นาคร ศิลาชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เปิ้ล นาคร)
นาคร ศิลาชัย
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
ไทย ประเทศไทย
คู่สมรสกษมา ศิลาชัย (จูน)
บุตร4 คน
อาชีพนักแสดง พิธีกร นักกีฬา ยูทูบเบอร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2531 – ปัจจุบัน
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

นาคร ศิลาชัย ชื่อเล่น เปิ้ล​ เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2508 เป็นนักแสดง พิธีกร ชาวไทย จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเป็นพิธีกรร่วมในยุทธการขยับเหงือก เป็นพิธีกร รายการ สาระแนจังดึก, นั่งยางโชว์[1]

ประวัติ[แก้]

ด้านการแข่งขันเจ็ตสกี ได้รับรางวัลการแข่งขันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แชมป์ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ รุ่น Pro runabout 800 super stock ปี 2547, แชมป์ประเทศไทยปี 2545 Novice runabout 0-1200 stock, ผลงานระดับนานาชาติเช่น แชมป์ประเทศไทย การแข่งขันเจ็ตสกี ชิงแชมป์ไทยแลนด์ โอเพ่นปี 2542 และได้รับรางวัล Novice runabout 1200 stock, Novice runabout 1200 stock-slalom, Novice runabout 1200 Limited-slalom จากสหรัฐอเมริกา รวมถึงรางวัล Novice runabout 1200 stock-slalom ยังเป็นการทำลายสถิติโลกอีกด้วย นอกจากนี้ยังร่วมแข่งขันชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกาในรุ่น Pro-am runabout 800 super stock[2]

นาคร ได้สมรสกับนางกษมา ศิลาชัย (จูน) (สกุลเดิม: มยุรมาศ) พร้อมจดทะเบียนสมรสที่เขตบางรัก เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 มีบุตร-ธิดา 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน ดังนี้

  1. เด็กหญิงศิศิรา ศิลาชัย (ออกัส)
    เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  2. เด็กชายนครา ศิลาชัย (ออก้า)
    เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554
  3. เด็กชายนครินทร์ ศิลาชัย (ออกู๊ด)
    เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558
  4. เด็กหญิงศิริกร ศิลาชัย (ออเกรซ)
    เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ผลงาน[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2533–2535 เหตุเกิดที่ สน. รับเชิญ ช่อง 7
2534 คู่ทรหด ตอน ตรี บุญทิวาพร ตรี บุญทิวาพร ช่อง 5
2537–2538 ว้าวุ่น คิด ช่อง 7
2537 สนทนาประสาจน ช่อง 5
2541 ขอโทษทีขอเป็นฮีโร่ ช่อง 3
2542 เทวดาตกสวรรค์ วาที ช่อง 5
2543 ระเบิดเถิดเทิง ตอน ของผมหาย รับเชิญ ช่อง 5
2546 บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ โม่ง ช่อง 3
2553 บันทึกกรรม ตอน แผ่นผีมีกรรม
2557 ร้ายรักพยัคฆ์กังฟู เฮียหลอ หมาตื่น
แสนดี เดอะซีรีส์ (รับเชิญ) ทรูโฟร์ยู


พิธีกร[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

เพลง[แก้]

  • อัลบั้ม กำลังใจให้สายัณห์ (2556)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต Love in Red & White (2548)

หนังสือ[แก้]

  • The Toilet 1-5

กรรมการ[แก้]

รางวัลการแข่งขันเจ็ตสกี[แก้]

  • แชมป์ประเทศไทยปี 2563 รุ่น SEADOO 300 HP Runabout Pro Stock
  • แชมป์ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ รุ่น Pro runabout 800 super stock ปี 2547
  • แชมป์ประเทศไทยปี 2545 Novice runabout 0-1200 stock
  • ระดับนานาชาติเช่น โอเพ่นปี 2542 รางวัล Novice runabout 1200 stock
  • การแข่งขันเจ็ตสกี ชิงแชมป์ไทยแลนด์ รางวัล Novice runabout 1200 stockslalom
  • แชมป์ สหรัฐอเมริกา รางวัล Novice runabout 1200 Limited-slalom
  • รางวัล Novice runabout 1200 stock-slalom
  • ยังเป็นการทำลายสถิติโลกอีกด้วย นอกจากนี้ยังร่วมแข่งขันชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกาในรุ่น Pro-am runabout 800 super stock

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]