ยุทธการขยับเหงือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการขยับเหงือก
ประเภทวาไรตี้โชว์แนวตลก (ยุคแรก - 5.0)
คอมเมดี้เกมโชว์
แสดงนำรายชื่อพิธีกร
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดยุทธการขยับเหงือก
ดนตรีแก่นเรื่องปิดยุทธการขยับเหงือก
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
สถานที่ถ่ายทำเจ เอส แอล สตูดิโอ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน30 นาที (พ.ศ. 2532 - 2535)
1 ชั่วโมง (พ.ศ. 2536 - 2540 และ พ.ศ. 2562 - 2563)
บริษัทผู้ผลิตเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (พ.ศ. 2532 - 2540)
ช่องวัน 31 (พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563)
ออกอากาศ8 มกราคม พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2540
9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 –
5 เมษายน พ.ศ. 2563

ยุทธการขยับเหงือก เป็นรายการวาไรตี้โชว์แนวตลกของเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย เดิมออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2532 พิธีกรชายทุกคนจะมีฉายาขึ้นต้นด้วยคำว่า เสนา เช่น เสนาโค้ก, เสนาเปิ้ล, เสนาหอย, เสนาเพชร, เสนาลิง ฯลฯ และพิธีกรหญิงทุกคนจะมีฉายาขึ้นต้นด้วยคำว่า เลขา เช่น เลขาแหม่ม, เลขาเนสท์, เลขาน้ำ เป็นต้น ลักษณะรายการเป็นปล่อยมุกและการแกล้งดารารับเชิญ และมีการหักหลังดาราหรือหักหลังพิธีกรกันเอง มุกหักหลังนี้ได้เป็นต้นแบบของรายการสาระแนและฮาจะเกร็ง ในเวลาต่อมา

เมื่อรายการถึงจุดอิ่มตัวและเสียงตอบรับของผู้ชมลดน้อยลง ทำให้รายการปิดตัวลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 หลังจากออกอากาศมายาวนานถึง 9 ปี

ในปี พ.ศ. 2562 ยุทธการขยับเหงือกกลับมาอีกครั้งในชื่อ ยุทธการขยับเหงือก 5.0 พร้อมกับเหล่าเสนาหน้าใหม่มาซึ่งเป็นนักแสดงละครเวที เช่น ปอ อรรณพ, เนสท์ นิศาชล, น้ำ กัญญ์กุลณัช, ปาล์ม ธัญวิชญ์ และส้วม สุขพัฒน์ โดยมี เสนาหอย - เกียรติศักดิ์ อุดมนาค เป็นหัวหน้าเสนาธิการคนใหม่ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 14.45 น. ทางช่องวัน 31 เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 [1] และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

รูปแบบรายการ[แก้]

  • รูปแบบที่ 1 เป็นรายการวาไรตี้บันเทิงทุกวันอาทิตย์ โดยจะเน้นการสนทนาจากแขกรับเชิญเป็นหลัก โดยในช่วงท้ายจะมอบตุ๊กตายุทธการเป็นของที่ระลึก
  • รูปแบบที่ 2 เป็นรายการวาไรตี้โดยมีเหล่าแขกรับเชิญที่จะมาสร้างสีสันและเสียงหัวเราะกับละครในฉบับยุทธการฯ พร้อมกับการหักหลัง และในช่วงท้ายจะมอบตุ๊กตายุทธการเป็นของที่ระลึก
  • รูปแบบที่ 3 เป็นรายการวาไรตี้เหมือนรูปแบบที่ 2 พร้อมกับการหักหลังและการเอาคืนของคนที่หักหลังจากแขกรับเชิญ (เทปที่ 39 เป็นต้นไปเป็นรูปแบบทอล์คโชว์ ยังมีช่วงเอาคืนตามปกติ)

รูปแบบการเอาคืน[แก้]

  • รูปแบบที่ 1 แขกรับเชิญในรายการสามารถเลือกพิธีกรที่ต้องการเอาคืนอย่างละคน 1 เข้าไปในตู้แคบซูล ภายในตู้จะมีน้ำหวานซ่อนในตู้ เพื่อเป็นการราดตัวผู้ที่ถูกลงโทษเป็นการสิ้นสุดการเอาคืน
  • รูปแบบที่ 2 วงล้อเอาคืน แขกรับเชิญเป็นผู้กดปุ่มเพื่อสุ่มหาพิธีกรที่ต้องการเอาคืนอย่างละ 1 คน ไฟตกที่รูปพิธีกรคนไหนจะถูกลงโทษ หากไฟตกที่ เครื่องหมายคำถาม "?" แขกรับเชิญจะถูกลงโทษเอง โดยในการเอาคืนในรูปบบสาวน้อยตกน้ำ แขกรับเชิญจะต้องปาให้ตรงเป้าสีแดงให้ถูก ผู้ที่ถูกเลือกต้องตกจากเก้าอี้ หากปาไม่ถูก 3 ครั้งถือว่ารอด
  • รูปแบบที่ 3 แคบซูลแบบชัก พิธีกรทั้งหมดจะต้องเลือกแคบซูลด้วยตัวเองในที่นี้จะมีแป้งซ่อนอยู่ หากพิธีกรคนไหนดึงช้าสุดแป้งจะหล่นลงมาทันที
  • รูปแบบที่ 4 โยนเข้าเป้า แขกรับเชิญในรายการสามารถเลือกพิธีกรที่ต้องการเอาคืนอย่างละคน 1 เข้าไปในตู้แคบซูล เก้าอี้จะถูกเลื่อน แขกรับเชิญจะเป็นผู้โยนให้เข้าเป้า ตั้งแต่ 1 - 6 จะต้องโยนเข้าเป้าให้น้ำหวานราดลงมาที่ตัวผู้ที่ถูกลงโทษจนกว่าจนครบทั้ง 6 เป้า โดยไม่จำกัดเวลา
  • รูปแบบที่ 5 ฟรีสไตส์ ตั้งแต่เทปที่ 2 - 15 ของยุค 5.0 แขกรับเชิญจะเลือกพิธีกรที่ต้องการลงโทษตอนละ 2 คน โดยการลงโทษด้วยวิธีต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์
  • รูปแบบที่ 6 ปืนใหญ่ยุทธการ ในเทปที่ 16 - 41 ของยุค 5.0 แขกรับเชิญในรายการสามารถเลือกพิธีกรที่ต้องการเอาคืนได้ตอนละ 1 คน เพื่อลงโทษ โดยการใช้กระสุนยิงด้วยปืนใหญ่ยุทธการ ในกระสุนนั้นมี 2 นัด แบบลงโทษชนิดเบา และ แบบลงโทษชนิดหนัก ซ่อนอยู่ แขกรับเชิญจะเป็นผู้เลือกจากถุงมือปริศนา ทั้ง 2 ข้าง โดยจะต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง จะมีเลข 1 และ 2 ซ่อนอยู่ (เทปที่ 22 - 23 โดยให้ผู้ที่ถูกลงโทษเลือกกระสุนเอง และ เทปที่ 24 เป็นต้นไป ไม่มีการเลือกกระสุน) โดยแขกรับเชิญเป็นผู้ยิงกระสุนใส่ผู้ที่ถูกลงโทษ เป็นการสิ้นสุดลง

ลำดับรุ่นของเสนาธิการ[แก้]

รุ่นที่ 1[แก้]

รุ่นที่ 2[แก้]

รุ่นที่ 3[แก้]

รุ่นที่ 4[แก้]

รุ่นที่ 5[แก้]

เพลงไตเติ้ลรายการ[แก้]

  • รูปแบบที่ 1 นำมาจากเพลง Noche Corriendo ของ Naoya Matsuoka
  • รูปแบบที่ 2 เป็นเพลงแนว มาร์ช เพลงนี้เนื้อร้องและทำนองประพันธ์โดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ และ Forward เป็นผู้เรียบเรียงดนตรี และเป็นเพลงที่คุ้นหูที่สุดของรายการ
  • รูปแบบที่ 3

อ้างอิง[แก้]