สถานีสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สยาม
CEN

Siam
สถานีสยาม มุมมองจากชั้น 4 สยามพารากอน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′44.23″N 100°32′3.22″E / 13.7456194°N 100.5342278°E / 13.7456194; 100.5342278พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′44.23″N 100°32′3.22″E / 13.7456194°N 100.5342278°E / 13.7456194; 100.5342278
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง4
การเชื่อมต่อ รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีCEN
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25646,160,924
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ราชเทวี
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท ชิดลม
มุ่งหน้า เคหะฯ
สนามกีฬาแห่งชาติ
สถานีปลายทาง
สายสีลม ราชดำริ
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสยาม (อังกฤษ: Siam station; รหัส: CEN) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางระหว่างสายสุขุมวิทกับสายสีลม ยกระดับเหนือถนนพระรามที่ 1 ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 ใจกลางย่านสยาม ระหว่างทางแยกปทุมวัน (จุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับถนนพญาไท) กับทางแยกเฉลิมเผ่า (จุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับถนนอังรีดูนังต์) หน้าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน สยามพารากอน และสยามเซ็นเตอร์ ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

U4
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (ราชเทวี)
ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
สายสีลม ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (สถานีปลายทาง)
U3
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (ชิดลม)
ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
สายสีลม ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (ราชดำริ)
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-6, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวบีทีเอส
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
สยามพารากอน, สยามเซ็นเตอร์, สยามสแควร์วัน, เซ็นทรัลเวิลด์ - ราชประสงค์ สกายวอล์ก
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, สยามสแควร์
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สยามสแควร์, โรงแรมโนโวเทล, วัดปทุมวนาราม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โรงพยาบาลตำรวจ, คณะเภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รูปแบบของสถานี[แก้]

ด้านข้างของสถานีสยาม
ทางเข้าสถานีสยาม จากลานพาร์คพารากอน
ชานชาลาชั้นล่าง สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสถานีเคหะฯ และสถานีบางหว้า (มุ่งหน้าไปยังทิศใต้และตะวันออก)
ชานชาลาชั้นบน สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสถานีคูคตและสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (มุ่งหน้าไปยังทิศเหนือและตะวันตก)

เป็นสถานีแห่งแรกในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่เป็นแบบชานชาลาเกาะกลางและมีรถไฟฟ้าวิ่งอยู่ 2 ข้าง (ปัจจุบันในเส้นทางนี้มีอีกสามแห่งคือ สถานีสำโรง สถานีห้าแยกลาดพร้าว และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุของสายสุขุมวิท) การก่อสร้างสถานีเช่นนี้มีความยุ่งยากแต่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับการเปลี่ยนขบวนรถระหว่างสายสุขุมวิทกับสายสีลม และเนื่องจากต้องรองรับผู้โดยสารมากเป็นพิเศษ จึงมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสถานีมาตรฐาน กว้าง 21 เมตร ยาว 192 เมตร

ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นจำหน่ายตั๋ว, ชานชาลาชั้นล่างสำหรับขบวนรถมุ่งหน้าไปทางสถานีชิดลมและสถานีราชดำริ และชานชาลาชั้นบนสำหรับขบวนรถมุ่งหน้าไปทางสถานีราชเทวีและสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบันชั้นจำหน่ายตั๋วถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ทางออกที่ 3 ไปยังห้างสยามพารากอน และทางออกที่ 4 ไปยังป้ายรถประจำทางหน้าศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน สามารถเดินข้ามถนนถึงกันได้

สถานีสยามเป็นสถานีนำร่องในการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งและเปิดใช้งานแล้วทุกชานชาลา[1]

โดยชั้นชานชาลาทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีการติดตั้งพัดลมเพดานขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนอากาศภายในสถานี

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 5 หน้าทางเข้าบางกอก ซี ไลฟ์ โอเชียนเวิลด์ และทางออก 3 บริเวณลานพาร์คพารากอน

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.29 00.02
E15 สำโรง 00.15
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.43 00.02
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.15
สายสีลม[2]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า 05.31 00.15
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ 05.54 00.15

ทางเดินลอยฟ้า[แก้]

สถานีสยามมีทางเดินเชื่อมใต้รางรถไฟฟ้าหรือทางเดินลอยฟ้า (skywalk) ขนาดกว้าง 7.5 เมตร ยาว 513 เมตร เชื่อมต่อกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, แยกราชประสงค์ และสถานีชิดลม โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนประมาณ 260 ล้านบาท เพื่อสร้างทางเชื่อมต่อโครงการเซ็นทรัลเวิลด์กับรถไฟฟ้าทั้ง 2 สถานี[3] มีจุดเริ่มต้นจากสะพานลอยสามแยกเฉลิมเผ่า (ทางออกที่ 6 ของสถานีสยาม) เชื่อมต่อกับสยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์, เกษรพลาซ่า, โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ, เอราวัณ บางกอก, อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า, อาคารมณียา เซ็นเตอร์ รวมถึง บิ๊กซี สาขาราชดำริ, เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก และเดอะ แพลตินั่ม แฟชั่นมอลล์ ทำให้ย่านสยามเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับแยกราชประสงค์ตลอดจนถึงแยกประตูน้ำ ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันมากขึ้น

ในอนาคตทางเดินลอยฟ้าแห่งนี้ จะเชื่อมต่อเข้ากับสถานีประตูน้ำ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่ตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี บริเวณหน้าศูนย์การค้าเดอะ แพลตินั่ม แฟชั่นมอลล์ ทำให้สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปสายสีส้มได้จากสถานีสยาม และสถานีชิดลม โดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางที่สถานีราชเทวี

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกราชประสงค์ รถ ขสมก. สาย 15 16 25 54 73 79 204 501 508 รถเอกชน สาย 40 48

ถนนพระรามที่ 1 มุ่งหน้าทางแยกปทุมวัน รถ ขสมก. สาย 15 16 21 21E(4-7E) 25 54 73 141 204 501 508 รถเอกชน สาย 40 48

ถนนพระรามที่ 1[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
15 (3) BRT ราชพฤกษ์ บางลําภู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
16 (2) รถโดยสารประจำทาง สถานีรถไฟกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สุรวงศ์
2-2 (16) (2) เรือข้ามฟาก ท่านํ้าปากเกร็ด เรือข้ามฟาก ท่านํ้าสี่พระยา
21 (1) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

3.รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊ส) ตอนนี้ถูกตัดจอดทั้งหมด โดยไม่มีกําหนด
4-7E (21E) Handicapped/disabled access (1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทางด่วน) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊ส) ตอนนี้ถูกตัดจอดทั้งหมด โดยไม่มีกําหนด
25 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้าง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

54 (3) รถโดยสารประจำทาง วงกลม: อู่พระราม 9 ห้วยขวาง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ตลาดห้วยขวาง
79 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่บรมราชชนนี ราชประสงค์
141 (4-24E) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

รถโดยสารประจําทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊ส) ตอนนี้ถูกตัดจอดทั้งหมด โดยไม่มีกําหนด
204 (2-52) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ท่านํ้าราชวงศ์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ตลาดห้วยขวาง
501 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี สวนสยาม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน

508 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิฐ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
40 (4-39) Handicapped/disabled access BTS เอกมัย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
48 (3-11) Handicapped/disabled access ม.รามคำแหง 2 วัดโพธิ์
2-34 Handicapped/disabled access วงกลม: สถานีสามเสน ดินแดง บจก.ไทยสมายล์บัส
  • CU POP BUS สาย 1 (ศาลาพระเกี้ยว - BTS สยาม) (เดินรถเฉพาะวนซ้าย) / สาย 4 (ศาลาพระเกี้ยว - BTS สยาม - คณะครุศาสตร์)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "BTS stations to get platform doors". Bangkok Post. 17 September 2012. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
  2. 2.0 2.1 "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  3. "ผู้จัดการออนไลน์ 30 กันยายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]