คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Education,
Srinakharinwirot University
ชื่อย่อEDU
สถาปนา16 กันยายน พ.ศ. 2492 (74 ปี 223 วัน)
คณบดีผศ.ดร.รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
ที่อยู่
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
สี██ สีฟ้า
สถานปฏิบัติโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม), โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม), โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
เว็บไซต์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถือว่าเป็นคณะที่เก่าแก่ที่สุดของมหาวิทยาลัย ถือกำเนิดมาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร และ คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา

ประวัติ[แก้]

อาคารเรียนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะศึกษาศาสตร์ถือกำเนิดจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 70 ปี โดยเริ่มต้นจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการตั้งขึ้น ณ ถนนประสานมิตร (ซอยสุขุมวิท 23 ปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 มีหลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) เป็นอาจารย์ใหญ่ เปิดรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิ ป.ป. (ประกาศนียบัตรครูประถม) และหากเรียนต่ออีก 2 ปี เมื่อสำเร็จแล้ว จะได้รับวุฒิ ป.ม. (ประกาศนียบัตรครูมัธยม) ซึ่งเป็นคุณวุฒิสูงสุดสำหรับการประกอบวิชาชีพครูในขณะนั้น จึงทำให้ผู้รับการศึกษาที่ต้องการความก้าวหน้าในชีวิตต้องขวนขวายไปเรียนวิชาอื่นเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร

ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นเพื่อให้เปิดสอน ถึงระดับปริญญา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงจึงได้รับ การสถาปนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 และได้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นอธิการ วิทยาลัยเป็นคนแรก ซึ่งถือเป็นจุดก่อกำเนิดคณะวิชาการศึกษา และต่อมาคือคณะศึกษาศาสตร์ในปัจจุบันวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน นิสิตเพื่อผลิตบัณฑิตที่จะไปเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนให้บริการจัดการฝึกอบรมวิทยาการ/ การเรียนการสอนสาขาต่าง ๆ ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาในขณะนั้น ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ของประเทศเป็นจำนวนมาก ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษามีมาโดยมิได้หยุดยั้ง สมดั่งปรัชญาที่ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้ตั้งไว้ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงามซึ่งตรงกับพุทธภาษิตว่า สิกขา วิรุฬหิ สมปตตา และตรงกับภาษาอังกฤษว่า Education is Growth วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มะ-หา วิด-ทะ-ยา-ไล-สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) ใช้อักษรย่อว่า มศว โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาคนสุดท้ายได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรก เช่นเดียวกับคณะศึกษาศาสตร์ก็ถือเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ปวงศิษย์แห่งวิทยาลัยวิชาการศึกษาและรู้ ที่เกี่ยวข้องต่างภาคภูมิใจและตระหนักในใจว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นต้นกำเนิดของคณะศึกษาศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ยกระดับการศึกษาของครูจนถึงระดับปริญญาเอก

หน่วยงาน[แก้]

  1. สำนักงานคณบดี
  2. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
  3. ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา
  4. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา
  5. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
  6. ภาควิชาอุตสาหกรรมศึกษา
  7. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา
  8. ภาควิชาการศึกษา​ผู้ใหญ่​และ​การศึกษา​ตลอดชีวิต
  9. ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ
  10. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
  11. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
  12. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

หลักสูตร[แก้]

  • หลักสูตรระดับปริญญาตรี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
    • การศึกษาบัณฑิต (4 ปี)
      • เอกเดี่ยว
        • 1. วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
        • 2. วิชาเอกการประถมศึกษา
        • 3. วิชาเอกจิตวิทยาและการแนะแนว
        • 4. วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา-ไฟฟ้า
      • เอกคู่
        • กลุ่มวิชาเอกที่ 1
          • 1. วิชาเอกการประถมศึกษา
          • 2. วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา
          • 3. วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
          • 4. วิชาเอกจิตวิทยาและการแนะแนว
          • 5. วิชาเอกการวัด ประเมินและวิจัยการศึกษา
          • 6. วิชาเอกการศึกษาพิเศษ
          • 7. วิชาเอกการศึกษาตลอดชีวิต
          • 8. วิชาเอกการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
        • กลุ่มวิชาเอกที่ 2
          • 1. วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
          • 2. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
          • 3. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
          • 4. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
          • 5. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          • 6. วิชาเอกการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
          • 7. วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • หลักสูตรระดับปริญญาโท
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัด ประเมิน และวิจัยการศึกษา
    • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
      • 1) กลุ่มวิชาการศึกษาปฐมวัย
      • 2) กลุ่มวิชาการประถมศึกษา
      • 3) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
      • 4) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      • 5) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
      • 6) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
      • 7) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
  • หลักสูตรระดับปริญญาเอก
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว
    • การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
    • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัด ประเมิน และวิจัยการศึกษา
    • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้

อ้างอิง[แก้]