การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2556–57

← 2555
2563 →

จำนวนทั้งสิ้น 7 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง
  First party Second party Third party
 
พรรค ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ไม่สังกัดพรรคใด
จำนวนจังหวัดที่ชนะ 4 1 2

แผนที่แสดงการเลือกตั้งนายก อบจ. ใน พ.ศ. 2556–57
     มีการเลือกตั้ง      ไม่มีการเลือกตั้ง

แผนที่แสดงพรรคที่ผู้ชนะการเลือกตั้งสังกัด
     ประชาธิปัตย์      เพื่อไทย
     ไม่สังกัดพรรค      ไม่มีการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2556 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ทั้งสิ้น 5 จังหวัด โดยเป็นจังหวัดที่นายก อบจ. ครบวาระ 3 จังหวัด ได้แก่ พังงา มุกดาหาร สุราษฎร์ธานี, ลาออก 2 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล

การเลือกตั้ง[แก้]

เรียงลำดับตามวันที่จัดการเลือกตั้ง

พังงาสตูลสงขลาสุราษฎร์ธานีมุกดาหาร

พังงา[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากการครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ของฉกาจ พัฒนกิจย์วิบูลย์ อดีต นายก อบจ. พังงา คนล่าสุด หลังจากหมดระยะเวลาการรับสมัครพบว่ามีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งรวม 2 คน ได้แก่ ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ ผู้สมัครหมายเลข 1 และบำรุง ปิยนามวาณิช ผู้สมัครหมายเลข 2

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าบำรุง ปิยนามวาณิช ได้รับเลือกด้วยคะแนนสูงสุด มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 55.29[1]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา พ.ศ. 2556
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ บำรุง ปิยนามวาณิช (2) 48,468 53.98 เพิ่มขึ้น10.32
อิสระ ฉกาจ พัฒนกิจย์วิบูลย์ (1) 41,318 46.02 ลดลง0.04
ผลรวม 89,786 100.00
บัตรดี 89,786 87.46
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 8,766 8.54
บัตรเสีย 4,108 4.00
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 102,660 55.30
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 185,665 100.00

สตูล[แก้]

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ได้ยื่นใบลาออกจากการดำรงตำแหน่งก่อนครบวาระ จึงกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลคนใหม่ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ 2 หมายเลข ได้แก่ สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ ผู้สมัครหมายเลข 1 ทีมประชาธิปัตย์ และ ซอซีฮีล อิสมาแอล ผู้สมัครหมายเลข 2 ทีมสตูลอาเซียน

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 65.40 เปอร์เซ็นต์ ผู้สมัครหมายเลข 1 สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุด[2]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล พ.ศ. 2556
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ (1) 67,307 55.46 ลดลง16.28
ทีมสตูลอาเซียน (สนับสนุนโดย พรรคชาติไทยพัฒนา) ซอซีฮีล อิสมาแอล (2) 54,059 44.54 ผู้สมัครใหม่
ผลรวม 121,366 100.00
บัตรดี 121,366 88.78
ไม่ประสงค์ลงคะแนน N/A
บัตรเสีย N/A
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 136,700 65.40
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 209,006 100.00

สงขลา[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สืบเนื่องจากการลาออกจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดวาระของ อุทิศ ชูช่วย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 4 คนประกอบด้วย ผู้สมัครหมายเลข 1 อุทิศ ชูช่วย, ผู้สมัครหมายเลข 2 นิพนธ์ บุญญามณี, ผู้สมัครหมายเลข 3 พิณ คงเอียง, ผู้สมัครหมายเลข 4 จรัญ อรุณพันธุ์

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้สมัครหมายเลข 2 นิพนธ์ บุญญามณี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุด มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละ 66.99[3][4]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2556
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ นิพนธ์ บุญญามณี (2) 347,589 57.77 ใหม่
ทีมสงขลาพัฒนา อุทิศ ชูช่วย (1) 243,639 40.49 ลดลง9.49
ทีมสงขลาพอเพียง จรัญ อรุณพันธ์ (4) 6,343 1.05 ใหม่
อิสระ พิณ คงเอียง (3) 4,114 0.68 ใหม่
ผลรวม 601,685 100.00
บัตรดี 601,685 92.21
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 36,207 5.55
บัตรเสีย 14,644 2.24
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 652,536 66.99
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 974,035 100.00

สุราษฎร์ธานี[แก้]

การเลือกตั้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556 หลังจากการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งของ มนตรี เพชรขุ้ม อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้จำนวน 4 คน ได้แก่ สรรเสริญ ฤกษ์อุไร ผู้สมัครหมายเลข 1, มนตรี เพชรคุ้ม ผู้สมัครหมายเลข 2 กลุ่มสุราษฎร์ร่มเย็น, ทนงศักดิ๋ ทวีทอง ผู้สมัครหมายเลข 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์, วิรัตน์ อดุลย์วิโรจน์ ผู้สมัครหมายเลข 4

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ทนงศักดิ์ ทวีทอง ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 54.90[5][6]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2556
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ ทนงศักดิ์ ทวีทอง (3) 259,739 67.34 ใหม่
กลุ่มสุราษฎร์ร่มเย็น มนตรี เพชรขุ้ม (2) 243,639 30.92 ลดลง7.21
อิสระ สรรเสริญ ฤกษ์อุไร (1) 5,024 1.30 ใหม่
อิสระ วิรัตน์ อดุลย์วิโรจน์ (4) 1,676 0.43 ใหม่
ผลรวม 385,706 100.00
บัตรดี 385,706 95.69
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 12,437 3.09
บัตรเสีย 4,931 1.22
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 403,081 54.90
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 734,257 100.00

มุกดาหาร[แก้]

หลังจากที่ มาลัยรัก ทองผา ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2552 ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหารครบวาระ 4 ปี คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งรวม 4 คน ได้แก่ หมายเลข 1 สมประดิษฐ์ ไตรยวงศ์, หมายเลข 2 นางมลัยรัก ทองผา, หมายเลข 3 วรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์, และหมายเลข 4 เรือนแก้ว ศรีหาคิม

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มลัยรัก ทองผา ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงสุด เข้าดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหารเป็นสมัยที่ 2[7]

ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2556
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ มลัยรัก ทองผา (2) 48,976 30.68 ลดลง19.45
อิสระ สมประดิษฐ์ ไตรยวงค์ (1) 42,925 26.89
อิสระ วรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ (3) 40,405 25.31
อิสระ เรือนแก้ว ศรีหาคิม (4) 27,303 17.11
ผลรวม 159,609 100.00
บัตรดี 159,609
ไม่ประสงค์ลงคะแนน N/A
บัตรเสีย N/A
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง N/A
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง N/A

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""บำรุง ปิยนามวาณิช" ชิงเก้าอี้นายก อบจ.พังงา คืนสำเร็จ". mgronline.com. 2013-05-13.
  2. "เลือกตั้งนายก อบจ.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ยังกำชัย". www.thairath.co.th. 2013-07-01.
  3. "'นิพนธ์' เข้าวินเลือกตั้งนายกอบจ.สงขลา ทิ้งขาดคู่แข่งกว่าแสน". www.thairath.co.th. 2013-08-04.
  4. "ผลการเลือกตั้ง "นายก อบจ.สงขลา"อย่างไม่เป็นทางการ "นิพนธ์ บุญญามณี" ชนะ "อุทิศ ชูช่วย" ขาดลอย โดย "อุทิศ" ได้ 243,639 คะแนน ขณะที่ "นิพนธ์" ได้ 374,589 คะแนน". ผลการเลือกตั้ง "นายก อบจ.สงขลา"อย่างไม่เป็นทางการ "นิพนธ์ บุญญามณี" ชนะ "อุทิศ ชูช่วย" ขาดลอย โดย "อุทิศ" ได้ 243,639 คะแนน ขณะที่ "นิพนธ์" ได้ 374,589 คะแนน ~ อ่าน วารสาร. 2013-08-05.
  5. "ผลเลือกตั้งนายก อบจ.สุราษฎร์ฯ "ทวีศักดิ์" ปชป.โค่นแชมป์เก่า "มนตรี"". mgronline.com. 2013-09-16.
  6. ""ทนงศักดิ์"ผงาดนั่งเก้าอี้นายกเล็กสุราษฎร์". posttoday. 2013-09-15.
  7. "ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร อย่างไม่เป็นทางการ". 30 กันยายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2022.