พินอิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮั่นยฺหวี่พินอิน
ชนิดระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับAlphabet
ภาษาพูดภาษาจีนมาตรฐาน
ผู้ประดิษฐ์คริสต์ทศวรรษ 1950
พินอิน
ตารางพยางค์ฮั่นยฺหวี่พินอิน ซึ่งรวมพยางค์หน้า 23 ตัว (บน) และพยางค์หลัง 24 ตัว (ล่าง)
ภาษาจีน拼音
ตัวเขียนสำหรับสัทตัวอักษรจีน
อักษรจีนตัวย่อ汉语拼音方案
อักษรจีนตัวเต็ม漢語拼音方案

พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวย่อ: 汉语拼音; จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn; จู้อิน : ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย

ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน

ต้นพยางค์ (เสียงพยัญชนะต้น)[แก้]

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และมีอักษรจู้อินกำกับ อักษรไทยที่กำกับไว้หมายถึงเสียงพยัญชนะไทยที่ใกล้เคียง มิใช่การทับศัพท์

ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน ปุ่มเหงือกกับ
เพดานแข็ง
เพดานแข็ง เพดานอ่อน
เสียงกัก b
[p] (ป ㄅ)
p
[pʰ] (พ ㄆ)
d
[t] (ต ㄉ)
t
[tʰ] (ท ㄊ)
g
[k] (ก ㄍ)
k
[kʰ] (ค ㄎ)
เสียงนาสิก m
[m] (ม ㄇ)
n
[n] (น ㄋ)
เสียงกึ่งเสียดแทรก z
[ts] (ตซ คล้าย จ ㄗ)
c
[tsʰ] (ทซ คล้าย ช ㄘ)
zh
[ʈʂ] (ตซ (จ) ม้วนลิ้น ㄓ)
ch
[ʈʂʰ] (ทซ (ช) ม้วนลิ้น ㄔ)
j
[tɕ] (จ ㄐ)
q
[tɕʰ] (ช ㄑ)
เสียงเสียดแทรก f
[f] (ฟ ㄈ)
s
[s] (ซ ㄙ)
sh
[ʂ] (ซ ม้วนลิ้น ㄕ)
x
[ɕ] (คล้าย ซ ㄒ)
h
[x] (คฺฮ คล้าย ฮ ㄏ)
เสียงข้างลิ้น l
[l] (ล ㄌ)
r¹
[ɻ~ʐ] (ร (ล) ม้วนลิ้น ㄖ)
เสียงกึ่งสระ y²
[j]/[ɥ]³ (ย ㄧ/ㄩ)
w²
[w] (ว ㄨ)
¹ /ɻ/ อาจออกเสียงคล้ายกับ /ʐ/ (เสียงเสียดแทรก ปลายลิ้นม้วน ก้อง) ซึ่งเปลี่ยนแปรไปตามผู้พูด แต่ก็ถือว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน
² อักษร y และ w นั้นไม่ได้บรรจุอยู่ในตารางเสียงพยัญชนะของระบบพินอินอย่างเป็นทางการ แต่ใช้สำหรับแทนที่อักษรสระ i, u, ü เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็น yi, wu, yu ตามลำดับ
³ อักษร y จะออกเสียงเป็น [ɥ] เมื่อตามด้วย u (ซึ่งลดรูปมาจาก ü)

การเรียงลำดับเสียงพินอิน (ไม่รวม w และ y) ได้รับการสืบทอดมาจากระบบจู้อิน (注音; Zhùyīn) นั่นคือ

b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s

หรือ ที่เราท่องกันว่า... โป โพ โม โฟ เตอ เทอ เนอ เลอ เกอ เคอ เฮอ จี ชี ซี จืยฺ ชืยฺ ซืยฺ รืยฺ ตซือ (จือ) ทซือ (ชือ) ซือ

อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมสมัยใหม่ ได้เรียงพินอินแบบ a-z เหมือนอักษรโรมันเพื่อให้การค้นหาสะดวกยิ่งขึ้น

ท้ายพยางค์ (เสียงสระและเสียงพยัญชนะสะกด)[แก้]

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และปรากฏเป็นสองรูปแบบได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น และรูปแบบที่มีเสียงพยัญชนะต้นซึ่งจะมีขีดนำหน้า

ตัวท้าย ตัวจบ
/i/ /u/ /n/ /ŋ/
ตัวกลาง -i¹
[ɨ]
(อือ)
e, -e
[ɤ]
(เออ)
a, -a
[a]
(อา)
ei, -ei
[ei̯]
(เอย์)
ai, -ai
[ai̯]
(ไอ/อาย)
ou, -ou
[ou̯]
(โอว)
ao, -ao
[au̯]
(เอา/อาว)
en, -en
[ən]
(เอิน)
an, -an
[an]
(อัน/อาน)
-ong
[ʊŋ]
(เวิง, อุง)
eng, -eng
[əŋ]
(เอิง)
ang, -ang
[aŋ]
(อัง/อาง)
/i/ yi, -i
[i]
(อี)
ye, -ie
[i̯e]
(เย, อีเย)
ya, -ia
[i̯a]
(ยา, เอีย)
you, -iu
[i̯ou̯]
(โยว, โอฺยว)
yao, -iao
[i̯au̯]
(เยา/ยาว, เอียว)
yin, -in
[in]
(อิน)
yan, -ian
[i̯ɛn]
(เยียน, เอียน)
yong, -iong
[i̯ʊŋ]
(ยฺวืง, อฺวืง)
ying, -ing
[iŋ]
(อิง)
yang, -iang
[i̯aŋ]
(เยียง/ยาง, เอียง)
/u/ wu, -u
[u]
(อู)
wo, -uo³
[u̯o]
(วอ, อฺวอ)
wa, -ua
[u̯a]
(วา, อัว/อวา)
wei, -ui
[u̯ei̯]
(เวย์, เอฺวย์)
wai, -uai
[u̯ai̯]
(ไว/วาย, อวาย)
wen, -un
[u̯ən]
(เวิน, เอฺวิน)
wan, -uan
[u̯an]
(วัน/วาน, อวน/อวาน)
weng
[u̯əŋ]
(เวิง, อุง)
wang, -uang
[u̯aŋ]
(วัง/วาง, อวง/อวาง)
/y/ yu, -ü²
[y]
(อวี)
yue, -üe²
[y̯e]
(เยฺว, เอฺว)
yun, -ün²
[yn]
(ยฺวืน, อฺวืน)
yuan, -üan²
[y̯ɛn]
(ยวืออัน, อวืออัน)
¹ -i อักษรนี้ใช้ผสมกับ zh ch sh r z c s เท่านั้น
² ü จะเขียนเป็น u เมื่อตามหลัง j q x y
³ uo จะเขียนเป็น o เมื่อตามหลัง b p m f

เสียง /ər/ (เออร์ เช่น 而, 二, ฯลฯ) ซึ่งไม่ปรากฏในตาราง จะเขียนเป็น er ซึ่งเป็นเสียงสระตัวเดียวที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น สำหรับรูปต่อท้าย -r (ร์) ระบบพินอินไม่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษ จึงสามารถนำไปต่อท้ายสระของพยางค์ก่อนหน้าโดยไม่ทำให้เสียงของพยางค์นั้นเปลี่ยนไป นอกจากนี้ก็ยังมี ê [ɛ] (เอ เช่น 欸, 誒) และเสียงกึ่งพยางค์เช่น m (อืม เช่น 呒, 呣), n (อืน เช่น 嗯, 唔), ng (อืง เช่น 嗯, 𠮾) ใช้เป็นคำอุทาน

อะพอสทรอฟี (') จะใช้เพื่อเป็นการแบ่งพยางค์ เมื่อการเขียนติดกันอาจก่อให้เกิดความกำกวม โดยเฉพาะเมื่อเขียนโดยไม่ใส่วรรณยุกต์ เช่นระหว่าง pi'ao (皮袄/皮襖) กับ piao (票) และระหว่าง Xi'an (西安) กับ xian (先)

การถอดเสียงวรรณยุกต์[แก้]

เสียงวรรณยุกต์

ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้

1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (◌̄) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:

ā ē ī ō ū ǖ

2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (◌́) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:

á é í ó ú ǘ

3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (◌̌) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง"เอก") :

ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ

4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (◌̀) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:

à è ì ò ù ǜ

5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:

a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)

ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)

การใส่วรรณยุกต์[แก้]

โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน (e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u

ตัวอย่าง
อักษรจีน พินอิน อักษรไทย ความหมาย
มา แม่
หมา ป่าน
หม่า ม้า
ม่า ดุด่า
ma มะ หรือ, ไหม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Gao, Johnson K. (2005). Pinyin shorthand: a bilingual handbook. Jack Sun. ISBN 9781599712512.
  • Kimball, Richard L. (1988). Quick reference Chinese : a practical guide to Mandarin for beginners and travelers in English, Pinyin romanization, and Chinese characters. China Books & Periodicals. ISBN 9780835120364.
  • Pinyin Chinese–English dictionary (ภาษาอังกฤษ). Beijing: Commercial Press. 1979. ISBN 9780471867968.
  • Yǐn Bīnyōng (尹斌庸); Felley, Mary (1990). 汉语拼音和正词法 [Chinese romanization: pronunciation and orthography] (ภาษาอังกฤษ). ISBN 9787800521485.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]