คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Sport Science,
Chulalongkorn University
ชื่อเดิมสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
สถาปนา30 ตุลาคม พ.ศ. 2541; 25 ปีก่อน (2541-10-30)
คณบดีรศ.ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
ที่อยู่
วารสารวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
เพลงมาร์ชวิทยาศาสตร์การกีฬา
สี███ สีส้ม
มาสคอต
เกลียว
เว็บไซต์www.spsc.chula.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมชื่อว่า สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนามาจากภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการพลศึกษาและสุขศึกษา มีการผลิตบุคลากรสาขาวิชาพลศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2502 และผลิตบุคลากรสาขาพลศึกษาและสุขศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมาอย่างต่อเนื่อง

ประวัติ[แก้]

การฝึกหัดร่างกาย และการกีฬาในสยามแต่เดิมนั้น ผูกพันอยู่กับการฝึกหัดนักรบ ศิลปป้องกันตัว หรือนาฎศิลป์ ซึ่งต้องใช้ร่างกายทั้งความอ่อนตัว และความแข็งแกร่งในการปฏิบัติ เวลาต่อมา ความสนใจในเรื่องการฝึกหัดร่างกาย ซึ่งส่งเสริมทั้งสุขภาพอนามัย และฝึกฝนจิตใจให้รู้จักน้ำใจนักกีฬานั้น เริ่มต้นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาฉบับแรก ในพุทธศักราช ๒๔๔๑ ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนจะต้องเรียน“วิชากายกรรม” “วิชาดัดตน” ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน "พลศึกษา" จึงเริ่มต้นไปพร้อมกันด้วยความอุทิศตนของ "เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ขณะเป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ นักเรียนทุนหลวงของกระทรวงธรรมการที่ไปศึกษาวิชาครู ณวิทยาลัยฝึกหัดครูเบอโรโรด (Borough Road Collage) ประเทศอังกฤษ ทั้งการสอน การแต่งตำรา จนถึงส่งเสริมด้วยสื่อต่างๆ รวมถึงเพลง "กราวกีฬา" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี . โดยตำแหน่งในราชการของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เกี่ยวข้องกับการฝึกหัดครู การพลศึกษาจึงอยู่ในโรงเรียนฝึกหัดครูมานับแต่แรกตั้ง จนถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนการกีฬา เช่น ฟุตบอล เทนนิส และการฝึกหัดร่างกายเพื่อสุขภาพอนามัย ซึ่งได้ทอดพระเนตรและทรงปฏิบัติมาตั้งแต่ยังประทับศึกษาในอังกฤษ พระราชนิยมดังกล่าวส่งผลให้การพลศึกษาเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จนกระทั่งตั้ง "โรงเรียนพลศึกษากลาง" ในพุทธศักราช ๒๔๖๒ . เมื่อคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ ในห้วงเวลาใก้ลเคียงกันนั้น กรมการฝึกหัดครูได้ส่งเสริมให้มีการผลิตบุคลากรพลศึกษาให้มากยิ่งขึ้น เพื่อทำการสอนในโรงเรียน คณะครุศาสตร์จึงได้จัดตั้ง "แผนกพลศึกษา" ในระดับปริญญาบัณฑิตขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๒ การเรียนการสอนเกี่ยวกับการกีฬา นันทนาการ และสุขศึกษาพลศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเริ่มขึ้น . การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอนามัยของร่างกายเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น "วิทยาศาสตร์สุขภาพ" เริ่มมีบทบาทสำคัญในด้านการกีฬา นันทนาการ และการเรียนการสอนสุขศึกษาพลศึกษา ในพุทธศักราช ๒๕๓๕ ภาควิชาพลศึกษา มีแนวคิดที่จะพัฒนาไปสู่ระดับคณะ ในชื่อ "คณะสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการ" แต่เนื่องจากสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีมติชะลอการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะไว้ก่อน ถึงพุทธศักราช ๒๕๔๑ ทบวงมหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงมีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการ "โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา" รวมทั้งมีมติให้บรรจุหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา ในระดับปริญญาบัณฑิต สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา นำไปสู่การจัดตั้ง "สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา" อนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๑ มีพันธกิจเช่นเดียวกับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย . สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้พัฒนาหลักสูตรถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในพุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยแบ่งเป็น ๓ แขนงวิชา คือ แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และแขนงวิชาการบริหารจัดการกีฬาและนันทนาการ จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ จึงได้เปลื่ยนชื่อเป็น "คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา" และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดป้ายนามคณะ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้านการกีฬา และสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรมการออกกำลังกายชั้นนำแห่งเอเชีย ด้วยหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ที่มุ่งเน้นองค์ความรู้ อาทิ วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย การส่งเสริมสุขภาพ และการจัดการกีฬา

หลักสูตรการศึกษา[แก้]


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสุขภาพ)

  • แขนงวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science)
  • แขนงวิชาการจัดการกีฬา (Sports Management)
  • แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Science)
  • แขนงวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว (Management of Recreation and Tourism)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา)

  • แขนงวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science)
  • แขนงวิชาการจัดการกีฬา (Sports Management)
  • แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Science)
  • แขนงวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว (Management of Recreation and Tourism)

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา)

  • แขนงวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science)
  • แขนงวิชาการจัดการกีฬา (Sports Management)
  • แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Science)
  • แขนงวิชาการจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว (Management of Recreation and Tourism)

ศิษย์เก่​า[แก้]

รายชื่อบุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้

รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิลปชัย สุวรรณธาดา พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2552
3. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย บุญรอด พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]