขนและละคร

ลำลาว[แก้]

หมอลำและหมอแคนขณะแสดงในประเทศฝรั่งเศส

ลำลาวหรือหมอลำเป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านของลาว โดยนักร้องเป็นผู้เล่าเรื่อง ใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีหลัก แต่ก็ใช้เครื่องดนตรีอื่นประกอบได้ การแสดงแบบเดียวกันนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรียกหมอลำ แต่ในลาว คำว่าหมอลำจะเน้นที่ตัวผู้ขับร้อง

ฟ้อนรำพื้นเมือง[แก้]

ฟ้อนรำพื้นเมืองเป็นการฟ้อนรำที่มีความหลากหลาย โดยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือลำตังหวายและลำสาละวันทางภาคใต้ของลาว[3] ฟ้อนรำพื้นเมืองที่เป็นที่นิยมคือรำวง ซึ่งเป็นการแสดงประจำชาติของลาวที่มีลักษณะร่วมกับรำวงในไทยและกัมพูชา นิยมเล่นในงานฉลองรื่นเริงต่างๆ[4]

ลำเรื่อง[แก้]

ลำเรื่องเป็นหมอลำประเภทหนึ่ง โดยหมอลำผู้ขับร้องจะแต่งตัวและแสดงท่าทางประกอบได้หลากหลาย เรื่องราวที่แสดงมีหลากหลาย เช่นนิทานชาดก ไปจนถึงโครงการพัฒนาและปัญหาในชุมชน ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบมีหลากหลายทั้งดนตรีคลาสสิกและดนตรีสมัยใหม่ ขึ้นกับลักษณะของเรื่องที่จะเล่า[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Laos. (2001). Rubin, D., Pong C. S., Caturvedi, R., et al (ed.) World encyclopedia of contemporary theatre: Asia/Pacific. (Vol. III). New York, NY: Routlegde.
  2. Brandon, J. R. (1993). The cambridge guide to asian theatre. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
  3. Lao cultural profile. (2008, February 26). Retrieved from http://www.culturalprofiles.net/laos/Directories/Laos_Cultural_Profile/-54.html
  4. Mansfield, S. and Koh, M. (2008). Cultures of the world: laos. Tarrytown, NY: Marshall Cavendish Corp.
  5. Clewley, J. (2001). 'Laos: beyond our khaen.' World music: latin and north america, caribbean, india, asia and pacific. (II ed.) Broughton, S., Duane, O., McConnachie, J. (ed.) New York, NY: Penguin Putnam.