พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,153 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 184 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่[1]

แต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดมี 1,309 ไร่ แต่ในปัจจุบันวัดได้ 1,153 ไร่ เพราะตัดที่ดินส่วนที่ใช้เป็นถนนและซอยต่าง ๆ ในเขตที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไป[2][3]

พื้นที่การศึกษา[แก้]

พื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท มีคณะวิชาตั้งอยู่ในบริเวณนี้มากที่สุดในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่การศึกษา 595 ไร่ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน[4] ซึ่งอยู่บริเวณ แขวงวังใหม่และแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้แก่

ภูมิทัศน์บริเวณประตูใหญ่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท

ส่วนที่ 1 ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน ประกอบด้วย สระน้ำ สนามรักบี้ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ ศาลาพระเกี้ยว ศูนย์หนังสือจุฬาฯ (สาขาศาลาพระเกี้ยว) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สาขาศาลาพระเกี้ยว) หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตึกจักรพงษ์) อาคารจุลจักรพงษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยสังคม สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันการขนส่ง พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสามย่าน

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท (ฝั่งสำนักงานมหาวิทยาลัย)

ส่วนที่ 2 ฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ตั้งอยู่ในแขวงวังใหม่ ประกอบด้วย สำนักงานมหาวิทยาลัย (กลุ่มอาคารจามจุรี 1-5, 8-9) บัณฑิตวิทยาลัย สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน (อาคารศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ฟิตเนสเซ็นเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ สำนักงานวิทยทรัพยากร สถานีวิทยุจุฬาฯ โรงพิมพ์จุฬาฯ ธรรมสถาน สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา อาคารแว่นแก้ว อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอพักศศนิเวศ อาคารศศปาฐศาลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

ส่วนที่ 3 ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ทิศใต้ของถนนพระรามที่ 1 ด้านหลังสยามสแควร์ อยู่ในแขวงปทุมวัน ประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ โอสถศาลาหรือสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนของคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข อาคารวิทยกิตติ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามด้านถนนพระรามที่ 1

ด้านตะวันออกของถนนอังรีดูนังต์ ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์

ส่วนที่ 4 ทิศตะวันออกของถนนอังรีดูนังต์ ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน บริเวณตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง จนถึงสี่แยกอังรีดูนังต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสภากาชาดไทย โดยมีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทยและสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดงและรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สถานีสีลม บริเวณสี่แยกศาลาแดง

ส่วนที่ 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพื้นที่ส่วนนี้คืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พลศึกษา) และกรมพลศึกษา ตั้งอยู่ในแขวงวังใหม่ คือ พื้นที่บริเวณระหว่างห้างมาบุญครอง และสนามกีฬาแห่งชาติ ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาพัฒน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะจิตวิทยา สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร และอาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

ส่วนที่ 6 คือ พื้นที่ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ได้รับคืนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน) ในส่วนนี้เป็นกลุ่มอาคารจุฬาวิชช์ อันเป็นส่วนขยายของคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะจิตวิทยา และโครงการขยายโอกาสอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ส่วนนี้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไทจึงอยู่ในแขวงปทุมวัน

ในส่วนพื้นที่การศึกษานี้ มีต้นไม้สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวม 6 ต้น ได้แก่ ต้นจามจุรีพระราชทาน 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกไว้บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมุดกลาง) และอาคารจามจุรี 5 ใกล้คณะครุศาสตร์ ทางฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ลานจอดรถศาลาพระเกี้ยวด้านคณะเศรษฐศาสตร์ ทุก ๆ วันศุกร์ (หรือตามแต่กรรมการสโมสรอาจารย์เป็นผู้กำหนด) จะจัดเป็นตลาดนัดตั้งแต่เช้าจรดเย็น เรียกกันว่า "ตลาดพิกุล" เนื่องจากพื้นที่นั้นมีต้นพิกุล กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการโดยสโมสรอาจารย์

กลุ่มอาคารจามจุรี ที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์[แก้]

หอศิลป์จามจุรี

ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนอกจากเป็นที่ตั้งของคณะวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ยังประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่ตั้งอยู่ทั้งภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์

  • อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ใกล้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์[5] จัดแสดงพัฒนาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้านวิชาการ ด้านกายภาพและประวัติความเป็นมาด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ
  • หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่อาคารจักรพงษ์ ด้านหน้าลานจักรพงษ์ ด้านข้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า[6] อาคารนี้จัดแสดงพระเกี้ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักฐานในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น ครุยพระบรมราชูปถัมภก เปียโนทรงบรรเลงของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  • หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ตั้งอยู่บริเวณ ชั้น 7 อาคารมหาธีรราชานุสรณ์หรือหอสมุดกลาง เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียนด้านศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทยและต่างชาติ ทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการทางศิลปะของนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ปัจจุบันพื้นที่นี้ใช้จัดนิทรรศการ "จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย" แหล่งรวบรวมข้อมูลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรูปแบบดิจิทัล
  • หอศิลป์จามจุรี ตั้งอยู่ที่อาคารจามจุรี 8 ด้านข้างสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหอศิลป์ที่เปิดให้บุคคลภายนอกสามารถจัดแสดงผลงานได้จัดแสดงศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์เป็นส่วนใหญ่ เปิดให้ประชาชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะต่าง ๆ

อาคารที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น[แก้]

กลุ่มอาคารสถาปัตยกรรมไทยที่มีชื่อเสียงในจุฬาฯ
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปัตยกรรมในยุครัฐนิยม

ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพัฒนาการทางด้านกายภาพมาเป็นเวลายาวนาน นับตั้งแต่เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้เขตมหาวิทยาลัยมีอาคารและกลุ่มอาคารที่แสดงถึงแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย กรรมการสภาสถาปนิกและอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยกล่าวว่า[7]

...ผมคิดว่าตึกในจุฬาฯ บ่งบอกถึงยุคสมัยของตัวเอง ตึกเป็นตัวแทนอธิบายยุคสมัยของสถาปัตยกรรมไปแล้วด้วยซ้ำ... จุฬาฯ ก็เป็นโรงเรียนสถาปัตย์ คือ ตึกในมหาวิทยาลัยอธิบายสถาปัตยกรรมได้เลย

  • อาคารมหาจุฬาลงกรณ์[8] เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2457 เพื่อเป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในช่วงแรกสถาปนาและเป็นอาคารเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 จึงได้ใช้เป็นอาคารเรียนของคณะอักษรศาสตร์ อาคารนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2530[9]
  • อาคารมหาวชิราวุธ ก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2496 โดยถอดแบบจากอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ทุกประการ มีจุดเด่นคือหน้าบันกรุด้วยกระจกและเปิดออกได้ทุกบาน มีการสร้างทางเดินเชื่อมกับอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ด้วยสถาปัตยกรรมไทยเช่นเดียวกับตัวอาคารทั้งสอง อาคารทั้งสองจึงเรียกว่า "เทวาลัย" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักคณบดีคณะอักษรศาสตร์ สำนักงานเลขานุการคณะอักษรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของห้องพิพิธพัสดุ์ไท-กะไดและห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์[10]
  • หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้นในสมัย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นที่รับรองพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายกับพระอุโบสถของวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร ที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำ พ.ศ. 2545 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์[11]
  • พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล หรือ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดและพระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเสาธงประจำมหาวิทยาลัย[12] ถูกออกแบบให้เป็นจุดสนใจทางภูมิสถาปัตยกรรม (Focal Point) ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท[13]
  • เรือนภะรตราชา สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่สมัยก่อตั้งมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นที่พักของผู้บริหาร อาจารย์ชาวต่างประเทศ และข้าราชการของมหาวิทยาลัย หลังจากเกิดการชำรุดตามกาลเวลา เรือนหลังนี้จึงได้รับการบูรณะเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานและเป็นการระลึกถึงพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย ที่เคยพำนักอยู่ ณ เรือนแห่งนี้ เรือนภะรตราชาได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2540[14][15]
  • เรือนไทย สร้างขึ้นในโอกาสครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกเสาเอก ประกอบด้วย เรือน 5 หลัง โดยเรือนประธานเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระราชทาน ศีรษะครูเทพเจ้าทางดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และระนาดทรงของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรือนที่เหลือจัดแสดงเครื่องใช้และวัตถุโบราณ เครื่องจักสานไทยของภาคต่าง ๆ และมีศาลากลางน้ำสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ[16]
  • ศาลาพระเกี้ยว เริ่มการก่อสร้างใน พ.ศ. 2508 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2509 ในสมัยจอมพล ประภาส จารุเสถียร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ออกแบบให้มีโครงสร้างคล้ายพระเกี้ยวเพื่อควบคุมคุณภาพเสียงอีกทั้งยังสื่อถึงสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมของนิสิตเช่น การลงทะเบียนแรกเข้าของนิสิตชั้นปีที่ 1 งานจุฬาฯ วิชาการ แต่ในระหว่างการก่อสร้างได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนชั้นใต้ดินให้เป็นที่ทำการต่าง ๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาศาลาพระเกี้ยว, ร้านสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในระยะแรกนั้นมีแผนที่จะทำเป็นสถานที่จอดรถ[17] ใน พ.ศ. 2559 ศาลาพระเกี้ยวได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ[18]

ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีสถาปัตยกรรมสำคัญอีกหลายแห่ง แต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำของนิสิตและบุคลากรรวมทั้งผู้เข้ามาเยือน อาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทย เช่น อาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ เรือนภะรตราชา และยังมีอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เช่น อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 และลานเกียร์ และอาคารนารถ โพธิประสาท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

พื้นที่ให้ส่วนราชการเช่าใช้[แก้]

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสรรพื้นที่ไว้สำหรับให้หน่วยงานราชการเช่าใช้ เป็นจำนวน 184 ไร่ ได้แก่

พื้นที่พาณิชยกรรม[แก้]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา) พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นที่ปลูกสร้างสถานศึกษาและอีกส่วนหนึ่งให้ใช้จัดหาผลประโยชน์เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนซึ่งจะต้องเติบโตขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณแผ่นดินแต่เพียงอย่างเดียว พบหลักฐานว่ามีการปรับรูปแบบการจัดการที่ดินเชิงพาณิชยกรรมมาโดยตลอดนับแต่ประดิษฐานมหาวิทยาลัย[19][20] โดยพื้นที่ของมหาวิทยาลัยในเขตปทุมวัน มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 184 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ รวม 1,153 ไร่[21] โดยแต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดมี 1,309 ไร่ แต่ในปัจจุบันวัดได้ 1,153 ไร่ เพราะตัดที่ดินส่วนที่ใช้เป็นถนนและซอยต่าง ๆ ในเขตที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกไป[22][3]

พื้นที่พาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นแยกออกจากพื้นที่การศึกษาเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน[23] โดยพื้นที่เขตพาณิชย์จะเป็นส่วนมุมของที่ดินซึ่งมีถนนสายสำคัญตัดผ่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเดินทางและการค้าขาย โดยมีพื้นที่พาณิชย์ทั้งหมด 374 ไร่[24] ปัจจุบันสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานพัฒนาพื้นที่เขตพาณิชย์เหล่านี้[25]

โซนสยาม[แก้]

โซนสวนหลวง-สามย่าน[แก้]

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "สามย่าน" สามารถอนุมานถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ เพราะอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดต่อกับสี่แยก 2 แห่ง คือแยกสามย่านและแยกปทุมวัน ทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย[34] จนกลายเป็นภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[27]

  • จัตุรัสจามจุรี เป็นศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ตั้งอยู่บนมุมถนนพญาไทกับถนนพระรามที่ 4 หรือทางแยกสามย่านฝั่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรงข้ามวัดหัวลำโพง พระอารามหลวง จัตุรัสจามจุรีมีทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสามย่าน นับเป็นการเชื่อมต่อกับอาคารแห่งแรกของไทย[35]
  • ตลาดสามย่าน เป็นตลาดสดในพื้นที่สามย่าน มีสองชั้น ชั้นล่างเป็นตลาดสดและชั้นบนเป็นร้านอาหาร มีพื้นที่ใช้สอย 6,200 ตารางเมตร เดิมเคยตั้งอยู่ที่แยกสามย่านติดกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปตั้งอยู่ด้านหลังสนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซอยจุฬาลงกรณ์ 9 ใกล้กับสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง[36]
  • แอมพาร์ค เป็นศูนย์การค้าแบบเปิดโล่งตั้งอยู่ด้านข้างอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่พาณิชกรรม สวนหลวง-สามย่าน
  • พื้นพาณิชยกรรม สวนหลวง-สามย่าน ด้านหลังพื้นที่การศึกษาฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท ประกอบด้วยอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดกึ่งกลางของเขตพาณิชบริเวณนี้ ทิศเหนือของอุทยานเป็นที่ตั้งของตลาดสามย่านแห่งใหม่ แหล่งธุรกิจอะไหล่เก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร ร้านอาหารและสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ทิศเหนือของอุทยาน 100 ปี เป็นที่ตั้งของย่านพาณิชกรรมแห่งใหม่ คือ สวนหลวงสแควร์ และ CU Sport Zone เป็นแหล่งรวมร้านอุปกรณ์กีฬา[37] ทั้งนี้การก่อสร้างอุทยาน 100 ปี เป็นการลดพื้นที่พาณิชกรรมเก็บรายได้ลงกว่า 29 ไร่[38]
  • อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่นันทนาการสาธารณะให้กับชุมชนสวนหลวง-สามย่านและบรรทัดทอง และเพื่อเฉลิมฉลองวาระ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[39] ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของกรุงเทพมหานคร มีแนวพื้นที่รับน้ำ (Rain Garden) และระบบระบายน้ำใต้ดิน[40]
อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเส้นขอบฟ้ากรุงเทพมหานครทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มองเห็นเขตธุรกิจถนนสีลม สาธรและนราธิวาสราชนครินทร์อยู่ด้านขวา (สังเกตจากตึกมหานคร)

พื้นที่ต่างจังหวัด[แก้]

นอกจากพื้นที่ในกรุงเทพมหานครแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีพื้นที่การศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ (ไม่ใช่วิทยาเขต) ได้แก่

  • พื้นที่จังหวัดนครปฐม

พื้นที่จังหวัดนครปฐมเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 หลังจากการโอนย้ายคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับคืนมาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปรารภว่า "การโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น การโอนก็ไม่มีความหมาย" ดังนั้น จึงได้โอนที่ดินของกระทรวงมหาดไทยที่ขณะนั้นว่างเปล่าอยู่ 79 ไร่ ในเขตตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อจัดเป็นไร่ฝึกแก่นิสิตใช้ฝึกปฏิบัติวิชาสัตวบาลจนพัฒนาเป็น "ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และ "โรงพยาบาลปศุสัตว์" ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงขอใช้ชื่อว่า "ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร" นอกจากจะใช้พื้นที่สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และตรวจรักษาปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงของประชาชนแล้ว คณะสัตวแพทยศาสตร์ยังใช้ผลผลิตฟาร์มเป็นผลพลอยได้จำหน่ายเป็นสวัสดิการให้อาจารย์-บุคลากรของคณะและมหาวิทยาลัย[41]

  • พื้นที่จังหวัดน่าน

พื้นที่จังหวัดน่านเป็นที่ตั้งของ "ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" สำหรับให้บริการการศึกษาเรียนรู้สำหรับนิสิตโดยเฉพาะในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณทิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ประกอบด้วย อาคารวิชชาคาม 1 อาคารวิชชาคาม 2 และกลุ่มอาคารชมพูภูคา[42]

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในจังหวัดสระบุรี
  • พื้นที่จังหวัดสระบุรี

การพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2532 โดยมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 3,364 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์ 2,632 ไร่ และพื้นที่ที่มูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ใช้ประโยชน์ 732 ไร่ โดยมีการแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น 5 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ เขตศูนย์วิจัยเฉพาะทาง เขตโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-สระบุรี เขตบริการวิชาการและการศึกษา และเขตบริหารจัดการ โดยได้รับความร่วมมือจาก 6 คณะที่จะเข้าไปจัดทำโครงการในเขตพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์[43][44]

พื้นที่การศึกษาเหล่านี้เป็นเพียงพื้นที่ใช้สนับสนุนการสอนและการวิจัยเท่านั้น มิได้มีสถานะเป็นวิทยาเขต เพราะมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะไม่จัดตั้งวิทยาเขต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเป็นหนึ่งเดียว[45] นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยแห่งอื่น เช่น พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่,[46] พระจุฑาธุชราชฐานและพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี[47][48]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ความเป็นมาขององค์กร:สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  2. [1] วิดีโอวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใต้ร่มพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เข้าถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  3. 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2482.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 30 ตุลาคม 2482.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/549.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  4. แผนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3577 เก็บถาวร 2017-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  6. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ที่ตั้ง. 2558. http://www.memocent.chula.ac.th/knowus/ที่ตั้ง (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  7. บัณฑิต จุลาสัย. “อาคารสำคัญในมหาวิทยาลัย.” ใน 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 184. กรุงเทพ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2552.
  8. http://www.prm.chula.ac.th/cen67.html อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรือ ตึกบัญชาการ หรือ อาคารอักษรศาสตร์ 1 (เดิม)
  9. http://www.asa.or.th/01about/c2530/2530h.htm เก็บถาวร 2005-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : ตึกอักษรศาสตร์ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
  10. http://www.arts.chula.ac.th/06about/tour.html ท่องแดนเทวาลัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
  11. http://www.prm.chula.ac.th/cen28.html หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  12. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 1-39.
  13. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). โครงการผังแม่บทภูมิสถาปัตยกรรม. Retrieved พฤษภาคม 30, 25ุจ, from เว็บไซต์ โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.green.chula.ac.th/campus01.html
  14. "รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น : เรือนภะรตราชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.
  15. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เรือนภะรตราชา
  16. "ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; เรือนไทยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.
  17. http://www.prm.chula.ac.th/cen31.html ศาลาพระเกี้ยว. สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  18. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. ประกาศผลการคัดเลือก รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2559. 27 เมษายน 2559. http://www.asa.or.th/th/node/140800 เก็บถาวร 2016-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (30 เมษายน 2559 ที่เข้าถึง).
  19. บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, เอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2453-2475
  20. บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, การออกแบบวางผังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2453-2475. สาระศาสตร์สถาปัตย์ ฉบับที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
  21. ความเป็นมาขององค์กร:สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้าถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  22. [2] วิดีโอวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใต้ร่มพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เข้าถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  23. [3] ข้อเท็จจริงกรณีที่ดินจุฬาฯ, เข้าถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  24. http://www.property.chula.ac.th/web/sites/default/files/area-map-04-10-56-zoom.jpg แผนผังที่ดินเชิงพาณิชย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  25. http://www.property.chula.ac.th/web/units หน่วยธุรกิจในความรับผิดชอบของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน
  26. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1375 ศูนย์การค้าสยามสแควร์
  27. 27.0 27.1 PCL., The Post Publishing. "จุฬาฯโมเดล สูตรมหาวิทยาลัยดันเมืองโต." www.posttoday.com. Accessed May 20, 2017. http://www.posttoday.com/property/mrt/news/495368.
  28. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-08-04.
  29. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1378 สยามสแควร์วัน
  30. http://marketeer.co.th/2015/06/centerpoint-of-siam-square/ เซนเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์
  31. "สยามกิตติ์." สยามกิตติ์ | สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed March 11, 2017. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1374.
  32. "Bangkok Hotel." Novotel Bangkok on Siam Square. Accessed April 29, 2017. http://www.novotelbkk.com/.
  33. SIAMSCAPE - PMCU
  34. "Siam Square - Siam-Square.com". Siam-Square.com. Retrieved 2016-12-10.
  35. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1372 จัตุรัสจามจุรี
  36. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1371 ตลาดสามย่าน
  37. "เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน." เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน | สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed March 10, 2017. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1376.
  38. http://www.property.chula.ac.th/web/about/แผนผังพื้นที่เขตจัดการผลประโยชน์บริเวณเขตปทุมวัน
  39. "จุฬาฯ สร้าง 'อุทยาน 100 ปี' สวนสาธารณะ ปอดแห่งใหม่ของคนกรุง". www.thairath.co.th (in Thai). Retrieved 2017-09-18.
  40. Chulalongkorn University. "อุทยานจุฬาฯ 100 ปี – CU100". CU100. Retrieved 2017-09-18.
  41. ประวัติการจัดการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2021-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  42. ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2013-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  43. โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
  44. "โครงการ | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." โครงการ | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed March 30, 2017. http://www.prm.chula.ac.th/projects03.html.
  45. http://www.olnr.chula.ac.th/page1_1_n.html#P
  46. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3628 เก็บถาวร 2017-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
  47. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (7 พฤศจิกายน 2552). พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memocent.chula.ac.th/article/พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน/
  48. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3586 (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).